มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

เราทุกคนต่างก็เป็นหนี้ของพระเจ้า (Pope’s World Day of Peace message: ‘We are all in debt to God’)

 

 

เราทุกคนต่างก็เป็นหนี้ของพระเจ้า (Pope’s World Day of Peace message: ‘We are all in debt to God’)

     ในสาส์นของพระสันตะปาปาฟรังซิสเนื่องในโอกาส #วันสันติภาพสากล ครั้งที่ 58 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2025 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงไตร่ตรองถึงประเด็นสำคัญของปีศักดิ์สิทธิ์แห่งความหวังที่กำลังจะมาถึง และเน้นย้ำถึงคำขอร้องอันเร่งด่วนของพระองค์สำหรับ #การปลดหนี้ และเตือนเราว่า #เราทุกคนต่างก็เป็นลูกหนี้ของพระเจ้า และเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน

 

 

โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ("Forgive us our trespasses")

     สาส์นวันสันติภาพสากลปี 2025 มีหัวข้อที่ว่า “โปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า โปรดประทานสันติภาพให้กับเรา” โดยเน้นย้ำความหมายของปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลีที่เตือนเราว่า เราทุกคนต่างก็เป็นหนี้ของพระเจ้า ผู้ทรงให้อภัยบาปของเราในพระเมตตา และความรักอันไม่มีขอบเขตของพระองค์ และเรียกร้องให้เราให้อภัยต่อผู้ที่ล่วงเกินเรา

     ตามธรรมประเพณีของชาวยิว ปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลีเป็นปีพิเศษ เพื่อการยกโทษบาป และการปลดหนี้สำหรับทุกคน รวมถึงการปลดปล่อยผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหง ในสมัยของเราก็เช่นกัน ปีแห่งพระหรรษทานพิเศษนี้ “เป็นแรงบันดาลใจให้กับเรา ที่จะนำการปลดปล่อยความยุติธรรมของพระเจ้าไปสู่โลกของเรา” โลกที่ถูกทำลายด้วยความอยุติธรรมและความท้าทาย “เชิงระบบ” ดังที่นักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เรียกว่า “บาปทางโครงสร้าง” (structures of sin)

 

 

ระบบความอยุติธรรมและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกัน (Systemic injustices and "interconnected" challenges)

     การปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม “ความสับสนที่จงใจสร้างขึ้นจากการบิดเบือนข้อมูล การปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเสวนาทุกรูปแบบ และทรัพยากรจำนวนมหาศาลที่ใช้ไปกับอุตสาหกรรมสงคราม” “เราแต่ละคนต้องรู้สึกรับผิดชอบในทางใดทางหนึ่งต่อการทำลายล้างที่โลกซึ่งเป็นบ้านส่วนรวมของเราต้องเผชิญ แม้ว่าการกระทำเหล่านั้นที่จะเป็นเพียงทางอ้อม แต่ก็กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งที่กำลังแพร่ระบาดในครอบครัวมนุษยชาติของเราในปัจจุบัน”

     ความท้าทายที่ "เชื่อมโยงถึงกัน" เหล่านี้ ไม่เรียกร้อง "การทำบุญเป็นระยะ ๆ" แต่เรียกร้องให้ "เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและโครงสร้าง" เพื่อ "ทำลายพันธนาการของความอยุติธรรม และประกาศความยุติธรรมของพระเจ้า"

 

 

ทรัพยากรของโลกเป็นของขวัญจากพระเจ้าเพื่อมวลมนุษยชาติ (Resources of the earth are God's gift to all humanity)

     ดังที่นักบุญบาซิลแห่งซีซารียา (Saint Basil of Caesarea) กล่าวว่า ทุกสิ่งที่เราอ้างว่าเป็นของเรา แท้จริงแล้วเป็นของขวัญจากพระเจ้า ดังนั้น ทรัพยากรของโลกจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติทั้งมวล “ไม่ใช่แค่ผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนเท่านั้น” เมื่อละสายตาจากความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์จะแปดเปื้อนไปด้วยตรรกะของการเอารัดเอาเปรียบและการกดขี่ข่มเหง

     สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของชนชั้นสูงในสมัยของพระเยซูเจ้า เขาเหล่านั้นเจริญรุ่งเรืองบนความทุกข์ทรมานของผู้ยากจน และพบเสียงสะท้อนในโลกยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดความอยุติธรรมที่ยืดเยื้อ ดังที่เห็นได้จากวิกฤตหนี้ที่กักขังประเทศที่ยากจนกว่าในซีกโลกใต้ให้อยู่ในวงจรอุบาทว์แห่งการพึ่งพาตนเองและความไม่เท่าเทียมกัน

 

 

หนี้ต่างชาติเป็นการควบคุมของประเทศร่ำรวย (Foreign debt a means of control by richer nations)

     แท้จริงแล้ว “หนี้ต่างประเทศได้กลายเป็นวิธีการควบคุมโดยรัฐบาล และสถาบันการเงินเอกชนบางแห่งของประเทศร่ำรวยกว่า แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติของประเทศยากจนอย่างไร้หลักการและไม่เลือกปฏิบัติ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดของตนเอง”

     นอกจากนี้ “ประชาชนที่แตกต่างกันซึ่งมีภาระหนี้ระหว่างประเทศอยู่แล้ว พบว่าตนเองถูกบังคับให้รับภาระของ “หนี้ระบบนิเวศ” ที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่า”
เนื่องในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอให้ประชาคมระหว่างประเทศทำงานเพื่อการให้อภัยหนี้ต่างประเทศ เพื่อรับรู้ถึงหนี้ทางนิเวศที่มีอยู่ระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของโลกนี้ “นี่เป็นการเรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อความยุติธรรม”

     “การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและโครงสร้างที่จำเป็น จะเกิดขึ้นเมื่อเราตระหนักในที่สุดว่า เราทุกคนเป็นบุตรและธิดาของพระบิดาองค์เดียวกัน เราทุกคนเป็นหนี้ของพระองค์ แต่ก็ยังต้องการกันและกัน ด้วยจิตวิญญาณแห่งความรับผิดชอบร่วมกันและหลากหลาย"
เพื่อเป็นแนวทางแห่งความหวังในช่วงปีศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเสนอข้อเสนอ 3 ประการ เพื่อเตือนเราว่า “เราเป็นลูกหนี้ที่ได้รับการยกหนี้แล้ว” คือ

1) ขอร้องให้ปลดหนี้

2) ขอร้องให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต
3) ลดงบประมาณสำหรับอาวุธแต่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการพัฒนา

 

 

ขอร้องให้ปลดหนี้ (Plea for debt forgiveness)

     เช่นเดียวกับคำร้องขอของนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลี 2000 ในการลดหย่อนหนี้ระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ หรือยกเลิกทันที “ซึ่งไม่มีเงื่อนไขที่จะต้องชำระหนี้ตามจำนวนที่ตนเป็นหนี้” ในแง่ของหนี้ทางระบบนิเวศ ประเทศที่เจริญแล้วก็เป็นหนี้ประเทศที่ยากจนเช่นกัน สิ่งนี้ควรทำใน “กรอบทางการเงินใหม่” ซึ่งนำไปสู่การสร้างกฎบัตรทางการเงินระดับโลก “บนพื้นฐานของความเป็นหนึ่งเดียวกันและความปรองดองระหว่างประชาชน”

 

 

ขอร้องให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต (Appeal for abolition of death penalty)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้อง “คำมั่นสัญญาอันแน่วแน่ที่จะเคารพศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงความตายตามธรรมชาติ” และเรียกร้องให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชีวิตที่ให้คุณค่ากับทุกคน

 

 

ลดงบประมาณสำหรับอาวุธแต่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการพัฒนา (Less money for weapons, more for development)

     เช่นเดียวกับนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 และพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงขอร้องให้เปลี่ยน “อย่างน้อยเปอร์เซ็นต์คงที่ของเงิน” ซึ่งจัดสรรไว้สำหรับยุทโธปกรณ์ให้กับกองทุนโลกเพื่อขจัดความหิวโหย และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศที่ยากจนกว่า เพื่อช่วยให้พวกเขาต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

     “ความหวังที่ออกมาจากความมีน้ำใจ ปราศจากการคิดคำนวณ ไม่เรียกร้องอะไรแอบแฝง ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ แต่มุ่งหวังสิ่งเดียวเท่านั้น คือ ฟื้นผู้ที่ล้มลง รักษาหัวใจที่แตกสลาย และทำให้เราพ้นจากความเป็นทาสทุกรูปแบบ” “ความมีน้ำใจที่จะพยุงผู้ที่ล้มลงให้ลุกขึ้นมา เยียวยาหัวใจที่แตกสลาย และช่วยให้เราหลุดพ้นจากพันธนาการทุกรูปแบบ”

 

 

ปลดอาวุธหัวใจ (Disarming hearts)

     เป้าหมายโดยรวมของข้อเสนอเหล่านี้ คือการบรรลุถึงสันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืนในโลก ซึ่งไม่เพียงแต่ปราศจากสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงหัวใจและสังคมอย่างลึกซึ้งอีกด้วย พระเจ้าประทานสันติภาพที่แท้จริงให้แก่จิตใจที่ "ปลดอาวุธ" จากความเห็นแก่ตัว ความเกลียดชัง และความวิตกกังวลในอนาคต โดยแทนที่พวกเขาด้วยความมีน้ำใจ การให้อภัย และความหวังเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม การกระทำที่เรียบง่ายของความเมตตาและความเป็นหนึ่งเดียวกัน สามารถนำทางไปสู่โลกใหม่ โดยการส่งเสริมความรู้สึกแห่งความเป็นพี่น้องกันและแบ่งปันมนุษยชาติ

 

 

บทภาวนาวันสันติภาพสากล 1 มกราคม 2025

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประพันธ์บทอธิษฐานภาวนา โอกาสวันสันติภาพสากล 1 มกราคม 2025 โดยสรุปได้ดังนี้

ขอพระเจ้าทรงโปรดอภัยบาปของเราเถิด พระเจ้าข้า

เมื่อเราให้อภัยผู้ที่ทำบาปต่อเรา
ในการให้อภัยเช่นนี้ โปรดประทานสันติสุขของพระองค์แก่เรา
สันติสุขที่พระองค์เพียงผู้เดียวสามารถให้ได้
แก่ผู้ที่ปลดอาวุธในจิตใจ
แก่ผู้ที่หวังจะยกหนี้ให้เพื่อนพี่น้องของตน
แก่ผู้ที่ไม่กลัวที่จะบอกหนี้ของพวกเขาให้กับพระองค์
และแก่ผู้ที่ไม่ปิดหูเพื่อฟังเสียงร้องของคนยากจน

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown