ประวัติพระนางมารีอา
         เราพอจะเล่าประวัติของพระนางมารีอาได้ดังนี้ ท่านนักบุญอากิม(Saint Joachim) และนักบุญอันนา(Saint Anna) เป็นบิดาและมารดาของพระนางมารีอา เดิมไม่มีบุตร เนื่องจากนักบุญอันนาเป็นหมัน ท่านทั้งสองภาวนาต่อพระเป็นเจ้า พระองค์ทรงฟังคำภาวนาของท่านทั้งสอง จึงได้ให้นักบุญอันนาบังเกิดบุตรี ชื่อว่า มารีอา
                                                                             อ่านต่อ...

สมโภชพระนางมารีอาพระชนนีพระเป็นเจ้า   
1 มกราคม

             การที่พระนางมารีอาเป็นพระมารดาพระเป็นเจ้าจริงๆ ก็เพราะความสัมพันธ์ที่พระนางมีต่อบุตรอย่างแนบแน่น  เพราะพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเป็นเจ้าแท้และมนุษย์แท้ การที่เราเรียกพระนางมารีอาว่าเป็นพระมารดาพระเป็นเจ้า เป็นการไขแสดงให้เห็นถึงภาระหน้าที่ที่พระนางมีในประวัติศาสตร์แห่งความรอด และจากข้อเท็จจริงประการนี้แหละที่เป็นที่มาของความศรัทธาภักดีชนิดต่างๆ บรรดาคริสตชนมีต่อพระนางมารีอาเพราะว่าพระนางได้รับพระคุณต่างๆ จากพระเป็นเจ้ามิใช่สำหรับพระนางแต่ผู้เดียว แต่ว่าเพื่อนำพระคุณต่างๆ เหล่านั้นไปให้มวลมนุษย์อีกทอดหนึ่ง
                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระถือศีลชำระ(ถวายพระกุมารในวิหาร)
2  กุมภาพันธ์

การฉลองการถวายพระเยซูกุมารที่พระวิหารมิใช่เป็นรหัสธรรมแห่งความชื่นชมยินดี    แต่ว่าเป็นรหัสธรรม แห่งความทุกข์โศกแห่งความเจ็บปวด เพราะพระนางมารีอาได้ทรงถวายพระบุตรแด่พระเป็นเจ้าพระบิดา การยกถวาย เป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง  การฉลองนี้เป็นการเริ่มต้นรหัสธรรมแห่งความทุกข์ทรมานของพระนางมารีอา ซึ่งจะบรรลุถึงจุดสุดยอดที่เชิงไม้กางเขน
                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด   
11 กุมภาพันธ์   
     

ลูร์ด  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำการ์ฟเดอโป  ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส อยู่ท่ามกลางเทือกเขาพีเรนีส ซึ่งคั่นพรหมแดนระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสเปน

             ก่อนการประจักษ์ 4 ปี คือในวันที่ 8 ธันวาคม  1854  สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ทรงประกาศข้อความเชื่อเรื่อง " พระนางมารีอาทรงปฏิสนธิอันนิรมล "  คือแม่พระไม่มีบาปกำเนิด…การประจักษ์ที่ลูร์ด เท่ากับแม่พระเองเสด็จมายืนยันอัตถ์ความจริงข้อนี้ พระนางได้ประจักษ์มาหานักบุญแบร์นาแด็ตซูบีรูส์  เป็นจำนวน 18 ครั้งด้วยกัน คือระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม 1858

                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระรับสารจากอัครเทวดาคาเบรียล  
25 มีนาคม


             ในพระศาสนจักรยุคก่อนๆ ก่อนวันฉลองพระคริสตสมภพเล็กน้อย จะมีการฉลองรหัสธรรมแห่งการเสด็จมารับการบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเป็นเจ้า  แต่ต่อมาภายหลังพระศาสนจักรได้เลื่อนมาเป็นวันที่ 25 มีนาคม คือ  9 เดือนก่อนวันฉลองพระคริสตสมภพ

             พระเป็นเจ้ามิได้เสด็จมาในโลกโดยใช้กำลัง พระองค์ทรงประสงค์คำตอบรับจากพระนางมารีอา เพื่อว่าพันธสัญญาจะได้สำเร็จบริบูรณ์ไป ประชากรแห่งพระสัญญาอยู่ในตัวพระนาง ไม่ว่าจะเป็นประชากรเก่า ( ชาวฮีบรู ) หรือประชากรใหม่ ( พระศาสนจักร ) ก็ตาม  เพราะว่า  " พระสวามีเจ้า อยู่กับพระนาง  ซึ่งหมายความว่าพระผู้เป็นเจ้าของเราและประชากรของพระองค์
                                                                             อ่านต่อ...

ฉลองดวงหทัยของพระนางมารีย์ หลังสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า

             ปฏิทินพิธีกรรมฉบับใหม่ได้ใส่วันฉลองดวงหทัยของพระนางมารีย์ทันทีในวันถัดไป ( วันเสาร์ ) หลังวันฉลองดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ทั้งนี้เป็นการกลับไปหาความศรัทธาภักดีของวันฉลองอย่างเดิมนักบุญ ยอห์น เอวแดส ในศตวรรษที่ 17 ได้เขียนไว้ว่าไม่ควรแยกหัวใจทั้งสองดวงนี้ออกจากกันในโครงสร้างของพิธีกรรม

                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระแห่งฟาติมา   13 พฤษภาคม

             ชาวคาทอลิกศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ผู้เป็นมารดาของพระเยซูคริสตเจ้า  และยกพฤษภาคมเป็นเดือนของพระนาง ที่จะภาวนาสายประคำและรำพึงถึงพระางเป็นพิเศษ นอกจากนี้วันที่ 13 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึง " แม่พระแห่งฟาติมา "  คาทอลิกส่วนมากทราบว่า พระนางมารีย์ได้ประจักษ์มาแก่เด็กเลี้ยงแกะสามคน  ที่ตำบลฟาติมา ประเทศโปรตุเกส เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1917

                                                                             อ่านต่อ...

พระนางมารีอา เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ   31 พฤษภาคม

             ในพระสมณสาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น  ปอลที่  2 เรื่องมารดาพระผู้ไถ่ ข้อ 36 ได้กล่าวถึง  การที่พระนางมารีย์เสด็จไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธว่า  เมื่อนางเอลีซาเบธแสดงคารวะต่อญาติผู้เยาว์กว่าของนางที่มาถึงเมืองนาซาแร็ธพระนางมารีอาได้ตอบด้วยถ้อยคำในบทเพลงมักนีฟีกัตในการแสดงคารสะต่อพระนางมารีอานั้น นางเอลีซาเบ็ธได้เริ่มจากการเรียกพระนางว่า  " ผู้มีบุญ "  เพราะโอรสที่อยู่ในครรภ์ของพระนาง  " และยังเรียกพระนางว่า  " ผู้เป็นสุข "
                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระ แห่งภูเขาคาร์แมล  16 กรกฏาคม

             พระคัมภีร์ได้ขับร้องชมความสวยงามของภูเขาคาร์แมล และบนภูเขาคาร์แมลนี้เองที่ท่านประกาศกเอลียาห์ได้ป้องกันความเชื่อในพระเจ้าผู้ทรงชีวิตของชนชาติอิสราแอล

             ในศตวรรษที่ 12 มีฤาษีบางรูปได้มาจำศีลภาวนาบนภูเขานี้และเป็นพวกฤาษีนี้เองที่คงจะได้ตั้งคณะคาร์เมไลท์ซึ่งมีจุดประสงค์ในการเพ่งฌานและให้อยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของพระนางมารีย์ พระมารดาพระเจ้า
                                                                             อ่านต่อ...

สมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ 
15 สิงหาคม


             ในปี 1950 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ทรงประกาศว่า " พระนางพรหมจารีมารีอา ได้ทรงรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ " เป็นข้อความเชื่อ

             แนวความคิดประการหนึ่งที่โดเด่น และกล้าแข็งสำหรับพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ที่ทรงประกาศข้อความเชื่อ คือ " หลักแห่งการร่วมโชคชะตา " ที่เสนอว่า พระนางมารีได้มีส่วนร่วมในชีวิตและภารกิจการงานตลอดจนโชคชะตาของพระบุตรแห่งพระนางอย่งแน่วแน่และมั่นคง  ตั้งแต่เริ่มต้นจวบจนกระทั่งเวลาสุดท้าย
                                                                             อ่านต่อ...
                                                              

พระนางมารีย์ราชินีแห่งสากลโลก  22 สิงหาคม

             วันฉลองพระนางมารีอา ราชินีแห่งสากลโลก เป็นวันฉลองที่พระสันตะปาปาปีโอที่  12  ได้ทรงตั้งขึ้นในปี  1955  และทรงกำหนดให้ฉลองในวันที่  31  พฤษภาคม แต่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ในการปรับปรุงพิธีกรรม  มีความประสงค์ที่จะให้วันฉลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอวพระนางมารีอารับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการฉลองทั้งสองนี้ประกอบขึ้นเป็นรหัสธรรมอันเดียวกันคือ " พระนางมารีอาพรหมจารีผู้ปฏิสนธินิรมล…หลังจากที่ได้จบชีวิตของพระนางบนโลกนี้แล้ว  ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ และได้รับการสถาปนาจากพระสวามีเยซูคริสตเจ้าให้เป็นพระราชินีแห่งสากลโลก
                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระบังเกิด    8 กันยายน

             การฉลอง " แม่พระบังเกิด "เป็นพระสันตะปาปาจิอุสที่ 1 เป็นพระสันตะปาปาที่มีเชื้อสายทางพระศาสนจักรตะวันออก ได้เป็นผู้นำเข้าสู่พระศาสนจักรลาติน ในปลายศตวรรษที่  7 เดิมทีเดียวการฉลองในวันนี้เป็นการฉลอง " คล้ายวันเสกวิหารของนักบุญอันนาซึ่งมีเชื้อสายจากกษัตริย์ดาวิด ท่านทั้งสองเป็นบิดามารดาของพระนางมารีอา

                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระมหาทุกข์   15  กันยายน

             การฉลองแม่พระมหาทุกข์นี้ชวนให้เรารำพึงถึงความทุกข์เจ็บปวดรวดร้าวของพระมารดา 7  อย่างด้วยกันที่มีการพูดถึงในพระวรสาร  เป็นพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ที่ได้นำการฉลองแม่พระมหาทุกข์เข้ามาในพิธีกรรมของพระศาสนจักร เพื่อเป็นการระลึกถึงความทุกข์ยากลำบากที่จักพรรดินโปเลียนได้ทำต่อพระศาสนจักร และเป็นต้นที่ได้ทำต่อประมุขของพระศานจักร

             การมีส่วนร่วมในความทุกข์ยากลำบาก ที่พระมารดาพระผู้ไถ่ได้มีร่วมกับพระบุตรของพระนางในงานช่วยมนุษย์ให้รอดนั้น  ( ลก. 2: 33 - 35 )  เป็นต้นได้แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์พยานในชัวโมงที่พระองค์ถูกตรึงไม้กางเขน
                                                                             อ่านต่อ...

ฉลองแม่พระแห่งลูกประคำ 7 ตุลาคม

             ในสมัยกลาง พวกที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน มักจะถวายมงกุฎดอกไม้ให้แก่พระเจ้าแผ่นดินของตน เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่าตนยังจงรักภักดีอยู่  พวกคริสตชนก็ได้รับเอาขนบธรรมเนียบประเพณีนี้มาใช้เป็นเกียรติแด่พระนางมารีย์ โดยมอบ ให้พระนางซึ่ง “มงกุฎดอกกุหลาบ” 3 ชนิดด้วยกันให้พระนาง คือ

1. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงความชื่นชมยินดีของพระนาง

2. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงความทุกข์โศกเศร้าของพระนาง

3. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงเกียรติมงคลของพระนางในการที่พระนางได้มีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งชีวิตของพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระนาง

                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระถวายพระองค์ในพระวิหาร  21 พฤศจิกายน

             วันนี้เป็นวันฉลองหนึ่งของพระศาสนจักรตะวันออก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 มาแล้ว  พระศาสนจักรที่กรุงโรมได้รับเอาวันฉลองนี้เข้ามาไว้ในปฏิทินพิธีกรรมโดยเริ่มจากศตวรรษที่ 14 เท่านั้น สำหรับคริสตชนตะวันออก  " พระมารดาของพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นวิหารแท้ " และในวิหารนี้เองที่พระองค์ได้ทรงวางการช่วยให้รอดของพระองค์ในวันนั้น โดยยกเลิกพิธีกรรม( วิหาร )เก่าเสีย  สำหรับคริสตชนตะวันตก ( ได้มาจากธรรมประเพณีของปฐมพระวรสารของนักบุญยากอบ พระนางมารีอา คือสาวน้อยมหัศจรรย์ซึ่งเป็นตัวอย่างดีเลิศในการถวายตัวพระนางเองแด่พระผู้เป็นเจ้า

                                                                             อ่านต่อ...

แม่พระปฏิสนธินิรมล   8 ธันวาคม สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

             ในปี 1439 สภาสังคายนาแห่งเมืองบาเซิล ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถือว่ารหัสธรรมนี้เป็นความจริงประการหนึ่งที่บรรดาสัตบุรุษจะต้องเชื่อ

             ในปี 1854 พระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ได้ทรงประกาศ แม่พระปฏิสนธินิรมลเป็นข้อความเชื่อ  พระเป็นเจ้าทรงประสงค์ให้พระนางมารีอา  เป็นความรอดของมนุษยชาติ  เพราะว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้พระนางมารีอาเป็นความรอดของมนุษยชาติ เพราะว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้พระผู้ไถ่เป็น " บุตรมนุษย์ " ด้วยเหตุนี้ความหมายแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้าที่ตรัสกับมารผจญนั้น  จึงได้ถูกนำมาใช้กับพระนางมารีอาได้อย่างเต็มที่  โดยไม่ตะขิดตะขวงใจเลย " เราตั้งความเป็นศัตรูระหว่างเจ้ากับหญิงนั้น ระหว่างชาติพันธุ์ของเจ้าและชาติพันธุ์ของหญิงนี้จะเหยียบหัวเจ้า " ( ปฐก. 3: 15 )

                                                                             อ่านต่อ...