มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล 25 พฤศจิกายน 2018

 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

25  พฤศจิกายน  2018

บทอ่าน ดนล 7:13-14  ;  วว 1:5-8  ;  ยน  18:33ข-37

พระวาสารสัมพันธ์กับ   คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)   217, 549, 559, 600, 2471

จุดเน้น             พระเยซูเจ้าทรงเป็นกษัตริย์ไม่เหมือนองค์อื่น  พระองค์ทรงถวายแบบอย่างการดำเนินชีวิตแก่เรา

            เมื่อเราคิดถึงพระมหากษัตริย์  เราชาวไทยก็คิดถึงพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์จักรี  หรือราชวงศ์อังกฤษ  มีทั้งเรื่องราวดีๆ และบางทีก็ไม่ดีตามภาษามนุษย์  ไม่เหมือนพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาลที่เราฉลองวันนี้

            ในฐานะประเทศหนึ่ง  ที่ได้ต่อสู้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากนักการเมือง  เราต่างหวังว่าพวกเขาจะนำความก้าวหน้ามาสู่ประชาชนและบ้านเมือง  แต่บ่อยๆ เราก็ผิดหวัง

            วันนี้เราฉลองพระคริสตเจ้ากษัตริย์  ดูเหมือนว่าเราต้องการภาพลักษณ์ที่แตกต่างของกษัตริย์  เราต้องดูภาพลักษณ์เดิมของกษัตริย์  เพื่อจะได้เข้าใจดีขึ้นว่าวันฉลองวันนี้กล่าวถึงพระเยซูเจ้า  และเกี่ยวกับเราในฐานะสมาชิกของอาณาจักรพระเจ้า

            ความคิดโบราณเกี่ยวกับกษัตริย์ในอุดมคติ หมายถึง กษัตริย์เป็นผู้เผชิญกับการตัดสินใจเรื่องยากๆ ด้วยปรีชาญาณ  เมตตาธรรม  และความยุติธรรม  พระมหากษัตริย์ดำเนินชีวิตรับใช้ประชาชน  เป็นแบบอย่างเต็มไปด้วยศรัทธาและรับใช้ช่วยเหลือ  สร้างสันติสุข  และยอมอุทิศชีวิตเพื่อประชาชนของพระองค์  ดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์  และยอมสละชีวิตเพื่อประชาชน  ถ้าจำเป็น

ภาพลักษณ์ของกษัตริย์ในสมัยก่อนช่วยเราให้เข้าใจพระเยซูคริสตเจ้าดีขึ้น  พระองค์เป็นผู้อุทิศชีวิตเป็นแบบฉบับการดำเนินชีวิตประจำวัน  พระองค์เป็นผู้สร้างสันติมาสู่สังคมที่มีความขัดแย้ง  พระปรีชา  เมตตาธรรม  และความยุติธรรมเป็นแบบอย่างการตัดสินใจและการกระทำของเรา  พระองค์ทรงเต็มใจถวายชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อเรา

ในฐานะพระราชาที่ดีที่สุด  พระเยซูเจ้าทรงสอนเราด้วยแบบอย่างว่า  พระราชาแท้จริงไม่ใช่เรื่องเสน่ห์  อำนาจ  หรือความร่ำรวยมั่งคั่ง  แต่เป็นเรื่องการรับใช้  ในฐานะพระมหากษัตริย์ของเรา  พระองค์ดำรงชีวิตรับใช้ด้วยความรักและสุภาพ  เราต้องใจเมตตา  ยุติธรรม  และซื่อสัตย์  เต็มใจนำสันติของพระเจ้ามาสู่สถานการณ์ที่ท้าทาย  พระองค์ทรงเรียกเราให้สละชีวิต  เพื่อผู้อื่นจะได้มีชีวิต

นี่เป็นรูปแบบกษัตริย์ซึ่งเราแต่ละคนที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วควรปฏิบัติ  ทำให้เราเห็น (นิมิต) ฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่  แสดงให้เราเข้าใจว่าต้องยืนขึ้นต่อหน้าอำนาจของโลก  เราต้องพร้อมถวายชีวิตเพื่อติดตามพระอาณาจักรของพระเจ้า

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Daily Homilies โดย Catholic  Diocese  of  Lansing

(ตุลาคม-ธันวาคม 2018) หน้า 533-534.

อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา 18 พฤศจิกายน 2018

 วันอาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

18  พฤศจิกายน  2018

บทอ่าน ดนล 12:1-3  ;  ฮบ 10:11-14, 18  ;  มก  13:24-32

พระวาสารสัมพันธ์กับ   คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)   474, 673

จุดเน้น             พระเยซูเจ้าทรงไถ่กู้โลก  โดยอาศัยไม้กางเขน

            เราเข้ามาใกล้สิ้นปีพิธีกรรม  ให้สังเกตว่า บทอ่านในมิสซา  เน้นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นตอนหมดเวลา

            ในบทอ่านแรกวันนี้  เขียนตอนชาวยิวถูกกวาดต้อนอพยพไปบาบิโลน (อิรัก) มากกว่า 500 ปีก่อนพระเยซูเจ้าบังเกิด  ประกาศกดาเนียลพูดถึงความรอดพ้นและการสาปแช่งในเวลาสงครามและการถูกจับเป็นทาส  ดาเนียลพูดถึงชัยชนะสุดท้ายของความดีเหนือความชั่ว  ชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด  เรารู้ว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงทำให้สำเร็จ  ทั้งบนแผ่นดินและในสวรรค์

            เช่นกันในพระวรสารนักบุญมาระโก  อ้างถึงวันสิ้นโลก “เมื่อบุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาในก้อนเมฆ  ทรงอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่... ส่วนเรื่องวันและเวลานั้น  ไม่มีใครรู้เลย”  อย่างไรก็ดี  พระเยซูเจ้าตรัสภาพลักษณ์ “การแตกกิ่งอ่อนและผลิใบในต้นมะเดื่อเทศ”  การประทับอยู่ของพระองค์ในโลกนี้เป็นเครื่องหมายทรงพลังว่า  วันของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว เป็นการเตือนใจเราให้เจริญชีวิตมีความสัมพันธ์ดีกับพระเจ้าและกับผู้อื่น  บางทีหากเรารู้ว่าเราจะจากโลกนี้ไปวันใด  หรือช่วงเวลาที่พระคริสตเจ้าทรงกลับมา  เราอาจผัดวันประกันพรุ่ง  หรือรีรอที่จะเจริญชีวิตตามความเชื่อ  และละทิ้งวิถีชีวิตเดิมๆ ในบาป  พระเยซูเจ้าทรงให้เราอยู่ในฐานะที่ดี  ก่อนพระองค์จะเสด็จกลับมา  เราจึงควรทำดีมีเมตตาทั้งฝ่ายร่างกายและฝ่ายจิตใจทุกวัน  เพื่อพระองค์จะพบว่าเราเตรียมพร้อมเมื่อพระองค์เสด็จกลับมา

            จดหมายถึงชาวฮีบรูนำพระธรรมล้ำลึกมาเตือนใจเราในมิสซา  เราจำได้ว่า “พระคริสตเจ้าทรงถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปเพียงครั้งเดียว  พระองค์ทรงทำให้ทุกคนที่กำลังรับความศักดิ์สิทธิ์บรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์”

            อาทิตย์หน้าเราจะสิ้นปีพิธีกรรม  ต่อไปจะเริ่มปีใหม่  เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า  โปรดระลึกว่า  ฟ้าและดินจะผ่านพ้นไป  พระวาจาของพระเจ้าจะคงอยู่นิรันดร์

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Daily Homilies โดย Catholic  Diocese  of  Lansing

(ตุลาคม-ธันวาคม 2018) หน้า 522-523.

อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา 23 กันยายน 2018

วันอาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23  กันยายน 2018

บทอ่าน ปชญ  2:12, 17-20   ;   ยก 3:16-4:3   ;   มก 9:30-37

พระวาสารสัมพันธ์กับ   คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)  474, 557, 1825

ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  (CSDC)   379

จุดเน้น             บาปฆ่าและทำลาย  แต่พระเจ้าทรงส่งเสริมชีวิตของเรา

            ใครที่เคยพยายามทำความสะอาดรอยขีดข่วน  เป็นพิเศษคนที่เกี่ยวข้องกับกาว  และมีเด็กเล็กๆ มาเกี่ยวข้อง  บางทีข้องใจบทสอนของบทอ่านวันนี้ดีกว่าคนอื่นส่วนใหญ่  เหมือนบาปการประจญ  เกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะทำความสะอาดอย่างเต็มที่  และพบวิธีจัดการทุกอย่างในชีวิตของเรา

            เราพบปัญหาว่า  โลกเป็นอย่างนั้นที่นั่นได้อย่างไร... เรารู้ว่ามันไปที่นั่นได้อย่างไร  ความยั่วยวน  การผจญเป็นความชั่ว  แต่เรารู้ว่ามันจบที่นั่น  เพราะมันเป็นอะไร  มันไปทุกแห่ง  สัมผัสทุกสิ่ง  มันเหมือนว่า  ถ้าพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อขจัดสิ่งไม่ดี  ความไม่มีระเบียบของเรา  ผลที่ตามมา... ไม่มีวันจบสิ้น

            ปัญหาของเราเหมือนที่นักบุญยากอบกำลังถามวันนี้ “การต่อสู้และการทะเลาะวิวาทในหมู่ท่านนั้นมาจากที่ใด”  นักบุญยากอบรู้คำตอบแล้วแน่นอน “มิใช่มาจากกิเลสตัณหา  ซึ่งต้อสู้อยู่ภายในร่างกายของท่านหรือ”  นักบุญยากอบพูดถึงบาป  ความปรารถนาไม่ดี  กิจการไม่ดี  ผลของบาปกำเนิด  มันไปทุกที่  สัมผัสทุกสิ่ง

            ข้อความทั้งหมดของนักบุญยากอบอธิบายถึงบาป  และสรุปทางแก้ในปรีชาญาณ  ซึ่งสมบูรณ์ในพระเยซูเจ้า “ปรีชาญาณจากเบื้องบนเป็นสิ่งแรกแห่งความบริสุทธิ์ทั้งหมด  แล้วมีสันติ  อ่อนโยน  เปี่ยมด้วยผลแห่งความดีและมีเมตตา  ปราศจากความไม่จริงใจ

            พระเยซูคริสตเจ้าผู้ช่วยเราให้รอดจากบาป  เพราะว่าเราไม่สามารถช่วยไถ่กู้ตนเอง  พระเยซูคริสตเจ้าทรงสั่งสอนบรรดาศิษย์  แต่พวกเขาไม่เข้าใจว่า “พระองค์จะถูกมอบในเงื้อมมือของคนทั้งหลาย  เขาจะประหารชีวิตพระองค์  แต่เมื่อถูกประหารแล้ว  ในวันที่สามพระองค์จะกลับคืนชีพ”  พระเยซูคริสตเจ้าผู้สอนเราให้ควบคุมกิเลสและปฏิบัติกิจการรับใช้กันและกัน  พระองค์ผู้ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้  ทรงเหมือนเรามนุษย์ทุกอย่างเว้นแต่บาป  พระองค์ทรงเข้าใจการต่อสู้กับบาป  พระเจ้าทรงคอยช่วยเหลือเวลาที่เราต้องการ

            เรารู้ว่า  ไม่มีผู้ใดตายจากการประจญ  เช่นเดียวกับบาป  บาปฆ่าและทำลาย  แต่พระเจ้าทรงส่งเสริมชีวิตของเรา  ดังที่บทสดุดีกล่าว  เรามีการเลือกจะยอมทำบาปหรือเลือกพระเยซูเจ้า  ให้เราวอนขอพระหรรษทานจากพระเจ้าที่เราได้รับฟังพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์  ช่วยเราทำแต่ความดี  ให้ชีวิตของเราไม่สะท้อนบาป  แต่เป็นแสงสว่างของพระบุตร 

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Daily Homilies โดย Catholic  Diocese  of  Lansing

(กรกฎาคม-กันยายน 2018) หน้า 429-430.

อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา 30 กันยายน 2018

อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

30  กันยายน  2018

บทอ่าน กดว 11 : 25-29  ;  ยก 5 :1-6  ;  มก 9:38 - 43, 45, 47-48

พระวาสารสัมพันธ์กับ   คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)   1034                    

จุดเน้น             เรากำลังเตรียมสำหรับสิ่งที่กำลังมาถึงหรือยัง

            ปีพิธีกรรมมาถึงช่วงสุดท้ายอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง  กลางวันของเราสั้นขึ้น  กลางคืนของเราจะนานขึ้น  บทอ่านจากพระคัมภีร์ยังชี้ต่อเนื่องให้เรามุ่งสู่ช่วงเวลาสุดท้าย (ของปีพิธีกรรม) การพิพากษา  และอาณาจักรพระเจ้า  เราควรเฝ้าเอาใจใส่ในช่วงเวลานี้  เพื่อมิให้พลาดจุดหมายนั้น

            โจชัวประท้วงโมเสสในบทอ่านแรก  ที่เอลดาด  และเมดาด  มิได้อยู่เมื่อพระจิตลงมาเหนือผู้อาวุโส  70 คน  ดังนั้นเขาทั้งสองไม่ควรพูดเหมือนประกาศก  โมเสสบอกโจชัวว่า  เขากำลังพลาดจุดหมายนั้น  โดยกล่าวว่า  “เราปรารถนาจะให้องค์พระผู้เป็นเจ้าประทานพระจิตของพระองค์แก่ประชากรทั้งปวง  และให้เขาทุกคนเป็นประกาศกด้วย”

            ในพระวรสาร  นักบุญยอห์นประท้วงพระเยซูเจ้า  คนหนึ่งที่ไม่ใช่พวกเดียวกับเรา  กำลังขับไล่ปีศาจในนามของพระองค์  พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า  เขากำลังพลาดจุดหมายนั้น  “ผู้ใดไม่ต่อต้านเรา  ก็เป็นฝ่ายเรา”

            ดังนั้น  จุดหมายนั้นคืออะไร  เราอาจคิดแบบนี้ว่า  เรากำลังเตรียมตัวอย่างไร  เพื่อบรรลุจุดหมายสุดท้ายแห่งประสบการชีวิตส่วนตัว  กล่าวคือ  เมื่อเราสิ้นใจ ถ้าพระเยซูเจ้ากลับมาวันนี้  เราจะสบายใจกับการพิพากษาว่าเรากำลังทำกับสิ่งสร้างของพระบิดา   กับพระพรแห่งชีวิต  กับพระพรแห่งความเชื่อ เราเตรียมพร้อมจะเข้าในพระอาณาจักรของพระเจ้าหรือ  คำถามเหล่านี้  พ่อมิได้หมายความจะทำให้เรารู้สึกหดหู่  หรือทำให้ทุกคนรู้ว่าเรากำลังเดินทางผิด  ตรงข้าม  สำหรับแต่ละคนพระเจ้าทรงเรียกเราให้ดำเนินชีวิตให้เต็มศักยภาพ  เราจะแปลการดำเนินชีวิตให้เต็มศักยภาพอย่างไร  เมื่อพบการตรวจสอบประเมินผลชีวิตการไล่ตามหาวัตถุ  มิได้เป็นการดำเนินชีวิตเต็มศักยภาพ  แต่การไล่ตามสิ่งของพระเจ้าต่างหาก  เป็นการดำเนินชีวิตเต็มศักยภาพ

            นักบุญยากอบสอนทางกลับบ้านแก่เราวันนี้  “ทรัพย์สมบัติของท่านไม่มีคุณค่า  และเสื่อมสลาย  การอยุติธรรมต่อผู้อื่น  พระเจ้าทรงทราบและจะเป็นประจักษ์พยานปรับปรำเรา  บัดนี้การมีบ้านใหญ่โต  รถยนต์ใหม่  และมีเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด  หรือ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับพระเจ้า  กับบุคคลในครอบครัว  พ่อแม่  ลูกหลาน  และเพื่อนบ้านเป็นสิ่งที่ดีกว่า  มิได้หมายความว่า  เราไม่สามารถมีทั้งสองอย่าง แต่บรรดาสิ่งที่เราตามหาฝ่ายวัตถุไม่มีค่า  ความสัมพันธ์ในชีวิตที่สำคัญที่สุด  คือความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า

            โจชัวได้พลาดจุดหมาย  เขาคิดว่าที่เอลดาด  และเมดาดทำฝ่ายกาย  สำคัญมากกว่าฝ่ายพระเจ้า  นักบุญยอห์นพลาดจุดหมาย เขาคิดว่าคนนั้นที่กำลังขับไล่ปีศาจในพระนามพระเยซูเจ้า  มิได้มีความสัมพันธ์ที่แลเห็นได้กับพระเยซูเจ้า  (คือ เขามิได้ติดตามเรา)  เขาต้องไม่มีความสัมพันธ์กับพระองค์  แน่นอน

            เราไม่มีข้อแก้ตัวถ้าเราพลาดจุดหมายนี้  เรารู้ว่าความสัมพันธ์ของเรากับพระเยซูเจ้า  ความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาโดยอาศัยพระเยซูเจ้า  ความสัมพันธ์ของเรากับพระบิดาโดยอาศัยพระเยซูเจ้าเป็นฐานของทุกสิ่ง  หากความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าเข้มแข็ง ความสัมพันธ์อื่นๆในชีวิตก็เข้มแข็ง  เราจึงสามารถเป็นประกาศกของพระเจ้า  กระทำกิจการที่มีพลังในนามของพระองค์  เมื่อวาระสุดท้ายแห่งชีวิตมาถึง  เราก็มีคำตอบต่อคำถามที่ว่า “คุณเตรียมพร้อมกลับไปเข้าพระอาณาจักรพระเจ้าหรือไม่   เราสามารถตอบด้วยคำพูดของพระเยซูเจ้าเองว่า  “ เพราะข้าพเจ้าเป็นคนของพระคริสเจ้า... ข้าพเจ้าจะได้บำเหน็จรางวัลอย่างแน่นอน”

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Daily Homilies โดย Catholic  Diocese  of  Lansing

(กรกฎาคม-กันยายน 2018) หน้า 440-441.

อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา 16 กันยายน 2018

วันอาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

16  กันยายน 2018

บทอ่าน อสย  50:5-9ก   ;   ยก 2:14-18   ;   มก 8:27-35

พระวาสารสัมพันธ์กับ   คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)  459, 472, 474, 557, 572, 649, 1615, 2544                       

จุดเน้น             เรื่องราวของนักบุญเปโตร  เป็นเรื่องหนึ่งที่คริสตชนทุกคนสามารถเรียนรู้

            เรารู้จักนักบุญเปโตรว่าเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่  หลายคนไตร่ตรองชีวิตมนุษย์ของท่าน  ทำให้มีความหวัง   ในข้อเท็จจริงแม้เผชิญกับหลายสิ่ง  ที่สุดได้เป็นนักบุญ  แต่อะไรที่ทำให้นักบุญเปโตรเอาชนะข้อบกพร่องต่างๆ  มีความเชื่อลึกซึ้งในพระคริสตเจ้า  และยอมรับ  พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ว่า  “ถ้าผู้ใดอยากติดตามเรา  ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเอง  ให้แบกไม้กางเขนของตน  และติดตามเรา”

            ความจริงนี้ชัดเจน  เมื่อเราระลึกว่า  นักบุญเปโตรผู้เคยปฏิเสธ  และได้หนีจากพระเยซูเจ้าในเวลาที่พระองค์ต้องการ    ตอนนี้เป็นผู้ที่ประกาศว่าพระเยซูเจ้าคือพระคริสตเจ้า  เปโตรเข้าใจพระเยซูเจ้า  และพันธกิจผิดมาก  จนสามารถปฏิเสธพระองค์    และนี่เป็นอีกตอนหนึ่งในพระวรสารที่ทำให้เราตกใจมาก  คือพระเยซูเจ้าทรงหันมาตำหนิ เปโตร แรง  “เจ้าซาตานถอยไปข้างหลังเรา  อย่าขัดขวาง  เจ้าไม่คิดอย่างพระเจ้า  แต่คิดอย่างมนุษย์   คำพูดเหล่านี้แรงจริงๆ  แต่ก็สมควรที่เปโตรโดน  เพราะคิดนอกลู่นอกทางกับพระคริสตเจ้า

            ดังที่เราได้ยินจากพระวรสาร   เป็นการดีที่เราจะถามตนเองว่าเราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าเป็นใคร  ถ้าเราเห็นว่าพระองค์เป็นเหมือนประกาศกองค์หนึ่ง  เราจะเชื่อในการคืนดีที่พระองค์มอบให้บนไม้กางเขน  และการกลับคืนชีพ  หรือไม่  หรือเราเป็นเหมือนเปโตร  มีความสุขที่จะยืนยันว่า  พระองค์คือพระคริสตเจ้า  แต่ไม่สามารถรับความหมายเต็มๆ ตามที่หมายถึง

            เพื่อเลียนแบบเปโตร   เราต้องดูทั้งเรื่องคือ  ท่านได้เสียใจ   ร้องไห้  หลังจากได้ปฏิเสธพระองค์

  • ประกาศว่ารักพระองค์  ที่ทะเลสาบกาลิลี
    • หลังวันเปนเตกอสเต  กล้าไปประกาศข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ

นี่คือสิ่งที่ทำให้เปโตรยิ่งใหญ่  และน่าชื่นชม  เราสามารถเรียนรู้จากท่าน  แม้เราอาจถูกดึงดูดให้หลงตามภาษามนุษย์  แต่เราไม่ควรเพิกเฉยงานที่พระเจ้าทรงกระทำ  ให้เปโตรเข้มแข็ง  และมีพลังเป็นศิษย์  และผู้เขียนพระคัมภีร์

            เหมือนเปโตร    เราต้องยอมให้พระคริสตเจ้าเปลี่ยนแปลงเรา  ถ้าเราต้องละทิ้งวิธีคิดอย่างมนุษย์  ถูกแล้วมันยากแต่ก็จำเป็น  ศีลล้างบาปมิใช่เพียงช่วงเวลา  หรือความคาดหวังตามวัฒนธรรม (พ่อแม่เป็นคาทอลิก  เราก็เป็นตาม)  แต่เป็นการเริ่มความสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า  เป็นความสัมพันธ์ยาวนานตลอดชีวิต  และเรียกเราให้เปิดหัวใจต่อพระคริสตเจ้า  และพระวาจาของพระองค์

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Daily Homilies โดย Catholic  Diocese  of  Lansing

(กรกฎาคม-กันยายน 2018) หน้า 418-419.

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown