มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

วัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์

 
 
ตั้งอยู่เลขที่ 1318  ซอยวานิช 2  ถนนโยธา
แขวงตลาดน้อย  เขตสัมพันธวงศ์  กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2266-4849, 0-2236-2727
โทรสาร 0-2639-6884
 
“วัดกาลหว่าร์” เป็นวัดเก่าแก่มีความเป็นมาจะเรียกได้ว่าพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว จากประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า เป็นวัดคาทอลิกคู่กรุงรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้
 
เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ต้องรู้จักที่มาของ “คาทอลิก” ในประเทศไทยเสียก่อน ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อยุธยา ก่อนที่พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศจะมาถึงนานพอดู และพวกนักบวชคณะต่างๆ เช่น คณะดมีนีกัน และคณะอื่นๆ จึงเข้ามาภายหลัง และแต่ละคณะก็จะมีการสร้างวัด และบ้านของตนเอง
 
ครั้นเมื่อทางสันตะสำนัก (กรุงโรม) ประกาศแต่งตั้งประมุขมิสซังสยาม อันได้แก่ คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส จึงทำให้ชาวโปรตุเกสแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งยอมรับอำนาจการปกครองของบรรดาประมุชมิสซังฯ ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และช่วยเหลือกิจการของมิสซัง เช่น ที่บ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟ (บ้านเณรแห่งแรกในกรุงสยาม ที่อยุธยา) และบ้านเณรใหญ่  อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ยอมรับอำนาจของประมุขมิสซัง และชาวฝรั่งเศส จะยอมรับเฉพาะพระสงฆ์ชาวโปรตุเกส  
 
ปี ค.ศ.1767 ทหารพม่าบุกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา พวกพระสงฆ์โปรตุเกสยอมมอบตัวแก่ทหารพม่า ส่วนพระสังฆราช และพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสถูกจับเป็นเชลย วัดนักบุญยอแซฟถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกยึดไปมากมาย บรรดาคริสตังชาวโปรตุเกสและชาวญวณจำนวนหนึ่งที่รอดจากการถูกจับ หรือถูกฆ่า ได้พากันอพยพลงมายังบางกอก (กรุงเทพ) โดยล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
 
กลุ่มชาวโปรตุเกส ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราชประมุขมิสซัง ได้นำเอาทรัพย์สมบัติไปด้วย และในบรรดาสมบัติดังกล่าวนั้น มีรูปปั้นมีค่ายิ่งสองรูป รูปแรก คือ รูปแม่พระลูกประคำ (คือรูปที่ใช้แห่ทุกๆ ปี ในโอกาสฉลองวัดในปัจจุบันนี้) อีกรูปหนึ่ง คือ รูปพระศพของพระเยซูเจ้า (ซึ่งใช้แห่กันทุกปี ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จนปัจจุบัน)
 
ปี ค.ศ.1786 พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น สำหรับสร้างวัด และในปี ค.ศ.1787 วัดก็สร้างเสร็จ เป็นวัดแบบเรียบง่าย สร้างด้วยไม้ ยกพื้นสูง เพราะที่ดินแปลงนี้เคยถูกน้ำท่วม มีห้องประชุมใหญ่สำหรับสัตบุรุษ และห้องซาคริสเตีย ด้านข้างมีบ้านพักพระสงฆ์ขนาดย่อม สำหรับเจ้าอาวาสที่จะมาพัก เพราะคริสตังเหล่านี้หวังว่า สักวันหนึ่งเขาจะมีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาปกครอง วัดนี้ชื่อมีว่า วัดกาลหว่าร์ ตามชื่อรูปพระตายหรือกาลหว่าร์ ซึ่งพวกเขานำมาจากอยุธยา คริสตังชาวโปรตุเกสเหล่านี้ขอให้  พระอัครสังฆราชแห่งเมืองกัว ส่งพระสงฆ์โปรตุเกสมาปกครองพวกตน แต่ทางเมืองกัวไม่ยอมส่งโดยมีเหตุผลว่าพวกเขามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือพระสังฆราชชาวฝรั่งเศส ซึ่งพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้ง ดังนั้น คริสตังโปรตุเกสจึงค่อยๆ กลับใจยอมรับอำนาจการปกครองของมิชชันนารีฝรั่งเศสในที่สุด เพราะจนถึงเวลานั้นที่วัดกาลหว่าร์ยังไม่มี พระสงฆ์องค์ใดมาทำมิสซาโปรดศีลได้ 
 
ปี ค.ศ.1820 พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินเพื่อตั้งสถานกงสุลโปรตุเกส ต่อมาภายหลังสถานกงสุลนี้ ได้รับฐานะเป็นสถานทูต ท่านกงสุลขอให้พระเจ้าอยู่หัวประกาศว่าที่ดินค่ายแม่พระลูกประคำ เป็นที่ดินพระราชทานแก่ประเทศโปรตุเกส พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 2) จึงทรงมีพระบรมราชโองการตอบว่าที่ดินผืนนี้มิได้ พระราชทานให้รัฐบาลโปรตุเกส แต่ให้คริสตังโปรตุเกสสร้างวัดได้ และดังนั้นที่ดินนี้จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซัง   โรมันคาทอลิก ไม่ว่าใคร ชาติใด ที่เป็นประมุขของมิสซัง พระสังฆราชฟลอรังส์ จึงเข้าปกครองวัดกาลหว่าร์และทำมิสซาอย่างสง่าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1822 เพื่อเป็นการเทิดเกียรติแด่พระนางมารีอา  
 
ชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนนี้ค่อยๆ อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินในที่ต่างๆ จึงมีจำนวนลดลง เรื่อยๆ และมีชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยแทน นานๆ ครั้งจึงจะมีส่งพระสงฆ์ไทยมาทำมิสซา และโปรดศีลให้  ปี ค.ศ. 1837 คุณพ่ออัลบรังด์ มาอยู่ที่วัดกาลหว่าร์ เพราะสะดวกสำหรับการติดต่อแพร่ธรรมในหมู่ชาวจีน  ท่านได้สร้างห้องโถงใหญ่ ด้วยไม้ไผ่ มุงแฝก สำหรับใช้เป็นสถานที่แพร่ธรรมให้แก่คริสตังใหม่และคริสตังชาวจีน เนื่องจากวัดเก่าที่ชาวโปรตุเกสสร้างเมื่อปี ค.ศ.1887 นั้นผุพังไปเกือบหมดแล้ว พระสังฆราชกูรเวอซี จึงสั่งให้รื้อ และสร้างใหม่ เป็นวัดครึ่งอิฐครึ่งไม้ ทำพิธีเสกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1839 โดยพระคุณเจ้าปัลเลอกัว ซึ่งเป็นพระสังฆราชผู้ช่วย และตั้งชื่อวัดว่าวัดแม่พระลูกประคำ  แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ มาจนถึงปัจจุบันนี้ 
 
 
 
ในสมัยคุณพ่อดือปองด์ เป็นเจ้าอาวาส (ค.ศ.1846-1864)  ในปี ค.ศ.1858 เพื่อเป็นการลบล้างการทุรจาร  วัดกาลหว่าร์ ซึ่งเกิดจากการมาจุดประทัดในวัด พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1864 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่วัดกาลหว่าร์ ทำลายบ้านพักพระสงฆ์ และหลักฐานทุกอย่างของวัดกาลหว่าร์รวมทั้งหลักฐานและบัญชีศีลศักดิ์สิทธ์ของวัดทุกวัดที่เปิดตั้งแต่สมัยคุณพ่ออัลบรังด์ 
 
ใน ปี ค.ศ. 1890 คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาส ได้รื้อวัดกาลหว่าร์ซึ่งมี อายุ 50 กว่าปีแล้ว และทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือหลังปัจจุบัน เสกศิลาฤกษ์  วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1891โดยพระสังฆราชเวย์ และเสกวัดใหม่ในปี ค.ศ.1897 ในสมัยคุณพ่อเปอตีต์ เป็นเจ้าอาวาส วัดหลังนี้ได้มีโอกาสใช้เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีอภิเษกคุณพ่อแปร์รอสเป็นพระสังฆราชเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1910 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งผู้แทนมาร่วมพิธีด้วย
 
ในสมัยคุณพ่อกิยูเป็นเจ้าอาวาสได้จัดฉลองครบรอบ 25 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1922 จัดฉลองครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1947 ในสมัยคุณพ่อโอลลิเอร์ เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยคุณพ่ออาแมสตอย เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการบูรณะซ่อมแซมวัด ทาสีทั้งภายนอกและภายในวัดให้ดูสวยงามและสง่าขึ้นและได้จัดฉลองครบรอบ 60 ปีของวัดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1957 
 
คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู (พระอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ และพระคาร์ดินัล) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 13 ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1965 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ.1965 นับเป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระสงฆ์คนไทยองค์แรกของวัดกาลหว่าร์ และนับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าอาวาสทุกองค์ของวัดกาลหว่าร์ก็ได้ถูกมอบหมายให้ดับพระสงฆ์ไทย นับเป็นความภาคภูมิใจประการหนึ่งของวัดนี้ 
 
เหตุการณ์ที่น่าสนอีกประการหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในระหว่างปีค.ศ. 1983-1989 นั่นคือ คุณพ่อได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงสภาพของตัววัดซึ่งกำลังทรุดโทรมมาก ให้มีความสวยงามขึ้น โดยพยายามรักษารูปแบบตลอดจนลวดลายของเดิมไว้ให้มากที่สุด
 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน ค.ศ.1987 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลประกาศนียบัตรอาคารอนุรักษ์ดีเด่นให้แก่คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ซึ่งเข้ารับพระราชทานรางวัลในฐานะเจ้าอาวาส นับว่าเป็นความภูมิใจไม่เฉพาะของวัดและสัตบุรุษวัดกาลหว่าร์เท่านั้น แต่ยังเป็นความภูมิใจของพระศาสนจักรในประเทศไทยที่มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะที่มีคุณค่าต่อประเทศเทศชาติด้วย
 
ในสมัยที่คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ.1989-1994 วัดกาลหว่าร์ก็กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่สัตบุรุษใหม่ ซึ่งโครงการนี้พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้ให้บริษัทสันติพิทักษ์เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานด้วย 
 
 
 
วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เลือกตั้งสภาภิบาลชุดใหม่ ได้คุณสุวรรณชัยเป็นผู้อำนวยการ
 
วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 อัญเชิญพระรูปพระแม่มารี ขึ้นประดิษฐานหน้ามุขวัด
 
วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ต้อนรับพระสมณทูต พอล ชาง อิน นัม เป็นการส่วนตัว
 
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เป็นวันตรุษจีน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  ได้เสด็จเยี่ยมชมวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) เวลา 18.00 น. พระองค์ทรงเยี่ยมชมวัด อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ และของใช้ในพิธีกรรม ทรงมีปฏิสันฐาน  และสนทนาเป็นกันเองกับพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช คณะสงฆ์ นักบวช สภาภิบาล ครู และนักเรียน
 
ปี ค.ศ. 2014 บูรณะพระรูปพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมลอุ้มพระกุมารเยซู (พร้อมจัดพิมพ์หนังสือกระบวนการบูรณะ)
 
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ที่ประชุมสภาอภิบาล ภายใต้การนำของคุณพ่อประเสริฐ ตรรกเวศน์ ได้มีมติเห็นชอบในการบูรณะวัด เนื่องในโอกาสฉลองวัดครบรอบ 120 ปี ในปี ค.ศ. 2017 โดยให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษา สำรวจสภาพ เพื่อหาแนวทางการบูรณะตามแนวทางของ UNESCO โดยเริ่มต้นศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 - มีนาคม ค.ศ. 2017
 
 
ตารางมิสซา

วันอาทิตย์ / SUNDAY

ภาษาไทย /  THAI

08.00, 19.30

ภาษาจีน / CHINESE

10.00

 

 

จันทร์ - เสาร์
 MON. - SAT

19.30
 19.30

 
 
รายชื่อเจ้าอาวาสและผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดแม่พระลูกประคำ(กาลหว่าร์)
 
 

ลำดับที่

รายชื่อเจ้าอาวาส

 

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

ระยะเวลา

1.

คุณพ่ออัลบรังด์

 

 

1837 - 1846

 

 

 

คุณพ่อดือปองค์

1841 - 1846

 

 

 

คุณพ่อวาซัล

1843 -1844

2.

คุณพ่อดือปองค์

 

 

1846-1864

 

 

 

คุณพ่อดานิแอล

1846 -1864

3.

คุณพ่อดานิแอล

 

 

1864-1874

 

 

 

คุณพ่อด๊อนต์

1869 -1869

4.

คุณพ่อซาลาแด็ง

 

 

1874-1878

 

 

 

คุณพ่อเยิง

1874-1874

5.

คุณพ่อกลอมเบต์

 

 

1875-1875

6.

คุณพ่อราบาร์แดล

 

 

1878-1878

7.

คุณพ่อฟ๊อก

 

 

1878-1878

8.

คุณพ่อแดซาลส์

 

 

1878-1907

 

 

 

คุณพ่อฟ็อก

1879-1882

 

 

 

คุณพ่อบาร์บิเอร์

1880 -1881

 

 

 

คุณพ่อกิยู

1885-1888

 

 

 

คุณพ่อยวง เฮียง นิตตะโย

1888 -1904

 

 

 

คุณพ่อเบเนดิกโต

1894-1894

 

 

 

คุณพ่อกีโยม กิ๊น ดาครู้ส

1894-1900

 

 

 

คุณพ่อริชารด์

1897-1907

 

 

 

คุณพ่อยอแซฟ ชิน

1898-1902

 

 

 

คุณพ่อมัทธิอัส บุญ

1899-1936

 

 

 

คุณพ่อฟูยาต์

1903-1906

 

 

 

คุณพ่อแบลลามี

1906-1910

9.

คุณพ่อเปอตีต์

 

 

1907-1910

 

 

 

คุณพ่อแปร์รัวย์

1908-1908

 

 

 

คุณพ่อเอเตียน(แอสเตวัง)

1907-1910

10.

คุณพ่อฟูยาต์

 

 

1910-1914

 

 

 

คุณพ่อดานิแอล

1911-1917

 

 

 

คุณพ่อซมแลต์

1912

11.

คุณพ่อกิยู

 

 

1915-1937

 

 

 

คุณพ่อยออากิม

1920-1940

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณพ่อชันลิแอร์

1927-1937

 

 

 

คุณพ่อซีริล (ศิรินทร์)

1933-1942

12.

คุณพ่อชันลิแอร์

 

 

1937-1938

 

 

 

คุณพ่อบอนิฟาส

1938 -1940

13.

คุณพ่อโอลลิเอร์

 

 

1938-1951

14.

คุณพ่อยออากิม

 

 

1941-1942

 

 

 

คุณพ่ออังแซลม์(เสงี่ยม ร่วมสมุห์)

1941-1941

 

 

 

คุณพ่อเอมิล

1941-1941

 

 

 

คุณพ่อกัสต็อง

1941-1941

 

 

 

คุณพ่อคาบริแอล

1941-1941

 

 

 

คุณพ่อจีง้วน

 

 

 

 

คุณพ่อพิจิตร กฤษณา

 

 

 

 

คุณพ่อบุญไทย สิงห์เสน่ห์

1943-1945

 

 

 

คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า

1943-1945

 

 

 

คุณพ่อสวัสดิ์ กฤษเจริญ

1944-1945

 

 

 

คุณพ่อเทโอฟิล ยวง กิจบุญชู

1945-1947

 

 

 

คุณพ่อเดอซูซา

1946-1948

 

 

 

คุณพ่อเปแร็ง

1947-1947

 

 

 

คุณพ่ออาแมสต็อย

1947-1951

 

 

 

คุณพ่อบุญไทย สิงห์เสน่ห์

 

 

 

 

คุณพ่อเบรย์

 

 

 

 

คุณพ่อดานิแอล(ธานี วงศ์พานิช)

 

15.

คุณพ่ออาแมสต็อย

 

 

1951-1958

 

 

 

คุณพ่อวิลเลียม ตัน

1951-1951

 

 

 

คุณพ่อลังเยร์

1952-1957

 

 

 

คุณพ่อซัลดือเบแฮร์

1951-1957

 

 

 

คุณพ่อถาวร กิจสกุล

1953-1958

 

 

 

คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ

1956- 1957

 

 

 

คุณพ่อมัลแซรต์

1957-1957

 

 

 

คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ 

1957-1960

16.

คุณพ่อราแป็ง

 

 

1956-1958

 

 

 

คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ

1962-1967

 

 

 

คุณพ่อลาบอรี

1958-1958

 

 

 

คุณพ่อมัลแซรต์

1958-1958

 

 

 

คุณพ่อแปร์เรย์

1959-1960

 

 

 

คุณพ่อฮ้าช

1961-1962

 

 

 

คุณพ่อแปร์เรย์

1961-1964

 

 

 

คุณพ่อแก็งตารด์

1963-1963

 

 

 

คุณพ่อบีโยต์

1964-1965

17.

คุณพ่อฮั้วเซี้ยง(ฯพณฯ พระคาร์ดินัล)

 

 

1965-1965

 

 

 

คุณพ่อทัศไนย คมกฤส

1965-1968

18.

คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า

 

 

1965-1973

 

 

 

คุณพ่อแปร์เรย์

1967-1967

 

 

 

คุณพ่อสนัด วิจิตรวงศ์

1968-1968

 

 

 

คุณพ่ออดุล คูรัตน์

1968-1970

 

 

 

คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย

1970-1970

 

 

 

คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม

1972-1973

19.

คุณพ่อแปร์เรย์

 

 

1973-1973

20.

คุณพ่อวิลเลียม ตัน

 

 

1973-1974

21.

คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์

 

 

1974-1979

 

 

 

คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย

1975-1976

 

 

 

คุณพ่อประสาน คูรัตนสุวรรณ

1976-1979

22.

คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ

 

 

1979-1983

 

 

 

คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา

1979-1981

 

 

 

คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน

1979-1979

 

 

 

คุณพ่อไชโย กิจสกุล

1981- 1983

23.

คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย

 

 

1983-1989

 

 

 

คุณพ่อสุทศ ประมวลพร้อม

1983-1985

 

 

 

คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร

1985-1987

 

 

 

คุณพ่อวิชัย บุญเผ่า

1987-1993

 

 

 

คุณพ่อวิทยา คู่วิรัตน์

1987-1990

24.

คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน

 

 

1989-1994

 

 

 

คุณพ่อประยุทธ ศรีเจริญ

1993-1994

25.

คุณพ่ออดุลย์ คูรัตน์

 

 

1994-1995

 

 

 

คุณพ่อศุภศิลป์ สุขศิลป์

1994-1995

26.

คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม

 

 

1995-2000

 

 

 

คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์

1995-1996

 

 

 

คุณพ่อจินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล

1995-1997

 

 

 

คุณพ่อทนุ เจษฎาพงศ์ภักดี

1997-2001

27.

คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา

 

 

2000-2004

 

 

 

คุณพ่อสุชาติ อุดมสิทธิพัฒนา

2001-2005

28.

คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์

 

 

2004-2009

 

 

 

คุณพ่อธนากร เลาหบุตร

2005-2006

 

 

 

คุณพ่ออนุศักดิ์ กิจบำรุง

2006-30 เม.ย.2011

29.

คุณพ่อไพทูรย์  หอมจินดา

 

 

2009-2014

 

 

 

คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์   

2010-2013

 

 

 

คุณพ่ออิทธิพล ศรีรัตนะ

2011- 2017

30.

คุณพ่อประเสริฐ ตรรกเวศม์

 

 

2014-2016

31.

คุณพ่อดิศักดิ์ กิจบุญชู

   

2016-2019

      คุณพ่อศวง วิจิตรวงศ์

2017-2023

32. คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม    

2019-ปัจจุบัน

 

 

33.

 

 

คุณพ่อ ฃปิยะชาติ มะกรครรภ์

  คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

2023-ปัจจุบัน

 

2024 - ปัจจุบัน

 

 

แผนที่การเดินทาง

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown