มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

ผ้าปูพระแท่นสำคัญไฉนในพิธีกรรม?

ผ้าปูพระแท่นสำคัญไฉนในพิธีกรรม?

     ก่อนอื่นผมขออธิบายถึงความหมายของ “พระแท่นบูชา”ให้เราได้พอเข้าใจกันก่อนนะครับว่า พระแท่น เป็นจุดนัดพบระหว่างพระเจ้ากับมนุษยชาติ ศูนย์กลางของสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ตั้งอยู่ตรงกลางสักการะสถาน (Sanctuary) มีการยกพื้นเป็นบันได 2-3 ขั้น เพื่อดึงดูดความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรมไปยังพระแท่น (คำว่า “altar” มาจากคำคุณศัพท์ภาษาละตินว่า altus หมายถึง “สูง”)

 

     มนุษยชาตินิยมสร้างสถานที่บุชาไว้ที่สูง เช่น ภูเขาโอลิมปัสซึ่งเป็นที่สถิตของเทพเจ้ากรีก เมื่อความสูงของภูเขาไม่พอบริเวณพระแท่นจึงเป็นสถานที่ที่อยู่เหนือสุดของโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น ซิกกูรัตของพวกเมโสโปเตเมียเมื่อมนุษย์ปรารถนาจะเข้าสู่อาณาจักรศักดิ์สิทธิ์ เขาคิดถึงหอบาแบล ธรรมเนียมยิวถือว่าภูเขาเป็นสถานที่ตามธรรมชาติที่จะพบพระเจ้าได้ เป็นที่ๆ สวรรค์พบกับโลก พระยาเวห์ตรัสกับโมเสสบนยอดภูเขาซีนาย

 

     ระหว่างการเสกวัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสนวิหารก่อนที่จะเริ่มการเสกจะมีการฝังพระธาตุของนักบุญมรณสักขีไว้ภายใต้แผ่นหินของพระแท่น เพื่อทำเครื่องหมายถึงความต่อเนื่องระหว่างการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า กับการพลีบูชาของสัตบุรุษ ดังนั้น พระแท่นได้รับการอภิเษกด้วยการเจิมน้ำมันคริสมา หลังจากนั้น มีการเผากำยานซึ่งเป็นเครื่องหมายว่า พระจิตทรงครอบครองพระแท่นแล้ว สุดท้าย จะใช้ผ้าปูทับลงบนพระแท่น

 

     ดังนั้น พระแท่นเป็นสัญลักษณ์ที่สูงส่งของพระคริสตเจ้าในวัด แม้กระทั่งสำคัญกว่าไม้กางเขน พระแท่นเป็นสิ่งแรกที่เราต้องแสดงคารวกิจเมื่อเข้าไปในวัด พระสงฆ์กราบพระแท่นตอนเริ่มพิธีบูชา และตอนจบพิธีมิสซาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ

 

     เมื่อจะพูดถึงผ้าปูพระแท่นแล้ว เราสัตบุรุษทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าผ้าปูพระแท่นที่เราเห็นที่วัดของเราปูว่าคงใช้แค่ผ้าฝืนเดียว แต่ความจริงแล้วประกอบไปด้วยผ้า 2 ฝืน เป็นอย่างน้อย แต่แท้จริงตามจารีตพิธีกรรมดังเดิมนั้น ได้กำหนดไว้ถึง 4 ฝืนเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผ้าแต่ละฝืนว่าใช้ทำหน้าที่อะไรกันครับ

(ให้ดูภาพแรกประกอบการอธิบาย)

(1) ฝืนแรกเรียกว่าผ้า “Waxed Cloth” คือ ผ้าลินินที่ตัดมาเป็นพิเศษเท่ากับขนาดพื้นด้านบนของแท่นบูชาพอดีกับขอบพระแท่น ผ้าชิ้นนี้ควรมีการลงแป้งหรือเทียนเพื่อให้ผ้าเรียบอยู่ตัว จะใช้วางอยู่บนพื้นหินศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุพระธาตุหรือบนพื้นของพระแท่นบูชาโดยตรง

(2) ผ้าฝืนที่สอง คือ” Frontlet “ คือ ผ้าลินินขนาดเท่าพื้นบนของแท่นบูชา แต่จะถูกเย็บหรือปักลวดลายให้สวยงามด้วยผ้าไหมให้ห้อยลงไปด้านหน้า(ลึกประมาณ 7 นิ้ว) ซึ่งแขวนอยู่เหนือด้านหน้าเพื่อซ่อนแกนของผ้าที่ประดับหน้าพระแท่นตามสีของเทศกาลต่างๆ(ดูภาพที่5,7 ประกอบ)

(3) ผ้าฝืนที่สาม คือ”Plain Linen Cloth” คือ ผ้าลินินธรรมดา นี่เป็นผ้าลินินเนื้อดีขนาดเท่าพื้นด้านบนของแท่นบูชา ผ้านี้ควรลงแป้งเล็กน้อยและรีดอย่างระมัดระวัง ไม่ควรมีรอยยับของการพับผ้า

(4) ผ้าผ้าฝืนที่สี่ คือ “Fair Linen Cloth” เป็นผ้าลินินฝืนบนสุดที่มีความยาวมาก ๆ มันมีความกว้างพอดีกับขอบด้านบนของแท่นบูชาและยาวพอที่จะห้องลงมาถึงเหนือพื้นไม่กี่นิ้วทั้งสองด้าน อาจมีการปักรูปกางเขนสีแดงเพื่อทำเครื่องหมายที่กึ่งกลางของผ้าเพื่อง่ายต่อการปูและกะระยะให้เท่ากันทั้งสองด้าน.

     ในปัจจุบันหลายวัดก็ไม่ได้ปูพระแท่นหลายชั้นเหมือนดังแต่ก่อน คงจะพอหาดูได้ตามอารามชีลับที่ยังแคร่งกฎจารีตเดิมอยู่ แต่อย่างน้องจะเหลือผ้าปูพระแท่นด้านในสุดและอาจจะฝืนไม่ใหญ่เท่าพอดีแท่นแต่จะปูไว้ตรงกลางบริเวณที่วางจานปาแตนากับจอกกาลิกส์และปูทับด้วยผ้าปูพระแท่นฝื้นบนสุดซึ่งจะมักประดับด้วยผ้าลูกไม้หรือลายปักที่สวยงามที่จะห้อยมาปิดด้านหน้าเล็กน้อยและห้อยลงไปทางด้านข้าง 50 cm. เป็นอย่างน้อยซึ่งเราเห็นตามวัดปูอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจจะมีบางวัดที่อาจจะไม่ให้มีผ้าห้อยมาข้างหน้าเพื่อไม่ต้องการปิดภาพศักดิ์สิทธิ์บริเวณหน้าพระแท่นแต่ก็ควรให้มีผ้าห้องลงไปด้านข้างซ้ายขวาของพระแท่นด้วย

จำเป็นหรือไม่ที่เวลาตัดผ้าปูแท่นแล้วต้องมีส่วนที่ผ้าห้อยลงมา? ตัดให้พอดีพื้นพระแท่นด้านบนอย่างเดียวได้หรือไม่? คำตอบคือ ถ้าเรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของผ้าปูพระแท่นจริงๆแล้ว ผ้าปูพระแท่นก็เปรียบเสมือนผ้าที่ห่อพระศพของพระเยซูเจ้า เมื่อเวลาที่พระองค์ถูกฝังไว้ในคูหา ซึ่งความหมายของพระแท่นเองก็คือองค์พระเยซูเจ้าที่อยู่ท่ามกลางเราเวลาที่เราร่วมประกอบพิธีกรรม ดังนั้นผ้าปูพระแท่นจึงควรจะต้องห้อยหรือตกลงมา คลุมหรือทับส่วนพระแท่นด้านบนและเพื่อสัตบุรุษจะได้สามารถแลเห็นและเข้าใจถึงความหมายดังกล่าวข้างต้นอย่างที่อธิบายไป

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown