การฉลองการถวายพระเยซูกุมารที่พระวิหารมิใช่เป็นรหัสธรรมแห่งความชื่นชมยินดี   แต่ว่าเป็นรหัสธรรม แห่งความทุกข์โศกแห่งความเจ็บปวด เพราะพระนางมารีอาได้ทรงถวายพระบุตรแด่พระเป็นเจ้าพระบิดา การยกถวาย เป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง การฉลองนี้เป็นการเริ่มต้นรหัสธรรมแห่งความทุกข์ทรมานของพระนางมารีอา ซึ่งจะบรรลุถึงจุดสุดยอดที่เชิงไม้กางเขน

บุตรหัวปีชาวฮีบรูทุกคนเป็นสัญญลักษณ์ที่คงอยู่ตลอดไป  และเป็นการระลึกถึงการช่วยให้พ้นจากการเป็นทาสอยู่ทุกๆ วัน บุตรหัวปีของชาวฮีบรูในประเทศอียิปต์ได้รับการไว้ชีวิต แต่ว่าพระเยซูเจ้าบุตรหัวปีเหมือนกัน พระองค์ไม่ ได้รับการไว้ชีวิต โดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ พระองค์จะนำอิสรภาพใหม่และเด็ดขาดมาให้เราทุกคน

ตามบทบัญญัติดั้งเดิมมีหลักปฎิบัติ  2  ประการเกี่ยวกับบุตรหัวปีคือ (1) มารดาจะต้องถือว่าตนเองไม่สะอาด ดังนั้น เธอต้องอยู่ที่บ้าน 40 วันหลังจากคลอดบุตร แล้วจึงไปชำระตัวในพระวิหาร (2)  บิดามารดาจะต้องนำบุตรหัวปี ไปถวายแด่พระเป็นเจ้าในพระวิหาร

ในวันแม่พระถือศีลชำระ  แม่พระก็ปฎิบัติ  2 อย่างที่กล่าวมีนี้   แม้ว่าแม่พระจะไม่ถูกผูกมัดตามกฎหมาย  เพราะเธอยังเป็นพรหมจารีและบริสุทธิ์   แต่เพราะความสุภาพ เและความนอบน้อมเชื่อฟังบทบัญญัติ   เธอจึงกระทำ เหมือนกับบิดามารดาทั้งหลาย

ในขณะเดียวกันเธอก็ถวายบุตรหัวปีแด่พระเป็นเจ้า “เมื่อถึงเวลาที่แม่พระและนักบุญโยเซฟต้องทำพิธีชำระตัวตามธรรมบัญญัติของโมเสส ทั้งสองก็พาพระกุมารไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อถวายแด่พระเจ้า” (ลก.2:22)  แต่แม่พระมิ ได้ถวายบุตรเยี่ยงมารดาทั้งหลายที่ถวายลูก เพราะการถวายตัวเป็นบูชายัญเพื่อไถ่บาปโดยการสิ้นพระชนม์ เธอรู้แน่ว่าพระองค์จะถวายบูชาบนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปมนุษย์   แม่พระทรงรักพระบุตรมากได้ถวายชีวิตของพระบุตรและเธอ เองแด่พระเป็นเจ้า

พระประสงค์หรือแผนการของพระบิดา คือ  การไถ่บาปมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร   ในขณะเดียวกันพระองค์ก็มุ่งหวังความยุติธรรมในตัวมนุษย์    พระองค์มิได้ปล่อยให้พระบุตรกระทำการไถ่บาปไปแบบตามมีตามเกิด แต่กระทำให้เหมาะสมเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอด “พระองค์ไม่ได้หวงแหนพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ ไว้ แต่ได้ประทานให้เราทุกคน” (รม.8:22)

พระเป็นเจ้าทรงส่งพระบุตรให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ให้มีมารดาเป็นพรหมจารี     แต่พระองค์มิได้ให้พระบุตรบังเกิดจนกว่าสาวพรหมจารีนั้นจะยอมรับ และยินยอมที่จะให้พระเยซูเจ้าเสด็จมาบังเกิดเพื่อไถ่บาปมนุษย์  หัวใจของ แม่พระจึงถวายเป็นเครื่องบูชาไปพร้อมกับพระบุตรด้วย

นักบญโทมัสสอนว่า หน้าที่ของการเป็นมารดา คือ ให้มารดามีสิทธิพิเศษเหนือลูก ๆ ดังนั้นพระเยซูเจ้าเองเป็นผู้วิมล  และไม่สมควรจะถูกลงโทษ ดังเช่นการลงโทษให้ตายบนไม้กางเขน เพราะบาปของมนุษย์โดยที่มารดามิได้ยินยอม

บัดนี้   เมื่อแม่พระยินยอมให้พระเยซูเจ้าต้องตาย   เธอจึงกลายเป็นมารดาของพระเยซูเจ้า   พระเป็นเจ้าทรงปรารถนาจะให้เธอได้ถวายยัญบูชาในพระวิหารในวันนั้น โดยถวายองค์พระบุตรอย่างศักดิ์สิทธิ์ และด้วยเหตุนี้นักบุญ เอปิฟานีอุสเรียกแม่พระว่า “พระสงฆ์” เพราะเธอเป็นผู้ถวายพระบุตรเป็นเครื่องบูชา

เราจึงเริ่มมองเห็นว่าแม่พระต้องถวายบูชายัญมากเเพียงใด    ด้วยความโศกศัลย์และกล้าหาญที่เธอปฎิบัติ เพื่อยอมรับการตัดสินประหารชีวิตบุตรของเธอ

ตัวเราเองลองวาดภาพดูว่า  แม่พระรีบอุ้มพระบุตรไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อถวายบุตรเป็นยัญบูชา เธอเข้าไปในพระวิหาร เข้าไปที่พระแท่น ถวายบุตรด้วยใจสุภาพ และศรัทธาต่อพระเจ้าผู้สูงสุด ขณะเดียวกันท่านซีเมออน ผู้ที่พระทรงสัญญาว่า   ท่านจะไม่ตายจนกว่าจะเห็นองค์พระผู้ไถ่ ท่านรับพระกุมารมาจากมือของแม่พระและโดยคำดลใจของพระจิต ท่านจึงบอกกับแม่พระว่า บุตรนั้นจะต้องรับทนทรมานมากมาย   และเธอเองต้องปวดร้าวระทมประดุจมีดาบ เสียบหัวใจ
--------------------------------------------------------------------------------
ในบทเทศน์เรื่อง การถือศีลชำระ  นักบุญโทมัสแห่งวิลลาโนวา วาดภาพชายชราที่ศักดิ์สิทธิ์ทำหน้าตาเศร้าและสงบเงียบเมื่อคิดถึงคำทำนายดังกล่าว

 “ทำไมจึงเศร้าในวันมงคลนี้?” มารดาทารกถาม

ท่านซีเมออนตอบว่า “โอ้พรหมจารีผู้สูงสุด  ถ้าเป็นไปได้ ฉันเองไม่อยากาจะบอกข่าวอันน่าเศร้านี้แก่เธอเลย แต่เป็นน้ำพระทัยของพระ ขอให้ฟังดีๆ เด็กน้อยนี้ที่เธอมีความยินดีสักวันจะทำให้เธอต้องปวดร้าวดวงหทัย อย่างที่เธอ ไม่เคยประสบมาก่อน เธอจะเห็นพระองค์ถูกตรึงตายเยี่ยงนักโทษ เธอยินดีที่ได้เห็นเด็กน้อยนี้ แต่เธอจะต้องทนทรมานอย่างปวดร้าว หลังจากความตายของพระองค์แล้วก็จะมีคนมากมายที่ยอมตายเพื่อบุตรของเธอนี้”

ใช่แล้ว แม่พระจะทนทุกข์ใจ เหมือนดาบที่ทิ่มแทงดวงหทัย ตามที่ท่านซีเมออนได้พยากรณ์ไว้ว่า “และจะเป็น ประดุจคมดาบที่ทำให้ดวงใจของท่านแตกสลายไป” (ลก.2:35)

นักบุญเยโรมทำให้เราแน่ใจว่า แม่พระรู้จักพระคัมภีร์ดีที่ว่า องค์พระผู้ไถ่จะต้องทรทรมานและจะต้องโทษถึงตาย เธอเจ้าใจดีที่ประกาศกบอกว่า  สาวกของพระองค์เองจะเป็นผู้ทรยศ “แม้แต่สหายของฉันที่ร่วมโต๊ะอาหารกับฉัน จะเป็นผู้ทรยศฉันเอง” (สดด.40:10) พระองค์จะถูกทอดทิ้ง “ชุมพาบาลจะถูกทำร้ายและฝูงแกะจะกระจายไป” แม่พระ ทราบสิ่งเหล่านี้ดีถึงการเยาะเย้ย การเฆี่ยนดี การสวมมงกุฎหนามที่พวกเขากระทำต่อพระองค์  “ข้าพเจ้าหันหลังให้แก่ผู้โบยตีข้าพเจ้า และหันแก้มให้แก่คนที่ดึงเคราข้าพเจ้าออก ข้าพเจ้าไม่หนีหน้าให้แก่คนที่ถ่มน้ำลายรด” (อสย.50:6) แม่พระทราบดีว่า คนต้อยต่ำเหล่านี้ จะสบประมาทและทำร้ายพระองค์ ร่างกาของพระองค์อาจจะถูกฉีกออกเป็นชิ้น ๆ “แต่ท่านบาดเจ็บเพราะความทรยศของเรา ท่านฟกช้ำเพราะความผิดของเรา” (อสย.53:5)  แม่พระทราบเรื่องเหล่านี้ดี ว่า  ร่างกายของพระองค์จะถูกทำร้ายทุบตีจนฟกช้ำดำเขียวเพราะบาปของมนุษย์ พระองค์จะต้องตายเยี่ยงนักโทษประหาร ที่สุดจะถูกตรึงตายบนกางเขน เพื่อความรอดของมนุษยชาติ

ข้าพเจ้าได้บอกแล้วว่า  แม่พระทราบเรื่องนี่ดีว่า  พระเยซูเจ้าจะทรงถูกทรมาน แต่คำของซีเมออน แม่พระจะต้องทนทุกข์ลำบากทั้งทางใจและกาย เหมือนอย่างที่แม่พระเปิดเผยให้นักบุญเทเรซาได้เห็น อย่างไรก็ตามแม่พระยิน ยอมปฏิบัติตามจนกระทั่งเทวดารู้สึกฉงนใจ    เธอยอมรับแม้กระทั่งทราบว่าบุตรของตนจะต้องตาย    เมื่อเธอกล่าวว่า “ข้าแต่พระบิดาเมื่อเป็นน้ำพระทัยของพระองค์แแล้วก็ขอให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์เถิด” (ลก.22:42)

ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าขอถวายดวงใจแด่ท่าน เพื่อหัวใจนั้นจะถูกดาบทิ่มแทงตามที่พระองค์ปรารถนา ข้าแต่ พระเจ้า  เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับข้าพเจ้าที่จะถวายเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์  “มิใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อพระประสงค์ของพระองค์” โอ้พรหมจารีผู้น่ารักยิ่ง เธอสมจะได้รับชัยชนะทั้งในโลกนี้และในเมืองสวรรค์

นี่ก็อธิบายแล้วว่า   ทำไมแม่พระจึงเงียบในพระหว่างพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า เมื่อพระองค์ถูฏตัดสิน เธอมิได้กล่าวอะไร แก่ปิลาโตที่ต้องการจะให้ปล่อยพระองค์เป็นอิสระ  เธอรู้ว่าพระองค์บริสุทธิ์ เธอเพียงแต่ปรากฎตัวอย่างโจ่งแจ้งเพื่อถวายเครื่องบูชาบนเขากัลวารีโอ เธออยู่กับพระบุตรเมื่อถูกตัดสินและถูกตรึงกางเขน    “ที่เชิงกางเขน พระมารดาของพระเยซูเจ้ายืนอยู่ที่นั่น” (ยน.19:25) เธอยืนอยู่ที่นั่น เฝ้าคอยดูการถวายพระองค์เป็นเครื่องบูชา ทุกสิ่งนี้เธอกระทำเพื่อให้การถวายพระองค์ในพระวิหารได้เป็นไปอย่างครบถ้วน

เพื่อที่จะเข้าใจความหมายของเครื่องบูชา เราจะต้องเข้าใจความรักของแม่พระที่มีต่อพระเยซูเจ้า   พูดโดยทั่ว ไปแล้วความรักของแม่พระจะยิ่งใหญ่เมื่อลูก ๆ จะต้องตายหรือหายไป แม่ย่อมจะลืมความผิดที่ลูกกระทำทุกอย่างและพยายาม่ที่จะช่วยลูกให้พ้นจากอันตราย  หลายครั้งความรักของแม่ที่มีต่อลูกย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใด  แม่พระมีพระบุตรคนเดียวที่แสนจะห่วงใยและน่ารัก เพราะพระองค์เป็นทุกสิ่งสำหรับเธอ พระองค์เป็นผู้วิมล น่ารัก และเชื่อฟังเคารพแม่ พระ โดยเฉพาะพระองค์เป็นพระเจ้า และความรักของแม่พระจึงหยุดอยู่ที่นั้น เธอมุ่งความสนใจไปที่บุตรของเธอมากกว่าสิ่งสร้างใด ๆ เธอไม่กลัวว่าเธอจะรักพระองค์มากเกินไป ทารกนี้คือพระเจ้าที่สมควรจะได้รับความรักมากอย่างไม่มีขอบเขต และเป็นพระบุตรองค์เดียวที่ถวายเครื่องบูชาโดยยอมรับความตาย

เราเชื่ออย่างจริงใจว่า การถวายพระบุตรที่แม่พระกระทำนั้นย่อมเป็นที่ยอมรับของพระเป็นเจ้า   และผลก็คือ พระองค์ทรงฟังคำภาวนาเพิ่มขึ้นทุกครั้งเสมอ จึงมีวิญญาณจำนวนมากเอาตัวรอดไปสวรรค์

พระเป็นเจ้าทรงสัญญากับท่านซีเมออนว่าท่านจะไม่ตายจนกว่าจะได้เห็นพระมหาไถ่ “พระเป็นเจ้าทรงแสดง แก่ท่านว่า ท่านจะไม่ตายจนกว่าจะได้เห็นพระคริสต์ของพระเป็นเจ้า” (ลก.2:26) แต่โดยทางแม่พระท่านจึงได้รับพระ หรรษทาน เพราะในมือของเธอ ท่านได้พบองค์พระมหาไถ่ ดังนั้นเราอาจจะกล่าวว่า ใครก็ตามที่จะพบพระเยซูเจ้าก็จะพบพระองค์โดยพระแม่มารีย์  ดังนั้นให้เราไปหาแม่พระถ้าเราอยากจะพบพระเยซูเจ้า  และให้เราเข้าไปด้วยความไว้วางใจ

พระแม่มารีย์บอกกับท่านปรูเดนซีอานา ซาโกนีว่า ทุกๆ ปีในวันฉลองแม่พระถือศีลชำระคนบาปจะได้รับพระ หรรษทานอย่างมากมาย ใครจะไปรู้เราอาจจะเป็นคนบาปนั้นก็ได้   บาปของเราแม้จะใหญ่หลวง  แต่ฤทธิ์อำนาจของพระแม่ยิ่งใหญ่กว่า

บทความจาก : หนังสือพระนางมารีอา
รวบรวมโดย : บ้านผู้หว่าน