มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

ปาปัวนิวกินี: #ความเชื่อที่มีชีวิตชีวาจากธรรมทูตคณะพระหฤทัย (Papua New Guinea: Vibrant faith enriched by work of Sacred Heart Missionaries)

 

ปาปัวนิวกินี: #ความเชื่อที่มีชีวิตชีวาจากธรรมทูตคณะพระหฤทัย (Papua New Guinea: Vibrant faith enriched by work of Sacred Heart Missionaries)

     ก่อนที่พระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จเยือนปาปัวนิวกินี ระหว่างวันศุกร์ที่ 6 ถึง วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2024 พระอัครสังฆราชโรชุส โจเซฟ ทาทาไม สมาชิกธรรมทูตคณะพระหฤทัย (Archbishop Rochus Joseph Tatamai, MSC) แห่งอัครสังฆมณฑลราบาอูล (Archdiocese of Rabaul) ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมนักข่าวว่า ประเทศนี้อาจจะ "อยู่ห่างไกลและอยู่ชายขอบ" แต่มีความสุขกับพระศาสนจักรที่มีชีวิตชีวา พร้อมกับคนหนุ่มสาวที่นั่งเต็มวัดของเรา
มิชชันนารีแห่งพระหฤทัย (Missionary of the Sacred Heart หรือ MSC) ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในปาปัวนิวกินี นับตั้งแต่มาถึงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 1882 ทำให้พวกเขาได้กลายเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ และพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศ และเป็นประเด็นที่จะต้องถูกกล่าวถึงในวันนี้ รวมถึงงานด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพด้วย

 

 

มิชชันนารีรุ่นบุกเบิก

     ในศตวรรษที่ 19 มิชชันนารีแห่งพระหฤทัยมาจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และแบ่งงานอภิบาลของตนของเป็นกลุ่ม ๆ ตามเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของปาปัวนิวกินี
“ชาวฝรั่งเศสและสวิสดูแลสถานที่ทั้งหมดตั้งแต่เกาะยูล (Yule Island) ปัจจุบันคือสังฆมณฑลเบเรอินา (Bereina Diocese) ไปจนถึงเคเรมา (Kerema) กลับไปยังดารู-คิอุงกา (Daru-Kiunga) และเมนดี (Mendi)” “ธรรมทูตพระหฤทัยที่มาจากออสเตรเลียดูแลพอร์ตมอร์สบี (Port Moresby) และอโลเทา-ซิเดีย (Alotau-Sidea) ในขณะที่ชาวเยอรมันดูแลราเบาล์ (Rabau) และคิมเบ (Kimbe)” ส่วนมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวไอริชมาถึงในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม มิชชันนารีแห่งพระหฤทัยไม่ได้เป็นเพียงผู้ริเริ่มการประกาศพระวรสารในยุคแรก ๆ เท่านั้น ยังมีธรรมทูตคณะพระแม่มารีย์จากฝรั่งเศส (Marists), คณะปีเมจากอิตาลี (PIME) และคณะผู้รับใช้แห่งพระวาจาของพระเจ้า (SVD) ก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ภาพโมเสคของมิชชันนารีจากประเทศต่าง ๆ ได้พบกับผืนผ้าของประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมีมากกว่า 800 ภาษา ซึ่งการประกาศพระวรสารที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้กับทุกคนไม่ใช่เรื่องง่าย

 

 

ความท้าทายเรื่องภาษาและภูมิศาสตร์

     “ความท้าทายหลักตั้งแต่เริ่มแรกคือ ความเข้าใจ เพราะเมื่อบรรดามิชชันนารีมาถึง ไม่มีใครพูดภาษาท้องถิ่นได้เลย” ความแตกต่างทางด้านภูมิศาสตร์ของชนเผ่าหลายเผ่า ยิ่งทำให้มีปัญหาและอุปสรรคมากขึ้นไปอีก “ผู้คนที่อาศัยอยู่ระหว่างชายแดนของระหว่างชนเผ่าสามารถพูดได้หลายภาษา ในขณะที่ผู้ที่อยู่ห่างไกลพูดได้เพียงแค่ภาษาของตนเองเท่านั้น” เพื่อเอาชนะความท้าทายนี้ บรรดามิชชันนารีจะต้องอาศัยการอยู่ท่ามกลางผู้คน และเรียนรู้ภาษาของพวกเขา เมื่อทำเช่นนั้นจึงจะสามารถ "เข้าใจทัศนคติที่อยู่ภายในและโลกทัศน์ของชาวเมลานีเซียน (Melanesian) ได้" โอกาสในการประกาศพระวรสารจึงจะสามารถเกิดขึ้น
“สำหรับข้าพเจ้า มันลึกซึ้งมากเมื่อมิชชันนารีชุดแรกมาถึงชายฝั่งของเรา แม้ว่าสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 จะพูดถึงกระบวนการนำความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 หรือหลังจากการมาถึงบรรดามิชชันนารียุคแรก 80 ปี บรรดามิชชันนารียุคแรกจะต้องเอาชนะอุปสรรคในการพยายามเข้าใจภาษา พวกเขาใช้ภาษา ขนบธรรมเนียม ค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่นทันที เพื่อที่จะพยายามบูรณาการ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความพยายามประกาศพระวรสารไปยังประชาชน”

 

 

บุญราศีครูคำสอนเปโตรโตร็อต

     เมื่อกล่าวถึงบุญราศีเปโตร โต ร็อต (Blessed Peter To Rot) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 1995
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครูคำสอนฆราวาสซึ่งมีบิดามารดาเป็นคริสตชนรุ่นแรก ๆ ในปาปัวนิวกินีที่ได้รับศีลล้างบาปโดยมิชชันนารีแห่งคณะพระหฤทัย ได้สอนความเชื่อคาทอลิกให้แก่ชุมชนท้องถิ่น โดยฝ่าฝืนคำสั่งของกองทัพญี่ปุ่นที่กำลังยึดครองอยู่ในขณะนั้น ท่านจึงถูกตำรวจญี่ปุ่นจับกุมและสังหารในที่สุด
“บุญราศีเปโตร โต ร็อต” พระอัครสังฆราชทาทาไม ซึ่งมีปู่เป็นน้องชายของบุญราศีปีเตอร์ โต ร็อต (ท่านจึงมีศักดิ์เป็นหลานของบุญราศีเปโตร โต ร็อต) กล่าวว่า “สำหรับข้าพเจ้าแล้ว แสดงถึงการทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันระหว่างมิชชันนารีและครูคำสอน ครูคำสอนคือคนกลางที่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประชาชน มิชชันนารีมักจะพูดคุยกับครูคำสอนอยู่เสมอ ครูคำสอนคือผู้ที่สื่อสาร และผู้อธิบายให้ง่ายขึ้นสำหรับคนและวัฒนธรรมท้องถิ่น”

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงปรารถนาให้ดำเนินการเพื่อท่านจะได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในอนาคต แม้ว่าจะยังไม่ทราบวันเวลาที่ชัดเจนก็ตาม แต่ “ผู้คนมีความสุขมาก และมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าบุญราศีปีเตอร์ โต ต็อต คือตัวแทนสำหรับเรา พระศาสนจักรในปาปัวนิวกินีและเมลานีเซีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาพระสังฆราชแห่งหมู่เกาะโซโลมอนปาปัวนิวกินีนี้” สิ่งนี้เน้นย้ำถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของบรรดาคริสตชนฆราวาสต่องานด้านมนุษยธรรม และทุกสิ่งที่พระศาสนจักรในปาปัวนิวกินีสามารถทำได้ในเวลานี้ จริง ๆ แล้ว คือการเน้นไปที่จิตวิญญาณของคริสตชนฆราวาสและการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในงานประกาศพระวรสาร”

     พระสันตะปาปาฟรังซิสได้เคยตรัสกับบรรดามิชชันนารีว่า “บุญราศีปีเตอร์ โต ร็อต เป็นตัวแทนของนักบุญประเภทที่เราต้องการในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ปล้นความงดงามของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการแต่งงานและพื้นฐานของทุก ๆ สังคม และชีวิตครอบครัว ”
พระอัครสังฆราชทาทาไม ปิดท้ายเกี่ยวกับการเสด็จเยือนของพระสันตะปาปาฟรังซิสว่า เราจะได้เห็น “การฟื้นฟูที่ยิ่งใหญ่กว่า การปลุกความเชื่อของผู้สูงอายุและเยาวชนคนหนุ่มสาวของเรา” “แม้เราจะอยู่ห่างไกลและชายขอบ แต่เราก็มีพระศาสนจักรและความเชื่อที่มีชีวิตชีวา คนหนุ่มสาวของเรายังคงมารวมตัวกันที่วัดของเราเป็นประจำ”

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown