The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

บทที่ 3 : พระฐานานุกรมแห่งพระศาสนจักรและตำแหน่งพระสังฆราชโดยเฉพาะ

อารัมภบท
    18.  พระสวามีคริสตเจ้า มีพระประสงค์จะเลี้ยงดูและทวีประชากรของพระเป็นเจ้า  ให้มีจำนวนมากขึ้น ๆ อยู่เสมอ  จึงได้ทรงจัดตั้งให้พระศาสนจักรของพระองค์ มีศาสนบริกร (36) ต่าง ๆ ซึ่งล้วนสร้างคุณประโยชน์แก่พรวรกายทั่วทั้งพระวรกาย บรรดาศาสนบริกรทรงอำนาจศักดิ์สิทธิ์,  ทำงานรับใช้มวลพี่น้องด้วยกัน  หวังให้ทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิกประชากรของพระเป็นเจ้า,  และเพราะเป็นประชากรของพระเป็นเจ้าจึงประกอบด้วยเกียรติศักดิ์เป็นคริสตชนอย่างแท้จรงิ  และเพื่อมุ่งหน้าอย่างเป็นอิสระเสรี  และเป็นระเบียบเรียบร้อยสู่จุดหมายอันเดียวกัน, พวกเขาจะได้บรรลุถึงความรอด.

สภาพระสังคายนาสากลครั้งนี้ สะกดรอยตามพระสังคายนาวาติกันครั้งที่หนึ่ง  และพร้อมกับพระสังคายนาดังกล่าว  ท่านสั่งสอนและประกาศว่า :  พระเยซูคริสตเจ้า, องค์พระชุมพาบาลนิรันดร ได้ทรงสถาปนาพระศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้น โดยได้ทรงส่งท่านอัครสาวกไปดุจดังพระบิดาได้ทรงส่งพระองค์ท่านมา  (เทียบ ยน. 20,21) ; บรรดาผู้สืบตำแหน่งของอัครสาวก นั่นคือบรรดาพระสังฆราช,  พระองค์ได้ทรงพอพระทัยแต่งตั้งขึ้นเป็นชุมพาบาลในพระศาสนจักรของพระองค์เรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ.  แต่เพื่อจะให้ตัวตำแหน่งพระสังฆราชคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและแบ่งแยกไม่ได้,  พระองค์ได้ทรงตั้งท่านเปโตรให้เป็นประมุขของอัครสาวกอื่นทั้งหลาย  และในตัวท่านเปโตรนั้น พระองค์ได้ทรงวางแหล่งที่มาและรากฐานอันคงอยู่เสมอ และแลเห็นได้แห่งเอกภาพทางความเชื่อ และทางด้านสหพันธ์. อันคำสอนเรื่องการสถาปนา, เรื่องความคงทนอยู่เสมอ,  เรื่องอำนาจและเหตุผลของการเป็นประมุขแห่งพระสังฆราชแห่งกรุงโรม,  ตลอดจนเรื่องอาจาริยานุภาพอันไม่รู้ผิดพลั้งของพระองค์ท่าน, สภาพระสังคายนานี้กลับนำมาเสนออีกครั้งหนึ่ง  ให้สัตบุรุษทั้งสิ้นต้องเชื่ออย่างมั่นคง แล้วจากที่เริ่มต้นนี้  ท่านเสริมต่อไป  เรื่องคำสอนเกี่ยวกับบรรดาพระสังฆราชผู้สืบตำแหน่งของบรรดาอัครสาวก,   ท่านเหล่านี้  พร้อมกับผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร, องค์ผู้แทนของพระคริสตเจ้าเป็นศีรษะที่แลเห็นได้ของพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้งสองฝ่ายดังกล่าวนี้เป็นผู้ปกครองเคหะของพระเปนเจ้าผู้ทรงชีวิต สภานี้กำหนดให้แสดงและประกาศดังนี้ต่อหน้าทุก ๆ คน.

การแต่งตั้งอัครสาวก 12 ท่าน
    19.  พระสวามีเยซูเจ้า, หลังแต่ได้ทุ่มเทอธิษฐานภาวนาต่อพระบิดาแล้ว,  ได้ทรงเรียกบุคคลที่พระองค์เองทรงพอพระทัยเข้ามาหา  แล้วแต่งตั้ง  12  ท่าน  ให้อยู่กับพระองค์และให้เขาไปประกาศพระราชัยของพระเป็นเจ้า  (เทียบ มก. 3,13-19; มธ. 10,1-42).  สิบสองคนนี้ พระองค์ได้ทรงตั้งขึ้นเป็นอัครสาวก  (เทียบ ลก. 6,13)  ตั้งขึ้นเป็นทำนองคณะ หรือเป็นกลุ่มก้อนที่ถาวร และในพวกเขานี้ พระองค์ได้ทรงเลือกคนหนึ่ง  คือ ท่านเปโตร, ตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะ  (เทียบ ยน. 21,15-17). ได้ทรงใช้พวกเขาไปหาลูก ๆ ชาวอิสราเอลก่อน แล้วจึงไปหานานาชาติทั้งหลาย  (เทียบ รม. 1-16) ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขามีส่วนในฤทธิ์อำนาจของพระองค์  ไปทำให้ประชากรทั้งหลายมาเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ท่านเอง, ให้ทำให้เขาเป็นคนศักดิ์สิทธ์,  และให้ปกครองพวกเขา  (เทียบ มธ. 28,16-20; มก. 16,15; ลก. 24,45-48; ยน. 20,21-23), ดังนี้แหละ เพื่อให้พวกเขาขยับขยายและเลี้ยงดูพระศาสนจักร โดยให้บริการภายใต้การนำของพระสวามีเจ้า  ทุก ๆ วันเรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ  (เทียบ มธ. 28,20),  บรรดาอัครสาวกได้รับกำลังตั้งมั่นเต็มที่ในภารกิจอันนี้ ณ  วันเปนเตกอสเต (วันที่  50  วันพระจิตเสด็จมาโปรด : เทียบ กจ. 2,1-26)  ตามที่พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญาไว้ว่า “พวกเจ้าจะได้รับฤทธิเดชของพระจิตเจ้าผู้เสด็จเข้ามาในตัวเจ้า  และพวกเจ้าจะเป็นพยานให้แก่ข้าฯ ที่เยรูซาเลม, ทั่ว ๆ ประเทศยูเดีย, และสมารีอา,  และจนทั่วแดนดิน (กจ. 1,8), ฝ่ายพวกอัครสาวกไปประกาศพระวรสารทั่วทุกหนทุกแห่ง (เทียบ มก. 16,20), บรรดาผู้ฟังก็ได้รับพระวรสารเดชะพระจิตเจ้าทรงกระตุ้นดลใจ, พวกท่านจึงรวบรวมพระศาสนจักรสากล  (= ทั่วไป)  พระศาสนจักรนี้  พระสวามีเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้นในพวกอัครสาวก  และได้ทรงตั้งขึ้นบนท่านเปโตร, หัวหน้าของพวกท่าน  โดยพระองค์ท่านเอง พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นสุดยอดศิลามุม  (= เป็นเสาเอกอันมั่นคง) (เทียบ วว. 21,14; มธ. 16,18; อฟ. 2,20).

พระสังฆราชคือผู้สืบตำแหน่งอัครสาวก
    20.  ภารกิจของพระเป็นเจ้านั้น  อันที่พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบหมายฝากไว้กับพวกอัครสาวก จำจะต้องดำรงอยู่จวบจนสิ้นพิภพ (เทียบ มธ. 28,20), เพราะว่าพระวรสารที่พวกท่านต้องมอบต่อ ๆ กันไปนั้น เป็นดังแหล่งที่มาแห่งชีวิตสำหรับพระศาสนจักรในทุก ๆ เวลา,  เพราะเหตุนี้เอง พวกอัครสาวก  ในสังคมที่มีระเบียบเป็นฐานานุกรม, ท่านจึงได้ใส่ใจอันที่จะแต่งตั้งผู้สืบตำแหน่งแทนพวกท่าน,  มิใช่แต่พวกอัครสาวกได้มีผู้ช่วยในหน้าที่ของท่านหลายคนหลายตำแหน่งเท่านั้น  แต่เพื่อให้ภารกิจที่ท่านได้รับมอบหมายดำรงอยู่ต่อไป  หลังมรณกรรมของพวกท่าน,  ท่านจึงได้กำชับสั่งดังเป็นพินัยกรรม ให้ผู้ร่วมงานใกล้ชิดของท่านทำภาระหน้าที่นั้นต่อไปจนสำเร็จ  และงานที่พวกท่านได้เริ่มไว้ ก็ให้พวกเขายืนหยัดทำต่อไป  พลางกำชับให้พวกเขาเอาใจใส่ต่อฝูงแกะทั้งหมด  ซึ่งพระจิตเจ้าได้ทรงตั้งเขาไว้ให้เลี้ยงดูพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 20,28), ฉะนั้นพวกอัครสาวกจึงได้แต่งตั้งบุรุษประเภทนี้ขึ้นหลายท่าน และยังกำชับสั่งให้ต่อ ๆ ไปเมื่อเขาจะได้ตายจากไป, ให้คนอื่นที่ได้ทดสอบมาดีแล้วรับช่วงภารกิจนั้นต่อไป.  ในบริการภารกิจต่าง ๆ ที่กระทำกันมาในพระศาสนจักรตั้งแต่สมัยเริ่มแรกพระกิตติเป็นพยาน,  ภาระหน้าที่สำคัญอันดับหนึ่งคือหน้าที่ของบุคคลที่ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นสู่ตำแหน่งพระสังฆราช,  โดยการสืบหน้าที่แทนเป็นการไหลลงมาจากต้นเดิม, เขาพวกนี้ถ่ายทอดพันธุ์มาจากพวกอัครสาวก.  ตัวอย่างตามคำพยานของนักบุญอิเรเนโอ, ท่านยืนยันว่า :  โดยผ่านทางบุคคลที่พวกอัครสาวกได้ตั้งขึ้นเป็นพระสังฆราช และบุคคลที่สืบตำแหน่งของพระสังฆราชเหล่านั้น  จนกระทั่งมาถึงสมัยของเรา พระกิตติ (= การมอบหมายต่อ ๆ มา) ของอัครสาวกจึงประจักษ์ชัดและคงรักษาไว้ในทั่วโลก.

เพราะฉะนั้น  บรรดาพระสังฆราชได้รับหน้าที่ศาสนบริการ (36) ของกลุ่มชน  ทั้งนี้ร่วมกับบรรดาผู้ช่วยเหลือท่านคือ  พวกพระสงฆ์และสังฆานุกร (37) ท่าน  (= พระสังฆราช)  ทำหน้าที่เป็นประธานของฝูงแกะซึ่งท่านเป็นชุมพาบาล  แทนที่พระเป็นเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมะ,  ท่านเป็นพระสงฆ์ในพิธีศาสนกิจและเป็นบริกรผู้ปกครอง,  อันหน้าที่ที่พระสวามีเจ้าได้ทรงมอบให้แก่ท่านเปโตรคนเดียวโดยเฉพาะ, ท่านผู้เป็นที่หนึ่งในบรรดาอัครสาวก,  ก็หน้าที่นี้จะต้องดำรงอยู่และต้องมอบให้แก่ผู้สืบตำแหน่งของท่านฉันใด, ก็ฉันนั้น  ยังคงดำรงถาวรซึ่งหน้าที่ของบรรดาอัครสาวก  หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูพระศาสนจักร,  ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอจากฝ่ายผู้อยู่ในระดับอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาพระสังฆราช  เพราะฉะนั้นสภาพระสังคายนาจึงประกาศสอนว่า : บรรดาพระสังฆราช, จากการสถาปนาของพระเป็นเจ้าเอง, ได้สืบตำแหน่งแทนที่บรรดาอัครสาวก,  ในฐานะเป็นชุมพาบาลของพระศาสนจักร  ซึ่งผู้ใดเชื่อฟังท่าน, ผู้นั้นเชื่อฟังพระ   คริสตเจ้า,  แต่ผู้ใดประมาทท่าน, ผู้นั้นประมาทพระคริสตเจ้า  ทั้งพระองค์ที่ได้ทรงส่งพระคริสตเจ้ามา (เทียบ ลก. 10,16)

ภาวะพระสังฆราช (38) เป็นศักดิ์สิทธิการ
    21.  ฉะนั้นบรรดาพระสังฆราชที่พวกพระสงฆ์กำลังห้อมล้อมร่วมพิธีท่ามกลางบรรดาผู้มีศรัทธา (38) ก็มีองค์พระสวามีเยซูคริสตเจ้า,  พระสมณะสูงสุด (39)  ประทับอยู่กับท่าน   พระองค์ประทับอยู่เบื้องขวาของพระเป็นเจ้าพระบิดาก็จริง,  ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่พระองค์อยู่ห่างไกลจากกลุ่มชน (40) ของบรรดาพระสังฆราชของพระองค์,  แต่เฉพาะอย่างยิ่งโดยอาศัยการรับใช้อันล้ำค่าของพวกพระสังฆราช (เทียบ 1 คร. 21,15), พระองค์ทรงประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าแก่นานาชาติทั้งหลาย, และทรงประกอบศักดิ์สิทธิการแห่งความเชื่ออยู่เนืองนิตย์, อาศัยหน้าที่เยี่ยงบิดาของพวกพระสังฆราช (เทียบ 1 คร. 4,15),  พระองค์ทรงรับสมาชิกใหม่เข้ามาสังกัดพระวรกายของพระองค์ โดยทางการเกิดใหม่อันสูงส่ง, ที่สุดอาศัยความปรีชาและความรอบคอบของบรรดาพระสังฆราช, พระองค์ทรงนำทางและจัดระเบียบให้ประชากรแห่งพันธสัญญาใหม่  ขณะระเหระหนอยู่ในโลกนี้ไปสู่ความบรมสุขนิรันดร.  ท่านเหล่านี้นั่นแหละ  ได้ถูกเลือกสรรให้เป็นชุมพาบาลสำหรับเลี้ยงฝูงแกะของพระสวามีเจ้า, ท่านเหล่านี้เป็นบริกรคนใช้ของพระคริสตเจ้า, เป็นผู้แจกจ่ายพระอคาธัตถ์ต่าง ๆ ของพระเป็นเจ้า (1 คร. 4,1)  ท่านเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้ทำการประกาศยืนยันข่าวดี (พระวรสาร) แห่งพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า (เทียบ รม. 15,16; กจ. 20,24) ตลอดจนการประทานพระจิต และความยุติธรรมในพระเกียรติมงคล  (เทียบ 2 คร. 3,8-9)
สำหรับจะปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ให้สำเร็จลุล่วงไป พวกอัครสาวกได้รับพระจิตผู้เสด็จมาอย่างอุดมเต็มเปี่ยมจากพระคริสตเจ้า (เทียบ กจ. 1,8 : 2,4; ยน. 20,22-23), แล้วพวกท่านเอง โดยทางการปกมือได้มอบพระคุณของพระจิตนี้ ให้แก่ผู้ช่วยของท่าน (เทียบ 1 มท. 4,14; 2 มท. 1,6-7), และการกระทำอันนี้ก็มอบต่อ ๆ กันมาในการอภิเษกพระสังฆราชจนถึงชาวเราทุกวันนี้.  สภาพระสังคายนาสากลนี้จึงสอนว่า  การอภิเษกพระสังฆราชประสาท (41)  ความบริบูรณ์ของศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม,  แน่นอนความบริบูรณ์อันนี้  ทั้งประเพณีทางจารีตพิธีของพระศาสนจักร,  ทั้งวาจาคำพูดของบรรดานักบุญปิตาจารย์ ก็เรียกว่า สังฆภาพอันสูงสุด,  สุดยอดของบริกรศักดิ์สิทธิ์, การอภิเษกพระสังฆราช และพร้อมกันนี้ภาระหน้าที่บันดาลความศักดิ์สิทธิ์, ขณะเดียวกันก็ประสาทอำนาจหน้าที่สั่งสอนและหน้าที่ปกครองอีกด้วย,  ถึงกระนั้นหน้าที่ทั้งสองนี้ ตามธรรมชาติของมันไม่อาจปฏิบัติได้  นอกจากจะร่วมสหพันธ์ทางพระฐานานุกรมอยู่กับหัวหน้าและสมาชิกของคณะ (42) พระกิตติที่แสดงออกมาเป็นต้น  ในทางจารีตพิธีแห่งพระศาสนจักรทั้งฝ่ายตะวันออก ทั้งฝ่ายตะวันตก  ตามที่ปฏิบัติกัน, เป็นที่ปรากฏเด่นชัดว่า การปกมือและการอภิเษกประสาทพระหรรษทานของพระจิตเจ้าและประทับตราอันศักดิ์สิทธิ์ให้,  จนกระทั่งพระสังฆราช,  ด้วยท่วงท่าอันสูงเด่นและแลเห็นได้ชัด  ท่านรับเอาและสวมองค์ของพระคริสตเจ้าเอง, ผู้เป็นพระอาจารย์, พระชุมพาบาลและพระสมณะ, เป็นหน้าที่ของบรรดาพระสังฆราชที่จะนำผู้รับเลือกสรรใหม่ให้เข้าสู่สมาชิกคณะพระสังฆราช โดยทางการประสาทศักดิ์สิทธิการ – อนุกรม.

คณะของพระสังฆราช  และองค์พระประมุขของคณะ
    22.  ตามที่พระสวามีเจ้าทรงแต่งตั้งไว้  นักบุญเปโตรกับอัครสาวกอื่น ๆ ทั้งหลาย รวมกันเป็นคณะอัครสาวกหนึ่งหน่วยฉันใด, ก็โดยเหตุผลอันเสมอกัน  พระสังฆราชกรุงโรมผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร  กับบรรดาพระสังฆราชผู้สืบตำแหน่งอัครสาวกก็รวมกันและกันด้วยฉันนั้น เป็นหลักประเพณีถือกันมาแต่โบราณกาลนานนักหนา  ที่บรรดาพระสังฆราชผู้ได้รับแต่งตั้งในโลกจักรวาล  ท่านติดต่อกันระหว่างพวกท่านเอง  และติดต่อกับพระสังฆราชกรุงโรม โดยมีความสัมพันธ์กันทางด้านเอกภาพ, ทางด้านความรักหวังดีต่อกัน และทางการมีสันติสุขต่อกัน  เช่นเดียวกันการมาร่วมประชุมสังคายนากัน  เพื่อตกลงร่วมกันในปัญหาสำคัญ ๆ โดยใช้การตัดสิน  มีน้ำหนักจากความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่าน,  ก็แสดงให้เห็นคุณลักษณะและหลักการเป็นคณะของทำเนียบพระสังฆราช.  คุณลักษณะการเป็นคณะนี้ยืนยันได้ด้วยพระสังคายนาสากลต่าง ๆ ที่ได้ประชุมกันมาในกระแสศตวรรษต่าง ๆ อีกด้วย,  เรื่องนี้ยังมีการส่อแสดงให้เห็นประจักษ์ด้วยประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาลคือ เมื่อมีใครได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชเกิดใหม่ เขาก็เชิญพระสังฆราชหลายองค์มาร่วมในการเทิดเกียรติของผู้ได้รับภาระหน้าที่สังฆภาพสูงสุด  ใครเข้าเป็นสมาชิกทำเนียบพระสังฆราช คนนั้นต้องได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยการอภิเษกของศักดิ์สิทธิการ และต้องร่วมสหพันธ์ของพระฐานานุกรมกับองค์พระประมุขของคณะ  ทั้งกับสมาชิกของคณะนั้นด้วย.

อันว่าคณะหรืออีกนัย (43) ทำเนียบของบรรดาพระสังฆราชไม่มีอำนาจ  เว้นแต่เมื่อเป็นที่ยอมรับว่า  ท่านอยู่ร่วมกับพระสังฆราชกรุงโรม,  ผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร,  ในฐานะเป็นองค์พระประมุขของคณะ,  ซึ่งพระองค์ท่านจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังมีอำนาจของปฐมภาวะครบบริบูรณ์ (44) ต่อทุก ๆ คน  ไม่ว่าเป็นชุมพาบาลหรือสัตบุรุษ. เหตุด้วยว่าพระสังฆราชกรุงโรม  เดชะภาระหน้าที่ของพระองค์ท่าน,  กล่าวคือ  เป็นผู้แทนองค์พระคริสตเจ้า, และเป็นชุมพาบาลของพระศาสนจักรทั้งหมด,  จึงทรงอำนาจเต็มเปี่ยม,  สูงสุด  และสากลทั่วไปต่อพระศาสนจักร และทรงสามารถใช้อำนาจนี้ได้อยู่เสมออย่างอิสระเสรีด้วย. ส่วนทำเนียบพระสังฆราชซึ่งขึ้นแทนที่ของบรรดาอัครสาวก  ในด้านอาจาริยานุภาพ  และด้านการปกครอง  ฐานะชุมพาบาล, กว่านั้นอีกทำเนียบของอัครสาวกยังคงดำรงอยู่ต่อมาในทำเนียบของบรรดาพระสังฆราชด้วย, ในเมื่อท่านร่วมอยู่กับองค์พระประมุขของท่าน กล่าวคือพระสังฆราชกรุงโรม, แต่เป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีองค์พระประมุขนี้,  ในกรณีดังกล่าวทำเนียบพระสังฆราชก็เป็นผู้รับ (Subjectum)  อำนาจสูงสุดและเต็มเปี่ยมเหนือพระศาสนจักรสากลทั่วไป และอำนาจนี้อาจนำมาใช้ได้ก็เฉพาะเมื่อพระสังฆราชกรุงโรมทรงเห็นชอบด้วยเท่านั้น,  พระสวามีเจ้าได้ทรงวางท่านซีมอนคนเดียวเป็นศิลา และเป็นต้นกุญแจของพระศาสนจักร  (เทียบ มธ. 16,18-19)  และได้ทรงแต่งตั้งท่านเป็นชุมพาบาลของฝูงแกะของพระองค์ทั้งหมด     (เทียบ ยน. 21,15 ต่อ ๆ ไป),   ส่วนภาระหน้าที่ผูกมัดและแก้ออกที่พระองค์ได้ประทานให้แก่ท่านเปโตร  (เทียบ มธ. 16,19) นั้น,  พระองค์ก็ได้ประทานให้แก่ทำเนียบอัครสาวกด้วย ในเมื่อท่านร่วมอยู่ในองค์ประมุขของท่าน,  เรื่องนี้ประจักษ์แน่ชัด (เทียบ มธ. 18,18; 28,16-20) คณะอันนี้ในฐานะที่ประสมอยู่ด้วยมากคน ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและสากลภาพของประชากรของพระเป็นเจ้าในฐานะที่รวมกันอยู่ใต้ศีรษะอันเดียว ก็แสดงให้เห็นถึงเอกภาพแห่งฝูงแกะของพระคริสตเจ้า. ในฝูงแกะนี้บรรดาพระสังฆราชผู้สัตย์ซื่อ เคารพนับถือปฐมภาวะและความเป็นหัวหน้าแห่งศีรษะของตน,  ก็ใช้อำนาจของตนโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์สัตบุรุษของตน,  กว่านั้นอีกเพื่อประโยชน์ของพระศาสนจักรทั้งหมด,  โดยที่พระจิตเจ้าประทานพละกำลังแก่โครงสร้างอันประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ นั้น และประทานความสามัคคีปรองดองให้อยู่เสมอ อำนาจสูงสุดเหนือพระศาสนจักรสากลทั้งหมด,  ซึ่งคณะพระสังฆราชมีอยู่นั้น,  นำตัวแสดงออกมาใช้ด้วยท่วงทำนองอันสง่าราศี คือโดยทางพระสังคายนาสากล พระสังคายนาสากลไม่มีวันมีขึ้น  ถ้าหากผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตรไม่ยอมรับรองว่าเป็นเช่นนั้น  หรืออย่างน้อยยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น. เป็นเอกสิทธิ์ของพระสังฆราชกรุงโรมที่จะเรียกประชุมพระสังคายนาสากล, ที่จะเป็นประธานในที่ประชุมและที่จะรับรองพระสังคายนาสากลนั้น ๆ. อำนาจอันเดียวกันนี้ของคณะร่วมกับพระสันตะปาปาก็อาจปฏิบัติได้ โดยบรรดาพระสังฆราชที่กระจายอยู่ทั่วแผ่นดินโลก, ขอเพียงให้องค์พระประมุขของคณะทรงเรียกท่านมากระทำกิจกรรมอันเป็นของคณะ, หรืออย่างน้อยให้พระองค์ท่านรับรองว่า  เป็นกิจกรรมอันรวมเป็นหนึ่งเดียวของบรรดาพระสังฆราชที่กระจัดกระจายกัน หรือพระองค์ท่านทรงยอมรับอย่างอิสระเสรี อย่างเช่นที่กิจการนั้นเป็นกิจการของคณะโดยแท้.

การติดต่อระหว่างกันและกันภายในคณะ (พระสังฆราช)
    23.  เอกภาพคณะพระสังฆราช ยังปรากฏออกมาให้เห็นได้ชัด ด้วยการติดต่อของพระสังฆราชแต่ละองค์  กับพระศาสนจักรปลีกย่อยและกับพระศาสนจักรสากล พระสังฆราชกรุงโรมในฐานะเป็นผู้สืบตำแหน่งท่านเปโตร, พระองค์ท่านทรงเป็นหลักและฐานที่ตั้งอันถาวร  และที่แลเห็นได้แห่งเอกภาพทั้งของบรรดาพระสังฆราช ทั้งของกลุ่มประชาสัตบุรุษ พระสังฆราชแต่ละองค์ก็เป็นหลักและเป็นฐานที่ตั้งอันแลเห็นได้เหมือนกัน  ของเอกภาพในพระศาสนจักรปลีกย่อยของตน ๆ, ซึ่งเป็นรูปขึ้นมาตามรูปแบบของพระศาสนจักรสากล,  และจากพระศาสนจักรปลีกย่อย มีพระศาสนจักรคาทอลิก  (= สากล)  อันหนึ่ง  แต่อันเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นพระสังฆราชแต่ละองค์ ๆ เป็นตัวแทนพระศาสนจักรของตน ๆ และพระสังฆราชทุกองค์ร่วมกับพระสันตะปาปาเป็นตัวแทนพระศาสนจักรสากลทั้งหมด. โดยสายสัมพันธ์ทางสันติ, ความรักและเอกภาพ (= ความเป็นหนึ่งเดียวกัน).

พระสังฆราชแต่ละองค์  ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพระศาสนจักรปลีกย่อย,  ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่ปกครองเป็นชุมพาบาลเหนือส่วนหนึ่งแห่งประชากรของพระเป็นเจ้าที่ท่านได้รับมอบหมาย, หาใช่เหนือพระศาสนจักรส่วนอื่น ๆ, ทั้งนี้มิใช่เหนือพระศาสนจักรสากล.  แต่พระสังฆราชแต่ละองค์, ในฐานะที่ท่านเป็นสมาชิกของคณะพระสังฆราช  และเป็นผู้แทนอัครสาวกตามคลองธรรม,  ท่านแต่ละองค์จำต้องสลวนสนใจต่อพระศาสนจักรสากล ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งและพระบัญชาของพระคริสตเจ้า.  อันความสลวนสนใจนี้  แม้ว่าท่านมิได้ปฏิบัติโดยเป็นกิจกรรมทางอำนาจอาชญาสิทธิ์ (46) ถึงกระนั้นก็เป็นคุณประโยชน์ต่อพระศาสนจักรสากลมากทีเดียว  เหตุว่าพระสังฆราชทุกองค์จำต้องส่งเสริมและปกป้องเอกภาพทางความเชื่อ  และระเบียบวินัยทั่วไปของพระศาสนจักรทั้งหมด, ท่านต้องสั่งสอนสัตบุรุษให้มีความรักต่ออคาธกายทั้งหมดของพระคริสตเจ้า, เฉพาะอย่างยิ่งต่อสมาชิก  (อวัยวะ)  ที่ยากจน, ที่เดือดร้อน,  และที่ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความยุติธรรม (เทียบ มธ. 5,10) ที่สุดท่านต้องส่งเสริมการพยายามออกแรง  ซึ่งเป็นของสาธารณะทั่วไปของพระศาสนจักรทั้งหมด  เป็นต้นเพื่อให้ความเชื่อทวีมากขึ้น, และให้ความสว่างของความจริงครบถ้วนส่องแสงไปสู่มนุษย์ทุก ๆ คน อนึ่งการที่ท่านปกครองด้วยดีต่อพระศาสนจักรเฉพาะของท่าน, ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพระศาสนจักรสากล  ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ท่านทำประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพต่อพระอคาธกายทั้งหมด  ซึ่งก็คือวรกายแห่งพระศาสนจักรทั้งหลายนั้นด้วย.

การเอาใจใส่ประกาศพระวรสารไปทั่วทั้งแผ่นดินโลก  เป็นหน้าที่ของทำเนียบชุมพาบาล ซึ่งพระ คริสตเจ้าได้ทรงมอบหน้าที่นี้เป็นส่วนรวม แก่พวกท่านทุกคนตามที่พระสันตะปาปาเชเลสติโน ได้ทรงย้ำแก่บรรดาพระบิดรแห่งพระสังคายนานครเอเฟสมาแล้วนั้น  เพราะฉะนั้นพระสังฆราชแต่ละองค์เท่าที่การปฏิบัติหน้าที่อันเฉพาะของท่านจะอำนวย, ท่านยังมีหน้าที่ต้องร่วมมือกับกิจธุระการงาน  กับบรรดาพระสังฆราชด้วยกัน และกับองค์ผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร ผู้ได้รับพระบัญชาโดยเฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติภารกิจอันใหญ่หลวง คือการประกาศพระนามของพระคริสตเจ้า  ฉะนั้น พระสังฆราชต้องช่วยเหลือสุดกำลังความสามารถต่อดินแดนธรรมทูต  (= มิสซัง)  ทางด้านการจัดหาบุคลากรคนเก็บเกี่ยว, ทางด้านการสงเคราะห์ต่าง ๆ ฝ่ายวิญญาณและฝ่ายวัตถุ,  ทั้งโดยทางตรงคือตัวท่านเอง, ทั้งโดยการปลุกใจสัตบุรุษของท่านให้มีความกระตือรือร้น ร่วมมือทำการงาน. ที่สุดบรรดาพระสังฆราช  ในสังคมสงเคราะห์ทั่วไป  ด้านเมตตาจิต, ขอให้ท่านยินดีช่วยเหลือประสาพี่น้องต่อศาสนจักรอื่น ๆ เป็นต้น พระศาสนจักรใกล้เคียงและที่ยากจนขัดสนกว่า,  ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามแบบฉบับอันดีงามที่เป็นมาแต่โบราณกาล.

พระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้าในกระแสกาลเวลาได้ดลบันดาลอัครสาวก และบรรดาผู้สืบตำแหน่งของท่านได้จัดตั้งพระศาสนจักรต่าง ๆ ในสถานที่แตกต่างกัน  พระศาสนจักรเหล่านี้รวมกันเป็นกลุ่มหลายกลุ่ม และอยู่ร่วมกันแบบอวัยวะ, โดยคงที่รักษาเอกภาพของความเชื่อ  และโดยเป็นการสถาปนาของพระศาสนจักรอันเดียวกันกับพระศาสนจักรสากล กลุ่มพระศาสนจักรที่กล่าวมานี้  มีหลักเกณฑ์ (disciplina) เฉพาะของตน,  มีจารีตพิธีของตนโดยเฉพาะ, มีมรดกด้านเทวศาสตร์และด้านจิตวิญญาณ, ในกลุ่มเหล่านี้มีบางพวก, เป็นต้นที่เรียกว่า พระศาสนจักรอัยกาโบราณ  ซึ่งเป็นประหนึ่งแม่ของความเชื่อ, ท่านได้ให้กำเนิดแก่พระศาสนจักรอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นดังธิดาของท่าน,  กับพระศาสนจักรเหล่านี้ ท่านมีความสัมพันธ์สนิทสนมกันมากทางด้านความรักในชีวิตศักดิ์สิทธิการ ทั้งในความเคารพต่อกันด้านสิทธิและหน้าที่  ตราบเท่าถึงสมัยของเราทุกวันนี้. อันความแตกต่างกันของพระศาสนจักรในท้องถิ่นต่าง ๆ  แต่ก็มุ่งหน้าหาความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเครื่องส่อแสดงให้เห็นชัด ๆ ถึงความเป็นคาทอลิก  (หรือสากลภาพ) แห่งพระศาสนจักร  ทำนองเดียวกันสภาพระสังฆราช (47) ในทุกวันนี้  ก็ทำให้สามารถช่วยเหลือกันและกันได้หลายอย่างและอย่างมีประสิทธิภาพผลิตผลด้วย, เป็นทางนำให้เกิดมีความรักต่อคณะและนำไปสู่การประยุกต์เป็นล่ำเป็นสัน.

ภาระหน้าที่ ของพระสังฆราช
    24.  บรรดาพระสังฆราช ในฐานะที่ท่านเป็นผู้สืบตำแหน่งอัครสาวก,  ท่านได้รับหน้าที่จากพระสวามีเจ้า, พระองค์ผู้ได้ทรงรับอำนาจทั้งหมดบนสวรรค์ ทั้งบนแผ่นดิน, พระองค์นี้ได้มีพระบัญชาสั่งให้พวกท่านไปสั่งสอนนานาชาติทั้งหลาย และให้ประกาศพระวรสารแก่สัตวโลกทั้งสิ้น เพื่อให้มนุษย์ทุกผู้คนบรรลุถึงความรอดโดยอาศัยความเชื่อ,  ศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป และการประพฤติปฏิบัติตามพระบัญญัติ  (เทียบ มธ. 28,18-20; มก. 16,15-16; กจ. 26,17…)  เพื่อปฏิบัติตามหน้าที่อันนี้  พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญาจะประทานพระจิตเจ้าแก่พวกอัครสาวก และในวันพระจิตตาคม พระองค์ได้ทรงส่งพระจิตเจ้ามาจากสวรรค์. อานุภาพของพระจิตเจ้า ได้บันดาลให้พวกอัครสาวกเป็นพยานของพระเยซูจนสุดแดนดิน,  ต่อหน้านานาชาติ,  ต่อหน้าบรรดาประชากรและบรรดากษัตริย์ (เทียบ กจ. 1,8; 2,1…; 9,15)  อันภาระหน้าที่อันนั้นที่พระสวามีเจ้าได้ทรงมอบหมายให้แก่บรรดานายชุมพาบาลแห่งประชากรของพระเป็นเจ้านั้น เป็นการรับใช้โดยแท้, พระคัมภีร์เรียกอย่างตรงไปตรงมาว่า  ‘disconia’  หรือบริกรรับใช้นั่นเอง  (เทียบ กจ. 1,17 และ 25; 21,19; รม. 11, 13; 1 ทม. 1,12)

การรับหน้าที่ตามกฎหมายของบรรดาพระสังฆราช อาจกระทำได้ตามประเพณีอันเป็นไปตามคลองธรรม  ซึ่งอำนาจสูงสุด และสากลของพระศาสนจักรมิได้เรียกกลับคืน หรือโดยทางกฎหมายที่มีผู้มีอำนาจอย่างที่เพิ่งกล่าวมาแต่งตั้งขึ้นหรือรับรอง, หรือโดยตรงจากผู้สืบตำแหน่งท่านเปโตรเอง ซึ่งถ้าหากท่านผู้นี้ไม่ยอมรับหรือปฏิเสธว่ามีสหพันธ์กับบรรดาอัครสาวกแล้ว, พระสังฆราชก็ไม่อาจเข้ารับหน้าที่นั้นได้.

การทำหน้าที่ด้านการสั่งสอนของพระสังฆราช
    25.  ท่ามกลางภารกิจต่าง ๆ ของพระสังฆราช  ภารกิจที่เด่นคือการประกาศพระวรสาร.  เหตุว่าพระสังฆราชเป็นโฆษกผู้ประกาศความเชื่อ,  เป็นผู้นำสานุศิษย์ใหม่ให้เข้ามาหาพระคริสตเจ้าและท่านคืออาจารย์โดยแท้  หรืออีกนัยอาจารย์ผู้ประกอบด้วยอำนาจอาชญาสิทธิ์ของพระคริสตเจ้า,  ท่านเป็นผู้ประกาศอัตถ์ความเชื่อที่ต้องยึดถือ  และต้องนำมาประยุกต์ประพฤติปฏิบัติตามนั้นสำหรับประชากรที่ท่านได้รับมอบหมาย, อาศัยความสว่างของพระจิตเจ้า  ท่านเป็นผู้กระจายแสง,  นำเอาทรัพย์สินใหม่และเก่าออกมาจากคลังแห่งพระวิวรณ์ (48) (เทียบ มธ. 13,52), ท่านเป็นผู้ทำให้ความเชื่อนั้นผลิตผล ทั้งท่านระวังระไวขจัดมิให้ฝูงแกะของท่านพลัดหลงไป (เทียบ 2 ทม. 4,1-4)  บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมสหพันธ์กับพระสังฆราชกรุงโรม, เมื่อท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์, ทุก ๆ คนต้องเคารพ  ในฐานะท่านเป็นพยานแห่งอัตถ์ความเชื่อของพระเป็นเจ้า  และความจริงคาทอลิก ;  ส่วนสัตบุรุษต้องคล้อยตามพระสังฆราชของตน ตามความเห็นที่ท่านแสดงออกในนามของพระคริสตเจ้าเรื่องความเชื่อและศีลธรรม และต้องรับปฏิบัติตามด้วยใจเคารพนอบน้อม.  อันความภักดีนอบน้อมด้านน้ำใจและด้านสติปัญญาดังนี้ ชาวเราต้องปฏิบัติเป็นอย่างพิเศษต่อพระอาจาริยานุภาพที่แท้จริง  (= ไม่ใช่ปลอมแปลง)  ของพระสังฆราชกรุงโรม, แม้เมื่อพระองค์มิได้ตรัส “จากธรรมาสน์”  (ex cathedra)  หมายความว่า ชาวเราต้องยอมรับรู้ด้วยความเคารพว่า  พระอาจาริยานุภาพของพระองค์ท่านเป็นอันสูงสุด และต้องยึดถือด้วยจริงใจต่อคำตัดสินของพระองค์ท่าน ที่แสดงเปิดเผยออกมาว่า เป็นความนึกคิดและน้ำพระทัยของพระองค์ท่าน ซึ่งเผยออกโดยลักษณะของเอกสารก็ดี, ทางการเน้นย้ำคำสอนอันเดียวกันนั้นบ่อย ๆ ก็ดี,  หรือกระทั่งโดยทำนองพูดของพระองค์ท่านก็ดี.

พระสมณะผู้ใหญ่ (praesules = พระสังฆราช)  แต่ละองค์ แม้ท่านไม่ทรงเอกสิทธิ์ความไม่รู้ผิดพลั้ง (50)  ถึงกระนั้นแม้ขณะอยู่กระจัดกระจายกันทั่วโลก  หากท่านคงรักษาความสัมพันธ์ในสหพันธ์กับเพื่อนพระสังฆราชด้วยกัน และกับองค์ท่านผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร,  เมื่อนั้นหากบรรดาพระสังฆราชสั่งสอนอย่างเป็นทางการ (51)  ในเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  และพวกท่านมีความเห็นพ้องต้องกันว่า  เป็นปัญหาที่ต้องยึดถืออย่างเด็ดขาด      เมื่อนั้นพวกท่านก็ประกาศอย่างไม่รู้ผิดพลั้ง   ซึ่งคำสอนของพระคริสตเจ้า.  เรื่องอย่างนี้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบรรดาพระสังฆราชมาร่วมประชุมพระสังคายนาสากล  พวกท่านก็ทำหน้าที่เป็นอาจารย์และผู้พิพากษาทั่วทั้งพระศาสนจักรสากลในเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม.  เมื่อนั้นชาวเราต้องน้อมรับคำนิยามตัดสินของพวกท่าน ด้วยความเคารพภักดีต่อความเชื่อ

อันความไม่รู้ผิดพลั้งนี้ องค์พระผู้ไถ่ได้ทรงพอพระทัยให้พระศาสนจักรของพระองค์ทรงไว้เป็นสมบัติของตน,  เพื่อประโยชน์ในการนิยามคำสอนเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  และความไม่รู้ผิดพลั้งนี้มีขอบเขตกว้างเท่าพระคลังของฝาก (49)  ของพระเป็นเจ้า, ซึ่งชาวเราต้งอสงวนรักษาไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์  และต้องอธิบายอย่างซื่อตรง.  ผู้ทรงไว้ซึ่งความไม่รู้ผิดพลั้ง คือพระสังฆราชกรุงโรม ในฐานะพระประมุขแห่งคณะพระสังฆราชทั้งหลาย,  เดชะพระภาระหน้าที่ของพระองค์ท่าน จึงทรงพระอภิสิทธิ์อันนี้,  ในเมื่อในฐานะทรงเป็นชุมพาบาล  และอาจารย์สูงสุดของสัตบุรุษคริสตังทั้งหลาย,  พระองค์ทรงเป็นหลักทำให้ภราดรทั้งหลายของพระองค์ตั้งมั่นในความเชื่อ (เทียบ ลก. 22,32)  พระองค์ทรงประกาศพระธรรมคำสอนเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  ด้วยการกระทำอันเด็ดขาด. เพราะฉะนั้นคำนิยามตัดสินของพระองค์ท่าน, จากตัวมันเองและไม่ใช่จากการเห็นพ้องของพระศาสนจักร, เรียกได้โดยถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่เด็ดขาด,  เปลี่ยนแปลงไม่ได้,  เพราะเหตุว่าคำนิยามนั้นประกาศออกมาโดยความอนุเคราะห์ของพระจิตเจ้า, ซึ่งพระองค์ท่านได้รับตามคำมั่นสัญญาโดยผ่านท่านเปโตร, เพราะเหตุนี้จึงไม่ต้องการความเห็นชอบอันใดของผู้อื่น, ทั้งไม่มีทางอุทธรณ์ไปยังการตัดสินอื่นใดด้วย,  เหตุว่าเมื่อนั้นพระสังฆราชกรุงโรมประกาศตัดสินออกมา  ไม่ใช่เป็นบุคคล (ธรรมดา) สามัญ  แต่ในฐานะปรมาจารย์สูงสุดของพระศาสนจักรสากลทั้งหมด,  พิเศษพรความไม่รู้ผิดพลั้งของพระศาสนจักรเอง  สถิตอยู่ในพระองค์ท่านโดยเฉพาะองค์เดียวต่างหาก,  ในความไม่รู้ผิดพลั้งอันนี้พระองค์ท่านอธิบายป้องกันพระธรรมอัตถ์ความเชื่อ. ความไม่รู้ผิดพลั้งที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญาไว้กับพระศาสนจักร  ยังสถิตอยู่ในทาง (องค์กร) (50)  ของบรรดาพระสังฆราชอีกด้วย ในคราวเมื่อท่านปฏิบัติพระอาจาริยานุภาพอันสูงสุด  ร่วมกับองค์ผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร, คำนิยามตัดสินเหล่านั้นต้องมีความเห็นพ้องต้องกันของพระศาสนจักรซึ่งจะขาดเสียมิได้เลย เพราะเป็นกิจกรรมของพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน  ซึ่งจะทรงกระทำให้ฝูงแกะของพระคริสตเจ้าทั้งหมดคงดำรงอยู่ในเอกภาพของความเชื่อ และเจริญวัฒนาต่อไป.

เมื่อพระสังฆราชกรุงโรมก็ดี หรือเมื่อ  (กาย, องค์กร)  (50)  คณะของบรรดาพระสังฆราชร่วมกับพระองค์ท่านก็ดี  กำหนดคำนิยามการตัดสินอันใด,  ท่านก็ประกาศออกมา เป็นไปตามพระวิวรณ์นั้นเอง  ที่ทุก ๆ คนจำต้องยืนหยัดตามนั้น และต้องทำตนคล้อยตามนั้นด้วย. พระวิวรณ์  (การไขแสดงของพระเป็นเจ้า) (48)  ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่สืบทอดมา  โดยทางการสืบทอดของบรรดาพระสังฆราชที่เป็นไปตามกฎหมาย และเฉพาะอย่างยิ่งโดยความสลวนเอาใจใส่ของพระสังฆราชกรุงโรมท่านเอง จึงถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน  และโดยที่พระจิตแห่งความจริงทรงส่องสว่างนำหน้า  บันดาลให้สงวนรักษาพระวิวรณ์นั้นไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์และอธิบายอย่างซื่อตรง  เพื่อการเสาะแสวงหาพระวิวรณ์โดยถูกต้อง และเพื่ออธิบายอัตถ์นั้นอย่างเหมาะสม  พระสังฆราชกรุงโรมและบรรดาพระสังฆราชตามภาระหน้าที่ของท่าน และตามความหนักเบาของกรณี,  ท่านก็ใช้วิธีการอันเหมาะสม  และใช้ความพยายามอุตสาหะ  แต่อย่างไรก็ดี  ท่านไม่รับวิวรณ์ใหม่อันเป็นสาธารณะส่วนรวมอันใดก็ตาม ว่าเป็นอยู่ในประมวลพระคลังของฝาก (49)   แห่งความเชื่อ.

หน้าที่ของพระสังฆราช  ด้านการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์
    26.  พระสังฆราชเป็นผู้ได้รับศีลอนุกรมขั้นบริบูรณ์  “ท่านเป็นผู้แจกจ่ายพระหรรษทานแห่งสังฆภาพสูงสุด” เฉพาะอย่างยิ่งในศักดิ์สิทธิการ  ซึ่งตัวท่านเองถวายหรือจัดให้มีการถวาย อาศัยพระหรรษทานอันนี้แหละ  พระศาสนจักรจึงมีชีวิตแลเจริญขึ้นเรื่อยมา. พระศาสนจักรอันนี้ของพระคริสตเจ้า เป็นอยู่โดยแท้ในบรรดากลุ่มสัตบุรุษในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสัตบุรุษที่ชอบด้วยกฎหมาย, แต่กลุ่มต่าง ๆ นี้ขึ้นอยู่กับชุมพาบาลของตน ๆ กลุ่มเหล่านี้ในพันธสัญญาใหม่เรียกชื่อว่าเหล่าพระศาสนจักร  เหตุว่าพระ    ศาสนจักรเหล่านี้ พระเป็นเจ้ามีพระดำรัสเรียกเขาในสถานที่อยู่ของเขาว่าเป็นประชากรใหม่  ซึ่งเป็นอยู่โดยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้าและตั้งอยู่ในความบริบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง  (เทียบ ธส. 1,5)  ในพระศาสนจักรเหล่านี้ บรรดาสัตบุรุษมาร่วมประชุม  ฟังการประกาศพระวรสารของพระคริสตเจ้า และมีการฉลองพระอคาธัตถ์การเลี้ยงอาหารค่ำของพระสวามีเจ้า “เพื่อด้วยอาศัยอาหารและพระโลหิตของพระสวามีเจ้า การเป็นพี่น้องกันหมดทุก ๆ คน จะได้กระชับกันขึ้น”  ในทุก ๆ กลุ่มรอบพระแท่น ที่มีพระสังฆราชเป็นผู้ประกอบบริการอันศักดิ์สิทธิ์ ก็แสดงออกเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์,  เป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของพระอคาธกาย  ซึ่งหากขาดเอกภาพนี้แล้ว,  ความรอดก็มีขึ้นไม่ได้.  ในกลุ่มเหล่านี้ แม้บ่อยครั้งเป็นกลุ่มน้อย ๆ และยากไร้  หรือเป็นกลุ่มที่ผู้คนอยู่กระจัดกระจายกัน,  พระคริสตเจ้าก็ประทับอยู่  และด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์ท่าน,  เขาก็รวมตัวกันเป็นพระศาสนจักรอันหนึ่งอันเดียว,  ศักดิ์สิทธิ์, สากลและอัครสาวกมัย. (51) เพราะเหตุว่าการเข้ามีส่วนในพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า มีแต่ผลิตผลทำให้เราเปลี่ยนรูป  กลายเป็นสิ่งที่เราเข้าไปรับประทานนั้น”

การประกอบสดุดีบูชาที่ชอบใด ๆ,  พระสังฆราชเป็นผู้นำดำเนินงาน  เพราะว่าท่านได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ถวายคารวกิจของพระคริสตศาสนาแด่พระมหิทธิศักดิ์ของพระเป็นเจ้า  และท่านจำต้องปฏิบัติตามบัญญัติของพระเป็นเจ้า  และของพระศาสนจักร,  แต่ท่านก็อาจกำหนดเรื่องปลีกย่อยต่อไปในสังฆมณฑลของท่าน,  ตามความคิดเห็นของท่านเอง.

ฉะนั้น พระสังฆราช เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา  เมื่อท่านออกแรงทำการงานเพื่อประชากร,  ท่านก็นำเอาความศักดิ์สิทธิ์อันไพบูลย์ของพระคริสตเจ้ามาหลั่งบนตัวประชากรหลาย ๆ รูปแบบ และอย่างอุดมสมบูรณ์. โดยทางพระวจนะ  (= เทศน์สอน) ท่านนำเอาฤทธิ์อำนาจของพระเป็นเจ้ามามอบให้แก่ผู้ที่เชื่อ  เพื่อให้เขาได้ความรอด (เทียบ รม. 1,16), และโดยบริการศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ซึ่งท่านใช้อำนาจของท่าน จัดระเบียบการแจกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และมีประสิทธิภาพในการผลิตผล  ท่านก็ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ไป ท่านกำหนดกฎเกณฑ์การประสาทศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป  ซึ่งศักดิ์สิทธิการอันนี้ทำให้เรามีส่วนในราชสังฆภาพ (52) ของพระคริสตเจ้า. แต่เดิมมาท่านเองเป็นผู้ประกอบศักดิ์สิทธิการพละกำลัง (53) และเป็นผู้แจกจ่ายศักดิ์สิทธิการ - อนุกรมขั้นต่าง ๆ และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์เรื่องศักดิ์สิทธิการ – การแก้บาป, ท่านเสียสละตนเอง เอาใจใส่ตักเตือนสั่งสอนสัตบุรุษให้ทำหน้าที่ส่วนของตน ด้วยให้มีความเชื่อและความเคารพในศาสนพิธีกรรม  และเป็นต้นในบูชามิสซา,  ที่สุดต่อบรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจของท่าน, ท่านต้องเจริญก้าวหน้าด้วยบำเพ็ญตนเป็นแบบอย่าง,  ระมัดระวังความประพฤติของตัวท่านเอง  ให้ห่างไกลจากความชั่วเท่าที่จะกระทำได้  และโดยอาศัยพระเป็นเจ้าทรงช่วยเหลือ  ท่านต้องหันหน้าเข้าหาความดี ทั้งนี้เพื่อตัวท่านเองจะได้บรรลุถึงชีวิตนิรันดร พร้อมกับฝูงแกะที่ท่านได้รับมอบหมายนั้นด้วย.

หน้าที่ของพระสังฆราช  ด้านการปกครอง
    27.  พระสังฆราชปกครอง  พระศาสนจักรปลีกย่อยที่ท่านได้รับมอบหมาย,  ท่านปกครองในฐานะเป็นผู้แทนและเป็นทูตของพระคริสตเจ้า.  ท่านปกครองด้วยการให้ความคิดอ่าน,  ให้กำลังใจ, และบำเพ็ญตัวท่านเองเป็นแบบอย่าง  ทั้งท่านปกครองด้วยอาชญาสิทธิ์, ด้วยอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์,  อำนาจอันนี้ท่านใช้ก็เพื่อจรรโลงเสริมสร้างฝูงชุมพาบาลของท่านให้คงดำรงอยู่ในความศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริง,  ขณะเดียวกันท่านก็ระลึกว่า : ผู้ใหญ่ต้องทำตัวเหมือนผู้น้อย และผู้บังคับบัญชาต้องเป็นดังผู้รับใช้  (เทียบ ลก. 22,26-67).

อำนาจอันนี้ท่านใช้ปฏิบัติ  เป็นการส่วนตัวในนามของพระคริสตเจ้าเป็นอำนาจเฉพาะของท่าน อำนาจปกติธรรมดา  ทั้งเป็นอำนาจโดยตรง  (คือไม่ได้ผ่านคนกลาง),  แม้ว่าตกที่สุดอำนาจสูงสุดของพระศาสนจักร (สากล) เป็นผู้บังคับบัญชา  และอาจกำหนดขอบเขตบางอย่าง ทั้งนี้เป็นเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของพระศาสนจักร  (สากล)  หรือประโยชน์ของบรรดาสัตบุรุษ.  อาศัยอำนาจอันนี้  พระสังฆราชมีสิทธิ์อันศักดิ์สิทธิ์ และมีหน้าที่ต่อเฉพาะพระพักตร์พระเป็นเจ้า, ในอันที่จะปฏิบัติต่อผู้อยู่ในปกครอง  คือ ตรากฎหมาย, ตัดสินคดีความ  และกระทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับระเบียบเรียบร้อยของคารวกิจ  และการปฏิบัติงานธรรมทูตต่าง ๆ.

พระสังฆราชได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่  ให้ทำหน้าที่เป็นชุมพาบาล  กล่าวคือให้เอาใจใส่ดูแล ทำนองเป็นปกติธรรมดาและทุก ๆ วัน ต่อฝูงแกะของท่าน.  อันพระสังฆราชนั้น เราต้องไม่ถือว่า ท่านเป็นผู้แทนของพระสังฆราชกรุงโรม, เพราะว่าตัวท่านเองมีอำนาจเฉพาะตน และเป็นความจริงอย่างยิ่ง ที่ท่านได้รับขนานนามว่าเป็นประมุข (54) , หัวหน้าของประชากรที่ท่านปกครอง.  เพราะฉะนั้น อำนาจของท่านนี้  อำนาจสูงสุด,  อำนาจสากลทั่วไป จะทำลายหาได้ไม่, ตรงกันข้าม มีแต่จะต้องยืนยัน, สนับสนุนและป้องกันอำนาจของพระสังฆราช : พระสวามีคริสตเจ้า ได้ทรงสถาปนาระบบปกครองไว้ในพระศาสนจักรของพระองค์  และพระจิตเจ้าก็ทรงธำรงรักษาไว้มิให้เสื่อมสลายไปได้.

พระสังฆราช ผู้ที่พระบิดาแห่งครอบครัวได้ทรงใช้มาครอบครองครอบครัวของพระองค์ พึงนำเอาแบบฉบับของพระชุมพาบาลผู้ดี, มาตั้งไว้ต่อหน้าต่อตา  : พระองค์ได้เสด็จมา  ไม่ใช่เพื่อให้เรารับใช้พระองค์  แต่เสด็จมาเพื่อทรงรับใช้เรา  (เทียบ มธ. 20,28 : มก. 10,45) พระสังฆราชเป็นคนมาจากมวลมนุษย์ และแปดเปื้อนอยู่ด้วยทุพพลภาพ ท่านจึงสามารถร่วมรับทุกข์กับคนโง่เขลาและคนที่หลงผิดไป  (เทียบ ฮบ. 5,1-2).  ท่านพึงไม่แหนงหน่ายรับฟังพวกผู้น้อยที่ท่านประคบประหงม  ดังเป็นลูกแท้ ๆ ของท่าน และที่ท่านชักชวนตักเตือนให้ร่วมมือร่วมใจกับท่านอย่างขมีขมัน,  ท่านจะต้องให้การต่อพระเป็นเจ้า  ด้วยเรื่องวิญญาณของพวกเขา (เทียบ ฮบ. 13,17), ฉะนั้น ท่านพึงเอาใจใส่ ด้วยอาศัยคำอธิษฐานภาวนา, ด้วยคำเทศนาสั่งสอน,  และด้วยการบำเพ็ญเมตตาจิตทุก ๆ อย่างเพื่อเขาเหล่านั้น  ทั้งเพื่อคนอื่นที่ยังไม่อยู่ในฝูงแกะเดียวกันด้วย, ท่านถือว่าเขาเหล่านี้ก็ได้รับการฝากฝังไว้กับท่าน ในพระสวามีเจ้าด้วย.  ตัวพระสังฆราชเอง ก็เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโล, เป็นลูกหนี้ของทุก ๆ คน,  พึงสรรพพร้อมจะประกาศพระวรสารแก่ทุก ๆ คน (เทียบ รม. 1,14-15), และพึงตักเตือนสัตบุรุษทั้งหลายของคนให้ออกแรงแข็งขัน  ประกอบการงานอัครสาวก และการงานธรรมทูต ส่วนบรรดาสัตบุรุษก็ต้องผูกพันกับพระสังฆราชของคน  ดุจดังพระศาสนจักรผูกพันกับพระคริสตเจ้า  และดุจดังพระเยซูคริสตเจ้าทรงผูกพันกับพระบิดาเจ้า, ทั้งนี้เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมใจกันหันหน้าเข้าหาเอกภาพ และเพื่อทุกสิ่งทุกอย่างจะได้ผลิตผลสมบูรณ์  เป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า (เทียบ 2 คร. 4,15).

พระสงฆ์ในหน้าที่เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า,  เกี่ยวกับพระสังฆราช, เกี่ยวกับสภาสงฆ์,  และเกี่ยวกับประชากรคริสตัง
    28.  พระบิดาได้ทรงอภิเษกพระคริสตเจ้า และได้ทรงใช้มายังแผ่นดินโลก  (เทียบ ยน. 10,36).  พระคริสตเจ้าได้ทรงบันดาลให้มีผู้รับส่วนแบ่งแห่งการอภิเษกและพระภารกิจของพระองค์ท่าน กล่าวคือบรรดาอัครสาวก  และบรรดาผู้สืบตำแหน่งของท่าน นั่นคือบรรดาพระสังฆราช.  ท่านเหล่านี้  โดยทำนองอันชอบ  ได้ถ่ายทอดภารกิจแห่งหน้าที่ของท่าน ที่มีหลั่นชั้นต่าง ๆ กันให้แก่บุคคลต่างกัน.  จึงเป็นอันว่า ภารกิจของพระศาสนจักรที่ได้ถูกตั้งขึ้นโดยพระเป็นเจ้า  มีหลั่นชั้นต่าง ๆ กัน และผู้ที่ได้รับปฏิบัตินั้นตั้งแต่โบราณมามีชื่อเรียกว่า พระสังฆราช,  พระสงฆ์,  และสังฆานุกร (55)  บรรดาพระสงฆ์ถึงแม้ท่านไม่มีบรรดาศักดิ์แห่งขั้นสุดยอดแห่งสมณภาพ (56) และในการใช้อำนาจท่านต้องขึ้นต่อพระสังฆราช  ถึงกระนั้นท่านก็มีความสัมพันธ์กับพระสังฆราชโดยศักดิ์ศรีของการเป็นสงฆ์ และโดยอิทธิฤทธิ์ของศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม  ท่านร่วมเป็นพระฉายาลักษณ์ของพระคริสตเจ้า  (ฮบ. 5ล1-10: 9,11-28) องค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร ท่านได้รับอภิเษกเพื่อประกาศพระวรสาร, เพื่อเป็นชุมพาบาลเลี้ยงดูสัตบุรุษ, และเพื่อประกอบคารวกิจต่อพระเป็นเจ้าในฐานะเป็นพระสงฆ์แท้แห่งพันธสัญญาใหม่. ท่านมีส่วนร่วมตามระดับชั้นของท่าน  ในพระภารกิจของพระคริสตเจ้า,  องค์คนกลางแต่ผู้เดียว (1 ทม. 2,5), ท่านประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าแก่ทุก ๆ คน.  ท่านปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์  เฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจศักดิ์สิทธ์การสดุดีบูชา.  ในพิธีกรรมอันนี้ท่านสวมองค์พระคริสตเจ้า และประกาศอคาธัตถ์ของพระองค์, ท่านนำเอาคำภาวนาของสัตบุรุษมาร่วมกับบูชาขององค์พระประมุขของพวกเขา, ท่านบันดาลให้อุบัติขึ้นใหม่  และประยุกต์บูชาแต่อันเดียวของพันธสัญญาใหม่, กล่าวคือบูชาขององค์พระคริสตเจ้า  พระองค์นี้ได้ทรงถวายพระองค์ท่านเองเป็นบูชาอันนิรมลแด่พระบิดา  ครั้งเดียวสำหรับเรื่อยไป  (เทียบ ฮบ. 9,11-28)  ท่านต้องปฏิบัติดังนี้ในบูชามิสซาเรื่อยไป  จนกว่าจะถึงวันพระสวามีเจ้าเสด็จมา (เทียบ 1 คร. 11,2-5)  สำหรับสัตบุรุษที่เป็นทุกข์กลับใจและสำหรับคนป่วยไข้  พระสงฆ์ทำหน้าที่สูงส่งยิ่ง  คือ สมานไมตรีให้คืนดีและเป็นผู้ทุเลาบรรเทา,  ท่านนำเอาความต้องการของสัตบุรุษมาถวายแด่พระเป็นเจ้าพระบิดา  (เทียบ ฮบ. 5,1-4),  ตามอำนาจและขอบเขตที่ได้รับ,  พระสงฆ์ปฏิบัติภารกิจของพระคริสตเจ้า,  องค์ชุมพาบาล, และองค์พระประมุข  ต่อครอบครัวของพระเป็นเจ้า พระสงฆ์กระตุ้นเตือนให้มีภราดรภาพอันหนึ่งอันเดียวกัน, ท่านรวบรวมพวกเขา อาศัยพระคริสตเจ้าในพระจิตเจ้าให้เข้ามาเฝ้าพระบิดาเจ้า. เพื่ออยู่กับฝูงแกะ พระสงฆ์กราบนมัสการพระบิดาด้วยจิตใจอันสัตย์จริง  (เทียบ ยน. 4,24). ที่สุด พระสงฆ์ออกแรงทำการงานด้วยวาจาและคำพร่ำสอน  (เทียบ 1 ทม. 5,17), ท่านเชื่อสิ่งที่ท่านพบเห็นในการสอนและการรำพึงเรื่องพระบัญญัติของพระเป็นเจ้า,  ท่านสอนสิ่งที่ท่านเชื่อ และปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านสอน.

พระสงฆ์  คือ ผู้ทำงานร่วมที่มองเห็นการณ์ไกลของระดับชนชั้นพระสังฆราช,  เป็นผู้ช่วยเหลือและเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของพระสังฆราช, มีกระแสเรียกเพื่อรับใช้ประชากรของพระเป็นเจ้า.  พระสงฆ์พร้อมกับพระสังฆราช ร่วมกันจัดตั้งสภาสงฆ์ ซึ่งมีหน้าที่รับใช้หลายอย่างต่างกัน. ในชุมชนของบรรดาสัตบุรุษตามท้องที่ต่าง ๆ ,  พระสงฆ์ เพราะกลมเกลียวเดียวกันกับพระสังฆราชด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ และเพราะมีจิตใจอันสูงส่งจึงทำให้มองเห็นภาพของพระสังฆราช เหมือนกับว่าตัวท่านเองปรากฏอยู่ในชมรมนั้น ๆ ก็ว่าได้.  พระสงฆ์ตามหน้าที่ส่วนตน,  ท่านรับเอาภาระหน้าที่และความสลวนของพระสังฆราชมาใส่ใจตน  ทั้งปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ทุก ๆ วัน. ภายใต้อำนาจของพระสังฆราช   พระสงฆ์ยังเป็นผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นผู้ปกครองส่วนหนึ่งของแกะของพระสวามีเจ้า ตามที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดูแล, ท่านทำให้พระศาสนจักรสากลปรากฏขึ้นเด่นชัดในถิ่นที่ท่านอยู่, ท่านช่วยเหลือแข็งขันในการสร้างพระวรกายทั้งครบของพระคริสตเจ้า (เทียบ อฟ. 4,12).  ท่านมุ่งมั่นอยู่เสมอต่อคุณประโยชน์ของลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, จึงพยายามออกแรงในด้านงานอภิบาลทั่วทั้งสังฆมณฑลของท่าน, กว่านั้นอีก  ของทั่วทั้งพระศาสนจักร (สากล) ทีเดียว  เพราะการมีส่วนในสังฆภาพและภาระหน้าที่ดังนี้,  พระสงฆ์ทั้งหลาย,  จงรับรู้และจงถือว่า พระสังฆราชเป็นบิดาแท้ ๆ ของตน  และจงเชื่อฟังท่านด้วยความเคารพนอบน้อม,  ส่วนบรรดาพระสังฆราชก็จงถือว่า พระสงฆ์ผู้ร่วมงานเป็นลูกของตนและเป็นสหาย  ให้เหมือนอย่างพระคริสตเจ้า, ทรงเรียกสานุศิษย์ของพระองค์  ไม่ใช่ว่าเป็นทาส แต่ทรงเรียกว่าเป็นสหาย (เทียบ ยน. 15,15). ฉะนั้น เพราะเหตุที่มีศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม  และมีภาระหน้าที่อันเดียวกัน,  พระสงฆ์ทุก ๆ องค์,  ทั้งพระสงฆ์ประจำท้องถิ่น, ทั้งพระสงฆ์นักบวช, ทั้งหมดรวมกันเข้าอยู่ในองค์กร (กาย)  ของพระสังฆราช และต่างรับใช้เพื่อคุณประโยชน์ของทั่วทั้งศาสนจักรตามกระแสเรียกและพระหรรษทานของตน ๆ.

เดชะอำนาจการรับศักดิ์สิทธิการ - อนุกรมร่วมกัน  และเพราะต่างมีหน้าที่เหมือน ๆ กัน พระสงฆ์  ทุก ๆ องค์จึงมีความสัมพันธ์ต่อกันด้วยภราดรภาพอันลึกซึ้ง, ภราดรภาพนี้มักเผยออกมาให้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาเอง   ในการที่ท่านต่างช่วยเหลือกันและกัน   ทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุ,    ทั้งทางด้านการอภิบาลสัตบุรุษและด้านส่วนตัว, ในการร่วมชุมนุมกัน, ในการมีชีวิตอยู่ร่วมกัน  ในการร่วมการงานกัน  และร่วมแผ่เมตตาจิตด้วยกัน.
ส่วนสัตบุรุษ เขาคือผู้ที่พระสงฆ์ได้ให้กำเนิดทางด้านวิญญาณขึ้นมา โดยทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป   และโดยการให้การอบรมสั่งสอน   (เทียบ 1 คร. 4,15; 1 ปต. 1,23),   ขอให้พระสงฆ์จงเห็นแก่พระคริสตเจ้า  เอาใจใส่ต่อสัตบุรุษ  ดุจดังท่านเป็นบิดาด้วยเถิด. ขอให้พระสงฆ์บำเพ็ญตน เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะ  (1 ปต. 5,3) ขอให้ท่านปกครองและรับใช้กลุ่มสัตบุรุษในท้องถิ่นของท่าน จนกระทั่งกลุ่มดังกล่าวนี้  สมได้รับนามที่หมายถึง ประชากรของพระเป็นเจ้าประชากรเดียวและประชากรทั้งครบ.  นั่นคือพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า  (เทียบ 1 คร. 1,2; 2 คร. 1,1 และทั่ว ๆ ไป)  ขอให้พระสงฆ์จงระลึกว่า  ตัวท่านต้องประพฤติดีงาม เป็นกิจวัตรประจำวันอยู่เสมอ, ท่านต้องสลวนห่วงใยเป็นทางให้สัตบุรุษ, และผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ,  ให้ประชากรคาทอลิกและผู้มิใช่คาทอลิก,  ท่านก็ต้องแสดงออกทำตัวเป็นพยานยืนยันแก่คนทุกคน เรื่องชีวิตอันแท้จริง (เรื่องความจริงและชีวิต) (56 ทวิ) และในฐานะเป็นชุมพาบาลที่ดี,  ท่านต้องตามหาเขา (เทียบ ลก. 15,4-7) คือ  บุคคลผู้ได้รับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปเข้ามาอยู่ในพระศาสนจักรแล้ว แต่เขาห่างเหินไปจากการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ หรือที่ร้ายกว่าอีก  เขาได้ละทิ้งความเชื่อไปเสียเลย

สมัยของชาวเราทุกวันนี้ มนุษยชาติ  ยิ่งวันยิ่งรวมตัวกัน, มีเอกภาพด้านการเมือง,  เศรษฐกิจและทางสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาพระสงฆ์จะสนใจรวมตัวกันเข้าช่วยเหลือ  ภายใต้การนำของพระสังฆราชและของสมเด็จพระสันตะปาปา  ช่วยขจัดการแตกแยกในทุก ๆ วิถีทาง  ทั้งนี้ เพื่อนำมนุษยชาติทั้งสิ้น ให้เข้าสู่เอกภาพแห่งครอบครัวของพระเป็นเจ้า.

สังฆานุกร
    29.  ในลำดับฐานานุกรม  สังฆานุกรสังกัดอยู่ในขั้นต่ำสุด.  สังฆานุกรได้รับการปกมือ “ไม่ใช่เพื่อเข้าสู่สังฆภาพ แต่เพื่อบริการรับใช้”  เพราะว่าพระหรรษทานประจำศักดิ์สิทธิการ บันดาลให้ผู้รับมีกำลัง เพื่อรับใช้ประชากรของพระเป็นเจ้าในด้านบริการพิธีกรรม, ด้านพระวาจา  และด้านการแผ่เมตตาจิต.  เมื่อผู้ทรงอำนาจอันชอบสั่ง, สังฆานุกรก็มีหน้าที่ประสาทศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปอย่างสง่า,  เก็บรักษาและแจกจ่ายพระสดุดีบูชา,  เป็นพยานในนามของพระศาสนจักร และอำนวยพรในศักดิ์สิทธิการ - สมรส, นำศักดิ์สิทธิการเสบียงไปส่งให้แก่ผู้ใกล้จะตาย, อ่านพระคัมภีร์ให้สัตบุรุษฟัง  และเทศนาสั่งสอนประชากร, ทำบริการสิ่งคล้ายศักดิ์สิทธิการทั้งหลาย, เป็นประธานในงานศพ  ตลอดจนงานปลงศพ. สังฆานุกรได้รับอภิเษกสำหรับหน้าที่บริการ แผ่เมตตาจิตและในการรับใช้, ขอให้เขาจงระลึกถึงคำเตือนใจของนักบุญโฟลิการ์ปที่ว่า : “จงมีใจเมตตากรุณา, จงขยันหมั่นเพียร และจงดำเนินตามความจริงของพระสวามีเจ้า  ผู้ทรงกลายเป็นผู้รับใช้ของทุก ๆ คน.”

หน้าที่ต่าง ๆ ดังกล่าวมา จำเป็นอย่างยิ่งแก่ชีวิตพระศาสนจักร แต่ในปัจจุบัน  ระเบียบแบบแผนของพระศาสนจักรลาตินยังคงบังคับอยู่ จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามในแต่ละแคว้นของเขต.  สำหรับอนาคตนั้นสังฆานุกรภาพ (57)  อาจจะรื้อฟื้นขึ้นใหม่ให้เป็นตำแหน่งขึ้นหนึ่งโดยเฉพาะ และเป็นขั้นถาวรของพระฐานานุกรม.  เป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราชประจำท้องถิ่นต่าง ๆ เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเห็นชอบแล้วที่จะพิจารณาเพื่อเห็นแก่การอภิบาลสัตบุรุษ  และตัดสินลงไปว่าการมีสังฆานุกรดังกล่าว  เป็นการเหมาะสมหรือหาไม่ และควรมีในท้องถิ่นใด.  เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเห็นชอบแล้ว, สังฆานุกรภาพดังกล่าวก็อาจจะประสาทให้แก่สัตบุรุษ  ผุ้มีวัยวุฒิ  แม้กระทั่งผู้ที่กำลังมีครอบครัวอยู่ตลอดจนบรรดาคนหนุ่มที่มีความเหมาะสมกับหน้าที่.  สำหรับกรณีหลังนี้ กฎหมายเรื่องการถือโสดยังต้องใช้บังคับอยู่.

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries