มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

วิธีการเข้าหาคน

วันที่    30 มกราคม 2014        1 เปโตร 2: 18-20

ผู้รับใช้ จงอยู่ใต้อำนาจผู้เป็นนายด้วยความเคารพยำเกรง ไม่เพียงแต่นายที่ใจดีและอ่อนโยนเท่านั้น  แต่รวมถึงนายที่ใจร้ายด้วย  การที่ใครคนหนึ่งยอมทนทุกข์ทรมานอย่างอยุติธรรมเพราะคำนึงถึงพระเจ้าก็เป็นพระหรรษทาน จะเป็นเกียรติได้อย่างไรถ้าท่านทำผิดแล้วต้องทนทุกข์เพราะถูกลงโทษ แต่ถ้าท่านทำความดีแล้วยอมทนทุกข์ จึงจะเป็นพระหรรษทานของพระเจ้า

       “การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เป็นธรรม 
จะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้เลย  ถ้าหากมนุษย์ไม่อ้างอิงถึงพระเจ้าเลย”

-    พระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16

(จาก    บทความ  Fundamental Politics:  What we must learn from   the social thoughts of Benedict XVI
 โดย    คุณพ่อ Thomas Rourke   จาก    นิตยสาร Communio ฉบับ Fall 2008)

                    ------------------------------------------  ---------------------------------------

Kong Hei Fat Choi


                              
                               

                      ------ 2 ------

   วิธีการเข้าหาคน

ตัวแทนขายประกันชีวิตคนหนึ่ง  เข้าไปหาผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทขายสินค้าที่มีชื่อแห่งหนึ่ง  เมื่อเข้าไปในห้องทำงาน  ผู้จัดการฝ่ายขายที่ดูท่าทางผึ่งผายก็พูดจาทักทาย แต่ตัวแทนกล่าวตอบด้วยท่าทางหวั่นวิตก  และถามอย่างตะกุกตะกักว่า  “คุณคงไม่ต้องการซื้อประกันชีวิตใช่ไหมครับ”?

    ผู้จัดการตอบทันควันว่า “ไม่ ผมไม่ซื้อประกันชีวิตจากคุณดอก”   ตัวแทนขายประกันชีวิตก็พูดว่า “ผมก็ว่าอย่างงั้น”  พูดแล้วเขาก็ทำท่าเดินออกจากห้อง

    “เดี๋ยวก่อน”  ผู้จัดการผู้มีประสบการณ์มากมายคนนี้อดไม่ได้ที่จะพูดกับตัวแทนคนนี้  “อย่าเพิ่งไป ผมอยากจะคุยกับคุณหน่อย”   “ครับ ผม”  ตัวแทนตอบด้วยความตระหนกจนเห็นได้ชัด

    ผู้จัดการจึงพูดเชิงสั่งสอนว่า  “คุณนี่เป็นตัวแทน เป็นพนักงานขายที่แย่ที่สุดที่ผมเคยพบเห็น”  “ครับ ผมก็รู้ตัวเช่นนั้น”  ตัวแทนหนุ่มตอบพร้อมกับก้มหน้ามองพื้น

    “ฟังนะ  เวลาคุณไปหาใครเพื่อจะเสนอขายอะไร  ก่อนอื่นตัวคุณต้องมีชีวิตชีวา มีความกระตือรือร้น  คุณต้องคิดบวกไว้ก่อน อย่าคิดด้านลบ คุณต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง”  ตัวแทนกล่าวตอบด้วยเสียงแผ่วเบา “ครับ ผม”

    ผู้จัดการสอนต่อ พร้อมกับยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตน เวลาผ่านไปครึ่งชั่วโมง ผู้จัดการก็สรุปว่า
“ผมเห็นคุณเป็นตัวแทนใหม่ ก็อยากช่วยคุณ ผมจะซื้อหนึ่งกรมธรรม์จากคุณด้วยทุนประกันสักเล็กน้อย”  ตัวแทนกล่าวขอบคุณ พร้อมกับนำแบบฟอร์มออกจากกระเป๋ามากรอกข้อความและให้ผู้จัดการลงนามทันที

    ก่อนจาก  ผู้จัดการก็กล่าวย้ำอีกว่า  “อย่าลืมนะ อย่าเข้าหาลูกค้าแบบซังกะตาย ต้องร้อนรน เตรียมตัวว่าจะพูดอะไร เตรียมการเสนอขายไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนให้พร้อม เข้าใจไหม”?

    ตัวแทนยิ้มตอบพร้อมกับกล่าวว่า  “ขอบคุณครับ และ ผมก็ได้ทำตามที่ท่านแนะนำครับ  เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เป็นวิธีการของผมที่จะขายประกันชีวิตกับผู้จัดการฝ่ายขายที่อาวุโสมากอย่างคุณครับ”

ข้อคิดแห่งชีวิต    ตัวแทนขายประกันชีวิตคนนี้  คงให้ตัวอย่างแก่เราได้เป็นอย่างดีว่า  “วิธีการเข้าหาคน”  นั้นควรจะต้องทำอย่างไร?

พระจิตเจ้า ผู้ประทานพระพรต่างๆ แก่มนุษยชาติได้มอบพรพิเศษต่างๆ ตามกระแสเรียกชีวิตของแต่ละคน อยู่ที่เราที่จะรู้จักใช้พระพรต่างๆ เหล่านี้อย่างไร

                   ------ 3 ------

บทความโดย ‘ราฟาแอล’
จากหนังสือ “2013 ความรักล้นหลาม”
หัวข้อเรื่อง “ชีวิตคนไทยในปัจจุบัน (ทุกข์-สุข ประการใด?)   (ตอนที่ 4)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ฉ.    ความเป็นอยู่ของประชาชน

จุดเป้าหมายของการดำเนินชีวิตของประชากรแต่ละประเทศคงเหมือนกันทั่วโลก นั่นคือ  การอยู่ดี  กินดี
มีความสุข  มีสันติภาพ  สำหรับทุกคน  สำหรับทุกครอบครัว.....     และที่จะเป็นเช่นนี้ได้ก็เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า 
ทุกครอบครัวต้องมีรายได้ มีงานทำ มีอาชีพตามที่ตนถนัด  และนี่ก็เป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์  เรื่องเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นสุดของการเป็นประเทศ  คำว่าเศรษฐศาสตร์  เศรษฐกิจ  ภาษาอังกฤษเรียกว่า economics/economy ภาษากรีก oikonomia (work to do for your good, stewardship; God’s plan)  คำนี้มีรากศัพท์จากกรีก  oikos แปลว่า บ้าน nemein  แปลว่า การจัดการ  เพราะฉะนั้น เศรษฐศาสตร์/เศรษฐกิจ
การทำมาหากิน  การมีอาชีพทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงดูสมาชิกครอบครัว  จึงพูดง่ายๆ ได้ว่า  “เป็นการจัดการในบ้าน”  (home management) นั่นเอง และในระดับที่สูงขึ้นมาที่กว้างขึ้นมา  ก็เป็นรัฐบาลที่เป็นผู้จัดการในบ้านใหญ่  คือ ประเทศนั่นเอง

    การจัดการในบ้านก็เกี่ยวข้องกับการค้า  การค้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า commerce มาจากภาษาลาติน commercium  แปลว่า แลกเปลี่ยน คำๆ นี้พวกเราทุกคนก็คุ้นเคยกันแล้ว  นั่นคือ การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงิน (money) เป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยนตามคุณค่าของสิ่งที่ถูกแลกเปลี่ยน  ขบวนการนี้เราเรียกว่า  ธุรกิจ (business)

    ในโลกปัจจุบันที่ธุรกิจได้พัฒนาไปอย่างมากมายจนกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญควบคู่กับการปกครองประเทศ (รัฐบาล)  จึงต้องมีมาตรการในการควบคุม (ปกครอง) ขบวนการการทำธุรกิจในระดับประเทศ ในระดับข้ามชาติ (multi-national)  ในระดับภาคพื้นทวีปที่รวมกัน เป็นกลุ่มเศรษฐกิจ  และในระดับทั่วโลก (international) รวมทั้งองค์กรกลางในสหประชาชาติด้วย

    แต่ถึงกระนั้นก็ดี  ขอบข่ายและอิทธิพลของธุรกิจ ของเศรษฐกิจ แผ่วงกว้างและหยั่งรากลึกขึ้นในทุกด้าน:
+   ตลาด/การบริโภค/ผู้บริโภค :       ครอบคลุมทั่วโลก  สินค้าถูกส่งกระจายไปทุกประเทศ  แม้กระทั่ง
                                                  หมู่บ้านที่ห่างไกล
+    แรงงาน และค่าแรง            :    มีการอพยพผู้ใช้แรงงานระหว่างประเทศมากขึ้น
                 เหตุผลเพราะต้องการลดต้นทุนด้วยค่าแรงที่ถูก
                 ลงจากประเทศอื่น           
+    ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม      :    ถูกละเลยโดยผู้ผลิต  ประเทศผู้ผลิต  จนเป็นปัญหา
                 ระดับประเทศและระดับโลก
                 

    ------ 4 ------

+    เงินทุน และ อุปกรณ์ด้านการเงินและผลกำไร  :    มีการโยกย้าย ถ่ายเทเงินเพื่อทำกำไรอย่าง
       ไม่เป็นธรรม ปั่นราคาสินค้า ปั่นราคาหุ้น จนเกิดการทุจริต เกิดวิกฤตทางการเงินที่ทำให้บริษัท/
       ประเทศ ล้มละลาย คนตกงาน ว่างงาน การกระจายรายได้ไม่ยุติธรรม กระจุกอยู่ในกลุ่มคนเพียง
       ไม่กี่ครอบครัว ในเมืองใหญ่ ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกว้างขึ้น ดังจะเห็นจาก
       ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่พิมพ์เป็นข่าวใน
       หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และโพสต์ทูเดย์ ฉบับวันศุกร์ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555  รายละเอียดดู
       อ้างอิง (3) และ (4)

ช.    วัฒนธรรม ประเพณี (culture/ tradition)
อีกด้านหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่เป็นมรดกที่มีคุณค่า ก็คือวัฒนธรรม ประเพณี ที่แต่ละประเทศ แต่ละชนชาติได้สั่งสม รักษา และส่งต่อให้ชนรุ่นหลัง..........    วัฒนธรรม  ประเพณี  เป็นกรอบของการดำเนินชีวิตที่ได้รับการกลั่นกรองให้ตกผลึก รักษาเฉพาะส่วนดีงาม และขจัดส่วนไม่ดีออกไป  ส่วนดีงามก็จะได้รับการส่งเสริมให้แผ่กระจายไปยังสมาชิกของชุมชน  ของสังคม และให้สะท้อนจากการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน  และถ้าขณะใดที่มีส่วนที่ไม่ดีอุบัติขึ้น  ชุมชนในวัฒนธรรมนั้นๆ จะช่วยกันท้าทายและต่อต้านเพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณี
ที่ดีของตนไว้ (5)

มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตในวัฒนธรรม และเราก็มีส่วนร่วมในการเพิ่มพูนหรือทำลายคุณภาพของวัฒนธรรม ด้วยกิจการ การกระทำ ของเรา  เพราะเหตุนี้  เราจึงต้องระมัดระวังบทบาทและส่วนร่วมของตนในสังคมที่ตนอยู่  พูดอีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรม ประเพณี คือ  “ผลสัมฤทธิ์ของคุณลักษณะต่างๆ ของกลุ่มคน ชุมชน สังคมนั้นๆ ในด้านชีวิตกาย ชีวิตจิต ความคิดอ่าน อุปนิสัยใจคอ และยังรวมถึงศิลป  วรรณกรรม วิธีการดำเนินชีวิต สิทธิพื้นฐาน ระบบคุณค่าชีวิต ประเพณี และความเชื่อในศาสนา” (6)               

     เมื่อสำนึกถึงส่วนร่วมของเราต่อวัฒนธรรมประเพณีแล้ว  เราทุกคนโดยเฉพาะคริสตชน  จึงต้องนำส่วนดีงามของคริสตศาสนาเข้าในวัฒนธรรม (inculturation) ของเราเสมอ (7) ในบริบทเรื่องนี้สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ได้ประกาศให้คริสตชนทุกคน “ประกาศข่าวดีแบบใหม่”  (โปรดอ่านเรื่อง “การประกาศข่าวดีแบบใหม่” (New Evange- lization)  ที่พิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย  หน้า.........)  ในบทสนทนากับครูคำสอนที่พระองค์อธิบายเรื่อง “การประกาศข่าวดีแบบใหม่”  และในสมณสาสน์  Porta Fidei (ประตูแห่งความเชื่อ)  พระองค์ได้ให้แนวทางหลายประการสำหรับเราคริสตชนได้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน                                                 

ซ.    ศาสนา (religion)
มนุษย์เราทุกคนนอกจากมีชีวิตกายที่เราได้รับจากคุณพ่อคุณแม่แล้ว  เรายังมีชีวิต  วิญญาณ (จิต)  ที่รับ
จากพระเจ้า  เราแต่ละคนที่มีชีวิตอยู่ถือว่าเป็นพรประเสริฐ:

                    ------ 5 ------

“เพราะเราไม่ใช่เกิดมาแบบโดยบังเอิญ   
 เราแต่ละคนมาจากพระดำริของพระเจ้า 
 เราแต่ละคนเป็นที่รักของพระองค์”
                               (สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16)

เพราะเหตุนี้  มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเขาจะเป็นชายหรือหญิง  เป็นเชื้อชาติอะไรก็ตาม  สัญชาติอะไรก็ตาม  ในใจลึกๆ ของเขา/เธอ ก็แสวงหาต้นตอของวิญญาณของตน  แสวงหาผู้ให้ชีวิตวิญญาณแก่ตนโดยอาจไม่รู้ตัวเองก็ได้........   ความสัมพันธ์นี้ภาษาไทยเราเรียกว่า “ศาสนา”   ภาษาอังกฤษเรียกว่า  religion  คำนี้มาจากรากศัพท์ลาติน  re แปลว่า อีกครั้ง ligere (to bind together)  แปลว่า  ผูกเข้าด้วยกัน  จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่า  ศาสนาก็คือ  “การผูกเรามนุษย์เข้ากับพระเจ้าอีกครั้ง”   ไม่ว่าศาสนาที่เราแต่ละคนนับถือนั้นจะเป็นศาสนาใดก็ตาม  ก็เรียกให้เรากลับไปหาพระเจ้าที่แท้จริง คือพระบิดาเจ้า ที่องค์พระคริสต์ผู้บังเกิดเป็นมนุษย์ได้เผยให้แก่เรา

ในบริบทของศาสนานี้  ศาสนิกชนทุกคนต้องรู้จัก แยกแยะระหว่างบัญญัติของพระเจ้า (God’s commandments) และ กฎหมายของบ้านเมือง (civil laws)  และต้องรู้จักให้ความ สำคัญแก่ข้อแรก (บัญญัติพระเจ้า)  มากกว่าข้อที่สอง (กฎหมายบ้านเมือง)  ทั้งนี้ก็เพราะบัญญัติพระเจ้านี้ครอบคลุม  “การดำเนินชีวิตทั้งครบของมนุษย์”  (sphere of living) และประทานพระพร  “สภาพความเป็นอยู่ของความเป็นมนุษย์” (conditio humana)  สำหรับมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิด (8)

    แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า  “บัญญัติพระเจ้า”  จะค้านกับกฎหมายบ้านเมือง  เปล่าเลย  บัญญัติพระ-เจ้ากลับเป็นเสียงมโนธรรมก่อเกิดกฎหมายบ้านเมืองต่างๆ สำหรับประชาชนให้ปฏิบัติตามและเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินคดีของอำนาจตุลาการด้วย  พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ  “ไม่มีกฎหมายใดที่จะเป็นอิสระจากการปกครอง การเอาใจใส่ดูแล และพระพรแห่งความรอดของพระเจ้า”  (9)

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้หมายความว่ามนุษย์ถูกบังคับให้ถือบัญญัติพระเจ้า  มนุษย์มีอิสรภาพ มีอำเภอใจของตนเองที่จะทำอะไรก็ได้  แต่พระเจ้าโดยผ่านทางคำสอนของศาสนา  ได้ให้หนทางแห่งความรอดมาโดยตลอด  มนุษย์เพียงแต่ใช้ปรีชาญาณของตนให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างให้ถ่องแท้และตัดสินใจกระทำสิ่งที่ถูกต้อง และฟื้นฟูชีวิตให้ดีขึ้น (10)

-------------------    --------------------
                                                                                      The End

                   ------ 6 ------


SEVEN EVILS
(that destroy not only individual persons
but also entire countries)


1.       Politics without Principle
การเมือง ที่ไร้ หลักการ

2.       Pleasure without Conscience
การแสวงหาความสุข ที่ไร้ มโนธรรม

3.       Wealth without Work
ความมั่งมี ที่ไร้ การทำงาน

4.       Knowledge without Character
ความรู้ ที่ไร้ แก่นสาร

5.       Business without Morality
ธุรกิจ ที่ไร้ ศีลธรรม

6.       Science without Humanity
วิทยาการ ที่ไร้ มนุษยธรรม

7.       Worship without Sacrifice
การบูชา  ที่ไร้  การเสียสละ

                              (มหาตมะ คันธี)

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown