มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED
HOT NEWS
พิธีมิสซาเปิดและปฐมนิเทศผู้หว่านรุ่นที่ : แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ จัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ “ผู้หว่าน รุ่นที่ 8” ระหว่างวันพุธที่ 1 พฤษภาคม - วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน (รวม 40 วัน) ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” สามพราน และบ้านชุมพาบาล สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี มีพิธีมิสซาเปิด โดยคุณทัศนุ หัตถการกุล ผู้จัดการแผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธาน วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ณ บ้านผู้หว่าน   อนึ่ง ผู้หว่าน รุ่นที่ 8 มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 14 ท่าน ดังนี้ 1 ซิสเตอร์ลูซีอา พันธิพา ชอบเจริญธรรม คณะภคินีแพร่ธรรมแห่งพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล (แม่ปอน) 2 ซิสเตอร์เซซีลีอา ณิชนันท์ เจริญทิพยวงศ์ คณะภคินีแพร่ธรรมแห่งพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล (แม่ปอน) 3 ซิสเตอร์อังเยลา ชวัลรัตน์ เสรีรุ่งเรืองชัย คณะรักกางเขน แห่ง จันทบุ ขอเชิญทุกท่านร่วมโมทนาคุณพระเจ้า โอกาสฉล: ขอเชิญทุกท่านร่วมโมทนาคุณพระเจ้า โอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ในวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2024 มิสซาเวลา 10.30 น. โดย บิชอป ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นประธานในพิธี ขอเชิญร่วมฉลองอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล : ขอเชิญร่วมฉลองอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ ในวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2024 พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 10.00 น. โดย พระอัครสังฆราช อันตน วีระเดช ใจเสรี เป็นประธานในพิธี พิธีบูชาขอบพระคุณโมทนาคุณพระเจ้า โอกาสต้: พิธีบูชาขอบพระคุณโมทนาคุณพระเจ้า โอกาสต้อนรับคุณพ่อมัทธิว สาโรช เมธีพิทักษ์กุล มาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระชนนีของพระเป็นเจ้ารังสิตและการทำพิธีโปรดศีลล้างบาป ศีลมหาสนิทครั้งแรก และศีลกำลังให้กับนักเรียนคำสอน โดยคุณพ่อประยุทธ ศรีเจริญ พิธีโปรดศีลกำลัง นักเรียนคำสอนในเขต2 ณ ว: วันที่ 27 เมษายน 2024 พิธีโปรดศีลกำลัง นักเรียนคำสอนในเขต2 ณ วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ โดย คุณพ่อเปโตร ปิยะชาติ มกรครรภ์ ประธานในพิธี ร่วมด้วยพระสงฆ์ในเขต2

การสวดสายประคำเป็นการภาวนาพระคัมภีร์

พระสมณสารของสมเด็จพระสันตะปาปาหลายพระองค์ทรงอธิบายให้ความเข้าใจถึงความหมายการสวดสายประคำและทรงส่งเสริมให้สวดสายประคำ


พระสมณสารว่าด้วยการนับถือพระนางมารีย์ (1974) สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6

     44. ขอยกตัวอย่าง ได้มีการอธิบายให้ดียิ่งขึ้นว่าสายประคำมีลักษณะสอดคล้องกับพระวรสาร คือ ได้รับชื่อของอัตถ์ลึกซึ้ง และบทภาวนาสำคัญๆมาจากพระวรสาร นอกจากนั้นเมื่อระลึกถึงคำคำนับของเทวดา และความยินยอมอย่างศรัทธาของแม่พระ สายประคำก็ได้รับแรงบันดาลใจจากพระวรสาร ซึ่งบอกว่าสัตบุรุษต้องสวดสายประคำด้วยจิตใจอย่างไร ต่อไป เมื่อเราสวดบทวันทามารีอาต่อๆกันพักหนึ่ง สายประคำก็เสนออัตถ์ลึกซึ้งสำคัญ เช่น เรื่องการรับเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ ในเวลาสำคัญที่เทวดาแจ้งสารแก่พระนางมารีย์ ฉะนั้น สายประคำจึงเป็น “บทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสาร” ตามที่บรรดาจิตตาธิการและผู้รู้ชอบเรียกเช่นนี้ในสมัยปัจจุบันมากกว่าในสมัยก่อน

     46. สายประคำเป็นบทภาวนาที่สอดคล้องกับพระวรสารและถืออัตถ์ลึกซึ้งเรื่องการรับมนุษย์เพื่อไถ่บาปเป็นหลัก จึงมีจุดมุ่งไปหาพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง กล่าวคือ ส่วนประกอบอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ของสายประคำ อันได้แก่การสวดบทวันทามารีอาย้ำไปย้ำมานั้น กลายเป็นย้ำสรรเสริญพระคริสตเจ้า ผู้ซึ่งเทวดามาแจ้ง และแม่ของนักบูญยอห์น บัปติสต์ คำนับ กล่าวว่า “โอรสของท่านทรงบุญนักหนา” (ลก. 1:42)

 

     เราขอพูดมากกว่านี้อีกว่า การสวดย้ำบทวันทามารีอานั้น เป็นเครื่องติดต่อช่วยให้เราเพ่งพินิจรำพึง อัตถ์ลึกซึ้งต่างๆ บอกเราว่า เป็นบุตรพระเจ้า เป็นบุตรของพระนางมารีย์ เกิดในถ้ำตำบลเบธเลเฮม พระมารดานำไปถวายในพระวิหาร เป็นพระกุมารที่เต็มไปด้วยความห่วงใยต่อกิจธุระของพระบิดา เป็นพระผู้ไถ่ มนุษย์ที่ทรงเข้าตรีทูตในสวนมะกอกเทศ ถูกเฆี่ยน และสวมมงกุฎหนาม ต้องแบกกางเขน และสิ้นพระชนม์บนเนินกัลป์วารีโอ ทรงกลับคืนชีพและเสด็จกลับไปหาพระบิดาอย่างทรงเกียรติ เพื่อทรงใช้พระจิตมา

 

     เราทราบว่า เพื่อส่งเสริมการเพ่งพินิจรำพึง และเพื่อให้เจตนาตรงกับคำสวด แต่ก่อนนี้คริสตชนมีธรรมเนียมให้บอกชื่ออัตถ์ลึกซึ้ง หลังพระนามพระเยซูเจ้า ในบทวันทามารีอาทุกบท และธรรมเนียมนี้ก็ยังมีอยู่ในที่ต่างๆ

 

พระสมณสาสน์ เรื่องการสวดสายประคำ (2002)สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2


การสวดสายประคำเป็นการสรุปพระวรสาร

18. ไม่มีผู้ใดเข้าไปเพ่งพินิจพระพักตร์พระคริสตเจ้าได้ หากไม่ได้ยินสุรเสียงเรียกของพระบิดาในพระจิตเจ้า เพราะ “ไม่มีใครรู้จักพระบุตรนอกจากพระบิดา” (มธ 11:27) เมื่อเปโตรแสดงความเชื่อในเขตเมืองซีซารียาแห่งฟีลิป พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นชัดว่าเขาได้รับควา มเข้าใจนี้ถึงพระองค์มาจากไหน “ไม่ใช่มนุษย์ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย” (มธ 16:17) เพราะ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่พระเจ้าจะต้องทรงเปิดเผยจากเบื้องบน แต่เพื่อจะรับการเปิดเผยเช่นนี้ได้ เราจำเป็นต้องตั้งใจฟังด้วย “ประสบการณ์ความเงียบและการภาวนาเท่านั้นเป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้ความรู้แท้จริง ถูก ต้องลักลมกลืน ถึงพระธรรมล้ำลึกนี้พัฒนาขึ้นได้” (Novo Millennio Ineunte, 279)

     การสวดสายประคำเป็นวิธีการหนึ่งจากธรรมประเพณีการภาวนาที่บรรดาคริสตชนใช้เพื่อเข้าถึงการเพ่ง พินิจพระพักตร์ของพระคริสตเจ้าได้ สมเด็จสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงกล่าวไว้ว่า “การสวดสายประคำใน ฐานะที่เป็นการภาวนาที่เริ่มจากพระวรสาร มีศูนย์กลางอยู่ที่พระธรรมล้ำลึกเรื่องการรับสภาพมนุษย์และการกอบกู้ จึงเป็นการภาวนาที่มีลักษณะเกี่ยวกับพระคริสตเจ้าโดยตรง ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของการสวดสาย ประคำ ได้แก่การสวดบท “วันทามารีอา” ตอบรับซ้ำๆกัน ต้องนับว่าเป็นการสรรเสริญพระคริสตเจ้าโดยไม่หยุดหย่อนด้วยเพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งบุคคลที่ทูตสวรรค์และมารดาของยอห์นผู้ทำพิธีล้างกล่าวถึง “โอรสของท่านทรงบุญนักหนา” (เทียบ ลก 1:42) ยิ่งกว่านั้น การสวดบท “วันทามารีอา” ซ้ำๆกันยังเป็นเสมือนด้ายเส้นตั้งในการทอผ้า และมีการเพ่งพินิจพระธรรมล้ำลึกเป็นเสมือนด้ายเส้นขวาง พระเยซูเจ้าที่บทวันทามารีอ าแต่ละครั้งชวนให้คิดถึงก็คือพระเยซูเจ้าองค์เดียวกัน ที่เราเพ่งพินิจถึงพระธรรมล้ำลึกของพระองค์ตามลำดับ ในฐานะที่ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า และในฐานที่พระบุตรของพระนางพรหมจารี (Marialis Cultus, 46)

 

หนทางของพระแม่มารีย์:พระธรรมล้ำลึกหลายประการย่อเหลือประการเดียว

     24. หัวข้อการคิดคำนึงที่การสวดสายประคำเสนอนี้ หาได้ครอบคลุมพระธรรมล้ำลึกครบทุกประการไม่ แต่เชิญชวนให้เราคิดถึงพระธรรมล้ำลึกข้อที่เป็นหลักและจำเป็นปลุกจิตสำนึกของทุกคนให้อยากสัมผัสกับความรู้สึกนึกคิดของพระคริสตเจ้าและได้รับชีวิตจากบ่อเกิด บริสุทธิ์ของข่าวดี เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ในพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าที่ผู้นิพนธ์พระวรสารเล่าไว้ ล้วนเป็นพระธรรมล้ำลึกเกินที่จะ หยั่งรู้ได้ (เทียบ อฟ 3:19) คือพระธรรมล้ำลึกของพระวจนาตถ์ที่ทรงรับสภาพมนุษย์ “ที่พระเทวภาพบริบูรณ์สถิตอยู่ด้วย” (คส 2:9) เพราะเหตุนี้ หนังสือ “คำสอนของพระศาสนขักรคาทอลิก” จึงให้ความสำคัญแก่พระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าอย่างมากเมื่อกล่าวว่า “ทุกสิ่งในพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าเป็นเครื่องหมายแสดงธรรมล้ำลึกของพระองค์” คติพจน์ของพระ ศาสนจักรในสหัสวรรษที่สามนี้ว่า “จงออกไปในที่ลึก” จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความสามา รถของคริสตชนเพื่อจะเข้าถึง “ความรู้ความเข้าอย่างซาบซึ้งในพระธรรมล้ำลึกของพระเจ้าเรื่องพระคริสตเจ้า ในองค์พระคริสตเจ้า มีพระปรีชาญาณและความรอบรู้ซ่อนอยู่เป็นขุมทรัพย์ล้ำค่า” (คส 2:2-3) จดหมายถึงชาวเอเฟซัสจึงมีคำภาวนานี้สำหรับผู้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนว่า “ขอให้พระคริสตเจ้าทรงพำนักในจิตใจของท่าน อาศัยความเชื่อ เมื่อท่านหยั่งรากและตั้งมั่นอยู่บนความรักแล้ว ท่าน...จะได้หยั่งรู้ซึ้งถึงความรักซึ่งเกินกว่าจะหยั่งรู้ได้ของพระคริสตเจ้า เพื่อท่านจะได้รับความไพบูลย์ทั้งปวงของพระเจ้าอย่าเต็มเปี่ยม” (อฟ 3:17-19)

     การสวดสายประคำช่วยให้อุดมการณ์นี้เป็นจริง โดยมอบ “เคล็ดลับ” ให้เราเปิดตัวรับความรู้ จักพระคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้งถ่องแท้นี้ เราอาจเรียกเคล็ดลับนี้ได้ว่าเป็น “หนทางของพระแม่มารีย์” เป็นหนทางที่พระนางพรหมจารีแห่งนาซาเร็ททรงดำเนินมาแล้ว ในฐานะสตรีที่มีความเชื่อ ไม่พูดมาก และรู้จักฟัง การสดสายประคำยังเป็นวิธีการแสดงความศรัทธาต่อพระแม่ มารีย์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความรู้ถึงความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของพระคริสตเจ้ากับพระมารดา จึงกล่าวได้ว่า พระธรรมล้ำลึกของพระ คริสตเจ้าเป็นพระธรรมล้ำลึกของพระมารดาด้วย แม้พระธรรมล้ำลึกบางประการมิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระนางเลยก็ตาม เพราะพระองค์ ทรงเป็นเหตุผลให้พระนางเจริญชีวิตอยู่ และดำเนินชีวิตเพื่อพระองค์ เมื่อเราทำให้คำพูดของทูตสวรรค์และของนางเอลีซาเบ็ธในบท “ วันทามารีอา” มาเป็นของเราด้วยนั้น เราก็มีความรู้สึกว่าถูกดึงดูดให้แสวงหา “โอรสของพระนาง” (เทียบ ลก 1:42) อีกครั้งหนึ่งในอ้อมกอดและดวงหทัยของพระแม่มารีย์ด้วย

 

     ข้อคิดเกี่ยวกับแม่พระและสายประคำนี้ ได้มาจากคำเตือนใจของสมเด็จพระสันตะปาปา และการไตร่ตรองประสบการณ์ของผู้เขียน

ในการส่งเสริมการสวดสายประคำในแง่ของการภาวนาตามพระวรสาร

สิ่งแรกคือ การเปรียบเทียบการสวดสายประคำซ้ำๆ กับการร้องเพลง จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้น บทเพลงประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน จังหวะและทำนอง ทั้งสองส่วนนี้เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่นกันการภานาสายประคำ การสวดบทวันทามารีย์ซ้ำๆ นั้นเป็นจังหวะ และทำนองคือข้อรำพึงรหัสธรรม ดังนั้น การ สวดบทวันทามารีย์ซ้ำๆนั้น ยังไม่ใช่เป็นการสวดสายประคำ การรำพึงรหัสธรรม เป็นส่วนที่สำคัญขาดไม่ได้ พร้อมกับพระแม่มารีย์ เราใคร่ครวญรหัสธรรมชีวิตของพระเยซูเจ้า

ข้อพิจารณาประการที่สอง สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์นปอลที่ สอง กล่าวว่า “การรำพึงข้อลึกลับ ของสายประคำ เป็นเรื่องที่ละเอียดถี่ถ้วน” ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่พระองค์ทรงเพิ่ม รหัสธรรมแห่งความสว่างเข้าในการรำพึงสายประคำทั้งครบ ภาคชื่นชมยินดี ภาคโศกเศร้า และภาคสิริรุ่งโรจน์ พระองค์ยังตรัสอี กว่า “ทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซูเจ้า ที่บรรยายโดยผู้เขียนพระวรสาร นั้นสุกใสสว่างด้วยรหัสธรรมที่เกินกว่าความเข้าใจใดๆทั้งสิ้น นั้นก็คือ ถึงแม้ว่าเราจะเพิ่มรหัสธรรมแห่งความสว่างเข้าไป การใคร่ครวญรหัสธรรมทั้ง สิ่ภาคนี้ ก็ไม่สามารถครอบคลุม รหัสธรรมชีวิตของพระคริสต์ที่เราปรารถนาจะรำพึงพร้อมกับพระแม่มารีย์ได้ทั้งหมด เราสามารถกล่าวได้ว่า ทุกเหตุการณ์ ทุกพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่บัน ทึกไว้ในพระวรสาร เป็นข้อลึกลับที่เราควรจะรำพึงไปพร้อมกับพระแม่มารีย์

     ดังนั้น พระเยซูเจ้าที่บทวันทามารีย์เรียกขานในทุกบทนั้นเป็นพระเยซูเจ้าที่เรารำพึงไตร่ตรองต่อเนื่องถึงข้อลึกลับที่เรายังมองไม่เห็น

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown