The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

บทที่ 2 : ประชากรของพระเป็นเจ้า

พันธสัญญาใหม่และประชากรใหม่
    9. เป็นความจริงในทุกยุคทุกสมัยและในทุกชาติทุกภาษา ใคร ๆ ที่รับรู้จักพระเป็นเจ้าและประพฤติตามความยุติธรรม เขาผู้นั้นก็เป็นที่รักโปรดปรานของพระองค์ทั้งนั้น (เทียบ กจ. 10,35), กระนั้นก็ดี  พระเป็นเจ้าได้ทรงพอพระทัย ประสาทความศักดิ์สิทธิ์และความรอด  ไม่ใช่แก่มนุษย์คนละคนต่างหากโดยไม่สนพระทัยใยดีต่อความเกี่ยวข้องผูกพันธ์ใด ๆ ของพวกเขาก็หามิได้, แต่ได้ทรงพอพระทัยจัดตั้งพวกเขาขึ้นเป็นประชากรให้มารับรู้จักพระองค์ด้วยความจริงใจ และมาปรนนิบัติรับใช้พระองค์อย่างดีศักดิ์สิทธ์ ดังนี้เองพระองค์จึงได้ทรงเลือกสรรชนชาติอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์, ได้ทรงสั่งสอนเขาทีละขั้นทีละตอนให้มารู้ถึงองค์ของพระองค์ท่าน และโครงการน้ำพระทัยของพระองค์ทรงแสดงออกให้เห็นประจักษ์ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา  และทรงบันดาลให้พวกเขาศักดิ์สิทธิ์สำหรับพระองค์ท่าน, ทุกสิ่งทุกอย่างนี้อันเป็นขึ้นมาเพื่อเตรียมพวกเขไว้ล่วงหน้า และเพื่อเป็นรูปแบบแห่งพันธสัญญาใหม่อันสมบูรณ์,  ที่จะกระทำขึ้นในองค์พระคริสตเจ้า, ทั้งเป็นการไขแสดงเปิดเผยยิ่งขึ้น,  เป็นการไขแสดงครบถ้วนโดยทางพระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าผู้มารับเป็นมนุษย์ “นี่แน่ะ  จะถึงวันเวลา, พระสวามีเจ้าทรงพระดำรัสไว้,  เราจะกระทำพันธสัญญาใหม่กับประชาอิสราเอลเอง และกับประชายูดา… เราจะนำบัญญัติของเราใส่เข้าไปในไส้พุงของพวกเขา, เราจะเป็นพระเป็นเจ้าของพวกเขา  และพวกเขาจะเป็นประชากรของเรา… เหตุด้วยว่าพวกเขาทุกคนจะรู้จักเราทั่วถ้วนหน้า แต่เล็กสุดไปจนถึงใหญ่สุด, พระสวามีเจ้าตรัสไว้ดังนี้” (ยรม. 31,31-34).  พันธสัญญาใหม่นั้น พระคริสตเจ้าได้ทรงกระทำขึ้น, เป็นพันธสัญญาใหม่ที่ตกลงกันด้วยพระโลหิตของพระองค์ท่านเอง (เทียบ 1 คร. 11,25), พระองค์ได้ทรงเรียกประชากรนี้มาจากชาวยิวและจากชาวต่างชาติ,  เป็นประชากรที่รวบรวมมาอยู่ในเอกภาพไม่ใช่ทางด้านเนื้อหนัง  แต่โดยทางพระจิตเจ้า,  และตั้งขึ้นเป็นประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้า เหตุด้วยว่าบรรดาผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า, เขาเกิดใหม่ไม่ใช่จากเชื้อที่เสื่อมเสียได้  แต่จากเชื้อที่ไม่รู้เสื่อมเสีย โดยทางพระวจนะของพระเป็นเจ้าผู้ทรงชีวิต (1 ปต. 1,23) ไม่ใช่มาจากเนื้อหนังแต่มาจากน้ำและพระจิตเจ้า (เทียบ ยน. 3,5-6), ทีสุดพวกเขานี้ถูกตั้งขึ้นเป็น  “เชื้อสายที่ทรงคัดเลือกไว้, เป็นคณะสงฆ์แห่งพระราชา,  เป็นชาติศักดิ์สิทธิ์  เป็นประชากรที่ทรงจัดหามาด้วยน้ำพักน้ำแรง… ผู้ที่ครั้งหนึ่งไม่ใช่ประชากรของพระเป็นเจ้า”  แต่บัดนี้เป็นประชากรของพระเป็นเจ้า  (1 ปต. 2,9-10),

ประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ มีพระคริสตเจ้าเป็นศีรษะ  (ประมุข). “พระองค์คือผู้ได้ถูกขายเพราะบาปความผิดของชาวเราและทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ เพื่อบันดาลให้เราศักดิ์สิทธิ์” (รม. 4,25), และบัดนี้พระองค์ทรงกอปรด้วยพระนามอันอยู่เหนือนามทั้งหลาย,  ทรงเสวยราชย์ในสวรรค์เพียบพร้อมด้วยพระเกียรติมงคล, ประชากรใหม่ตามศักดิ์ฐานะของเขา เขาก็มีเกียรติศักดิ์และอิสระเสรี ฉันบุตรของพระเป็นเจ้า… ในใจของเขาก็มีพระจิตเจ้าประทับอยู่ดังพระองค์สถิตอยู่ในโบสถ์.  เขายึดถือพระบัญญัติใหม่เป็นกฎหมาย,  พระบัญญัตินี้สั่งให้รักกันและกัน  ดุจดังพระคริสตเจ้าทรงรักชาวเรา  (เทียบ ยน. 13,34) ที่สุดปลายทางของเขาคือพระราชัยของพระเป็นเจ้า  ซึ่งเริ่มจากพระองค์บนแผ่นดินนี้,  จะขยับขยายต่อ ๆ ไป  จนกระทั่งสิ้นกาลเวลา, จะบรรลุผลสมบูรณ์จากพระเป็นเจ้า ในคราวเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จประจักษ์มา,  พระองค์คือชีวิตของชาวเรา  (เทียบ คส. 3,4) และ  “ตัวสัตว์โลกเองจะรอดพ้นความเป็นทาสของความเสื่อมสลาย  กลับเข้าสู่อิสรภาพอันรุ่งโรจน์ประสาลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า”  (รม. 8,21),  เพราะฉะนั้นประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ แม้ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมประชากรทั่วทั้งโลก,  บ่อยครั้งยังปรากฏว่าเป็นฝูงแกะน้อย ๆ,  ถึงกระนั้นมนุษยชาติทั้งหมด  ประชากรนี้ก็เป็นพืชพันธุ์อันมั่นคงที่สุดด้านเอกภาพ, ด้านความหวังและความรอด,  ประชากรนี้  พระคริสตเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้น  ให้มาร่วมกับพระองค์ท่านในด้านชีวิต, ความรักและความจริง,  และประชากรนี้ พระองค์ท่านเองยังได้ทรงใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อไถ่มนุษย์ทุก ๆ คน,  และทรงใช้เขาไปสู่โลกจักรวาล,  ดังเป็นแสงสว่างส่องโลก, ดังเป็นเกลือดองแผ่นดิน (เทียบ มธ. 5,13-16).

ชาวอิสราเอล  ในฐานะเป็นคนมีเนื้อหนัง คราวระเหเร่ร่อนอยู่ในทะเลทราย  เขายังได้ชื่อว่า  เป็นพระศาสนจักรแล้ว,  ฉันใด (2 นหม. 13,1; เทียบ กดว. 20,4; ฉธบ. 23,1…) ก็ฉันนั้น  อิสราเอลใหม่ที่กำลังจาริกอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ ก็ตามแสวงหานครในภายหน้าและนครอันสถาพร  (เทียบ ฮบ. 13,14) ยังได้รับนามว่าเป็นพระองค์ท่านเองได้ทรงจัดหามาด้วยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ (เทียบ กจ. 20,28)  ได้ทรงประสาทพระจิตของพระองค์แก่เขาอย่างเต็มที่, ทรงตกแต่งเขาให้บริบูรณ์ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเหมาะสมให้บรรลุถึงเอกภาพอันแลเห็นได้  และเป็นเอกภาพทางสังคม.  กลุ่มของฝูงชนที่มีความเชื่อยกตาขึ้นหาพระเยซู, เจ้าแห่งความรอด  และหลักแห่งเอกภาพและสันติภาพ, ก็กลุ่มนี้แหละ พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกมาและทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นพระศาสนจักรหวังให้เป็นศักดิ์สิทธิการอันแลเห็นได้แห่งเอกภาพที่ทำความรอดและเป็นเอกภาพทางสังคม, นี้สำหรับมนุษย์ทุกคนและคนละคน. เอกภาพนี้จะต้องแผ่ขยายไปยังทุก ๆ ประเทศ และแทรกเข้าอยู่ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทั้งหลาย  แม้ขณะนี้เอกภาพดังกล่าวก็ผ่านเลยขอบเขตประชากรต่าง ๆ  ในด้านเวลาและสถานที่. พระศาสนจักรเดินหน้าไปท่ามกลางการประจญล่อลวงและความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ อาศัยอิทธิฤทธิ์แห่งพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า  ที่พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญาไว้แก่ท่าน  ท่านจึงเกิดมีพละกำลัง จนว่าแม้ท่านจะอ่อนแอตามประสามีเนื้อหนัง  ท่านก็ไม่เพลี่ยงพล้ำถึงกับเสียความสมบูรณ์แห่งความสัตย์ซื่อของท่าน,  ท่านยังคงบำเพ็ญตนเป็นภริยาที่เหมาะสมของพระคริสตเจ้า และโดยพระจิตเจ้าทรงทำงาน,  ท่านก็รื้อฟื้นชุบตัวของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด  ทั้งนี้จนกว่าท่านจะผ่านกางเขน ไปสู่ความสว่างอันมิรู้ดับ.

สังฆภาพทั่วไป
    10.  พระคริสต์สวามีเจ้า, มหาสงฆ์จากมวลมนุษย์  (เทียบ ฮบ. 5,1-5).  พระองค์ท่านได้ทรงจัดตั้งประชากรใหม่ “ให้เป็นพระราชัยและหมู่สงฆ์ (20) ถวายแด่พระเป็นเจ้าและพระบิดาของพระองค์”  (วว. 1,6; เทียบ 5,9-10)  เหตุผลก็คือบรรดาผู้ได้รับศักดิสิทธิการ – ล้างบาป,  เขาเหล่านี้โดยการเกิดใหม่ และโดยทางการเจิมของพระจิตเจ้า, เขาได้รับอภิเษกขึ้นเป็นเคหะด้านจิตวิญญาณและเป็นสังฆภาพอันศักดิ์สิทธิ์  เพื่อด้วยอาศัยกิจการทั้งหลายของคนคริสตัง  เขาจะได้ถวายบูชาทางจิตใจ  และประกาศฤทธิ์อำนาจของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงเรียกเขาจากความมืดมาสู่ความสว่างอันน่าพิศวงของพระองค์  (1 ปต. 2,4-10). ดังนั้นบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้าทั้งสิ้นที่เพียรบำเพ็ญภาวนา  และพร้อมใจกันสรรเสริญพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 2,42-47)  เขาก็แสดงให้ปรากฏว่าตัวเขาเป็นบูชาที่มีชีวิต, เป็นบูชาศักดิ์สิทธิ์,  บูชาที่สบพระทัยพระเป็นเจ้า  (เทียบ รม. 12,7)  และทั่วทุกแห่งหนบนแผ่นดิน เขาก็เป็นพยานยืนยันถึงพระคริสตเจ้า,  และเมื่อใครถามหาเหตุผล, เขาก็ตอบตามที่มีอยู่ในใจว่า  เป็นเพราะเขาหวังจะได้ชีวิตนิรันดร (เทียบ 1 ปต. 3,15),

สังฆภาพทั่วไปของสัตบุรุษ กับสังฆภาพของศาสนบริกรหรืออีกนัยหนึ่งของผู้อยู่ในพระฐานานุกรม  แม้แตกต่างกันทางด้านสภาวะ  (ด้านธรรมชาติ), มิใช่แตกต่างกันที่หลั่นชั้น, ถึงกระนั้นสังฆภาพทั้งสองก็เกี่ยวข้องประสานกันและกัน  เหตุว่าสังฆภาพแต่ละอัน  ตามทำนองพิเศษเฉพาะของตน ๆ ก็ได้รับปันส่วนมาจากสังฆภาพอันหนึ่งอันเดียวของพระคริสตเจ้า. พระสงฆ์ศาสนบริกร (21)  โดยที่ท่านประกอบด้วยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงก่อสร้างการปกครองประชากร – สงฆ์, ท่านกระทำพิธีสดุดีบูชาอันเป็นตัวแทนของพระ คริสตเจ้า  และท่านถวายสดุดีบูชาอันนี้แด่พระเป็นเจ้าในนามของประชากรทั้งสิ้น,  ส่วนบรรดาสัตบุรุษ,  อาศัยราชสังฆภาพของพวกเขา, เขาก็ร่วมมือในการถวายสดุดีบูชา,  ร่วมมือในการรับศีลศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการบำเพ็ญภาวนา และในการสนองขอบพระคุณานุคุณ, เขายังปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของเขา ด้วยการครองชีพอย่างศักดิ์สิทธ์เป็นพยานยืนยัน, ด้วยความเสียสละต่าง ๆ และด้วยการออกแรงทำกิจกรรมแสดงความเมตตาจิต.

การปฏิบัติกิจกรรมของสังฆภาพทั่วไป  โดยทางการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ
        11.  ลักษณะศักดิ์สิทธิ์  อันจัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมสงฆ์ ออกฤทธิ์ประสิทธิ์กิจกรรมของตน  ทั้งโดยอาศัยศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ทั้งโดยอาศัยฤทธิ์กุศล  (หรือคุณธรรม) ต่าง ๆ ด้วย,  สัตบุรุษโดยทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป เขาเข้ามาอยู่ในสังกัดพระศาสนจักร ; เขาได้รับประทับตราให้เข้าร่วมในคารวกิจของพระคริสตศาสนา,  และเขาเกิดใหม่เป็นบุตรของพระเป็นเจ้า, เขาได้รับความเชื่อจากพระเป็นเจ้า,  โดยผ่านทางพระศาสนจักร,  เขาจึงมีหน้าที่ต้องแสดงความเชื่อนั้นให้ปรากฏต่อหน้ามวลมนุษย์. โดยทางศักดิ์สิทธิการแห่งพละกำลัง (22)  เขากระชับสายสัมพันธ์กับพระศาสนจักรยิ่งขึ้น โดยที่เขาร่ำรวยขึ้นด้วยกำลังพิเศษของพระจิตเจ้า,  เขาจึงมีหน้าที่เร่งรัดยิ่งขึ้น  ในการแผ่ขยายและในการป้องกันความเชื่อด้วยวาจาและด้วยกิจการในฐานะเป็นพยานแท้ของพระคริสตเจ้า.  เมื่อเขาเข้าไปร่วมมีส่วนในสดุดีบูชาอันเป็นบ่อเกิดและสุดยอดแห่งชีวิตคริสตังทั้งหมด,  เขาก็ถวายแด่พระเป็นเจ้า,  ซึ่งองค์พระเจ้าเป็นเครื่องบูชา ทั้งถวายตัวเขาเองร่วมกับสักการบูชาอันนั้นด้วย  จึงเป็นอันว่าในการถวายและในการร่วมกับศักดิ์สิทธิการมหาสนิท, ทุก ๆ คนไม่ใช่อย่างคละ ๆ กันไป แต่ทุก ๆ คนต่างคนต่างบำเพ็ญส่วนของตนในพิธีกรรมอันนั้น  อนึ่งเมื่อได้รับพระกายของพระคริสตเจ้าในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว เขาก็แสดงออกให้ปรากฏชัดเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเอกภาพแห่งประชากรของพระเป็นเจ้า  เพราะว่าศักดิ์สิทธิการอันวิสุทธิ์อย่างยิ่งนี้ เป็นทั้งเครื่องหมายทั้งเครื่องผลิตเอกภาพนั้น เป็นที่อัศจรรย์ใจนักหนา.

ส่วนคนที่เข้าไปรับศักดิ์สิทธิการอภัยบาป (23) เพราะพระเมตตากรุณาของพระเป็นเจ้า เขาก็ได้รับการยกบาปความผิดที่ได้กระทำต่อพระเป็นเจ้า และพร้อมกันนั้นเขาก็ได้รับการคืนดีกับพระศาสนจักรด้วย,  เพราะว่าการทำบาปคือ การทำร้ายพระศาสนจักร  ซึ่งท่านก็พยายามแผ่เมตตาจิต,  ทำตนเป็นแบบอย่างและบำเพ็ญภาวนาให้เขากลับใจ. โดยอาศัยศักดิ์สิทธิการเจิมทาคนไข้ (24) และโดยคำภาวนาของคณะสงฆ์ พระศาสนจักรทั้งพระศาสนจักรก็เฝ้าฝากฝังคนไข้ไว้กับพระสวามีเจ้าผู้ทรงทนทุกข์และประกอบด้วยเกียรติมงคล  ขอให้พระองค์ทรงทุเลาบรรเทาเขา และช่วยให้เขาได้รอด  (เทียบ ยค. 5,14-16) กว่านั้นอีกท่านยังตักเตือนคนไข้ให้มอบตัวเขาไว้กับพระมหาทรมานและมรณกรรมของพระคริสตเจ้า  (เทียบ รม. 8,17; คล. 1,24; ทม. 2,11-12; ปต. 4,13) เพื่อเป็นทางพลีส่วนบุญกุศลของตน  ให้เป็นประโยชน์แก่ประชากรของพระเป็นเจ้า  อนึ่งท่ามกลางบรรดาสัตบุรุษผู้ได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการแห่งพระอนุกรม (25) เพื่อเลี้ยงดูพระศาสนจักรด้วยวาจา และพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า, เขาได้รับแต่งตั้งขึ้นในนามของพระ   คริสตเจ้า. ที่สุดสามีภรรยาคริสตังด้วยอำนาจศักดิ์สิทธิการแห่งการสมรส (26) ซึ่งเป็นเครื่องหมาย  ทั้งมีส่วนร่วมในพระอคาธัตถ์เอกภาพและความรักอันผลิตผลระหว่างพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร  (เทียบ อฟ. 5,32)  สามีภรรยาคริสตัง  ในชีวิตสมรส เขาต่างช่วยเหลือกันและกัน, ช่วยกันในการสืบพันธุ์และอบรมเลี้ยงดูเชื้อชาติของตนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์,  ยิ่งกว่านั้นโดยฐานะการดำรงชีวิต และระเบียบประเพณีของเขา  เขาก็ผลิตคุณประโยชน์เฉพาะของเขาขึ้นในประชากรของพระเป็นเจ้า (เทียบ 1 คร. 7,7). จากการสมรสก็เกิดมีครอบครัว,  ในครอบครัวก็มีพลเมืองใหม่ของสังคมมนุษย์  พลเมืองใหม่นี้อาศัยพระหรรษทานของพระจิตเจ้า  เขาจึงถูกตั้งขึ้นเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า  โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป,  จึงเป็นทางธำรงประชากรของพระเป็นเจ้าให้คงอยู่ต่อไปในกระแสศตวรรษ  ครอบครัวเป็นดังพระศาสนจักรภายในบ้านเรือน ฉะนั้นในครอบครัว บิดามารดาต้องเป็นคนแรกที่ประกาศสอนความเชื่อให้แก่ลูก ๆ ของตน  ด้วยวาจาและด้วยแบบอย่าง,  บิดามารดาจำต้องสนับสนุนกระแสเรียกเฉพาะของลูกแต่ละคน, เฉพาะอย่างยิ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อกระแสเรียกอันศักดิ์สิทธิ์.

สัตบุรุษของพระคริสตเจ้าทุกคน ประกอบอยู่ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ของความรอดมากมายก่ายกองถึงเพียงนี้แล้ว ทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและชั้นวรรณะใด ๆ พระสวามีเจ้าก็ทรงเรียกร้องให้ต่างคนต่างเดินตามทางเฉพาะของตนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์อันสมบูรณ์ อย่างที่พระบิดาเจ้าเองเป็นผู้ดีบริบูรณ์นั้นแล.

ทิศทางของความเชื่อ (27) และพิเศษพรของประชากรคริสตัง
    12.  ประชากรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้า  ย่อมมีส่วนในหน้าที่ประภาษกของพระคริสตเจ้าด้วยเพราะเขาบำเพ็ญตนเป็นพยานเป็น ๆ  (ที่มีชีวิต)  ของพระองค์  เฉพาะอย่างยิ่งเผยแพร่ด้วยการบำเพ็ญชีวิตความเชื่อและความรัก, ด้วยการถวายสักการะแด่พระเป็นเจ้า,  เป็นการบูชาสรรเสริญอันเป็นผลเกิดจาปากที่เขาใช้เทิดทูนพระนามของพระองค์ (เทียบ ฮบ. 13,15)  สัตบุรุษผู้ได้รับการเจิมจากองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์  (เทียบ 1 ยน. 2,20 และ 27) เมื่อนำมารวมกันเข้าทั้งหมด  เขาก็ไม่อาจหลงไปในเรื่องความเชื่อได้  และลักษณะอันพิเศษของพวกเขานี้ เขาแสดงออกโดยเป็นความรู้สึกอันเหนือธรรมชาติทางความเชื่อถือของประชากรทั้งหมด,  เมื่อ “จากบรรดาพระสังฆราชลงไปจนถึงสัตบุรุษฆราวาสคนสุดท้ายแสดงความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไป ในเรื่องความเชื่อและศีลธรรมเพราะด้วยว่าความรู้สึกทางความเชื่ออันนี้ มีพระจิตเจ้าเป็นผู้ปลุกเสก และ  เป็นผู้พยุงไว้, ประชากรของพระเป็นเจ้าภายใต้การนำแห่งพระอาจริยานุภาพ (28) อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเขาเคารพเชื่อฟังอย่างสัตย์ซื่อ,  เมื่อนั้นเขาได้รับไม่ใช่คำพูดของมนุษย์  แต่ได้รับพระวาจาของพระเป็นเจ้าโดยแท้ (เทียบ ธส. 2,13) และเป็นพระวาจาแห่งความเชื่อ  ซึ่งบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้รับมอบไว้แล้ว  (เทียบ ยค. 3) และยังคงติดตรึงอย่างไม่รู้เสื่อมคลาย และตามคำตัดสินอันถูกต้อง พระวาจานั้นก็แทรกซ่านลึกเข้าไปในความเชื่อ และนำความเชื่อนี้มาประยุกต์ในชีวิตให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป.”

นอกนั้นพระจิตเจ้าองค์เดียวกันนี้ ไม่ใช่แต่เพียงโดยทางศักดิ์สิทธิการและโดยทางภาระหน้าที่เท่านั้นที่พระองค์ประทานความศักดิ์สิทธิ์ และทรงแนะนำประชากรของพระเป็นเจ้า และทรงตกแต่งให้ประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ แต่พระองค์ยังประทานพระคุณนานาของพระองค์ “ทรงแบ่งปันแก่คนละคน ตามแต่ทรงพอพระทัย” (1 คร. 12,11),  ท่ามกลางสัตบุรุษทุกชั้นวรรณะพระองค์ประทานพระคุณพิเศษให้ด้วย, เป็นพระหรรษทานที่ทำให้พวกเขาเหมาะสมและสรรพพร้อมจะรับทำงานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ฟื้นฟูและขยับขยายพระศาสนจักร  ทั้งนี้เป็นไปตามวาทะที่ว่า  “ทุก ๆ คน ได้รับการแสดงองค์ของพระจิตเจ้า เพื่อทำคุณประโยชน์”  (1 คร. 12,7), อันพระพรานุพรที่เป็นพรใหญ่โตรุ่งโรจน์ก็ดี,  และที่เป็นพระพรชั้นรอง ๆ ซึ่งมีดาษดื่นก็ดี  เพราะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเพื่อประโยชน์ความต้องการของพระ ศาสนจักร,  เมื่อได้รับ ชาวเราต้องรับเอาด้วยใจกตัญญูขอบพระคุณและด้วยความเบาใจ, พระพรต่าง ๆ นอกปกติธรรมดาเหล่านี้ ชาวเราอย่าแสวงหาด้วยความเบาความ  และอย่าชะล่าใจหวังจะได้รับผลในกิจกรรมแพร่ธรรมของตน, แต่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าในพระศาสนจักร  ที่จะตัดสินความแท้ไม่แท้ของพระคุณนั้น ๆ ทั้งในการใช้พระคุณให้เป็นระเบียบ  เฉพาะอย่างยิ่งเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่กล่าวมา,  ไม่ใช่เพื่อให้ท่านดับพระจิตเจ้า แต่เพื่อให้ท่านพิสูจน์ทุก ๆ สิ่ง และยึดเอาแต่สิ่งที่ดี  (เทียบ ธส. 5,12 และ 19-21),

สากลภาพ  หรือ  “ความเป็นคาทอลิก” แห่งประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า
    13.  ประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้านั้น มนุษย์ทุกคนเชิญให้เข้ามาสู่  เพราะฉะนั้นประชากรนี้มีอันเดียวและคงเป็นอยู่แต่อันเดียวเท่านั้น, อันที่จะแผ่กระจายไปสู่ทั่วโลกจักรวาล และตลอดกระแสศตวรรษทั้งหลาย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ของพระเป็นเจ้า  ผู้ซึ่งในเบื้องต้นได้ทรงสร้างธรรมชาติมนุษย์มาแต่ธรรมชาติเดียว,  และลูก ๆ ของพระองค์ที่ได้กระจัดกระจายไปนั้น  พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะนำกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด  (เทียบ ยน. 11,15).  เพราะเหตุนี้เองพระเป็นเจ้าจึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา,  ทรงแต่งตั้งให้เป็นทายาทของโลกจักรวาล  (เทียบ ฮบ. 1,2),  ให้เป็นพระอาจารย์,  พระราชา,  และพระสงฆ์ของทุก ๆ คน ให้เป็นประมุข (หัวหน้า)  ของประชากรใหม่, ประชากรสากลแห่งลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, ที่สุดเพราะเหตุนี้เอง  พระเป็นเจ้าได้ทรงส่งพระจิตแห่งพระบุตรของพระองค์มา, พระจิตนี้เป็นพระสวามีเจ้า, เป็นผู้บันดาลชีวิต,  พระองค์นี้แหละสำหรับพระศาสนจักรทั้งหมด  ทั้งสำหรับผู้มีความเชื่อคนละคนและทุก ๆ คนรวมกัน,  ทรงเป็นแหล่งที่มาแห่งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน  และเอกภาพในคำสอนของพวกอัครสาวก,  แห่งสหพันธ์,  การหักปัง,  และการบำเพ็ญภาวนา (เทียบ กจ. 2,42 กริก)

เพราะฉะนั้นประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า  มีอยู่ในทุกชาติภาษาบนแผ่นดิน  เพราะประชากรนี้ยืมพลเมืองของตนมาจากทุกชาติภาษา, มีลักษณะพิเศษเป็นราชัย ไม่ใช่ราชัยฝ่ายโลกนี้  แต่เป็นราชัยฝ่ายสวรรค์  เหตุว่าสัตบุรุษทุกคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ต่างก็ร่วมสหพันธ์ในพระจิตเจ้า  กับสัตบุรุษอื่นทั้งหลาย,  เป็นอันว่า  “คนที่พำนักอยู่กรุงโรม ก็ทราบว่าชาวอินเดียเป็นสมาชิก  (อวัยวะ)  ของตน”

เพราะพระราชัยของพระคริสตเจ้า ไม่ใช่เป็นของโลกนี้  (เทียบ ยน. 18,36),  ฉะนั้นพระศาสนจักร,  อีกนัยประชากรของพระเป็นเจ้าที่ประกอบขึ้นเป็นราชัยนี้, ท่านไม่ลักลอบเอาทรัพย์ฝ่ายโลกอันใดจากประชากรใด ๆ เลย,  แต่ตรงข้าม  อันความสามารถ, ทรัพยากรและขนบประเพณีของประชากรต่าง ๆ อะไรที่เป็นชองดีท่านก็สนับสนุนและรับเอาไว้,  เมื่อรับไว้ท่านก็ชำระสะสาง, ปลูกฝังให้มั่นคงและเชิดชูขึ้น. ท่านสำนึกอยู่เสมอว่าตัวท่านจำต้องเก็บรวบรวมร่วมกับพระราชาพระองค์นั้น, พระองค์ที่นานาชาติทั้งหลายถูกมอบให้เป็นมรดกของพระองค์ท่าน  (สดด. 2,8)  และ “ยังพระบุตรของพระองค์ท่านเขานำเอาของขวัญและเครื่องบรรณาการมาถวาย”  (เทียบ สดด. 71 (72); อสย. 60,4-7; วว. 21,24).  ลักษณะสากลภาพอันนี้ ที่พากันประดับบรรดาประชากรของพระเป็นเจ้าก็เป็นพระคุณของพระสวามีเจ้าเอง และด้วยพระคุณอันนี้  พระศาสนจักรคาทอลิกมุ่งมั่นอย่างได้ผลและสม่ำเสมอ นำมนุษยชาติทั้งหมดพร้อมกับทรัพยากรทั้งสิ้นของเขา  กลับเข้ามามอบให้แด่พระคริสตเจ้าองค์พระประมุข  (ศีรษะ) ร่วมเอกภาพกับพระจิตของพระองค์ท่าน.

เดชะฤทธิ์แห่งสากลภาพอันนี้ ส่วนแต่ละส่วนต่างนำเอาพรโดยเฉพาะของตนมามอบให้แก่พระ  ศาสนจักรทั้งหน่วยด้วย จึงเป็นอันว่าตัวหน่วยทั้งหมดและส่วนแต่ละส่วนของหน่วยนั้นย่อมเจริญขึ้น  เพื่อจากที่ทุกๆ คนต่างนำเอาพรของตนๆ มามอบให้แก่กันและกัน และต่างพากันมุ่งมั่นไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ในเอกภาพ จังเป็นอันว่าประชากรของพระเป็นเจ้ารวมตัวกันขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะมีประชากรต่าง ๆ กันเท่านั้น  แต่ยังเจริญเติบโตขึ้นในตัวตนเอง เพราะมีการประสานสมานกันหลายสิ่งหลายอย่างอีกด้วย ระหว่างสมาชิก  (อวัยวะ)  ของพระศาสนจักรมีความแตกต่างกัน, บ้างก็ในด้านหน้าที่, ในเมื่อบางท่านบำเพ็ญ   ศาสนบริการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องของตน,  บ้างก็ในด้านฐานะการดำเนินชีวิต,  ในเมื่อมีหลาย ๆ ท่านสังกัดอยู่ในฐานะนักบวช, เขาดำเนินชีวิตตามวิถีทางที่รัดกุมเคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยเขามุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์,  แบบอย่างของเขาจึงเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนพวกพี่น้อง  เป็นเพราะเหตุนี้เองด้วย ที่ในสหพันธ์ของพระศาสนจักรมีพระศาสนจักรปลีกย่อยหลายพระศาสนจักร.  ซึ่งก็เป็นไปตามคลองธรรม.  พระศาสนจักรปลีกย่อยเหล่านี้มีขนบประเพณีของโดยเฉพาะ ทั้ง ๆ ที่คงดำรงอยู่โดยความครบถ้วน ภายใต้การเป็นประมุขเอก (29) ของพระอาสนแห่งท่านเปโตร (30)  ผู้เป็นประธานในที่ประชุมสโมสรสันนิบาตสากลทั่วไปของบรรดาผู้มีความรัก,  ท่านเปโตรก็ปกป้องความแตกต่างอันเป็นไปตามคลองธรรม, ท่านปกป้องความแตกต่างพิเศษนี้  อย่าเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ทำร้ายต่อเอกภาพ แต่เพื่อให้ลักษณะพิเศษนั้นกลับเป็นคุณต่อเอกภาพอีกด้วย  ที่สุดเพราะเหตุนี้เองด้วย ท่ามกลางความแตกต่างกันเองของพระศาสนจักร ก็มีสายสัมพันธ์อันสนิทชิดเชื้อต่อกันในด้านทรัพยากรฝ่ายวิญญาณ,  ด้านบุคลากรในงานแพร่ธรรม,  และในด้านการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันและกันทางโภคทรัพย์ฝ่ายแผ่นดิน.  ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสมาชิก (อวัยวะ) แห่งประชากรของพระเป็นจ้าได้รับเรียกมา  เพื่อนำทรัพยากรต่าง ๆ มาแบ่งปันกันและกัน, วาทะของท่านอัครสาวกจึงเหมาะสมกับพระศาสนจักร แต่ละพระศาสนจักรว่า : “ทุก ๆ คนจงนำเอาพระหรรษทานที่ตนได้รับมาแบ่งปันรับใช้กันและกัน,  อย่างเช่นที่เป็นผู้จำหน่ายจ่ายแจกที่ดีงามแห่งพระหรรษทานหลายสิ่งหลายอย่างของพระเป็นเจ้า” ( 1 ปต. 4,10)

เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาสู่เอกภาพสากล (คาทอลิก)  แห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เอกภาพสากลอันนี้เป็นทั้งเครื่องหมายบ่งล่วงหน้า  และเป็นทั้งเครื่องหมายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดมีสันติภาพสากล : มนุษย์ทุกคนมีความเกี่ยวข้อง  หรือได้รับการจัดให้โน้มเอียงเกี่ยวข้องกับสันติภาพสากลด้วยทำนองต่าง ๆ กัน :  บ้างเป็นสัตบุรุษคาทอลิกด้วยกันก็ดี,  บ้างเป็นคนอื่นที่เชื่อในพระคริสตเจ้าก็ดี, บ้างในที่สุดเป็นมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปก็ดี,  ทุกคนต่างได้รับคำเชื้อเชิญจากพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า  ให้เข้ามาสู่ความรอดด้วยกันทั้งนั้น.

สัตบุรุษคาทอลิก
    14.  พระสังคายนาสากลศักดิ์สิทธิ์ หันมาพิจารณาดูสัตบุรุษคาทอลิกเป็นอันดับแรก ท่านถือเอาพระคัมภีร์และพระกิตติ (31)  เป็นหลัก  จึงสอนว่าพระศาสนจักรที่กำลังเร่ร่อนอยู่ในโลกขณะนี้  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเอาตัวรอด,  เหตุด้วยว่ามีพระคริสตเจ้าผู้เดียวเท่านั้นเป็นคนกลาง  และเป็นหนทางแห่งความรอด พระองค์ทรงเป็นอยู่ขณะนี้สำหรับเราในพระวรกายของพระองค์  ซึ่งก็คือพระศาสนจักรนั่นเอง พระองค์ได้ทรงพร่ำสอนด้วยพระวาจาอันชัดเจน  (เทียบ มก. 16,16; ยน. 3,5)  พร้อมกับทรงยืนยันว่าพระศาสนจักรเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งมนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในนั้น โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป  ซึ่งเป็นดังประตูทางเข้า จึงเป็นอันว่าไม่สามารถเอาตัวรอดได้ บุคคลที่รู้อยู่แก่ใจว่าพระเป็นจ้าได้ทรงตั้งพระศาสนจักรคาทอลิกขึ้นโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็นพระศาสนจักรอันจำเป็น, กระนั้นก็ดี  เขาไม่ยอมเข้าสังกัดหรือไม่ยอมสังกัดอยู่ต่อไป.

นับว่าเป็นสมาชิกแห่งสังคมพระศาสนจักรโดยแท้ บุคคลที่มีพระจิตของพระคริสตเจ้า  เขารับเอาหลักเกณฑ์ของพระศาสนจักรทุกประการ  และวิธีการต่าง ๆ เพื่อเอาตัวรอดอันกำหนดอยู่ในพระศาสนจักร, และเขาร่วมกับพระคริสตเจ้าในโครงสร้าง (32) อันแลเห็นได้,  กล่าวคือเขามีความสัมพันธ์ในการประกาศแสดงออกซึ่งความเชื่อ, ในศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการปกครองและสมาพันธ์.  ถึงกระนั้นเอาตัวไม่รอด  บุคคลที่แม้สังกัดเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร  หากเขาไม่คงดำรงอยู่ในความรัก, ถูกหละคนเช่นนี้อยู่ในแวดวง “ร่างกาย” ของพระศาสนจักร, แต่หาได้อยู่ใน  “จิตใจ”  ของท่านไม่.  ทุก ๆ คนจงจำใส่ใจไว้ว่าฐานะอันประเสริฐที่เราได้เป็นบุตรของพระศาสนจักรนั้น ไม่ใช่เราได้มาเพราะคุณงามความดีอะไรของเรา แต่ได้มาเพราะพระหรรษทานพิเศษของพระคริสตเจ้า  ซึ่งหากเราไม่สนองตอบด้วยความคิด,  ด้วยวาจา, และด้วยกิจการแล้วไซร้, อย่าว่าแต่เราจะเอาตัวรอดเลย  เรากลับจะถูกพิพากษาอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น

ส่วนคริสตชนสำรอง ผู้ที่พระจิตเจ้าทรงดลใจ  และเขาแสดงออกอย่างแน่วแน่ปรารถนามาสังกัดในพระศาสนจักร การตั้งสัตย์อธิษฐานอันนี้ก็ทำให้เขาสังกัดอยู่ในพระศาสนจักรแล้ว และพระศาสนจักรผู้เป็นมารดาก็ทรงรับเขาไว้ในความรัก และความเอาใจใส่ดูแล.

สัมพันธภาพของพระศาสนจักร กับคริสตชนที่ไม่ใช่คาทอลิก
    15.  บุคคลที่ได้รับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ประกอบอยู่ด้วยเกียรตินามว่าเป็นคริสตชน,  แต่เขาไม่ประกาศรับรองความเชื่อทั้งครบ หรือเขาไม่รับรู้เอกภาพแห่งสหพันธ์ภายใต้อำนาจผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร, พระศาสนจักรก็ทราบดีว่าตัวท่านมีความสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ คนเหล่านี้ส่วนมากเคารพพระคัมภีร์ และยึดถือเอาเป็นหลักของความเชื่อ และของการประพฤติดำรงชีวิต  เขาจริงใจแสดงความร้อนรนภักดีต่อพระศาสนา,  เขาเชื่อด้วยใจรักในพระเป็นเจ้า  พระบิดาทรงสรรพานุภาพ  และในพระคริสตเจ้าพระเทวบุตรผู้ทรงกอบกู้,  เขาได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป  จึงร่วมสนิทกับพระคริสตเจ้า, กว่านั้นอีกเขารับรู้และเข้าไปรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในศาสนจักรกลุ่มของเขา  หรือในหมู่ (34) ศาสนจักรของเขา,  ในพวกเขา, มีหลาย ๆ ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระสังฆราช, เขาทำพิธีถวายสดุดีบูชา ทั้งยังส่งเสริมความภักดีต่อพระนางพรหมจาริณี, พระเทวมารดา, นอกนั้นเขายังมีสหพันธ์ของการอธิษฐานภาวนา และของพระคุณานุคุณด้านวิญญาณอย่างอื่น ๆ อีก. ยิ่งกว่านั้นเขามีสหพันธ์อย่างหนึ่งในพระจิตเจ้า, พระองค์ทรงแผลงฤทธิ์ทำงาน,  ประทานพระคุณต่าง ๆ แม้กระทั่งในตัวเขา,  พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์เดชบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน  ทำให้บางคนในพวกเขามีใจกล้าหาญ ยอมพลีหลั่งโลหิตของตนเพื่อพระศาสนา.  นี่แหละพระจิตเจ้าทรงปลุกให้สานุศิษย์ทั้งหลายของพระคริสตเจ้า เกิดมีความปรารถนาและการออกแรงทำงาน เพื่อให้ทุก ๆ คนเข้ามารวมกัน ในทำนองที่พระคริสตเจ้าทรงกำหนดไว้, ให้รวมกันเป็นหนึ่งโดยสันติ เพื่อจะได้เป็นฝูงแกะเดียว และนายชุมพาบาลแต่ผู้เดียว. ไม่หยุดยั้งที่จำบำเพ็ญภาวนา, เฝ้าคอยความหวัง,  และออกแรงทำงานและตักเตือนลูก ๆ ของท่านให้ชำระตน,  ให้ปฏิรูปตนใหม่ เพื่อสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าจะได้เปล่งรัศมีแจ่มจรัสขึ้นบนใบหน้าของพระศาสนจักร.

บรรดาผู้ที่มิใช่คริสตชน
    16.  ที่สุดก็ถึงบุคคลที่ยังมิได้รับพระวรสารแต่เขาก็มีความเกี่ยวข้องกันประชากรของพระเป็นเจ้าด้วยเหตุผลหลายประการ พวกแรกคือประชากรนั้น ที่ได้รับพันธไมตรีและพันธสัญญาต่าง ๆ และจากประชากรนี้เอง พระคริสตเจ้าทรงถือกำเนิดมาทางด้านเนื้อหนัง (เทียบ รม. 9,4-5) เป็นประชากรที่พระทรงเลือกสรร, ประชากรสุดที่รัก เพราะพวกบรรพบุรุษของพวกเขา : พระเป็นเจ้ามิได้ทรงเสียพระทัยที่ได้ประทานพระคุณานุคุณและพระกระแสเรียกแก่พวกเขา (เทียบ รม. 11, 28-29)  แต่จุดประสงค์มุ่งความรอด ยังผูกพันบุคคลเหล่านั้นที่รับรู้จักพระผู้สร้าง,  ท่ามกลางพวกนี้มีชาวมุสลิมเป็นต้น, เขาประกาศยืนยันว่าพวกเขายึดถือความเชื่อของอับราฮัม, เขานมัสการพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว ร่วมกันพวกเรา (คาทอลิก) เขานับถือพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว  ผู้ทรงเมตตากรุณา, และในวันสุดท้ายจะทรงพิพากษามวลมนุษย์.  สำหรับบุคคลอื่น ๆ ที่ในเงาในรูปภาพแสวงหาพระเป็นเจ้าที่เขาไม่รู้จัก, พระเป็นเจ้าเองก็ทรงไม่ห่างจากคนพวกนี้  เพราะว่าพระองค์ประทานให้ทุก ๆ คนมีชีวิต, มีความดลบันดาลใจและมีสารพัด (เทียบ กจ. 17,25-28) และพระผู้กอบกู้ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์ทุกคนเอาตัวรอด (เทียบ 1 ทม.2,4) คนเหล่านี้ไม่รู้ถึงพระวรสารของพระคริสตเจ้า, ไม่รู้ถึงพระศาสนจักรของพระองค์ โดยไม่มีความผิด, ถึงกระนั้นเขาก็แสวงหาพระเป็นเจ้าด้วยใจอันสุจริต  และน้ำพระทัยของพระองค์ที่เขาทราบโดยทางการบอกกล่าวของมโนธรรมและภายใต้อิทธิพลของพระหรรษทาน  เขาพยายามสนองตามนั้นด้วยกิจการของตน, เขาก็อาจบรรลุถึงความรอดตลอดนิรันดร์. ทั้งพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้าก็ไม่เพิกเฉย ประทานความช่วยเหลืออันจำเป็นสำหรับความรอดแก่พวกคนที่โดยที่ไม่ใช่ความผิดของเขา,  ที่เขายังไม่ได้บรรลุถึงการรู้จักพระเป็นเจ้าอย่างกระจ่างแจ้ง  และเขาพยายามปฏิบัติโน้มชีวิตของเขาไปในทางที่ถูกต้อง แน่นอนโดยพระหรรษทานช่วยเหลือ. เพราะว่าทุก ๆ สิ่งที่ดี, ที่จริงอันนี้มีอยู่ในตัวพวกเขา, พระศาสนจักรถือว่าเป็นการเตรียมตัวเบื้องแรกแห่งพระวรสารแล้ว, และเป็นสิ่งที่พระองค์ท่าน, องค์ผู้ส่องสว่างมนุษย์ทุกคนประทานให้ หวังให้เขาได้รับชีวิตในที่สุด.  แต่ก็มีบ่อยเหมือนกันที่มนุษย์ถูกปีศาจล่อล่วง จึงหลงไหลไปในความนึกคิด, เขาเปลี่ยนความจริงของพระเป็นเจ้า เป็นคำปดมดเท็จ, เขารับใช้สัตว์โลกมากกว่าพระผู้สร้าง (เทียบ รม.1,21 และ 25) หรือขณะอยู่ในโลกนี้ เขามีชีวิตและตายไปโดยไม่มีพระเป็นเจ้า, คนพวกนี้ล่อแหลมต่อความหมดหวังเป็นอย่างยิ่ง. เพราะเหตุนี้เอง เพื่อส่งเสริมพระเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเพื่อช่วยให้คนเหล่านี้ทั้งหมดได้เอาตัวรอด, พระศาสนจักรจึงระลึกถึงพระบัญชาของพระสวามีเจ้าว่า “พวกท่านจงไปประกาศพระวรสารแก่สัตว์โลกทุกตัวตน”  (มก. 16,15) และท่านเอาใจใส่อนุเคราะห์แคว้นมิสซัง (35) ต่าง ๆ

เอกลักษณ์การเป็นธรรมทูตของพระศาสนจักร
    17.  พระบิดาได้ทรงใช้พระบุตรมาฉันใด  พระบุตรก็ทรงใช้บรรดาอัครสาวกไปฉันนั้น,  (เทียบ ยน. 20,21) พระองค์มีพระดำรัสว่า “ท่านทั้งหลาย  จงไปสั่งสอนนานาชาติ,  จงทำศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปแก่เขาในนามของพระบิดา และพระบุตรและพระจิต  จงสั่งสอนเขาให้ปฏิบัติทุกสิ่ง ที่ข้าฯ บัญชาสั่งพวกท่านไว้.”  และ “นี่แหละข้าฯ อยู่กับพวกท่านเรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ” (มธ. 28.18-20) พระคริสตบัญชาอันมีสง่า : สั่งให้ประกาศความจริงอันช่วยให้รอดนี้, พระศาสนจักรได้รับมาจากอัครสาวก ให้ปฏิบัติเรื่อยไปจนสุดแดนดิน  (เทียบ กจ. 1,8) ฉะนั้น ท่านจึงนำเอาวาทะของท่านอัครสาวกมาใช้กับท่านเอง  ที่ว่า : “กรรมของข้าพเจ้า หากข้าพเจ้าไม่ประกาศพระวรสาร” (1 คร. 9,16) เพราะฉะนั้นพระศาสนจักรจึงดำเนินงานส่งธรรมทูตต่าง ๆ มาไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งพระศาสนจักรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่  บรรลุถึงผลสมบูรณ์ และทำภาระกิจประกาศพระวรสารสืบต่อไปเป็นทอด ๆ  พระจิตเจ้าทรงปลุกกระตุ้นให้เขาร่วมงานจนบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งมาดของพระเป็นเจ้า ผู้ได้ทรงแต่งตั้งพระคริสตเจ้าขึ้นเป็นแหล่งที่มาแห่งความรอดสำหรับทั่วโลกจักรวาล ในการประกาศพระวรสารพระศาสนจักรโน้มนำให้บรรดาผู้ฟังมีความเชื่อ  และประกาศแสดงความเชื่อนั้นอย่างเปิดเผย,  ท่านจัดเตรียมให้เขารับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ให้เขาเจริญวัฒนาขึ้นโดยอาศัยความรักของพระองค์ไปจนถึงขั้นความสมบูรณ์,  พระศาสนจักรออกแรงทำงาน  เพื่อเมื่อพบเห็นสิ่งที่ดีงามในใจ, ในความนึกคิดของมนุษย์,  หรือที่พบเห็นกระจายอยู่ในจารีตพิธี  และวัฒนธรรมอันเป็นของเฉพาะตัวเองประชาชาติต่าง ๆ, ท่านไม่เพียงแต่ไม่ทำลายให้ดับสูญ,  แต่ท่านกลับเยียวยารักษา,  ตกแต่งเชิดชูขึ้น, และนำไปสู่ความสัมฤทธิ์ผลให้เป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า เป็นที่อัปยศอับอายแก่ปีศาจและเป็นความผาสุกแก่มวลมนุษย์.  ไม่ว่าใครที่เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า  เขาทุกคนมีหน้าที่โดยเฉพาะของตน  และมีภาระต้องเผยแพร่ความเชื่อ จริงอยู่ไม่ว่าใครก็ทำศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปได้แก่ผู้มีความเชื่อ แต่ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะก่อสร้างพระวรกายด้วยถวายสดุดีบูชา ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จเป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้าที่พระองค์มีพระดำรัสทางท่านประภาษกว่า : “จากตะวันออกจนถึงตะวันตก พระนามของข้าฯ  ยิ่งใหญ่ต่อหน้านานาชาติและในทุก ๆ สถานที่ก็มีการถวายสักการะและบูชาแด่พระนามของข้าฯ ด้วยเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์” (มลค. 1,11),  ดังนี้แหละ  พระศาสนจักรทั้งอธิษฐานภาวนา ทั้งออกแรงทำงานพร้อม ๆ กันไป เพื่อให้ทั้งโลกบรรลุถึงความสมบูรณ์ มาเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า  เป็นพระวรกายของพระสวามีเจ้า  และเป็นโบสถ์ที่ประทับของพระจิตเจ้า  และเพื่อให้พระคริสตเจ้าองค์พระประมุขของทุกคน, ให้พระผู้สร้างและพระบิดาของโลกจักรวาลได้รับเกียรติยศและเกียรติมงคลทุก ๆ ประการ

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries