มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

การไม่เคารพในคุณค่าของศาสนานำไปสู่ความไม่อดทนต่อกันและกัน (Pope: Lack of respect for religious values leads to intolerance)

 

 

การไม่เคารพในคุณค่าของศาสนานำไปสู่ความไม่อดทนต่อกันและกัน (Pope: Lack of respect for religious values leads to intolerance)

     ในคำปราศรัยต่อผู้เข้าร่วมการประชุมทุกศาสนา (All Religions' Conference) ณ นครรัฐวาติกัน ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2024 โอกาสครบรอบ 100 ปี ของการจัดการประชุมครั้งแรก โดย “องค์กรศรีนารายณ์ธรรมสังคม” (Sree Narayana Dharma Sanghom Trust)
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเน้นย้ำถึงคุณค่าของการเสวนาในบริบทระดับโลก ที่เห็นได้จาก "ความไม่อดทนและความเกลียดชังกันและกัน" การเลือกปฏิบัติที่กล่าวถึงนี้อยู่ "บนพื้นฐานของความแตกต่างกัน" ซึ่งพระสันตะปาปาฟรังซิสได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งจนกลายเป็น "กิจวัตรประจำวัน" พระองค์ชี้ไปที่การแบ่งปัน "ความจริงฝ่ายจิตวิญญาณ" และ "คุณค่า" ท่ามกลางศาสนาที่แตกต่างกัน

 

 

การปฏิรูปสังคมของพระครูศรีนารายณ์ (The Social Reform of Sree Narayana Guru)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสนับสนุนมรดกของพระครูศรีนารายณ์ โดยตรัสว่า ท่านเป็น "ผู้นำทางจิตวิญญาณ" และ "นักปฏิรูปสังคม" ของศาสนาฮินดู ท่านอุทิศชีวิตเพื่อส่งเสริม "การยกระดับทางสังคมและศาสนา" โดยการต่อต้านระบบวรรณะ ท่านเผยแพร่ข้อความที่ว่า "มนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรม เป็นสมาชิกของครอบครัวมนุษย์ครอบครัวเดียว" ดังนั้น ไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อใคร ในระดับหรือในรูปแบบใดก็ตาม

 

 

ความร่วมมือระหว่างศาสนาเพื่อมนุษยชาติที่ดีกว่าเดิม ("Religions Together for a Better Humanity")

     ข้อความที่หนึ่งร้อยปีต่อมา สะท้อนก้องในการประชุมทุกศาสนา ซึ่งจัดขึ้นโดยการสนับสนุนของสมณสภาเพื่อศาสนสัมพันธ์ (Dicastery for Interreligious Dialogue) โดยมีหัวข้อการประชุมในครั้งนี้ว่า “ทุกศาสนาร่วมมือกันเพื่อมนุษยชาติที่ดีกว่าเดิม” (Religions Together for a Better Humanity) ถูกอธิบายโดยพระสันตะปาปาฟรังซิสว่า "มีความเกี่ยวข้องและสำคัญสำหรับยุคสมัยของเราอย่างแท้จริง โลกทุกวันนี้แท้จริงแล้ว มีการไม่ยอมรับและเกลียดชังในหมู่ประชาชนและประชาชาติเพิ่มมากขึ้น" ตัวอย่างของ “การเลือกปฏิบัติและการกีดกัน ความตึงเครียด และความรุนแรง” ที่เกิดจาก “ความแตกต่างทางชาติพันธุ์หรือสังคม เชื้อชาติ สีผิว ภาษา และศาสนา” ได้กลายเป็น “ประสบการณ์ประจำวันสำหรับบุคคลและชุมชนจำนวนมาก” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ยากจน ผู้ไร้การป้องกัน และผู้ไร้เสียงในสังคม

 

 

ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันและเป็นพี่น้องกัน (Equal and fraternal human beings)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสถึง “เอกสารว่าด้วยภราดรภาพมนุษย์เพื่อสันติภาพโลกและการอยู่ร่วมกัน” (The Document on Human Fraternity for World Peace and Living Together) ซึ่งลงนามระหว่างการเดินทางอภิบาลไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019 กับอิหม่ามใหญ่แห่งอัลอัซฮาร์ อาหมัด อัล-เตย์เยบ (Ahmad Al-Tayyeb) เอกสารนี้ระบุว่า พระเจ้าทรง "สร้างมนุษย์ทุกคนให้เท่าเทียมกันในด้านสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ศรี และทรงเรียกพวกเขาให้อยู่ร่วมกันในฐานะพี่น้องกัน"

 

 

รักและให้เกียรติต่อกันและกันเป็นการแบ่งปันความจริงท่ามกลางศาสนาต่าง ๆ ("Love and honour each other": A shared truth among religions)

     "ความจริงขั้นพื้นฐาน" ที่ "ทุกศาสนา" แบ่งปันกัน คือคำสอนของพวกเขาที่ว่า "ในฐานะบุตรของพระเจ้าองค์เดียว เราต้องรัก และให้เกียรติกันและกัน เคารพต่อความหลากหลาย และความแตกต่างด้วยจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้องกัน การไม่แบ่งแยก และความใส่ใจกันและกันเช่นเดียวกับความใส่ใจต่อโลกที่บ้านส่วนรวมของเรา” การเมินเฉยต่อคำสอนดังกล่าวเป็นสาเหตุของความวุ่นวายในโลก อย่างไรก็ตาม การรื้อฟื้นสิ่งเหล่านี้อีกครั้งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ "หากเราทุกคนมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตอย่างนั้น และปลูกฝังความสัมพันธ์ฉันพี่น้องและความเป็นมิตรกับทุกคน โดยมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวในการเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในความหลากหลาย เสริมสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองในความแตกต่าง และการเป็นผู้สร้างสันติภาพ แม้ว่าจะมีความยากลำบากและความท้าทายที่เราเผชิญอยู่ก็ตาม "

 

 

ความร่วมมือเพื่อต่อต้านปัจเจกนิยม (Cooperation against individualism)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแสดงความหวังที่จะร่วมมือกันระหว่าง “ผู้มีน้ำใจดี” เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมแห่ง “ความเคารพ ศักดิ์ศรี ความเห็นอกเห็นใจ ความปรองดอง และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันฉันพี่น้อง” ข้อความนี้สะท้อนอยู่ในปฏิญญาร่วมอิสติกลัล (Joint Declaration of Istiqlal) เมื่อเดือนกันยายน 2024 ที่ผ่านมา ซึ่งทำหน้าที่เป็นยาแก้พิษต่อค่านิยมของ "ความเป็นปัจเจกชน การกีดกัน ความเฉยเมย และความรุนแรง" พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสรุปว่า ตัวแทนของศาสนาต่าง ๆ สามารถ "เดินและทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมนุษยชาติที่ดีขึ้น" โดยการ "ดึง" คุณลักษณะที่มีร่วมกันของพวกเขาออกมา ขณะเดียวกันก็ "หยั่งรากลึก" ใน "ความเชื่อ" และ "ความเชื่อมั่นทางศาสนา" ของพวกเขาเอง

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown