มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

สาส์นจากพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เนื่องในโอกาสวันฆราวาส

 

หนังสือพิมพ์อุดมสาร  รายสัปดาห์ฉบับที่ 43 ปรัจำวันที่22-28 ตุลาคม 2017

สาส์นวันท่องเที่ยวโลก 2017 วันที่27 กันยายน

สมณกระทรวงส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ทั้งครบ

สาส์นวันท่องเที่ยวโลก ค.ศ. 2017
27 กันยายน

การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เครื่องมือเพื่อการพัฒนา
     1. ในโอกาสวันท่องเที่ยวโลกประจำ ปี ซึ่งฉลองทุกๆ วันที่ 27 กันยายน พระศาสนจักรพร้อมกับสังคมโลก ยืนยันชัดเจนว่าทุกๆ กิจการของมนุษย์ ต้องดำเนินการด้วยใจแบบลูกศิษย์ของพระเยซูเจ้า
เป็นครั้งแรก ที่สาส์นนี้ได้ออกมาโดยสมณกระทรวงส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ ทั้งครบ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจหน่วยงานนี้
ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี2017 เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อการพัฒนา องค์กรท่องเที่ยวโลกของสหประชาชาติ(UNWTO)จึงถือโอกาสนี้เลือกหัวข้อเดียวกันสำ หรับปีนี้คือ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา
     2. เมื่อเรากล่าวถึงการท่องเที่ยว เรากำลังพูดถึงกิจการหลักซึ่งมีความสำคัญ ทั้งในเรื่องจำ นวนผู้มีส่วนร่วม (คนเดินทาง และคนทำ งาน) และสำหรับผลประโยชน์มากมายที่สังคมได้รับ (ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม) แต่ในขณะเดียวกันก็นำความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายๆ พื้นที่ตามที่องค์กรท่องเที่ยวโลกของสหประชาชาติได้ประเมินไว้ล่าสุดเมื่อปี 2016 จำนวนนักท่องเที่ยวนานาชาติมีประมาณ 1.2 พันล้านคน จากข้อมูลทั่วโลก 10 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และ 7 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวม การส่งออก รวมทั้งหนึ่งในสิบเอ็ดงานนานาชนิด นั้นจัดอยู่ในแวดวงการท่องเที่ยว ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงกลายเป็นส่วนสำ คัญของเศรษฐกิจในแต่ละรัฐ รวมทั้งนโยบายที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ครอบคลุม และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในโลก 3. การท่องเที่ยวสามารถเป็นเครื่องมือเพื่อการเติบโต และการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากไร้ อย่างไรก็ตาม ตามหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรการพัฒนาที่แท้จริง “ไม่ได้ขึ้นกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น” ในความเป็นจริงแล้ว “จำ เป็นต้องมีการพัฒนาดีในทุกๆ ด้าน” นั่นคือ “มันต้องผลักดันการพัฒนา ในตัวมนุษย์แต่ละคน ต้องพัฒนามนุษย์ทั้งครบ ดังที่มีเขียนไว้ในสาส์นเรื่องการพัฒนาประชาชาติ สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 เน้นถึงความจำ เป็นต้องส่งเสริมเรื่อง“มนุษย์ทั้งครบ” ซึ่งประกอบด้วยความจำ เป็นทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ เพื่อการพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักดิ์ศรีของมนุษย์ 20 ปีหลังจากนั้น คือในปี1987 องค์การสหประชาชาติได้นำ เสนอคำจำ กัดความของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า “เป็นการพัฒนาที่ตอบความต้องการความจำ เป็นของปัจจุบัน และความสามารถของผู้คนแห่งอนาคตที่จะทำ เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา” สำ หรับพระศาสนจักร ความหมายของคำว่ามนุษย์ทั้งครบ ในการแสดงออกถึงการพัฒนา คือ การรวมพื้นฐานทุกด้านของมนุษย์ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และชีวิตฝ่ายจิต ประกอบเข้าด้วยกันเป็นบุคคลมนุษย์ ซึ่งเป็นแนวความคิดขององค์การสหประชาชาติในเรื่องความยั่งยืนด้วย

     สำนักงานองค์กรท่องเที่ยวโลกของสหประชาชาติ(UNWTO)ได้นำความคิดนี้มาส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งหมายถึงการมีความรับผิดชอบ ไม่ทำลาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบริบททางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้น ยังต้องมีความเคารพเป็นพิเศษต่อคนในท้องถิ่น และคุณค่าของสิ่งที่พวกเขารับสืบทอดมาในขอบเขตของการปกป้องศักดิ์ศรีส่วนบุคคล และสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสและผู้อ่อนแอ ช่วงเวลาวันหยุด ไม่ควรถูกใช้เป็นข้ออ้าง เพื่อเลี่ยงความรับผิดชอบ หรือเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว ในความเป็นจริง มันเป็นเวลาที่ต้องให้ความเคารพ ซึ่งทุกคนสามารถเพิ่มคุณค่าแก่ชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจะสามารถเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจในยามยากลำบากได้ ถ้ามันเป็นผู้นำโอกาสใหม่ๆ เข้ามา และไม่ได้เป็นที่มาของปัญหา

     ในการตั้งปณิธานของปี2017 องค์การสหประชาชาติได้เห็นถึง “บทบาทสำคัญของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ว่าเป็นเครื่องมือที่ดีสำ หรับการเอาชนะความยากจนการปกป้องสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเสริมให้ผู้หญิงและเด็กมี พ ลั งทางด้านเศรษฐกิจ คือมิติสามด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะในการพัฒนาประเทศ” ด้วยความหมายนี้ มิติทั้งสามของความยั่งยืนก็ได้รับการส่งเสริม คือ ด้านนิเวศวิทยา มุ่งสู่การทำนุบำรุงระบบ
นิเวศด้านสังคม เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ประสานกลมกลืนกับชุมชน และด้านเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม ในบริบทของกำ หนดการ ในปี2030 ปีสากลแห่งการท่องเที่ยวนี้จะเป็นโอกาสสนับสนุนให้รัฐบาลในการออกนโยบายที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ด้านอุตสาหกรรมมีการดำ เนินการในภาคปฏิบัติที่ดีและทำ ให้เกิดความสำ นึกดีในบรรดาผู้บริโภค และคนในท้องถิ่น เน้นการบูรณาการการท่องเที่ยวให้มีผลดีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
     4. ในความสำนึกของพระศาสนจักร “พระศาสนจักรถูกเรียกให้ส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ทั้งครบในทุกๆ กิจการ ภายใต้แสงสว่างของพระวรสาร” เราคริสตชนต้องการการอุทิศตน เพื่อทำ ให้การท่องเที่ยวสามารถช่วยพัฒนาประชาชน เป็นพิเศษสำ หรับผู้ด้อยโอกาส ดังนั้นพวกเราจึงนำ เสนอการไตร่ตรอง เรามองพระเจ้าเป็นผู้สร้างจักรวาล และบิดาของมวลมนุษย์ และพระองค์ทรงทำ ให้เราเป็นพี่น้องกัน เราต้องเอาใจใส่ให้ความสำคัญต่อบุคคลมนุษย์ เราเห็นถึงศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เราต้องนำเสนอหลักการของการเป็นครอบครัวเดียวกัน มีชะตากรรมและเป้าหมายชีวิตเดียวกัน เป็นเป้าหมายสากลของการทำ ความดีบนโลกมนุษย์ไม่ได้แสดงตัวเป็นนาย แต่เป็น “ผู้รับใช้ผู้มีความรับผิดชอบ” ในการสร้างสำนึกว่าแต่ละคนเป็นพี่น้องกัน เราจะเข้าใจ “หลักการของการให้เปล่า และตรรกะของการให้” และหน้าที่ของเราในการสร้างความสามัคคี ความยุติธรรม และความรักเมตตาสากล
     เวลานี้ให้เราถามตัวเองว่า เราจะนำ หลักการเหล่านี้มาสู่ภาคปฏิบัติในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างไร อะไรจะเป็นผลกระทบสำ หรับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการคนงาน รัฐบาล และชุมชนท้องถิ่น เป็นการไตร่ตรองแบบเปิด เราขอเชิญทุกคนที่มีส่วนร่วม ให้ใส่ใจอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมการลงมือปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวทางดำ เนินชีวิต ไปสู่หนทางใหม่ของการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น

     พระศาสนจักรได้อุทิศตน ด้วยการริเริ่มนำ การท่องเที่ยวไปสู่การพัฒนาบุคคลทั้งครบ นี่เป็นเหตุผลที่เราพูดถึงการท่องเที่ยวที่สัมผัสกับมนุษย์ ซึ่งอยู่บนฐานของโครงการการท่องเที่ยวชุมชน การประสานความร่วมมือ ความสามัคคีปรองดอง และความภาคภูมิพึงพอใจในมรดกทางศิลปะ ซึ่งเป็นแนวทางของความงามที่แท้จริง

     สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงกล่าวกับองค์การสหประชาชาติโดยเน้นถึง “บ้านของทุกคนทั้งชายหญิง ที่ต้องพยายามสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในความเป็นพี่น้องกันอย่างเป็นสากล และความเคารพกันในความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตมนุษย์ของชายและหญิงทุกคน […] บ้านร่วมกันของทุกคนทั้งชายและหญิงนี้ต้องถูกสร้างขึ้นบนฐานของความเข้าใจในความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งสร้างตามธรรมชาติ” ขอให้เราดำ เนินชีวิตอุทิศตนในแสงสว่างของพระดำ รัสและความมุ่งหมายนี้!

นครรัฐวาติกัน, 29 มิถุนายน 2017
พระคาร์ดินัลปีเตอร์ คอดโว แอพพีอา เติร์กสัน
สมณมณตรีเจ้ากระทรวงฯ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์อุดมสารปีที่ 41 ฉบับที่ 38 ประจำวันที่ 17-23 กันยายน 2017

สาสน์อภิบาลสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย โอกาสวันระลึกถึงนักบุญมารีอา กอแรตตี

สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 51

สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสวันเยาวชนโลกครั้งที่ 32 ค.ศ. 2017

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown