มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

ทำไมเขาจึงรบราฆ่าฟันกัน

วันที่    23 มกราคม 2014        ยอห์น 18: 10-11
                        …….ซีโมน เปโตรมีดาบ จึงชักดาบออกมา ฟันผู้รับใช้คนหนนึ่งของมหาสมณะ ถูกใบหูข้างขวาขาด ผู้รับใช้คนนั้นชื่อมัลคัส  แต่พระเยซูเจ้าตรัสกับเปโตรว่า  “เก็บดาบใส่ฝักเสีย เราจะไม่ดื่มจากถ้วยที่พระบิดาประทานให้เราหรือ”  
            
                        “วิกฤติของโลกปัจจุบันก็คือ  การไม่ยอมรับของมนุษย์ว่า  ในโลกนี้มีศีลธรรม การปฏิเสธเยี่ยงนี้เป็นผลจากการแยกพระเจ้าออกจากสังคมชุมชน”

-    พระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16

(จาก   บทความ Conscience and Authority after Humanae Vitae   โดย   คุณพ่อ  D. Vincent Twomey
 นิตยสาร   Inside The Vatican ฉบับเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 2010)


แบ่งปันพระวรสาร วันที่ 23 มกราคม 2014            ------ 2 ------

    ทำไมเขาจึงรบราฆ่าฟันกัน?

   มีเรื่องจริงที่ค่อนข้างแปลกประหลาดเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองดังนี้:-
   +   ชายหนุ่มสองคน ถูกทหารอเมริกันจับในประเทศเยอรมันนีช่วงก่อนสงครามยุติไม่กี่เดือน (ค.ศ.1945)   และทั้งคู่ก็ถูกส่งเข้าค่ายนักโทษสงครามในสหรัฐอเมริกา
   +  ขณะที่ถูกกักขังในค่ายนักโทษสงคราม ทั้งคู่ถูกเจ้าหน้าที่สอบสวน สอบถามว่าเป็นใคร มาจากไหน   แต่ไม่ได้รับคำตอบ สอบถามนักโทษชาวเยอรมันที่ถูกขังอยู่ด้วยกันก็ไม่มีใครรู้ว่า ชายสองคนนี้เป็นใคร มาจากไหน?  ทำให้นายทหารอเมริกันผู้สอบสวนเกิดความมึนงง
   + ชายสองคนนี้ ไม่ใช่คนเยอรมันแน่เพราะผิวพรรณเป็นคนเอเซีย จึงไม่รู้จักภาษาเยอรมันหรือภาษาอังกฤษ  และเมื่อเขาตอบเป็นบางครั้ง ก็ไม่มีใครเข้าใจภาษาของเขาที่ตอบกลับมา  นายทหารอเมริกันจึงเรียกผู้เชี่ยวชาญภาษาทางทวีปเอเซียมาพูดคุยกับชายทั้งสองคน ทั้งคู่ดีใจเมื่อได้พบผู้เชี่ยวชาญภาษาของเขา
+     ความลับจึงถูกเปิดเผยว่า  ในปี ค.ศ. 1941  เขาทั้งสองหลงไหลข่าวลือถึงโลกภายนอกหมู่บ้านเล็กๆ ของเขาในเทือก  เขาธิเบตว่า  สวยงาม จึงอยากเดินทางท่องโลก โดยข้ามเทือกเขาทางทิศเหนือเข้าไปในแผ่นดินรัสเซีย แต่โดนเจ้าหน้าที่รัสเซียจับทันที และถูกส่งขึ้นรถไฟพร้อมกับชายหนุ่มอื่นๆ อีกหลายร้อยคนไปที่ไหนทั้งคู่ก็ไม่รู้
+    พอถึงที่หมายนอกเมืองใหญ่แห่งหนึ่ง ดูเหมือนเป็นค่ายทหาร ทั้งคู่ก็ได้รับเครื่องแบบทหารและปืนยาวคนละกระบอก     และได้รับการฝึกฝนขั้นพื้นฐานทางทหาร  หลังจากนั้นจึงถูกส่งขึ้นรถขนส่งทหารพร้อมกับทหารคนอื่นๆ ไปยังชายแดนประเทศรัสเซีย
+    ณ ที่นั้น  ทั้งคู่ต้องตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เขาเห็น  ผู้คนล้มตายกันมากมายเพราะกระสุนปืนใหญ่ กระสุนปืนยาว   ดาบปลายปืน  เนื่องจากทั้งคู่เป็นชาวพุทธที่ยึดถือการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงหลบหนีจากสนามรบมายังด้านหลังของกองทัพรัสเซีย และในที่สุดก็ถูกทหารเยอรมันจับ และถูกส่งมายังประเทศเยอรมันนี
+    ช่วงนั้น เป็นช่วงที่กองทัพอเมริกันบุกขึ้นบกที่นอร์มังดี และกำลังคืบหน้ามายังประเทศเยอรมันนี  ทั้งคู่จึงถูกส่งเป็น กองหนุนช่วยทหารเยอรมันนีรบ แต่ทั้งคู่ก็หลบหนีการสู้รบอีกครั้ง และถูกทหารอเมริกันจับได้ในที่สุด
+    เมื่อผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลเรื่องนี้จบ นายทหารอเมริกันก็ให้ถามทั้งสองคนว่า  มีคำถามอะไรจะถามอีกไหม?  ทั้งคู่ตอบว่า มีคำถามข้อใหญ่ข้อเดียวที่อยากจะถามมานานแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคือ: “ทำไม ผู้คนเหล่านี้ถึงได้พยายามที่จะฆ่ากันและกันถึงอย่างนี้?” (Why were all those people trying to kill each other?)
+    นี่ก็ผ่านมากว่า 70 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง คำถามนี้ก็ยังเป็นคำถามสำหรับชนรุ่นปัจจุบันในขณะนี้ อีกเช่นกัน รวมทั้งชนชาวไทยด้วยว่า “ทำไมคนจึงยังพยายามที่จะทำลาย ทำร้ายซึ่งกันและกันอย่างนี้?”
+    เราคริสตชนไทยมีคำตอบสำหรับคำถามนี้ไหม? และเราสามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ เหตุการณ์นี้อย่างไร?

แบ่งปันพระวรสาร วันที่ 23 มกราคม 2014             ------ 3 ------

บทความโดย ‘ราฟาแอล’
จากหนังสือ “2013 ความรักล้นหลาม”
หัวข้อเรื่อง “ชีวิตคนไทยในปัจจุบัน (ทุกข์-สุข ประการใด?)   (ตอนที่ 3)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ง.    รัฐบาล (government)
        โลกมนุษย์ของเรานี้ (รวมประเทศไทยด้วย)  ยังคงเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย  ความขัดแย้ง
ความทุกข์ทรมาน ความชั่วร้าย ความยากจน การต่อสู้ แม้กระทั่งสงครามอยู่ตลอดเวลา  แถมด้วยภัยธรรมชาติต่างๆ เหตุการณ์ทั้งหมดนี้กระทบความเป็นอยู่ของมนุษย์ และคร่าชีวิตคนมากมาย  จึงทำให้มนุษย์เราเกิดข้อสงสัยถามว่า  “พระเจ้ายังอยู่ในโลกนี้หรือเปล่า?”  แต่ถึงกระนั้นก็ดี  “โลกนี้ยังเป็นสิ่งสร้างที่ประเสริฐ เป็นสิ่งสร้างที่พระเจ้าสร้างและยังคงสร้างอยู่ ณ ปัจจุบันด้วยความรัก ด้วยความดีงาม” (Theodicy)  โดยผ่านกิจการ  กิจกรรม การกระทำของมนุษย์เองแต่ละคน (นักปรัชญา Gottfried Wilhelm Leibuz  เป็นผู้ตั้งคำศัพท์ Theodicy นี้เพื่ออธิบายว่า  โลกนี้เป็นโลกที่ดีที่สุดที่พระเจ้าสร้าง)  ด้วยเหตุนี้สังคมมนุษย์จึงต้องมีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มาเป็นผู้จัดการ ผู้บริหาร ดังที่เราเห็นอยู่ในโครงสร้างการปกครองในระดับต่างๆ นับตั้งแต่ครอบครัว (ที่ถือเป็น nucleus ของสังคมพื้นฐาน) จนถึงระดับประเทศ และในระดับประเทศก็คือ “รัฐบาล” นั่นเอง

คำว่า  “รัฐบาล”  ก็ให้ความหมายชัดเจนในตัวเองว่า  เป็นการ  “อภิบาลรัฐ”  นั่นคือการดูแล เอาใจใส่ เลี้ยงดู สั่งสอน รัฐ ประเทศ ชาติ  ซึ่งหมายถึง ประชาชน ประชากร หมู่คนทั้งปวง (demos)  ที่อยู่ในรัฐประเทศ ชาตินั้นๆ  และแน่นอนผู้ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ก็คือ  “คน” ทั้งนั้น  นับแต่นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  ปลัดกระทรวง  อธิบดี  ผู้อำนายการกรมกองต่างๆ จนถึงข้าราชการทุกคน......   บุคคลเหล่านี้เช่นเดียวกับนักการเมือง (politicians)  ก็ต้องเป็นบุคคลที่ต้องถูกคัดเลือก สรรหา เป็นพิเศษทุกคน  เพื่อเป็นผู้บริหาร นักปกครอง นักจัดการ ที่มีคุณภาพ  มีศักยภาพสูง  มีทักษะความเชี่ยวชาญ  ความรู้รอบด้าน และ มีคุณธรรมเพียบพร้อมด้านศีลธรรม จริยธรรม ยุติธรรม และดังที่กล่าวไว้ใน “ข้อ ค.”  บุคคลเหล่านี้จะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับใน “ข้อ ข.”  คือไม่ใช่นักการเมือง (politicians) บุคคลในรัฐบาลต้องเป็นผู้ปกครอง ผู้บริหารประเทศมืออาชีพ                       

จ.    กฎระเบียบ  การหาเสียงเลือกตั้ง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงบุคคล คณะบุคคลรัฐบาล เป็นระยะๆ
ตามรัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ  เพราะการที่ประเทศใดถูกปกครองโดยรัฐบาลชุดเดิมชุดเดียวเป็นเวลานานเกินควร  ย่อมเป็นเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่ร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตของผู้นำดังเป็นข่าวช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในหลายประเทศในแถบประเทศอาหรับและทวีป อัฟริกา

การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองรัฐตามระบอบประชาธิปไตยใช้การเลือกตั้งเป็นแนวทางค้นหา  แสวงหา  ผู้นำคนใหม่  การเลือกตั้งนี้จึงสำคัญ  เพราะถ้าได้ผู้นำที่ดี  ประเทศก็จะเจริญก้าวหน้า  ถ้าได้ผู้นำไม่ดี  ประเทศก็จะประสบความหายนะ  เพราะฉะนั้นแนวทางการหาเสียงในการเลือกตั้งจึงต้องอยู่ในกรอบของความถูกต้อง โปร่งใส สุจริต  มีศีลธรรม  จริยธรรม และ ยุติธรรม                              ……/4
แบ่งปันพระวรสาร วันที่ 23 มกราคม 2014             ------ 4 ------


    การเลือกตั้งหาผู้นำประเทศไม่ใช่การโฆษณาขายสินค้า ไม่ใช่เป็นการรณรงค์ส่งเสริมการขายสินค้า
ลด-แลก-แจก-แถม  ซึ่งกลายเป็นแนวทางการหาเสียงแบบ populist (ประชานิยม) นั่นคือการจูงใจ เอาใจประชาชนด้วยคำสัญญาต่างๆ ที่มีผลกระทบด้านลบในภายหลัง  ดังตัวอย่างของบางประเทศในทวีปยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้

แนวทางการหาเสียงในการเลือกตั้งผู้นำประเทศจำต้องขึ้นอยู่กับหลักธรรมของความมุ่งมั่นของการนำประเทศสู่การพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าของส่วนรวม ด้วยนโยบายที่ดี ที่สร้างสรรค์ ที่ยั่งยืนยาวนาน

(หมายเหตุ  -  ตัวอย่างโครงการ populist ของไทยที่ลงโฆษณาในหน้า A3 ของหนังสือพิมพ์
         โพสต์ ทูเดย์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มีดังนี้:-

-    รถคันแรก            -     บ้านหลังแรก                  -     พักชำระหนี้ 3 ปี
-    บัตรสินเชื่อเกษตรกร        -     กองทุนหมู่บ้าน          -     กองทุนตั้งตัวได้
-     กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี    -      กองทุนสุขภาพภาครัฐ
-     กองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)
-     ประกันภัยพืชผลเกษตรกร (ข้าว,  มันสำปะหลัง,  ยางพารา)
-     โครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร )
                                      
นี่ยังไม่ได้รวมโครงการประชานิยมที่ได้แถลงและดำเนินการไปแล้ว อาทิ  ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน  อัตราเงินเดือนขั้นต่ำสำหรับปริญญาตรีที่ 15,000 บาทต่อเดือน Tablet  สำหรับนักเรียนชั้นประถม  จำนำมันสำปะหลัง  จำนำข้าว  โครงการ populist จำนำข้าวนี้  ตามข่าวหนังสือพิมพ์บางกอก โพสต์ ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2012 รายงานว่าประมาณการขาดทุนของโครงการนี้ ที่รัฐบาลมีภาระต้องชดเชยคืนให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สูงถึง 1.21 แสนล้านบาท  โดยยังไม่รวมดอกเบี้ยอีก 8.73 พันล้านบาท  ความเสียหายนี้คงต้องเบิกชำระจากงบประมาณของรัฐ  นั่นคือ เงินภาษีอากรที่เก็บโดยทางตรงและทางอ้อมจากประชาชนนั่นเอง


------------------------------------------   ---------------------------------------


                                    (ยังมีต่อสัปดาห์หน้า)

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown