Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
1 อัฐวารปัสกา |
2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน |
3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา |
4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ |
5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี |
7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์ |
8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี |
12 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ ) |
14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ) |
18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา |
23น.ยอร์จ มรณสักขี |
24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์ |
29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา |
|
บทที่ 2 : ประชากรของพระเป็นเจ้า
- รายละเอียด
- หมวด: เอกสารแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
- เขียนโดย itbkk
- ฮิต: 2523
พันธสัญญาใหม่และประชากรใหม่
9. เป็นความจริงในทุกยุคทุกสมัยและในทุกชาติทุกภาษา ใคร ๆ ที่รับรู้จักพระเป็นเจ้าและประพฤติตามความยุติธรรม เขาผู้นั้นก็เป็นที่รักโปรดปรานของพระองค์ทั้งนั้น (เทียบ กจ. 10,35), กระนั้นก็ดี พระเป็นเจ้าได้ทรงพอพระทัย ประสาทความศักดิ์สิทธิ์และความรอด ไม่ใช่แก่มนุษย์คนละคนต่างหากโดยไม่สนพระทัยใยดีต่อความเกี่ยวข้องผูกพันธ์ใด ๆ ของพวกเขาก็หามิได้, แต่ได้ทรงพอพระทัยจัดตั้งพวกเขาขึ้นเป็นประชากรให้มารับรู้จักพระองค์ด้วยความจริงใจ และมาปรนนิบัติรับใช้พระองค์อย่างดีศักดิ์สิทธ์ ดังนี้เองพระองค์จึงได้ทรงเลือกสรรชนชาติอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์, ได้ทรงสั่งสอนเขาทีละขั้นทีละตอนให้มารู้ถึงองค์ของพระองค์ท่าน และโครงการน้ำพระทัยของพระองค์ทรงแสดงออกให้เห็นประจักษ์ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา และทรงบันดาลให้พวกเขาศักดิ์สิทธิ์สำหรับพระองค์ท่าน, ทุกสิ่งทุกอย่างนี้อันเป็นขึ้นมาเพื่อเตรียมพวกเขไว้ล่วงหน้า และเพื่อเป็นรูปแบบแห่งพันธสัญญาใหม่อันสมบูรณ์, ที่จะกระทำขึ้นในองค์พระคริสตเจ้า, ทั้งเป็นการไขแสดงเปิดเผยยิ่งขึ้น, เป็นการไขแสดงครบถ้วนโดยทางพระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าผู้มารับเป็นมนุษย์ “นี่แน่ะ จะถึงวันเวลา, พระสวามีเจ้าทรงพระดำรัสไว้, เราจะกระทำพันธสัญญาใหม่กับประชาอิสราเอลเอง และกับประชายูดา… เราจะนำบัญญัติของเราใส่เข้าไปในไส้พุงของพวกเขา, เราจะเป็นพระเป็นเจ้าของพวกเขา และพวกเขาจะเป็นประชากรของเรา… เหตุด้วยว่าพวกเขาทุกคนจะรู้จักเราทั่วถ้วนหน้า แต่เล็กสุดไปจนถึงใหญ่สุด, พระสวามีเจ้าตรัสไว้ดังนี้” (ยรม. 31,31-34). พันธสัญญาใหม่นั้น พระคริสตเจ้าได้ทรงกระทำขึ้น, เป็นพันธสัญญาใหม่ที่ตกลงกันด้วยพระโลหิตของพระองค์ท่านเอง (เทียบ 1 คร. 11,25), พระองค์ได้ทรงเรียกประชากรนี้มาจากชาวยิวและจากชาวต่างชาติ, เป็นประชากรที่รวบรวมมาอยู่ในเอกภาพไม่ใช่ทางด้านเนื้อหนัง แต่โดยทางพระจิตเจ้า, และตั้งขึ้นเป็นประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้า เหตุด้วยว่าบรรดาผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า, เขาเกิดใหม่ไม่ใช่จากเชื้อที่เสื่อมเสียได้ แต่จากเชื้อที่ไม่รู้เสื่อมเสีย โดยทางพระวจนะของพระเป็นเจ้าผู้ทรงชีวิต (1 ปต. 1,23) ไม่ใช่มาจากเนื้อหนังแต่มาจากน้ำและพระจิตเจ้า (เทียบ ยน. 3,5-6), ทีสุดพวกเขานี้ถูกตั้งขึ้นเป็น “เชื้อสายที่ทรงคัดเลือกไว้, เป็นคณะสงฆ์แห่งพระราชา, เป็นชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่ทรงจัดหามาด้วยน้ำพักน้ำแรง… ผู้ที่ครั้งหนึ่งไม่ใช่ประชากรของพระเป็นเจ้า” แต่บัดนี้เป็นประชากรของพระเป็นเจ้า (1 ปต. 2,9-10),
ประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ มีพระคริสตเจ้าเป็นศีรษะ (ประมุข). “พระองค์คือผู้ได้ถูกขายเพราะบาปความผิดของชาวเราและทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ เพื่อบันดาลให้เราศักดิ์สิทธิ์” (รม. 4,25), และบัดนี้พระองค์ทรงกอปรด้วยพระนามอันอยู่เหนือนามทั้งหลาย, ทรงเสวยราชย์ในสวรรค์เพียบพร้อมด้วยพระเกียรติมงคล, ประชากรใหม่ตามศักดิ์ฐานะของเขา เขาก็มีเกียรติศักดิ์และอิสระเสรี ฉันบุตรของพระเป็นเจ้า… ในใจของเขาก็มีพระจิตเจ้าประทับอยู่ดังพระองค์สถิตอยู่ในโบสถ์. เขายึดถือพระบัญญัติใหม่เป็นกฎหมาย, พระบัญญัตินี้สั่งให้รักกันและกัน ดุจดังพระคริสตเจ้าทรงรักชาวเรา (เทียบ ยน. 13,34) ที่สุดปลายทางของเขาคือพระราชัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งเริ่มจากพระองค์บนแผ่นดินนี้, จะขยับขยายต่อ ๆ ไป จนกระทั่งสิ้นกาลเวลา, จะบรรลุผลสมบูรณ์จากพระเป็นเจ้า ในคราวเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จประจักษ์มา, พระองค์คือชีวิตของชาวเรา (เทียบ คส. 3,4) และ “ตัวสัตว์โลกเองจะรอดพ้นความเป็นทาสของความเสื่อมสลาย กลับเข้าสู่อิสรภาพอันรุ่งโรจน์ประสาลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า” (รม. 8,21), เพราะฉะนั้นประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ แม้ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมประชากรทั่วทั้งโลก, บ่อยครั้งยังปรากฏว่าเป็นฝูงแกะน้อย ๆ, ถึงกระนั้นมนุษยชาติทั้งหมด ประชากรนี้ก็เป็นพืชพันธุ์อันมั่นคงที่สุดด้านเอกภาพ, ด้านความหวังและความรอด, ประชากรนี้ พระคริสตเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้น ให้มาร่วมกับพระองค์ท่านในด้านชีวิต, ความรักและความจริง, และประชากรนี้ พระองค์ท่านเองยังได้ทรงใช้เขาเป็นเครื่องมือเพื่อไถ่มนุษย์ทุก ๆ คน, และทรงใช้เขาไปสู่โลกจักรวาล, ดังเป็นแสงสว่างส่องโลก, ดังเป็นเกลือดองแผ่นดิน (เทียบ มธ. 5,13-16).
ชาวอิสราเอล ในฐานะเป็นคนมีเนื้อหนัง คราวระเหเร่ร่อนอยู่ในทะเลทราย เขายังได้ชื่อว่า เป็นพระศาสนจักรแล้ว, ฉันใด (2 นหม. 13,1; เทียบ กดว. 20,4; ฉธบ. 23,1…) ก็ฉันนั้น อิสราเอลใหม่ที่กำลังจาริกอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ ก็ตามแสวงหานครในภายหน้าและนครอันสถาพร (เทียบ ฮบ. 13,14) ยังได้รับนามว่าเป็นพระองค์ท่านเองได้ทรงจัดหามาด้วยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ (เทียบ กจ. 20,28) ได้ทรงประสาทพระจิตของพระองค์แก่เขาอย่างเต็มที่, ทรงตกแต่งเขาให้บริบูรณ์ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเหมาะสมให้บรรลุถึงเอกภาพอันแลเห็นได้ และเป็นเอกภาพทางสังคม. กลุ่มของฝูงชนที่มีความเชื่อยกตาขึ้นหาพระเยซู, เจ้าแห่งความรอด และหลักแห่งเอกภาพและสันติภาพ, ก็กลุ่มนี้แหละ พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกมาและทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นพระศาสนจักรหวังให้เป็นศักดิ์สิทธิการอันแลเห็นได้แห่งเอกภาพที่ทำความรอดและเป็นเอกภาพทางสังคม, นี้สำหรับมนุษย์ทุกคนและคนละคน. เอกภาพนี้จะต้องแผ่ขยายไปยังทุก ๆ ประเทศ และแทรกเข้าอยู่ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ทั้งหลาย แม้ขณะนี้เอกภาพดังกล่าวก็ผ่านเลยขอบเขตประชากรต่าง ๆ ในด้านเวลาและสถานที่. พระศาสนจักรเดินหน้าไปท่ามกลางการประจญล่อลวงและความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ อาศัยอิทธิฤทธิ์แห่งพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ที่พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญาไว้แก่ท่าน ท่านจึงเกิดมีพละกำลัง จนว่าแม้ท่านจะอ่อนแอตามประสามีเนื้อหนัง ท่านก็ไม่เพลี่ยงพล้ำถึงกับเสียความสมบูรณ์แห่งความสัตย์ซื่อของท่าน, ท่านยังคงบำเพ็ญตนเป็นภริยาที่เหมาะสมของพระคริสตเจ้า และโดยพระจิตเจ้าทรงทำงาน, ท่านก็รื้อฟื้นชุบตัวของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ทั้งนี้จนกว่าท่านจะผ่านกางเขน ไปสู่ความสว่างอันมิรู้ดับ.
สังฆภาพทั่วไป
10. พระคริสต์สวามีเจ้า, มหาสงฆ์จากมวลมนุษย์ (เทียบ ฮบ. 5,1-5). พระองค์ท่านได้ทรงจัดตั้งประชากรใหม่ “ให้เป็นพระราชัยและหมู่สงฆ์ (20) ถวายแด่พระเป็นเจ้าและพระบิดาของพระองค์” (วว. 1,6; เทียบ 5,9-10) เหตุผลก็คือบรรดาผู้ได้รับศักดิสิทธิการ – ล้างบาป, เขาเหล่านี้โดยการเกิดใหม่ และโดยทางการเจิมของพระจิตเจ้า, เขาได้รับอภิเษกขึ้นเป็นเคหะด้านจิตวิญญาณและเป็นสังฆภาพอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อด้วยอาศัยกิจการทั้งหลายของคนคริสตัง เขาจะได้ถวายบูชาทางจิตใจ และประกาศฤทธิ์อำนาจของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรงเรียกเขาจากความมืดมาสู่ความสว่างอันน่าพิศวงของพระองค์ (1 ปต. 2,4-10). ดังนั้นบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้าทั้งสิ้นที่เพียรบำเพ็ญภาวนา และพร้อมใจกันสรรเสริญพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 2,42-47) เขาก็แสดงให้ปรากฏว่าตัวเขาเป็นบูชาที่มีชีวิต, เป็นบูชาศักดิ์สิทธิ์, บูชาที่สบพระทัยพระเป็นเจ้า (เทียบ รม. 12,7) และทั่วทุกแห่งหนบนแผ่นดิน เขาก็เป็นพยานยืนยันถึงพระคริสตเจ้า, และเมื่อใครถามหาเหตุผล, เขาก็ตอบตามที่มีอยู่ในใจว่า เป็นเพราะเขาหวังจะได้ชีวิตนิรันดร (เทียบ 1 ปต. 3,15),
สังฆภาพทั่วไปของสัตบุรุษ กับสังฆภาพของศาสนบริกรหรืออีกนัยหนึ่งของผู้อยู่ในพระฐานานุกรม แม้แตกต่างกันทางด้านสภาวะ (ด้านธรรมชาติ), มิใช่แตกต่างกันที่หลั่นชั้น, ถึงกระนั้นสังฆภาพทั้งสองก็เกี่ยวข้องประสานกันและกัน เหตุว่าสังฆภาพแต่ละอัน ตามทำนองพิเศษเฉพาะของตน ๆ ก็ได้รับปันส่วนมาจากสังฆภาพอันหนึ่งอันเดียวของพระคริสตเจ้า. พระสงฆ์ศาสนบริกร (21) โดยที่ท่านประกอบด้วยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงก่อสร้างการปกครองประชากร – สงฆ์, ท่านกระทำพิธีสดุดีบูชาอันเป็นตัวแทนของพระ คริสตเจ้า และท่านถวายสดุดีบูชาอันนี้แด่พระเป็นเจ้าในนามของประชากรทั้งสิ้น, ส่วนบรรดาสัตบุรุษ, อาศัยราชสังฆภาพของพวกเขา, เขาก็ร่วมมือในการถวายสดุดีบูชา, ร่วมมือในการรับศีลศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการบำเพ็ญภาวนา และในการสนองขอบพระคุณานุคุณ, เขายังปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของเขา ด้วยการครองชีพอย่างศักดิ์สิทธ์เป็นพยานยืนยัน, ด้วยความเสียสละต่าง ๆ และด้วยการออกแรงทำกิจกรรมแสดงความเมตตาจิต.
การปฏิบัติกิจกรรมของสังฆภาพทั่วไป โดยทางการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ
11. ลักษณะศักดิ์สิทธิ์ อันจัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมสงฆ์ ออกฤทธิ์ประสิทธิ์กิจกรรมของตน ทั้งโดยอาศัยศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ทั้งโดยอาศัยฤทธิ์กุศล (หรือคุณธรรม) ต่าง ๆ ด้วย, สัตบุรุษโดยทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป เขาเข้ามาอยู่ในสังกัดพระศาสนจักร ; เขาได้รับประทับตราให้เข้าร่วมในคารวกิจของพระคริสตศาสนา, และเขาเกิดใหม่เป็นบุตรของพระเป็นเจ้า, เขาได้รับความเชื่อจากพระเป็นเจ้า, โดยผ่านทางพระศาสนจักร, เขาจึงมีหน้าที่ต้องแสดงความเชื่อนั้นให้ปรากฏต่อหน้ามวลมนุษย์. โดยทางศักดิ์สิทธิการแห่งพละกำลัง (22) เขากระชับสายสัมพันธ์กับพระศาสนจักรยิ่งขึ้น โดยที่เขาร่ำรวยขึ้นด้วยกำลังพิเศษของพระจิตเจ้า, เขาจึงมีหน้าที่เร่งรัดยิ่งขึ้น ในการแผ่ขยายและในการป้องกันความเชื่อด้วยวาจาและด้วยกิจการในฐานะเป็นพยานแท้ของพระคริสตเจ้า. เมื่อเขาเข้าไปร่วมมีส่วนในสดุดีบูชาอันเป็นบ่อเกิดและสุดยอดแห่งชีวิตคริสตังทั้งหมด, เขาก็ถวายแด่พระเป็นเจ้า, ซึ่งองค์พระเจ้าเป็นเครื่องบูชา ทั้งถวายตัวเขาเองร่วมกับสักการบูชาอันนั้นด้วย จึงเป็นอันว่าในการถวายและในการร่วมกับศักดิ์สิทธิการมหาสนิท, ทุก ๆ คนไม่ใช่อย่างคละ ๆ กันไป แต่ทุก ๆ คนต่างคนต่างบำเพ็ญส่วนของตนในพิธีกรรมอันนั้น อนึ่งเมื่อได้รับพระกายของพระคริสตเจ้าในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว เขาก็แสดงออกให้ปรากฏชัดเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเอกภาพแห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เพราะว่าศักดิ์สิทธิการอันวิสุทธิ์อย่างยิ่งนี้ เป็นทั้งเครื่องหมายทั้งเครื่องผลิตเอกภาพนั้น เป็นที่อัศจรรย์ใจนักหนา.
ส่วนคนที่เข้าไปรับศักดิ์สิทธิการอภัยบาป (23) เพราะพระเมตตากรุณาของพระเป็นเจ้า เขาก็ได้รับการยกบาปความผิดที่ได้กระทำต่อพระเป็นเจ้า และพร้อมกันนั้นเขาก็ได้รับการคืนดีกับพระศาสนจักรด้วย, เพราะว่าการทำบาปคือ การทำร้ายพระศาสนจักร ซึ่งท่านก็พยายามแผ่เมตตาจิต, ทำตนเป็นแบบอย่างและบำเพ็ญภาวนาให้เขากลับใจ. โดยอาศัยศักดิ์สิทธิการเจิมทาคนไข้ (24) และโดยคำภาวนาของคณะสงฆ์ พระศาสนจักรทั้งพระศาสนจักรก็เฝ้าฝากฝังคนไข้ไว้กับพระสวามีเจ้าผู้ทรงทนทุกข์และประกอบด้วยเกียรติมงคล ขอให้พระองค์ทรงทุเลาบรรเทาเขา และช่วยให้เขาได้รอด (เทียบ ยค. 5,14-16) กว่านั้นอีกท่านยังตักเตือนคนไข้ให้มอบตัวเขาไว้กับพระมหาทรมานและมรณกรรมของพระคริสตเจ้า (เทียบ รม. 8,17; คล. 1,24; ทม. 2,11-12; ปต. 4,13) เพื่อเป็นทางพลีส่วนบุญกุศลของตน ให้เป็นประโยชน์แก่ประชากรของพระเป็นเจ้า อนึ่งท่ามกลางบรรดาสัตบุรุษผู้ได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการแห่งพระอนุกรม (25) เพื่อเลี้ยงดูพระศาสนจักรด้วยวาจา และพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า, เขาได้รับแต่งตั้งขึ้นในนามของพระ คริสตเจ้า. ที่สุดสามีภรรยาคริสตังด้วยอำนาจศักดิ์สิทธิการแห่งการสมรส (26) ซึ่งเป็นเครื่องหมาย ทั้งมีส่วนร่วมในพระอคาธัตถ์เอกภาพและความรักอันผลิตผลระหว่างพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร (เทียบ อฟ. 5,32) สามีภรรยาคริสตัง ในชีวิตสมรส เขาต่างช่วยเหลือกันและกัน, ช่วยกันในการสืบพันธุ์และอบรมเลี้ยงดูเชื้อชาติของตนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์, ยิ่งกว่านั้นโดยฐานะการดำรงชีวิต และระเบียบประเพณีของเขา เขาก็ผลิตคุณประโยชน์เฉพาะของเขาขึ้นในประชากรของพระเป็นเจ้า (เทียบ 1 คร. 7,7). จากการสมรสก็เกิดมีครอบครัว, ในครอบครัวก็มีพลเมืองใหม่ของสังคมมนุษย์ พลเมืองใหม่นี้อาศัยพระหรรษทานของพระจิตเจ้า เขาจึงถูกตั้งขึ้นเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป, จึงเป็นทางธำรงประชากรของพระเป็นเจ้าให้คงอยู่ต่อไปในกระแสศตวรรษ ครอบครัวเป็นดังพระศาสนจักรภายในบ้านเรือน ฉะนั้นในครอบครัว บิดามารดาต้องเป็นคนแรกที่ประกาศสอนความเชื่อให้แก่ลูก ๆ ของตน ด้วยวาจาและด้วยแบบอย่าง, บิดามารดาจำต้องสนับสนุนกระแสเรียกเฉพาะของลูกแต่ละคน, เฉพาะอย่างยิ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อกระแสเรียกอันศักดิ์สิทธิ์.
สัตบุรุษของพระคริสตเจ้าทุกคน ประกอบอยู่ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ของความรอดมากมายก่ายกองถึงเพียงนี้แล้ว ทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและชั้นวรรณะใด ๆ พระสวามีเจ้าก็ทรงเรียกร้องให้ต่างคนต่างเดินตามทางเฉพาะของตนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์อันสมบูรณ์ อย่างที่พระบิดาเจ้าเองเป็นผู้ดีบริบูรณ์นั้นแล.
ทิศทางของความเชื่อ (27) และพิเศษพรของประชากรคริสตัง
12. ประชากรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้า ย่อมมีส่วนในหน้าที่ประภาษกของพระคริสตเจ้าด้วยเพราะเขาบำเพ็ญตนเป็นพยานเป็น ๆ (ที่มีชีวิต) ของพระองค์ เฉพาะอย่างยิ่งเผยแพร่ด้วยการบำเพ็ญชีวิตความเชื่อและความรัก, ด้วยการถวายสักการะแด่พระเป็นเจ้า, เป็นการบูชาสรรเสริญอันเป็นผลเกิดจาปากที่เขาใช้เทิดทูนพระนามของพระองค์ (เทียบ ฮบ. 13,15) สัตบุรุษผู้ได้รับการเจิมจากองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ 1 ยน. 2,20 และ 27) เมื่อนำมารวมกันเข้าทั้งหมด เขาก็ไม่อาจหลงไปในเรื่องความเชื่อได้ และลักษณะอันพิเศษของพวกเขานี้ เขาแสดงออกโดยเป็นความรู้สึกอันเหนือธรรมชาติทางความเชื่อถือของประชากรทั้งหมด, เมื่อ “จากบรรดาพระสังฆราชลงไปจนถึงสัตบุรุษฆราวาสคนสุดท้ายแสดงความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไป ในเรื่องความเชื่อและศีลธรรมเพราะด้วยว่าความรู้สึกทางความเชื่ออันนี้ มีพระจิตเจ้าเป็นผู้ปลุกเสก และ เป็นผู้พยุงไว้, ประชากรของพระเป็นเจ้าภายใต้การนำแห่งพระอาจริยานุภาพ (28) อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเขาเคารพเชื่อฟังอย่างสัตย์ซื่อ, เมื่อนั้นเขาได้รับไม่ใช่คำพูดของมนุษย์ แต่ได้รับพระวาจาของพระเป็นเจ้าโดยแท้ (เทียบ ธส. 2,13) และเป็นพระวาจาแห่งความเชื่อ ซึ่งบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ได้รับมอบไว้แล้ว (เทียบ ยค. 3) และยังคงติดตรึงอย่างไม่รู้เสื่อมคลาย และตามคำตัดสินอันถูกต้อง พระวาจานั้นก็แทรกซ่านลึกเข้าไปในความเชื่อ และนำความเชื่อนี้มาประยุกต์ในชีวิตให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป.”
นอกนั้นพระจิตเจ้าองค์เดียวกันนี้ ไม่ใช่แต่เพียงโดยทางศักดิ์สิทธิการและโดยทางภาระหน้าที่เท่านั้นที่พระองค์ประทานความศักดิ์สิทธิ์ และทรงแนะนำประชากรของพระเป็นเจ้า และทรงตกแต่งให้ประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ แต่พระองค์ยังประทานพระคุณนานาของพระองค์ “ทรงแบ่งปันแก่คนละคน ตามแต่ทรงพอพระทัย” (1 คร. 12,11), ท่ามกลางสัตบุรุษทุกชั้นวรรณะพระองค์ประทานพระคุณพิเศษให้ด้วย, เป็นพระหรรษทานที่ทำให้พวกเขาเหมาะสมและสรรพพร้อมจะรับทำงานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ฟื้นฟูและขยับขยายพระศาสนจักร ทั้งนี้เป็นไปตามวาทะที่ว่า “ทุก ๆ คน ได้รับการแสดงองค์ของพระจิตเจ้า เพื่อทำคุณประโยชน์” (1 คร. 12,7), อันพระพรานุพรที่เป็นพรใหญ่โตรุ่งโรจน์ก็ดี, และที่เป็นพระพรชั้นรอง ๆ ซึ่งมีดาษดื่นก็ดี เพราะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและเพื่อประโยชน์ความต้องการของพระ ศาสนจักร, เมื่อได้รับ ชาวเราต้องรับเอาด้วยใจกตัญญูขอบพระคุณและด้วยความเบาใจ, พระพรต่าง ๆ นอกปกติธรรมดาเหล่านี้ ชาวเราอย่าแสวงหาด้วยความเบาความ และอย่าชะล่าใจหวังจะได้รับผลในกิจกรรมแพร่ธรรมของตน, แต่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าในพระศาสนจักร ที่จะตัดสินความแท้ไม่แท้ของพระคุณนั้น ๆ ทั้งในการใช้พระคุณให้เป็นระเบียบ เฉพาะอย่างยิ่งเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่กล่าวมา, ไม่ใช่เพื่อให้ท่านดับพระจิตเจ้า แต่เพื่อให้ท่านพิสูจน์ทุก ๆ สิ่ง และยึดเอาแต่สิ่งที่ดี (เทียบ ธส. 5,12 และ 19-21),
สากลภาพ หรือ “ความเป็นคาทอลิก” แห่งประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า
13. ประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้านั้น มนุษย์ทุกคนเชิญให้เข้ามาสู่ เพราะฉะนั้นประชากรนี้มีอันเดียวและคงเป็นอยู่แต่อันเดียวเท่านั้น, อันที่จะแผ่กระจายไปสู่ทั่วโลกจักรวาล และตลอดกระแสศตวรรษทั้งหลาย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ของพระเป็นเจ้า ผู้ซึ่งในเบื้องต้นได้ทรงสร้างธรรมชาติมนุษย์มาแต่ธรรมชาติเดียว, และลูก ๆ ของพระองค์ที่ได้กระจัดกระจายไปนั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะนำกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด (เทียบ ยน. 11,15). เพราะเหตุนี้เองพระเป็นเจ้าจึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา, ทรงแต่งตั้งให้เป็นทายาทของโลกจักรวาล (เทียบ ฮบ. 1,2), ให้เป็นพระอาจารย์, พระราชา, และพระสงฆ์ของทุก ๆ คน ให้เป็นประมุข (หัวหน้า) ของประชากรใหม่, ประชากรสากลแห่งลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, ที่สุดเพราะเหตุนี้เอง พระเป็นเจ้าได้ทรงส่งพระจิตแห่งพระบุตรของพระองค์มา, พระจิตนี้เป็นพระสวามีเจ้า, เป็นผู้บันดาลชีวิต, พระองค์นี้แหละสำหรับพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้งสำหรับผู้มีความเชื่อคนละคนและทุก ๆ คนรวมกัน, ทรงเป็นแหล่งที่มาแห่งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน และเอกภาพในคำสอนของพวกอัครสาวก, แห่งสหพันธ์, การหักปัง, และการบำเพ็ญภาวนา (เทียบ กจ. 2,42 กริก)
เพราะฉะนั้นประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า มีอยู่ในทุกชาติภาษาบนแผ่นดิน เพราะประชากรนี้ยืมพลเมืองของตนมาจากทุกชาติภาษา, มีลักษณะพิเศษเป็นราชัย ไม่ใช่ราชัยฝ่ายโลกนี้ แต่เป็นราชัยฝ่ายสวรรค์ เหตุว่าสัตบุรุษทุกคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ต่างก็ร่วมสหพันธ์ในพระจิตเจ้า กับสัตบุรุษอื่นทั้งหลาย, เป็นอันว่า “คนที่พำนักอยู่กรุงโรม ก็ทราบว่าชาวอินเดียเป็นสมาชิก (อวัยวะ) ของตน”
เพราะพระราชัยของพระคริสตเจ้า ไม่ใช่เป็นของโลกนี้ (เทียบ ยน. 18,36), ฉะนั้นพระศาสนจักร, อีกนัยประชากรของพระเป็นเจ้าที่ประกอบขึ้นเป็นราชัยนี้, ท่านไม่ลักลอบเอาทรัพย์ฝ่ายโลกอันใดจากประชากรใด ๆ เลย, แต่ตรงข้าม อันความสามารถ, ทรัพยากรและขนบประเพณีของประชากรต่าง ๆ อะไรที่เป็นชองดีท่านก็สนับสนุนและรับเอาไว้, เมื่อรับไว้ท่านก็ชำระสะสาง, ปลูกฝังให้มั่นคงและเชิดชูขึ้น. ท่านสำนึกอยู่เสมอว่าตัวท่านจำต้องเก็บรวบรวมร่วมกับพระราชาพระองค์นั้น, พระองค์ที่นานาชาติทั้งหลายถูกมอบให้เป็นมรดกของพระองค์ท่าน (สดด. 2,8) และ “ยังพระบุตรของพระองค์ท่านเขานำเอาของขวัญและเครื่องบรรณาการมาถวาย” (เทียบ สดด. 71 (72); อสย. 60,4-7; วว. 21,24). ลักษณะสากลภาพอันนี้ ที่พากันประดับบรรดาประชากรของพระเป็นเจ้าก็เป็นพระคุณของพระสวามีเจ้าเอง และด้วยพระคุณอันนี้ พระศาสนจักรคาทอลิกมุ่งมั่นอย่างได้ผลและสม่ำเสมอ นำมนุษยชาติทั้งหมดพร้อมกับทรัพยากรทั้งสิ้นของเขา กลับเข้ามามอบให้แด่พระคริสตเจ้าองค์พระประมุข (ศีรษะ) ร่วมเอกภาพกับพระจิตของพระองค์ท่าน.
เดชะฤทธิ์แห่งสากลภาพอันนี้ ส่วนแต่ละส่วนต่างนำเอาพรโดยเฉพาะของตนมามอบให้แก่พระ ศาสนจักรทั้งหน่วยด้วย จึงเป็นอันว่าตัวหน่วยทั้งหมดและส่วนแต่ละส่วนของหน่วยนั้นย่อมเจริญขึ้น เพื่อจากที่ทุกๆ คนต่างนำเอาพรของตนๆ มามอบให้แก่กันและกัน และต่างพากันมุ่งมั่นไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ในเอกภาพ จังเป็นอันว่าประชากรของพระเป็นเจ้ารวมตัวกันขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะมีประชากรต่าง ๆ กันเท่านั้น แต่ยังเจริญเติบโตขึ้นในตัวตนเอง เพราะมีการประสานสมานกันหลายสิ่งหลายอย่างอีกด้วย ระหว่างสมาชิก (อวัยวะ) ของพระศาสนจักรมีความแตกต่างกัน, บ้างก็ในด้านหน้าที่, ในเมื่อบางท่านบำเพ็ญ ศาสนบริการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องของตน, บ้างก็ในด้านฐานะการดำเนินชีวิต, ในเมื่อมีหลาย ๆ ท่านสังกัดอยู่ในฐานะนักบวช, เขาดำเนินชีวิตตามวิถีทางที่รัดกุมเคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยเขามุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์, แบบอย่างของเขาจึงเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนพวกพี่น้อง เป็นเพราะเหตุนี้เองด้วย ที่ในสหพันธ์ของพระศาสนจักรมีพระศาสนจักรปลีกย่อยหลายพระศาสนจักร. ซึ่งก็เป็นไปตามคลองธรรม. พระศาสนจักรปลีกย่อยเหล่านี้มีขนบประเพณีของโดยเฉพาะ ทั้ง ๆ ที่คงดำรงอยู่โดยความครบถ้วน ภายใต้การเป็นประมุขเอก (29) ของพระอาสนแห่งท่านเปโตร (30) ผู้เป็นประธานในที่ประชุมสโมสรสันนิบาตสากลทั่วไปของบรรดาผู้มีความรัก, ท่านเปโตรก็ปกป้องความแตกต่างอันเป็นไปตามคลองธรรม, ท่านปกป้องความแตกต่างพิเศษนี้ อย่าเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ทำร้ายต่อเอกภาพ แต่เพื่อให้ลักษณะพิเศษนั้นกลับเป็นคุณต่อเอกภาพอีกด้วย ที่สุดเพราะเหตุนี้เองด้วย ท่ามกลางความแตกต่างกันเองของพระศาสนจักร ก็มีสายสัมพันธ์อันสนิทชิดเชื้อต่อกันในด้านทรัพยากรฝ่ายวิญญาณ, ด้านบุคลากรในงานแพร่ธรรม, และในด้านการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันและกันทางโภคทรัพย์ฝ่ายแผ่นดิน. ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสมาชิก (อวัยวะ) แห่งประชากรของพระเป็นจ้าได้รับเรียกมา เพื่อนำทรัพยากรต่าง ๆ มาแบ่งปันกันและกัน, วาทะของท่านอัครสาวกจึงเหมาะสมกับพระศาสนจักร แต่ละพระศาสนจักรว่า : “ทุก ๆ คนจงนำเอาพระหรรษทานที่ตนได้รับมาแบ่งปันรับใช้กันและกัน, อย่างเช่นที่เป็นผู้จำหน่ายจ่ายแจกที่ดีงามแห่งพระหรรษทานหลายสิ่งหลายอย่างของพระเป็นเจ้า” ( 1 ปต. 4,10)
เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาสู่เอกภาพสากล (คาทอลิก) แห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เอกภาพสากลอันนี้เป็นทั้งเครื่องหมายบ่งล่วงหน้า และเป็นทั้งเครื่องหมายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดมีสันติภาพสากล : มนุษย์ทุกคนมีความเกี่ยวข้อง หรือได้รับการจัดให้โน้มเอียงเกี่ยวข้องกับสันติภาพสากลด้วยทำนองต่าง ๆ กัน : บ้างเป็นสัตบุรุษคาทอลิกด้วยกันก็ดี, บ้างเป็นคนอื่นที่เชื่อในพระคริสตเจ้าก็ดี, บ้างในที่สุดเป็นมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปก็ดี, ทุกคนต่างได้รับคำเชื้อเชิญจากพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ให้เข้ามาสู่ความรอดด้วยกันทั้งนั้น.
สัตบุรุษคาทอลิก
14. พระสังคายนาสากลศักดิ์สิทธิ์ หันมาพิจารณาดูสัตบุรุษคาทอลิกเป็นอันดับแรก ท่านถือเอาพระคัมภีร์และพระกิตติ (31) เป็นหลัก จึงสอนว่าพระศาสนจักรที่กำลังเร่ร่อนอยู่ในโลกขณะนี้ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเอาตัวรอด, เหตุด้วยว่ามีพระคริสตเจ้าผู้เดียวเท่านั้นเป็นคนกลาง และเป็นหนทางแห่งความรอด พระองค์ทรงเป็นอยู่ขณะนี้สำหรับเราในพระวรกายของพระองค์ ซึ่งก็คือพระศาสนจักรนั่นเอง พระองค์ได้ทรงพร่ำสอนด้วยพระวาจาอันชัดเจน (เทียบ มก. 16,16; ยน. 3,5) พร้อมกับทรงยืนยันว่าพระศาสนจักรเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งมนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในนั้น โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป ซึ่งเป็นดังประตูทางเข้า จึงเป็นอันว่าไม่สามารถเอาตัวรอดได้ บุคคลที่รู้อยู่แก่ใจว่าพระเป็นจ้าได้ทรงตั้งพระศาสนจักรคาทอลิกขึ้นโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็นพระศาสนจักรอันจำเป็น, กระนั้นก็ดี เขาไม่ยอมเข้าสังกัดหรือไม่ยอมสังกัดอยู่ต่อไป.
นับว่าเป็นสมาชิกแห่งสังคมพระศาสนจักรโดยแท้ บุคคลที่มีพระจิตของพระคริสตเจ้า เขารับเอาหลักเกณฑ์ของพระศาสนจักรทุกประการ และวิธีการต่าง ๆ เพื่อเอาตัวรอดอันกำหนดอยู่ในพระศาสนจักร, และเขาร่วมกับพระคริสตเจ้าในโครงสร้าง (32) อันแลเห็นได้, กล่าวคือเขามีความสัมพันธ์ในการประกาศแสดงออกซึ่งความเชื่อ, ในศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการปกครองและสมาพันธ์. ถึงกระนั้นเอาตัวไม่รอด บุคคลที่แม้สังกัดเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร หากเขาไม่คงดำรงอยู่ในความรัก, ถูกหละคนเช่นนี้อยู่ในแวดวง “ร่างกาย” ของพระศาสนจักร, แต่หาได้อยู่ใน “จิตใจ” ของท่านไม่. ทุก ๆ คนจงจำใส่ใจไว้ว่าฐานะอันประเสริฐที่เราได้เป็นบุตรของพระศาสนจักรนั้น ไม่ใช่เราได้มาเพราะคุณงามความดีอะไรของเรา แต่ได้มาเพราะพระหรรษทานพิเศษของพระคริสตเจ้า ซึ่งหากเราไม่สนองตอบด้วยความคิด, ด้วยวาจา, และด้วยกิจการแล้วไซร้, อย่าว่าแต่เราจะเอาตัวรอดเลย เรากลับจะถูกพิพากษาอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น
ส่วนคริสตชนสำรอง ผู้ที่พระจิตเจ้าทรงดลใจ และเขาแสดงออกอย่างแน่วแน่ปรารถนามาสังกัดในพระศาสนจักร การตั้งสัตย์อธิษฐานอันนี้ก็ทำให้เขาสังกัดอยู่ในพระศาสนจักรแล้ว และพระศาสนจักรผู้เป็นมารดาก็ทรงรับเขาไว้ในความรัก และความเอาใจใส่ดูแล.
สัมพันธภาพของพระศาสนจักร กับคริสตชนที่ไม่ใช่คาทอลิก
15. บุคคลที่ได้รับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ประกอบอยู่ด้วยเกียรตินามว่าเป็นคริสตชน, แต่เขาไม่ประกาศรับรองความเชื่อทั้งครบ หรือเขาไม่รับรู้เอกภาพแห่งสหพันธ์ภายใต้อำนาจผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร, พระศาสนจักรก็ทราบดีว่าตัวท่านมีความสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ คนเหล่านี้ส่วนมากเคารพพระคัมภีร์ และยึดถือเอาเป็นหลักของความเชื่อ และของการประพฤติดำรงชีวิต เขาจริงใจแสดงความร้อนรนภักดีต่อพระศาสนา, เขาเชื่อด้วยใจรักในพระเป็นเจ้า พระบิดาทรงสรรพานุภาพ และในพระคริสตเจ้าพระเทวบุตรผู้ทรงกอบกู้, เขาได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป จึงร่วมสนิทกับพระคริสตเจ้า, กว่านั้นอีกเขารับรู้และเข้าไปรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในศาสนจักรกลุ่มของเขา หรือในหมู่ (34) ศาสนจักรของเขา, ในพวกเขา, มีหลาย ๆ ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระสังฆราช, เขาทำพิธีถวายสดุดีบูชา ทั้งยังส่งเสริมความภักดีต่อพระนางพรหมจาริณี, พระเทวมารดา, นอกนั้นเขายังมีสหพันธ์ของการอธิษฐานภาวนา และของพระคุณานุคุณด้านวิญญาณอย่างอื่น ๆ อีก. ยิ่งกว่านั้นเขามีสหพันธ์อย่างหนึ่งในพระจิตเจ้า, พระองค์ทรงแผลงฤทธิ์ทำงาน, ประทานพระคุณต่าง ๆ แม้กระทั่งในตัวเขา, พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์เดชบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน ทำให้บางคนในพวกเขามีใจกล้าหาญ ยอมพลีหลั่งโลหิตของตนเพื่อพระศาสนา. นี่แหละพระจิตเจ้าทรงปลุกให้สานุศิษย์ทั้งหลายของพระคริสตเจ้า เกิดมีความปรารถนาและการออกแรงทำงาน เพื่อให้ทุก ๆ คนเข้ามารวมกัน ในทำนองที่พระคริสตเจ้าทรงกำหนดไว้, ให้รวมกันเป็นหนึ่งโดยสันติ เพื่อจะได้เป็นฝูงแกะเดียว และนายชุมพาบาลแต่ผู้เดียว. ไม่หยุดยั้งที่จำบำเพ็ญภาวนา, เฝ้าคอยความหวัง, และออกแรงทำงานและตักเตือนลูก ๆ ของท่านให้ชำระตน, ให้ปฏิรูปตนใหม่ เพื่อสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าจะได้เปล่งรัศมีแจ่มจรัสขึ้นบนใบหน้าของพระศาสนจักร.
บรรดาผู้ที่มิใช่คริสตชน
16. ที่สุดก็ถึงบุคคลที่ยังมิได้รับพระวรสารแต่เขาก็มีความเกี่ยวข้องกันประชากรของพระเป็นเจ้าด้วยเหตุผลหลายประการ พวกแรกคือประชากรนั้น ที่ได้รับพันธไมตรีและพันธสัญญาต่าง ๆ และจากประชากรนี้เอง พระคริสตเจ้าทรงถือกำเนิดมาทางด้านเนื้อหนัง (เทียบ รม. 9,4-5) เป็นประชากรที่พระทรงเลือกสรร, ประชากรสุดที่รัก เพราะพวกบรรพบุรุษของพวกเขา : พระเป็นเจ้ามิได้ทรงเสียพระทัยที่ได้ประทานพระคุณานุคุณและพระกระแสเรียกแก่พวกเขา (เทียบ รม. 11, 28-29) แต่จุดประสงค์มุ่งความรอด ยังผูกพันบุคคลเหล่านั้นที่รับรู้จักพระผู้สร้าง, ท่ามกลางพวกนี้มีชาวมุสลิมเป็นต้น, เขาประกาศยืนยันว่าพวกเขายึดถือความเชื่อของอับราฮัม, เขานมัสการพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว ร่วมกันพวกเรา (คาทอลิก) เขานับถือพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว ผู้ทรงเมตตากรุณา, และในวันสุดท้ายจะทรงพิพากษามวลมนุษย์. สำหรับบุคคลอื่น ๆ ที่ในเงาในรูปภาพแสวงหาพระเป็นเจ้าที่เขาไม่รู้จัก, พระเป็นเจ้าเองก็ทรงไม่ห่างจากคนพวกนี้ เพราะว่าพระองค์ประทานให้ทุก ๆ คนมีชีวิต, มีความดลบันดาลใจและมีสารพัด (เทียบ กจ. 17,25-28) และพระผู้กอบกู้ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์ทุกคนเอาตัวรอด (เทียบ 1 ทม.2,4) คนเหล่านี้ไม่รู้ถึงพระวรสารของพระคริสตเจ้า, ไม่รู้ถึงพระศาสนจักรของพระองค์ โดยไม่มีความผิด, ถึงกระนั้นเขาก็แสวงหาพระเป็นเจ้าด้วยใจอันสุจริต และน้ำพระทัยของพระองค์ที่เขาทราบโดยทางการบอกกล่าวของมโนธรรมและภายใต้อิทธิพลของพระหรรษทาน เขาพยายามสนองตามนั้นด้วยกิจการของตน, เขาก็อาจบรรลุถึงความรอดตลอดนิรันดร์. ทั้งพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้าก็ไม่เพิกเฉย ประทานความช่วยเหลืออันจำเป็นสำหรับความรอดแก่พวกคนที่โดยที่ไม่ใช่ความผิดของเขา, ที่เขายังไม่ได้บรรลุถึงการรู้จักพระเป็นเจ้าอย่างกระจ่างแจ้ง และเขาพยายามปฏิบัติโน้มชีวิตของเขาไปในทางที่ถูกต้อง แน่นอนโดยพระหรรษทานช่วยเหลือ. เพราะว่าทุก ๆ สิ่งที่ดี, ที่จริงอันนี้มีอยู่ในตัวพวกเขา, พระศาสนจักรถือว่าเป็นการเตรียมตัวเบื้องแรกแห่งพระวรสารแล้ว, และเป็นสิ่งที่พระองค์ท่าน, องค์ผู้ส่องสว่างมนุษย์ทุกคนประทานให้ หวังให้เขาได้รับชีวิตในที่สุด. แต่ก็มีบ่อยเหมือนกันที่มนุษย์ถูกปีศาจล่อล่วง จึงหลงไหลไปในความนึกคิด, เขาเปลี่ยนความจริงของพระเป็นเจ้า เป็นคำปดมดเท็จ, เขารับใช้สัตว์โลกมากกว่าพระผู้สร้าง (เทียบ รม.1,21 และ 25) หรือขณะอยู่ในโลกนี้ เขามีชีวิตและตายไปโดยไม่มีพระเป็นเจ้า, คนพวกนี้ล่อแหลมต่อความหมดหวังเป็นอย่างยิ่ง. เพราะเหตุนี้เอง เพื่อส่งเสริมพระเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเพื่อช่วยให้คนเหล่านี้ทั้งหมดได้เอาตัวรอด, พระศาสนจักรจึงระลึกถึงพระบัญชาของพระสวามีเจ้าว่า “พวกท่านจงไปประกาศพระวรสารแก่สัตว์โลกทุกตัวตน” (มก. 16,15) และท่านเอาใจใส่อนุเคราะห์แคว้นมิสซัง (35) ต่าง ๆ
เอกลักษณ์การเป็นธรรมทูตของพระศาสนจักร
17. พระบิดาได้ทรงใช้พระบุตรมาฉันใด พระบุตรก็ทรงใช้บรรดาอัครสาวกไปฉันนั้น, (เทียบ ยน. 20,21) พระองค์มีพระดำรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงไปสั่งสอนนานาชาติ, จงทำศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปแก่เขาในนามของพระบิดา และพระบุตรและพระจิต จงสั่งสอนเขาให้ปฏิบัติทุกสิ่ง ที่ข้าฯ บัญชาสั่งพวกท่านไว้.” และ “นี่แหละข้าฯ อยู่กับพวกท่านเรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ” (มธ. 28.18-20) พระคริสตบัญชาอันมีสง่า : สั่งให้ประกาศความจริงอันช่วยให้รอดนี้, พระศาสนจักรได้รับมาจากอัครสาวก ให้ปฏิบัติเรื่อยไปจนสุดแดนดิน (เทียบ กจ. 1,8) ฉะนั้น ท่านจึงนำเอาวาทะของท่านอัครสาวกมาใช้กับท่านเอง ที่ว่า : “กรรมของข้าพเจ้า หากข้าพเจ้าไม่ประกาศพระวรสาร” (1 คร. 9,16) เพราะฉะนั้นพระศาสนจักรจึงดำเนินงานส่งธรรมทูตต่าง ๆ มาไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งพระศาสนจักรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่ บรรลุถึงผลสมบูรณ์ และทำภาระกิจประกาศพระวรสารสืบต่อไปเป็นทอด ๆ พระจิตเจ้าทรงปลุกกระตุ้นให้เขาร่วมงานจนบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งมาดของพระเป็นเจ้า ผู้ได้ทรงแต่งตั้งพระคริสตเจ้าขึ้นเป็นแหล่งที่มาแห่งความรอดสำหรับทั่วโลกจักรวาล ในการประกาศพระวรสารพระศาสนจักรโน้มนำให้บรรดาผู้ฟังมีความเชื่อ และประกาศแสดงความเชื่อนั้นอย่างเปิดเผย, ท่านจัดเตรียมให้เขารับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ให้เขาเจริญวัฒนาขึ้นโดยอาศัยความรักของพระองค์ไปจนถึงขั้นความสมบูรณ์, พระศาสนจักรออกแรงทำงาน เพื่อเมื่อพบเห็นสิ่งที่ดีงามในใจ, ในความนึกคิดของมนุษย์, หรือที่พบเห็นกระจายอยู่ในจารีตพิธี และวัฒนธรรมอันเป็นของเฉพาะตัวเองประชาชาติต่าง ๆ, ท่านไม่เพียงแต่ไม่ทำลายให้ดับสูญ, แต่ท่านกลับเยียวยารักษา, ตกแต่งเชิดชูขึ้น, และนำไปสู่ความสัมฤทธิ์ผลให้เป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า เป็นที่อัปยศอับอายแก่ปีศาจและเป็นความผาสุกแก่มวลมนุษย์. ไม่ว่าใครที่เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า เขาทุกคนมีหน้าที่โดยเฉพาะของตน และมีภาระต้องเผยแพร่ความเชื่อ จริงอยู่ไม่ว่าใครก็ทำศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปได้แก่ผู้มีความเชื่อ แต่ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะก่อสร้างพระวรกายด้วยถวายสดุดีบูชา ทั้งนี้เพื่อให้สำเร็จเป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้าที่พระองค์มีพระดำรัสทางท่านประภาษกว่า : “จากตะวันออกจนถึงตะวันตก พระนามของข้าฯ ยิ่งใหญ่ต่อหน้านานาชาติและในทุก ๆ สถานที่ก็มีการถวายสักการะและบูชาแด่พระนามของข้าฯ ด้วยเครื่องบูชาอันบริสุทธิ์” (มลค. 1,11), ดังนี้แหละ พระศาสนจักรทั้งอธิษฐานภาวนา ทั้งออกแรงทำงานพร้อม ๆ กันไป เพื่อให้ทั้งโลกบรรลุถึงความสมบูรณ์ มาเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เป็นพระวรกายของพระสวามีเจ้า และเป็นโบสถ์ที่ประทับของพระจิตเจ้า และเพื่อให้พระคริสตเจ้าองค์พระประมุขของทุกคน, ให้พระผู้สร้างและพระบิดาของโลกจักรวาลได้รับเกียรติยศและเกียรติมงคลทุก ๆ ประการ
ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016
ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
|
|
1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ ) |
2 ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก |
4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา |
5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล ) |
6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา |
8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ |
9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี |
13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา |
14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก |
15 สมโภชพระจิตเจ้า |
16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี |
19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา ) |
21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี |
22 สมโภชพระตรีเอกภาพ |
23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี |
26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์ |
27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช |
28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า |
30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา |
31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก ) |
|
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี |
2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี |
3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์ |
5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก ) |
6 น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช |
7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์ |
10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก |
12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์ |
14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
16 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล |
21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช |
22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี |
23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด |
25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด ) |
27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร |
28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ |
29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม |
30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม |
|
|
|
ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา |
3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก |
4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส |
5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์ |
6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี |
7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา |
8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา |
9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน |
10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา |
11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก ) |
12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา |
13 น.เฮนรี่ |
14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์ |
15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล |
17 อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา ) |
21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์ |
22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา |
23 น.บรียิต นักบวช |
24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก |
26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี ) |
27 สัปดาห์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
28 สัปดาห์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
29 ระลึกถึง น.มาร์ธา |
30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา |
ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์ |
3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา |
4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์ |
5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก |
7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล ) |
8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์ |
9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี |
10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี |
11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี |
12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช |
13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี |
14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม ) |
16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี |
17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์ |
20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ |
22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก |
23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี |
24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว |
25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์ |
26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา |
27 ระลึกถึง น.โมนิกา |
28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ |
30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
8 ฉลองแม่พระบังเกิด |
9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์ |
10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา |
12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี |
13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์ |
14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน |
15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์ |
16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี |
17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี |
20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ ) |
21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์ |
24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา |
26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี |
27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์ |
28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี |
29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล |
30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
|
|
ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
|
1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี |
5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา |
6 น.บรูโน พระสงฆ์ |
7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน ) |
8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา |
12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี |
15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา ) |
17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี |
18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี |
20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา |
21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา |
22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา |
23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช ) |
24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช |
25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก |
29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
|
|
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ |
3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช |
4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย |
7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา |
8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา |
9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน |
10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร |
11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช |
12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี |
13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน ) |
14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา |
15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี |
17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช |
18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก |
19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา |
20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก ) |
21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช |
22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี |
23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ |
24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี |
25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี |
26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา |
27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี A ) |
28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
29 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก |
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
1 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ ) |
2 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง |
4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ ) |
5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ) |
6 น.นิโคลัส พระสังฆราช |
7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล |
9 น.ฮวน ดีเอโก |
10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ ) |
11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป |
13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี |
14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย ) |
17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ |
18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง |
22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ |
23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์ |
24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
25 สมโภชพระคริสตสมภพ |
26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี |
27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล |
29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี |
30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า |
31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ ) |
|
ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา |
2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน ) |
3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช |
4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา |
5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี |
7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา |
8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี |
9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา |
10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ ) |
11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก ) |
12 หลังวันพุธรับเถ้า |
13 หลังวันพุธรับเถ้า |
14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์ |
18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา ) |
23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี |
24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต |
29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต |
|
|
|
|
|
|