มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

ไม้กางเขนประจำพระแท่นใหญ่ (Altar Cross)

ไม้กางเขนประจำพระแท่นใหญ่ (Altar Cross)

     กฎทั่วไปสำหรับมิสซาในจารีตโรมัน ข้อ 308 ระบุว่า “ยังต้องมีไม้กางเขนที่มีรูปพระคริสตเจ้าอยู่ด้วยวางไว้บนพระแท่นบูชาหรือใกล้ๆ นั้น ไม้กางเขนนี้ต้องให้สัตบุรุษที่มาชุมนุมแลเห็นได้ดีด้วย”
พระรูปบนไม้กางเขนนั้นจะถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างการบูชาบนพระแท่น และการถวายบูชาขององค์พระเยซูเจ้า และเพื่อไม่ให้ไม้กางเขนนี้บดบังพิธีบูชาขอบพระคุณ จึงกำชับให้ตั้งกางเขนนี้ไว้นอกพระแท่น

     หลักเกณฑ์นี้ประยุกต์ใช้กับเชิงเทียนด้วย ซึ่งอาจจัดวางไว้บนพระแท่น หรือเรียงรายรอบพระแท่น โดยมิให้บดบังการมองเห็นพิธีกรรมของผู้ร่วมพิธี (กฎทั่วไปฯ ข้อ 307)

 

     ในโบสถ์แห่งใดที่มีไม้กางเขนใหญ่แขวนไว้ ณ ผนังหลังพระแท่น (Apse) หรือแขวนลอยไว้เหนือพระแท่น หรือนำไม้กางเขนแห่มาปักไว้ข้างพระแท่นแล้ว ก็ไม่ต้องมีไม้กางเขนอื่นใดภายในบริเวณพระแท่นอีก (สภาประมุขบาทหลวงคาทอลิกแห่งประเทศฟิลิปปินส์ 65)

 

     ในหนังสือพิธีเสกมีข้อกำชับให้ใช้ไม้เป็นวัสดุทำไม้กางเขนประจำพระแท่นใหญ่ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เราระลึกถึง “ไม้” ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ได้ถูกตอกตรึงอยู่บนนั้น และยังกำชับให้ยึดองค์พระเยซูติดไว้กับไม้กางเขนด้วย (หนังสือบทเสกและอวยพร บทที่ 28 ข้อ 962)
ในสมัยต้นๆ และสมัยกลางมีประเพณีปฏิบัติในการแต่งองค์พระคริสตเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขนด้วยอาภรณ์แบบสมณะ หรืออาภรณ์อื่นที่แสดงถึงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์

     การถือปฏิบัติในการแขวน “องค์พระเยซูเจ้า”ผู้ถูกตรึงโดยไม่มีไม้กางเขนรองรับ เป็นการสูญเสียความหมายของสื่อศิลปกรรม เราพึงต้องระลึกไว้เสมอว่า ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ไม่ใช่ “องค์พระ” แต่ประเด็นหลักสำคัญคือ “กางเขน” พระรูปของพระเยซูผู้กลับคืนพระชนมชีพที่ประดิษฐานไว้บนผนังหลังพระแท่น (Apse) โดยไม่มีไม้กางเขนอยู่เบื้องหลังหรือด้านข้าง ไม่เป็นการเพียงพอ จำเป็นจะต้องจัดให้มีไม้กางเขนอื่นอีก 1 อันประดิษฐานไว้ในบริเวณพระแท่น

ที่มา:คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown