มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

สารวันสันติภาพสากล (ครั้งที่ 54) วัฒนธรรมแห่งการเอาใจใส่ ในฐานะหนทางสู่สันติภาพ

สารวันสันติภาพสากล  (ครั้งที่ 54)
วัฒนธรรมแห่งการเอาใจใส่ ในฐานะหนทางสู่สันติภาพ
++++++++++

 

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้มอบสารวันสันติภาพสากล วันที่ 1 มกราคม 2021 มีใจความสรุปดังนี้     
 1.  ปี 2020  เราเผชิญวิกฤติสุขภาพ  โควิด -19 ทั่วโลก คล้ายวิกฤติสภาพภูมิอากาศ   อาหาร  เศรษฐกิจ  และการอพยพ  เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ยากลำบาก  เป็นพิเศษครอบครัวที่สูญเสียสมาชิก  และผู้ตกงาน มีบุคคลที่เป็นประจักษ์พยานแห่งความรักช่วยเหลือกัน  แต่ในเวลาเดียวกัน  น่าเศร้าที่มีชาติชาตินิยม  ลัทธิเหยียดผิว  การรังเกียจคนต่างชาติ สงคราม  และความขัดแย้ง  ที่นำความตาย  และการทำลาย  เหตุการณ์เหล่านี้สอนเราให้เห็นความสำคัญของการเอาใจใส่กัน  และดูแลสิ่งสร้างเพื่อสังคมแบบพี่น้องกันมากขึ้น

2.  พระเจ้าพระผู้สร้าง  เป็นต้นกำเนิดกระแสเรียกมนุษย์ให้เอาใจใส่ ดังเรื่องราวในพระคัมภีร์ปฐมกาล  มนุษย์ในสวนเอเดน  “ให้เพาะปลูก และดูแลสวน” (ปฐก 2:15) เรื่องราวของกาอิน  และอาเบล  ให้พี่ดูแลน้อง (ปฐก 4:9) ดูแลชีวิต  และธรรมชาติ

3.  พระเจ้าพระผู้สร้าง  รูปแบบของการเอาใจใส่  ทรงดูแลอาดัม  เอวา  และลูกๆ  มนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า  ทรงกำหนดให้มีวันสับบาโต ให้หยุดงาน พักผ่อน และ เพื่อนมัสการพระเจ้า  ฟื้นฟูระเบียบสังคม  และเอาใจใส่คนจน (ลนต 25:4) มีปียูบีลี “จะไม่มีคนยากจนในหมู่ท่าน” (ฉธบ 15:4)

4.  การเอาใจใส่ในพันธกิจของพระเยซูเจ้า  พระเจ้าทรงรักมนุษย์มาก จึงส่งพระบุตรมาอยู่ท่ามกลางเรา (ยน 3:18) ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ..ประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ  คืนสายตาให้แก่คนตาบอด  ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ  (ลก 4:18) ทรงรักษาคนเจ็บป่วย  ให้อภัยคนบาป  เป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี  เป็นชาวสะมาเรียใจดี (ลก 10:30-37) และมอบชีวิตบนไม้กางเขน  เพื่อไถ่เราให้เป็นอิสระจากบาปและความตาย

5.  วัฒนธรรม แห่งการเอาใจใส่ใน  ชีวิตของศิษย์พระเยซู  ปฏิบัติกิจเมตตาฝ่ายร่างกาย  และจิตใจ  ในพระศาสนจักรสมัยแรก” แบ่งปันสิ่งที่มี... ไม่มีใครขัดสน”  (กจ 4:34-35)...พระศาสนจักรปัจจุบันทำงานช่วยคนจน โดยอาศัย โรงพยาบาล  สถานสงเคราะห์  บ้านเด็ก  บ้านพักสำหรับผู้เดินทาง ฯลฯ

6.  หลักคำสอนด้านสังคม  มีพื้นฐานคือวัฒนธรรมการเอาใจใส่  เพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์  ความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกัน  การเอาใจใส่เพื่อความดีส่วนรวม  การเอาใจใส่และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ดังในสมณสาส์น  เลาดาโตซี  เอาใจใส่ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมเพราะว่าทุกสิ่งสัมพันธ์กัน

7.  เข็มทิศชี้สู่หนทางร่วมกัน  เราอยู่ในวัฒนธรรมทิ้งขว้าง  จึงขอบรรดาผู้นำ  และผู้อบรม  ยึดหลักการเหล่านี้  โดยถือเป็น “ เข็มทิศ”ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่ออนาคตของมนุษย์  ลดอาวุธนิวเคลียร์หันมาส่งเสริมสันติภาพ  และการพัฒนาที่ยั่งยืน  ต่อสู้ความจน

8.การศึกษาเพื่อวัฒนธรรมแห่งการเอาใจใส่  โดยเริ่มในครอบครัว โรงเรียน  มหาวิทยาลัย  สื่อสารสังคม  ผู้นำศาสนา  และองค์กรต่างๆ  รู้จักฟัง  เสวนา  และเข้าใจกัน

9.ไม่มีสันติภาพ  หากปราศจากวัฒนธรรมแห่งการเอาใจใส่  ขอเราอุทิศตน  ทำงานเพื่อการคืนดี  รักษา  เคารพ  และยอมรับกันและกัน เพื่อสร้างชุมชนที่เป็นพี่น้อง  ยอมรับ  และเอาใจใส่ดูแลกัน


++++++++++                                                                               
 ฟ.วีระ  อาภรณ์รัตน์  
แปลสรุป (18 ธันวาคม 2020)

สาสน์พระสังฆราชยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม โอกาสวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

สาส์นวันผู้ป่วยสากล โอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 28/พระสังฆราชยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม

สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสเทศกาลมหาพรต ค.ศ. 2020

 


“เราจึงขอร้องแทนพระคริสตเจ้าว่า จงยอมคืนดีกับพระเจ้าเถิด” (2 คร  5:20)
    
พี่น้องชายหญิงที่รัก
ปีนี้องค์พระผู้เป็นเจ้าประทานเวลาแห่งความโปรดปรานให้เราอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเตรียมตัวฉลองพระธรรมล้ำลึกที่ยิ่งใหญ่แห่งการสิ้นพระชนม์ และการเสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นศิลาหัวมุมแห่งชีวิตคริสตชน ทั้งที่เป็นส่วนตัวและเป็นชุมชน ด้วยจิตใจที่รื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ เราต้องยกจิตใจเข้าสู่พระธรรมล้ำลึกนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะการกระทำเช่นนี้จะเจริญเติบโตขึ้นภายในตัวเราในระดับที่เราเปิดใจให้กับพลังฝ่ายจิต และตอบสนองด้วยเสรีภาพและความมีใจกว้างเท่านั้น
1.    พระธรรมล้ำลึกปัสกาคือพื้นฐานแห่งการกลับใจ
    ความชื่นชมยินดีของคริสตชนเกิดจากการฟังและการยอมรับการสิ้นพระชนม์และการเสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ความจริงนี้สรุปพระธรรมล้ำลึกแห่งความรักไว้ทั้งหมด “เป็นจริง อย่างแน่นอน เป็นรูปธรรมจนกระทั่งเชื้อเชิญเราให้ต้องมีความสัมพันธ์ที่เปิดใจกว้างและมีการเสวนาที่บังเกิดผล” (พระคริสตเจ้าทรงพระชนม์, 117)  ผู้ใดที่เชื่อในสาส์นนี้จะปฏิเสธความมดเท็จที่ว่าชีวิตเป็นของเรา เราจะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจของเรา  ตรงกันข้าม ชีวิตของเราเกิดจากความรักของพระเจ้าพระบิดาของเรา จากความปรารถนาที่จะให้ชีวิตเราอย่างบริบูรณ์ (เทียบ ยน  10:10) ตรงกันข้าม หากเราไปฟังเสียงหลอกลวงของ “เจ้าพ่อจอมโกหก” (ยน 8:44) เราก็เสี่ยงที่จะตกลงไปในเหวแห่งความไร้เหตุผล และจะพบกับขุมนรกตั้งแต่ในโลกนี้ อย่างที่ทั้งปัจเจกบุคคลและสังคมประสบด้วยตากับเหตุการณ์หายนะต่างๆ
    ในเทศกาลมหาพรตของปี 2020 ข้าพเจ้าใคร่ที่จะแบ่งปันกับคริสตชนทุกคนถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนถึงเยาวชนในสมณลิขิตเตือนใจพระคริสตเจ้าทรงพระชนม์ “จงเพ่งสายตาไปยังพระหัตถ์ที่กางออกกว้างของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขน จงยอมให้ตัวท่านได้รับการไถ่กู้ครั้งแล้วครั้งเล่า  จงพิศเพ่งไปยังโลหิตของพระองค์ ที่หลั่งไหลออกมาด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ และจงยอมให้ตัวท่านได้รับการชำระล้างจากพระโลหิตดังกล่าว อาศัยวิธีนี้ท่านสามารถเกิดใหม่ได้” (ข้อ 123) ปัสกาของพระเยซูเจ้าไม่ใช่เรื่องเหตุการณ์ในอดีต ตรงกันข้าม อาศัยพระอานุภาพของพระจิตเจ้า มันเป็นสิ่งปัจจุบันที่สามารถทำให้เราได้สัมผัสกับความเชื่อ ซึ่งพระกายของพระคริสตเจ้ากำลังทนทุกข์ในคนเหล่านั้น
 

2.    ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกลับใจ
เป็นการดีที่จะพิศเพ่งให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงพระธรรมล้ำลึกปัสกา ซึ่งอาศัยการพิศเพ่งนี้พระเจ้าจะ
ประทานพระเมตตามายังเรา  ที่จริงแล้วพระเมตตาจะเกิดขึ้นได้ก็ในความสัมพันธ์กันอย่างซึ่งหน้า กับพระผู้ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนและเสด็จกลับฟื้นขึ้นมา “ผู้ทรงรักข้าพเจ้าและทรงมอบตนเพื่อข้าพเจ้า” (กท  2:20)  ในการเสวนาด้วยความจริงใจระหว่างมิตรสหาย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการสวดภาวนาจึงมีความสำคัญยิ่งในเทศกาลมหาพรต การสวดภาวนามีความสำคัญยิ่งกว่าหน้าที่เสียอีก มันเป็นการแสดงออกของเราถึงความจำเป็น ที่จะต้องตอบสนองต่อความรักของพระเจ้า ซึ่งรักเราและทำนุบำรุงเลี้ยงดูเรา คริสตชนสวดภาวนาด้วยตระหนักว่าแม้ตนไม่สมควรแต่ก็ยังได้รับความรักจากพระองค์ การสวดภาวนาทำได้ในหลายรูปแบบ แต่สิ่งที่สำคัญในสายพระเนตรของพระเจ้าคือมันจะทะลวงลึกเข้าไปในตัวเรา และจะขจัดความแข็งกระด้างแห่งหัวใจของเราออกไป เพื่อที่จะทำให้เรากลับใจหันเข้าหาพระเจ้าและทำตามน้ำพระทัยของพระองค์
    ในเทศกาลอันเป็นที่โปรดปรานนี้ ขอให้เรายินยอมที่จะถูกนำไปดุจชนชาติอิสราเอลสู่ทะเลทราย (เทียบ ฮชย 2:14) เพื่อในที่สุดเราจะได้ยินเสียงของเจ้าบ่าวและยินยอมให้ดังก้องกังวานในตัวเรามากยิ่งขึ้น ยิ่งเราใส่ใจในพระวาจาของพระองค์มากเท่าไร เราก็ยิ่งจะมีประสบการณ์ในพระเมตตาของพระองค์ ที่พระองค์ประทานให้เราเปล่าๆ มากขึ้นเท่านั้น  ขอให้เราอย่าปล่อยให้เวลาแห่งพระหรรษทานนี้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ในกลลวงที่โง่ว่า เราสามารถควบคุมเวลาและหนทางแห่งการกลับใจของเราได้
 

3.    พระเจ้าทรงมีน้ำพระทัยเด็ดเดี่ยวที่จะเสวนากับบุตรของพระองค์
    ความจริงที่ว่าพระเจ้าประทานเวลาโปรดปรานให้เราอีกครั้งหนึ่งเพื่อการกลับใจของเรา ไม่ควรถือเป็นเรื่องปกติ โอกาสใหม่นี้ควรปลุกให้เรามีจิตสำนึกแห่งความกตัญญูและกระตุ้นให้เราเลิกทำตนเป็นคนเกียจคร้าน แม้บางครั้งจะมีเหตุชั่วร้ายในชีวิตของเรา และในชีวิตของพระศาสนจักรรวมไปถึงของโลกด้วย โอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตของเราแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยอันไม่มีวันเปลี่ยนแปลงของพระเจ้า ที่จะไม่หยุดการเสวนาเรื่องความรอดของพระองค์กับเรา ในองค์พระเยซูเจ้าผู้ถูกตรึงบนไม้กางเขน ผู้ซึ่งปราศจากมลทิน แต่เพื่อเห็นแก่เราก็ยังทรงยอมถูกกระทำเสมือนคนบาป (เทียบ 2 คร  5:21) น้ำพระทัยที่จะไถ่กู้ของพระองค์นี้ทำให้พระบิดาเจ้าต้องผลักภาระไปยังพระบุตรเพราะน้ำหนักแห่งบาปของเรา จนทำให้พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พูดแสดงออกมาว่า “ทำให้พระเจ้าสู้กับพระองค์เอง” (พระเจ้าคือความรัก, 12) เพราะว่าพระเจ้าทรงรักศัตรูของพระองค์เช่นเดียวกัน (เทียบ มธ 5:43-48)
    การเสวนาที่พระเจ้าทรงปรารถนามีกับเราแต่ละคนโดยอาศัยพระธรรมล้ำลึกปัสกา ไม่เกี่ยวกับการพูดคุยที่ว่างเปล่า เฉกเช่นที่มีการพูดกันถึงชาวบ้านชาวเมืองโบราณแห่งเอเธนส์ ซึ่ง “ใช้เวลาไม่ทำอะไรเลย นอกจากนั่งคุยกันหรือฟังข่าวใหม่” (กจ 17:21) การสนทนากันดังกล่าวที่ไร้สาระมีแต่เรื่องอยากรู้อยากเห็นอะไรแค่ผิวเผิน บ่งถึงความเป็นโลกียวิสัยในทุกยุคทุกสมัยแม้ในยุคของเรา  มันอาจเป็นผลแห่งการใช้สื่ออย่างไม่ถูกต้องด้วย
 

4.    ความมั่งคั่งที่ต้องนำมาแบ่งปันกัน มิใช่เก็บไว้เพื่อตนคนเดียว
    การนำเอาพระธรรมล้ำลึกปัสกามาเป็นศูนย์กลางชีวิต หมายถึงมีความสงสารต่อบาดแผลของพระคริสตเจ้าผู้ถูกตรึงบนไม้กางเขน ที่ประทับอยู่ในผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ที่ชีวิตถูกโจมตี ตั้งแต่คนที่ยังไม่เกิดจนกระทั่งคนชรา ด้วยการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกัน สิ่งดังกล่าวยังมีอยู่ในหายนะแห่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  การแจกจ่ายสิ่งของของโลกอย่างไม่เป็นธรรม การค้ามนุษย์ในทุกรูปแบบ และการแสวงหากำไรอย่างไม่บันยะบันยัง
    ทุกวันนี้ก็เช่นเดียวกัน มีความจำเป็นที่ต้องวิงวอนไปยังมนุษย์ชายหญิงผู้มีน้ำใจดี ให้ช่วยกันทำทานกับผู้เดือดร้อนที่มีความต้องการมากที่สุด เพื่อเป็นหนทางในการมีส่วนร่วมช่วยกันสร้างโลกที่ดีกว่า การแสดงเมตตาธรรมทำให้เรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ในขณะที่มัวแต่จะสะสมสมบัติ ซึ่งเสี่ยงทำให้เราถูกจองจำด้วยการเห็นแก่ตัวของเราเอง เราต้องคิดไปให้ไกลกว่านี้ ต้องพิจารณาถึงโครงสร้างแห่งชีวิตในมิติเศรษฐกิจ เพราะเหตุนี้ ในช่วงของเทศกาลมหาพรตปีนี้ตั้งแต่วันที่ 26 ถึงวันที่ 28 มีนาคมข้าพเจ้าจะเรียกให้มีการประชุมที่อัสซีซีกับบรรดานักเศรษฐศาสตร์หนุ่มสาว อาสาสมัคร และนักเคลื่อนไหว โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีความชอบธรรมมากกว่า เฉกเช่นที่คำสอนของพระศาสนจักรตอกย้ำไว้บ่อยๆ ชีวิตการเมืองหมายถึงรูปแบบที่ชัดเจนแห่งความรักเมตตา (เทียบ ปีโอที่ 11 คำปราศรัยต่อนักศึกษาสหพันธ์มหาวิทยาลัยคาทอลิก วันที่ 18 ธันวาคม 1927) มันเป็นความจริงเดียวกันกับชีวิตเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยจิตตารมณ์แห่งพระวรสารและจิตตารมณ์แห่งความสุขแท้จริง
    ข้าพเจ้าทูลขอพระแม่มารีย์ช่วยวิงวอนว่า ในการเฉลิมฉลองเทศกาลมหาพรตนี้ พระแม่จะเปิดใจเราให้กว้างในการฟังการเรียกของพระเจ้า ให้เราคืนดีกับพระองค์ ให้เราพิศเพ่งไปยังพระธรรมล้ำลึกปัสกา และให้เรากลับใจสู่การเสวนาที่เปิดกว้างจริงใจกับพระองค์ อาศัยวิธีนี้ เราจะกลายเป็นสิ่งที่พระคริสตเจ้าทรงขอร้องศิษย์ของพระองค์ให้เป็นเกลือของแผ่นดินและเป็นแสงสว่างของโลก (เทียบ มธ 5:13-14)

 

ฟรังซิส
ให้ไว้ ณ กรุงโรม เซนต์ยอห์นลาเตรัน
วันที่ 7 ตุลาคม 2019 วันสมโภชแม่พระแห่งสายประคำ


สาส์นองค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสวันผู้ป่วยสากลครั้งที่ 28

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown