มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

ความแตกต่างระหว่าง ” มิสซัง” กับ สังฆมณฑล

เมื่อเราเข้าใจคำว่า “มิสซังสยาม” คำนี้แล้ว ก็ควรจะหันมาสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง มิสซัง กับ อัครสังฆมณฑล ด้วย

ในวันที่ 18 ธ.ค. 1965 โดยอาศัยแรงสนับสนุนจาก ฯพณฯ John Gordon และฯพณฯ Angelo Pedroni สมณทูตวาติกันประจำคาบสมุทรอินโดจีน โรมได้แต่งตั้งและแบ่งแยกมิสซังสยามออกเป็นแขวงการปกครอ งของพระศาสนจักร 2 แขวงด้วยกัน คือแขวงกรุงเทพฯและแขวงท่าแร่-หนองแสง คำว่าแขวงนี้ใช้คำภาษาอังกฤษว่า Ecclesiastical Province หรืออาจเรียกเป็น Metropolitans ก็น่าจะได้ Metropolitan แห่งกรุงเทพฯ มีสังฆมณฑลอื่น ๆ ประกอบด้วย สังฆมณฑลราชบุรี, สังฆมณฑลจันทบุรี ,สังฆมณฑลเชียงใหม่ ส่วน Metropolitan แห่งท่าแร่-หนองแสง มีสังฆมณฑลอื่น ๆ ประกอบด้วย สังฆมณฑลอุดรธานี, สังฆมณฑลอุบลราชธานี และสังฆมณฑลนครราชสีมา

โปรดสังเกตว่า เขตจันทบุรีถูกยกขึ้นมาเป็นสังฆมณฑลแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 1944 และสังฆมณฑลอุบลราชธานีก็อยู่ในระดับสังฆมณฑลแล้วตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 1953 สังฆมณฑลที่ถูกยกขึ้นมาในวันที่ 18 ธ.ค. 1965 จึงมีเพียง 6 สังฆมณฑลดังกล่าวข้างบนแล้ว ส่วนสังฆมณฑลนครสวรรค์ได้รับการยกขึ้น เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 1967 และสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 1969

หนังสือพิมพ์ทางการของรัฐวาติกัน (L’ OSSERVATORE ROMANO) ได้ประกาศว่าพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 โปรดให้สถาปนาพระฐานานุกรมในประเทศไทย (Ecclesiastical Hierarchy) ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 1965 และในหนังสือประวัติพระศาสนจักรไทยได้กล่าวไว้ว่า ข่าวนี้ย่อมจะยังความยินดีอย่างใหญ่หลวงมาสู่ชาวคาทอลิกในประเทศไทย เป็นอันว่าพระศาสนจักรในประเทศไทยได้ย่างขึ้นสู่ระดับเดียวกันกับพระศาสนจักรในประเทศที่เจริญแล้ว แน่นอน ความยินดีนี้ย่ อมต้องมีเหตุผลจึงจะดีใจกันได้ เหตุผลที่ว่านี้ก็คงไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากว่าเป็นเพราะต้องมีความแตกต่างกันระหว่าง การปกครองมิสซังสยามโดย Apostolic Vicar กับ การปกครองของสังฆมณฑลโดยมีพระสังฆราชเป็นประมุข

การเปลี่ยนระบบการปกครองจากมิสซัง มาเป็น สังฆมณฑล หากจะให้เปรียบเทียบก็อาจเปรียบได้เหมือนกับ กรุงศ รีอยุธยาที่ถูกปกครองโดยกษัตริย์ที่กษัตริย์พม่าแต่งตั้งขึ้นหลังจากชนะกรุงศรีอยุธยาแล้ว กับการปกครองโดยอิสระโดยกษัตริย์ไทย การเปรียบเทียบแบบนี้อาจจะไม่ดีพอ แต่ผมยกขึ้นมา ก็เพื่อให้เข้าใจจริงขึ้นเท่านั้น และเพื่อให้เป็นหลักเป็นเกณฑ์สักหน่อย ผมก็จะขอยกเอากฎหมายของพระศาสนจักรฉบับที่ 1983 มาแสดงถึงความแตกต่างกันนี้สักเล็กน้อย ความจริงผมน่าจะเอากฎหมายฉบับที่ 1917 มาใช้มากกว่า แต่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย กฎหมายฉบับใหม่นี้ก็น่าจะเหมาะสมมากกว่า



1. การปกครองแบบ Apostolic  Vicariate และ Apostolic Prefecture

กฎหมายมาตรา 371 กล่าวไว้มีใจความว่า Apostolic  Vicariate และ Apostolic Prefecture ได้แก่ส่วนที่แน่นอนส่วนหนึ่งของประชากรของพระซึ่งยังไม่ได้ถูกยกขึ้นเป็นสังฆมณฑล เนื่องจากสภาพแวดล้อมเฉพาะเจาะจง และซึ่งถู กมอบหมายให้อยู่ในการอภิบาล Apostolic Vicar หรือ Apostolic Prefect ซึ่งปกครองส่วนนี้ในนามของพระสันตะปาปา

โดยทั่ว ๆ ไปแล้วก่อนที่ดินแดนมิสซังจะกลายเป็นสังฆมณฑล ก็จะมีขบวนการดังต่อไปนี้ คือ

ก. จัดตั้งขึ้นเป็นมิสซัง (Mission)

ข. จากนั้น มิสซังจะถูกยกขึ้นเป็น Apostolic Prefecture (ในกรณีนี้ มิสซังราชบุรีได้เคยถูกยกขึ้นมาถึงขั้นนี้ โดยพระสงฆ์ ซาเลเซียน. (Salesian)

ค. และที่สุด จะกลายมาเป็น Apostolic  Vicariate ปกครองโดย Tilular Bishop

ในกฎหมายปี 1917 ( Cann. 293-311) จะกล่าวถึงฐานะทางกฎหมายของ Apostolic  Vicar และ Prefect ไว้อย่างชัดเจน แต่ในกฎหมายใหม่นี้มิได้กระทำเช่นนี้ อาจเป็นเพราะการปกครองแบบนี้ในสมัยปัจจุบันเกือบจะหมดไปแล้วก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายใหม่ก็พูดถึงการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของพวกผู้แทนพระสันตะปาปานี้ว่าพวกเขาจะกระทำหน้ าที่ในนามของพระสันตะปาปาเอง ตามปกติแล้ว จะทำงานผ่านทางสมณกระทรวง Propaganda Fide และเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ กฎหมายมาตรา 495 และ 502 ยังสั่งให้มีสภามิสซัง (Missionary  Councils) เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานแพร่ธรรมด้วย พวกผู้แทนพระสันตะปาปา มีหน้าที่ที่จะต้องมาเคารพหลุมศพ น.เปโตร และเปาโล พร้อมทั้งปรากฏตัวต่อหน้าพระสันตะปาปาตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเรียกกันว่า Ad Limina Visit. (Can. 400 ) แต่หากไม่สามารถมาได้ ก็ สามารถส่งผู้แทนซึ่งอาจเป็นคนหนึ่งคนใดที่อาศัยอยู่ที่โรมแล้วทำหน้าที่แทนได้ ส่วน Apostolic  Prefect ไม่ถูกบังคับให้ทำตามกฎหมายข้อนี้ (ในกรณีของสังฆมณฑล หากสังฆราชมา Ad Limina Visit ไม่ได้ ผู้แทนจะต้องเป็นบุคคลในคณะสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในสังฆมณฑลนั้น ๆ ) ความจริงยังมีกฎหมายอีกหลายข้อ ที่กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้แทนพระสันตะปาปา แต่ยังไม่จำเป็นต้องกล่าวอย่างละเอียดทั้งหมด

2. การปกครองแบบ สังฆมณฑล (Diocese)

กฎหมายมาตรา 369 กล่าวไว้มีใจความว่า สังฆมณฑลได้แก่ส่วนหนึ่งของประชากรของพระ ซึ่งถูกมอบหมายให้อยู่ภายใต้การอภิบาลของสังฆราช โดยความร่วมมือของคณะสงฆ์ เพื่อว่าการร่วมมือร่วมใจภายใต้นายชุมภาบาลผู้นี้ในองค์พระจิตเจ้า โดยผ่านทางพระวรสาร และศีลมหาสนิทจะเป็นการสร้างพระศาสนจักรเฉพาะ ในที่ซึ่งจะสามารถพบพระศาสนจั กรหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์สากล และสืบจากอัครสาวก ของพระเยซูคริสตเจ้าได้

พระสังฆราชของสังฆมณฑลเป็นผู้แทนของพระศาสนจักรสากล (ไม่ใช่ของพระสันตะปาปาเท่านั้น) ทำงานร่วมกับคณะสงฆ์และมีฝ่ายงานต่าง ๆ เป็นระบบระเบียบ บทบาทและหน้าที่ของพระสังฆราชมีกำหนดไว้ในกฎหมายใหม่นี้อย่างกว้างขวางมาก จะเรียกว่า เป็นพระสันตะปาปาของสังฆมณฑลก็ไม่น่าจะผิดจากภาคปฏิบัติมากนัก

เราสามารถพูดได้ว่า การที่เขตหนึ่ง ๆ ถูกยกขึ้นมาอยู่ในระดับสังฆมณฑล ต้องถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะมีการปกครองที่อิสระมากกว่า มีระบบระเบียบ มีศักดิ์ศรีสูงมาก ไม่ถูกถือว่าเป็น Subdivision หรือส่วนย่อยของพระศาสนจักรสากลอีกต่อไป แต่เป็นผู้แทน หรือภาพเหมือนของพระศาสนจักรสากล

เรื่องสุดท้ายที่ผมขอพูดสั้น ๆ ก็คือ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 1965 นั่นเอง กรุงเทพฯ และ ท่าแร่-หนองแสง ได้ถูกยกขึ้นเป็น Metropolitans พระสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ และท่าแร่-หนองแสง ถูกยกขึ้นมาเป็น อัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑล การเป็นอัครสังฆมณฑลนี้มีความสำคัญอย่างไรและมีความหมายอย่างไร และอัครสังฆมณฑลมีบทบาทและหน้าที่ต่อสังฆมณฑลอื่น ๆ ที่ประกอบอยู่ในเขต Metropolitan ของตนอย่างไร ผมขอแนะนำผู้ที่สนใจให้ไปอ่านดูวิทยานิพนธ์ปริญญาเ อกของคุณพ่อวิชา  หิรัญญการ ซึ่งได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ความหมายของคำ ประวัติความเป็นมา หน้าที่และปัญหาที่เกิดขึ้น. วิทยานิพนธ์ เล่มนี้จะพบได้ที่ห้องสมุดสำนักพระสังฆราช (หากไม่มีก็น่าจะมีไว้) หรือมิฉะนั้นก็ต้องขอจากคุณพ่อวิชา คำว่า Metropolitan นี้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในสังคายนาสากลที่เมือง Nicea ในปี 325 ใน Canon. ที่ 4 สิทธิและหน้าที่ในการเรียกและเป็นประธานการประชุม Synod เยี่ยมเยียนสังฆมณฑลที่อยู่ในแขวงของตน และคอยดูแลเรื่อ งการเลือกสังฆราชใหม่ด้วย ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง อำนาจของ Metropolitan เคยมีมากจนกระทั่งว่าเกิดปัญหากับพระสันตะปาปาว่าอำนาจของ Metropolitan เป็นอำนาจเดียวกันกับของพระสันตะปาปาหรือไม่ ในที่สุดฝ่ายพระสันตะปาปาก็ชนะ และชัยชนะนี้ยังสามารถเห็นได้โดยอาศัย Pallium ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา และพระสันตะปาปาก็จะมอบอำนาจให้แก่ บรรดาพระสังฆราชโดย Pallium นี้ แน่นอนอำนาจของ Metropolitan มีมากพอสมควร ทีเดียว แต่หลายครั้งอำนาจนี้ก็ถูกขัดขวางเพราะไปกระทบกระเทือนคนอื่นด้วย บางครั้งก็อาจถูกถือว่าเป็นการก้าวก่ายในงานของสังฆมณฑลอื่น ๆ เป็นต้น ในหน้า 123 ของวิทยานิพนธ์ของคุณพ่อวิชา ได้มีการเสนอแนะว่า คงจะเป็นการดีกว่าหากจะให้ Metropolitan เข้ามามีส่วนในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาด้วย นี่ก็ย่อมแสดงว่า การที่ได้รับการยกขึ้นมาเป็น Metropolitan ต้องมีความหมายพิเศษในพระศาสนจักร

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้รับเกียรตินี้คือถูกยกขึ้นมาเป็น Metropolitan มาถึง 25 ปีแล้ว ย่อมต้องมีความหมายเป็นพิเศษ สำหรับชาวเราทุกคน เราจะพูดว่า อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯเป็นแม่ของอัครสังฆมณฑลอื่น ๆ ในประเทศไทยก็ไม่ผิดอะไร นอกจากนี้ประมุขของอัครสังฆมณฑลปัจจุบันก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระคาร์ดินัล คือ พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จึงมีความสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี นี้อย่างมีความหมายมากที่สุด

ผมหวังว่าผู้อ่านที่ติดตามจนถึงบรรทัดนี้ คงจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง ไม่มากก็น้อย สำนวนภาษาการเขียนของผมมีข้อบกพร่องมากมาย ก็ขออภัยด้วย ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในบทความนี้ ก็ขอความกรุณาจากผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วย สุดท้ายนี้เบื้องหลังแท้จริงของความเป็นมาของอัครสังฆมณฑลได้แก่ ความใจกว้าง ความเสียสละ ของบรรดามิชชันนารีทั้งหลาย ให้เรามอบคำภาวนาและน้ำใจของเราแด่พวกท่านเหล่านั้นด้วย

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown