หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ดาวน์โหลดเอกสารการประชุม AMOR

PDF / WORD

CLIP / VOICE

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2009 ( DAY 7 PROCEEDINGS )

 

Homily of Fr. Giovanni_Oct. 19 2009 (Eucharistic Celebration)

                  

                      

 

AMOR-ASC REPORT

                  

 

 

Operational guidelines - AMOR

                  

 

 

Cultural Nights- Part 2

                  

                      

 

Photo DAY 7 MASS

 

 

Photo DAY 7 SESSION

 

 

Photo DAY 7 CULTURAL NIGHT

                  

        

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2009 ( DAY 8 PROCEEDINGS )

 

FR Chay homily (Eucharistic Celebration)

                  

                    

 

AMOR XV STATEMENT DYNAMICS OF THE SHARING

                  

 

 

DAY 8 morning prayer

 

 

DAY 8 session

 

 

DAY 8 MASS

 

 

New exco

 

วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2009 ( DAY 9 PROCEEDINGS )

 

homily of his exc salvatore

            

 

 

พระอัครสังฆราช ซัลวาตอเร เปนนักคีโอ ฯพณฯ เอกอัครสมณทูตวาติกัน
ประจำประเทศไทยเทศน์ปิดการประชุม AMOR

 

  

 

บทเพลงในพิธีมิสซาปิดการประชุม AMOR XV (HYMN)

 

 

 

Statement of AMOR XV

                  

 

 

Incoming Executive Committee (Closing Ceremony)

 

                  

 

looking back1 (Closing Ceremony)

 

                  

 

looking back2 (Closing Ceremony)

 

                  

 

looking back3 (Closing Ceremony)

 

                  

 

looking back4 (Closing Ceremony)

 

                  

 

AMOR XV EVALUATION

                

 

 

interviewing AMOR XV participants1

 

                  

 

interviewing AMOR XV participants2

 

                  

 

Photo Closing ceremony

 

สัมภาษณ์ผู้แทนนักบวชหญิงที่มาเข้าร่วมการประชุม AMOR

CLIP

 

สัมภาษณ์คุณแม่สมปอง ทัปปิง มหาอธิการิณีคณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ประธานจัดงาน AMOR

 

 

สัมภาษณ์มาแมร์ไอรีน ชำนาญธรรม อธิการิณีเจ้าคณะแขวง ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

 

 

สัมภาษณ์ซิสเตอร์วรนุช ประนอมนิตย์์ คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี

 

 

สัมภาษณ์ซิสเตอร์จากประเทศเวียดนาม 3 ท่าน

 

 

สัมภาษณ์ซิสเตอร์

 

รายละเอียดในการประชุมวันที่13-18 ตุลาคม 2009

 

รายละเอียดการประชุมวันที 13-14 ตุลาคม (วันแรกและวันที่สองในการประชุมฯ)

 

รายละเอียดการประชุมวันพฤหัสฯที 15 ตุลาคม (วันที่สามในการประชุมฯ)

 

รายละเอียดในการประชุมวันที่16-18 ตุลาคม (วันที่สี่ถึงหกในการประชุม)

 

ประมวลภาพการประชุมผู้แทนนักบวชหญิงเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ 15 (Gallery Amor XV)

 

ประมวลภาพพิธีมิสซาปิดการประชุมผู้แทนนักบวชหญิงเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ 15 AMOR XV

โดย...ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เมื่อวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2009 /2552 เป็นวันสุดท้ายของการประชุมผู้แทนนักบวชเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ 15 (AMOR XV)   ซึ่งเช้าวันนี้เริ่มต้นด้วยเชิญแต่ละประ เทศมาแบ่งปันเกี่ยวกับการประชุม AMOR ครั้งนี้ซึ่งจัดที่ประเทศไทย ณ บ้านผู้หว่าน หลังจากนั้นเป็นการมอบของที่ระลึกและพวงมาลัยแด่ซิสเตอร์คณะต่างๆ   ที่มามาร่วม แบ่งปัน

จากนั้นเป็นเริ่มต้นพิธีปิดการสัมมนาอย่างเป็นทางการและเป็นการส่งมอบต่อให้ ในการประชุม AMORนี้ ในอีก 3 ปีข้างหน้า   โดยประเทศฟิลิปปินส์จะรับเป็นเจ้าภาพ จากนั้นเป็นการร้องเพลงของการประชุม AMOR ร่วมกันพร้อมจับมือเป็นการแสดงให้ เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และร่วมมือกัน

 และจะมีพิธีมิสซาปิดการประชุมครั้งนี้โดยมีพระอัครสังฆราชซัลวาตอเร เปนนักคีโอ ฯพณฯ เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย มาเป็นประธาน เวลา11.00น.

ในเวลา 10.30น. โดยประมาณ บรรดาผู้แทนอธิการิณีประเทศต่างๆพร้อมต้นรับพระอัครสังฆราชซัลวาตอเร เปนนักคีโอ ฯพณฯ    เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประ   เทศไทย ที่เดินทางมาถึงบริเวณบ้านผู้หว่าน และจากนั้นต้อนรับเข้าห้องรับรอง ก่อนที่จะ เริ่มพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ

ในเวลา11.00น. เป็นพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณปิดการประชุมผู้แทนนักบวชเอเชีย-โอเชียเนีย ครั้งที่ 15 (AMOR XV) โดยมีพระอัครสังฆราชซัลวาตอเร เปนนักคีโอเป็นประธานร่วมกับคุณพ่อฟรังซิสไกล์ และคุณพ่ออีกหนึ่งท่าน และในพิธีในวันนี้มีซิสเตอร์ และเณรี จากคณะซาเลเซียนมาขับร้อง บรรดานักบวชต่างร่วมใจในการปิดประชุมนี้อย่างดี และท้ายพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ คุณ  แม่สมปอง ทัปปิง ประธานจัดงาน AMOR XV กล่าวขอบคุณ พระอัครสังฆราชซัลวาตอเร เปนนักคีโอฯพณฯเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย พร้อมมอบของที่ระลึกในโอกาสนี้ และท้ายที่สุดของพิธีเป็นการขับร้องบทเพลงในการประชุม AMOR  ร่วมกัน โดยจับมือกันและกันและขับร้อง พอสิ้นสุดบทเพลงผู้เข้าร่วมทุกท่านปรบมือให้แก่กันและกัน    และสมณทูตฯปรบมือและชื่นชมผู้ขับร้องในวันนี้ด้วย หลังจากนั้นแล้วรับประทานอาหารร่วมกัน

บทสัมภาษณ์ของคุณแม่โดนาตา พีรพงศ์พิพัฒน์ มหาอธิการิณี คณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่

ขออนุญาตเรียนถามถึงความรู้สึกส่วนตัวของคุณแม่ เกี่ยวกับความประทับใจในงาน AMOR นี้

ในส่วนตัวแล้วก็เห็นว่า พระศาสนจักรของพวกเราเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดานักบวชหญิงทั้งหลาย เพราะว่าทุกแห่งก็มาเรามารวมกันไม่ใช่เพราะว่าเราสักแต่ว่ามา แต่เราก็เตรียมจิตใจมาด้วย มีอะไรที่พระเจ้าจะต้องบอกเราด้วยว่า ในฐานะที่เป็นสตรีของพระศาสนจักร หลังวาติกันที่ 2 แล้ว เราจะต้องทำอะไรมากขึ้น ในส่วนที่เราเป็นคณะพื้นเมือง   ที่เป็นคณะที่อยู่ตามหมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อย เราจะประกาศถึงพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าได้อย่างไร   แล้วก็มาพบว่าที่มาตรงนี้เราไม่ยากในการปรับตัว เพราะเรารู้ว่าทุกคนอุทิศตนให้กับพระเจ้าอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องภาษา   หรือชาติ ไหน เราไม่กังวล เพียงแต่ออกไปสัมผัสชีวิตแล้วก็ตั้งใจว่า แล้วแต่พระจะให้เราไปดูอะไร แล้วมันก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะที่ทำปัจจุบัน เพราะเราอยู่ในชนบท เราทำงานกับชนบท สภาพก็แบบนี้

แต่ประทับใจในตัวซิสเตอร์โจนส์ ที่เขาเป็นออสเตรเลีย พรีเซนต์เตชั่น ที่ เขามาทำงานแล้วก็แปลกใจว่า 18 ปีทำอยู่ในสลัมเพื่อคนไทยที่อยู่แถว

นั้น ตอนแรกก็คิดในใจว่า เราไปก็แสดงว่าพระต้องการบอกให้เรารู้ว่าในแถวของพวกเรานั้นก็ยากจนเหมือนกัน แต่ว่ามันยากจนกันคนละแบบ คือ ถึงเขาจะยากจนแต่เขาก็มีนาของเขาที่จะต้องทำ แล้วก็พอมีงานทำได้ประทังชีวิต คือบ้านก็ไม่ต้องเช่า ข้าวก็ซื้อบ้างไม่ต้องซื้อบ้าง ทำงานตามสภาพแบบนั้น แต่พอมาเห็นสภาพตรงนี้แล้วเห็นว่าในบ้านของซิสเตอร์นี่ ที่เขาไปอยู่เขาไปอยู่กับชาวบ้านเลยจริงๆ เป็นหนึ่งกับชาวบ้าน แล้วก็ขณะที่พวกเรากำลังคุยกันก็มีผู้หญิงคนหนึ่งมาเรียก คุณแม่ คุณแม่ ทำให้รู้สึกว่าเขาเข้าใจว่าซิสเตอร์คนนี้เป็นผู้แทนเพราะว่าเขารู้ว่าเป็นซิสเตอร์ แล้วก็พูดภาษาไทยยังไม่ชัดด้วย แต่ทำไมซิสเตอร์คนนี้เขาถึงกล้าอยู่ตรงนั้นได้ถึงเวลา 18 ปี แล้วก็เขาทำงานตามที่เขาบอกว่าเขาได้ยินมันเป็นเสียงที่พระเรียกเขาว่า ควรอยู่ที่นี้ เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกันกับพวกคุณ ก็เลยทำให้มีความรู้สึกในใจว่า ใช่

เขาก็พูดอีกคำหนึ่งว่าอายุถึงจะมากแต่เราก็ต้องรู้ว่าเราควรจะทำอะไรในขณะที่เราควรจะทำได้ ทำให้มีกำลังใจขึ้นว่า เออ เราก็อายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องทำอะไร ไม่ใช่ว่าเราจะรอให้คนโน้น คนนี้ บอกเรา อะไรที่เราจะทำได้ เช่น เยี่ยมชาวบ้าน เพราะว่ามันไม่มีอุปสรรคแล้ว ด้านภาษา ด้านอาหาร ด้านที่พัก ฯลฯ กลับไปนี้ก็คิดว่าจะหาโอกาสทำงานเรื่องนี้มากขึ้นเพราะโดยปกติเราก็ทำอยู่เดียว ในหมู่บ้านก็รวมเป็นหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่าเราทำ เราต้องถามพระเจ้าอยู่เสมอว่า ลูกจะทำงานของพระองค์ใช่ไหม๊ คิดว่ากลับไปก็จะแบ่งปันสิ่งนี้ให้กับพวกซิสเตอร์ ที่จริงพวกซิสเตอร์ก็รู้ เพราะว่าเราก็อยู่ในสภาพนั้นอยู่แล้ว แต่เพียงแต่ว่าเราต้องเอาความรักของพระเยซูไปให้มากๆด้วย ในตัวเรา เพื่อเขาจะได้เห็นเราว่านี่เป็นผู้อุทิศตนจริงๆเพราะว่าเราต้องเป็นหนึ่งกับพวกเขาอยู่แล้ว

ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองของคณะ คุณแม่คิดว่างานแรกที่คุณแม่อยากจะทำเพื่อจะก้าวออกจากขอบเขตของตนไปสู่ผู้ยากไร้ หรือว่าไปสู่ข้อท้าทายใหม่ๆตามหัวข้อของงานนี้ได้อย่างไร

อันนี้ได้ก้าวออกไปหลายอย่างแล้ว คือ ปกติระเบียบของที่คณะเราก็ทำว่าตอนเย็นต้องสวดพร้อมกัน แต่ตอนนี้ไม่แล้วค่ะ ใครมีความทุกข์ยากลำบากแบบมีคนตายไป แล้วก็เหลือเฉพาะคนที่ไปไม่ได้  คือเราจะไปร่วมเป็นหนึ่งกับเขา แล้วก็เราก็จะขาดการสวดวัตรค่ำ ซึ่งคิดว่าพระเป็นเจ้าไม่ได้ทิ้งว่าเราสวดไม่สวด คือเราไปเป็นหนึ่งกับชาวบ้านไป แล้วแล้วก็ไปสวดลูกประคำ พวกเราก็ออกไปกับชาวบ้านด้วย คือกิจกรรมอะไรที่ชาวบ้าน เขาทำเขาก็จะมาถามว่าจะไปร่วมไหม ไปทุกอย่าง แม้แต่พุทธศาสนา แล้วก็แบบว่าถ้ามีงานแบบเศร้าโศก

ส่วนมากเราจะไป แล้วก็มีงานสมมุติว่าทางราชการเขาจัด เกี่ยวกับ     เรื่องว่าจะถวายพิธีเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ปกติคณะเราจะไม่ไปแต่เรา   ไปแล้วเรา เปิดออกแล้ว  เพราะว่าเราจะไม่มีกีดกั้นระหว่างศาสนา เพียงแต่ว่าเรารู้ว่าที่ เราไปนั้นเราไปเพราะอะไรเพราะเราอยากบอกให้เขารู้ว่าเราก็เป็นคนไทย เป็นพี่น้องกัน แล้วพอ     เขามีงานอะไรเขาก็จะเชิญมาที่อาราม แล้วเรามีเราก็เชิญเขามา   อันนี้ก้าวออกไปแล้ว  ได้ก้าวออกไปแล้ว

เมื่อลองฟังที่คุณแม่พูดมาแล้วจับประเด็นได้สองอย่างคือ การสวดภาวนาของซิสเตอร์นี้ เปลี่ยนรูปแบบไป จากการสวดภาวนา ในหมู่คณะ ในตามเวลา ตามข้อกำหนด เป็นแบบแผน ก็เปลี่ยนไป เป็นการสวดภาวนาพร้อมกับชาวบ้านเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับเขา ประการที่สองคือ การร่วมกับศาสนสัมพันธ์ ร่วมกับศาสนิกชนศาสนาอื่นเพื่อทำให้เขารู้ว่าเราก็เป็นคนไทย แล้วเวลาที่เราไป   คือพระคุณเจ้าฯ จะนำ ท่านจะโทรฯ มาแจ้งว่าท่านจะไปเยี่ยมที่วัดต่างๆ ท่านก็จะถามว่าเราจะไปไหม และก่อนที่จะมานี่ พระคุณเจ้าถามว่า จะไปของอิสลามไหม เราก็ไป และส่วนมากเราจะนำซิสเตอร์ไป ไม่นำเด็กไป เพราะว่าถ้าเป็นชุดแบบนี้จะแสดงให้เห็นว่า เรา เป็นคริสต์จริงๆ เพราะว่าเขาเห็นเขาก็ไม่คุ้นเท่าไร คือจะทำให้เขาเห็นว่าเราเป็นพี่น้องกัน และเวลาประกอบพิธีต่างๆ   ของเราก็พูดภาษาไทยหมด แต่เขาจะให้พระของเขาสวดก่อน แต่พระเขาจะไม่พูดภาษาไทย เขาได้บาหลี พวกเราก็สวดภาษาไทย เราจะไปควบคู่กับพระสงฆ์ มีซิสเตอร์  คุณแม่โดนาตากล่าว...

สัมภาษณ์โดยเซอร์ ซีริล เปลี่ยนบำรุง เรียงเรียงโดย...ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ