มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

28 มิถุนายน นักบุญ อีเรเนอุส

 

 

 

นักบุญ อีเรเนอุส

 

     อีเรเนอุส  เกิดที่เมืองสมีร์นา ประมาณปี 130  และได้รับการศึกษาอบรมจากนักบุญ โปลีการ์ป ซึ่งเป็นศิษย์ของนักบุญ ยอห์น อัครธรรมทูต โดยนัยนี้ท่านจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลสุดท้ายในแวดวงของบรรดาอัครธรรมทูต ท่านเป็นนักเทววิทยาคนแรกของพระศาสนจักรเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระคัมภีร์และธรรมประเพณีของพระศาสนจักรรวมทั้งได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีในด้านวรรณคดีและปรัชญาคลาสสิก ( ปรัชญากรีก ) ท่านเป็นคนฉลาด รู้จักศึกษาดูท่าทีและชั้นเชิงของคู่ต่อสู้เสียก่อน แต่ที่สำคัญท่านเป็นผู้มีความรู้สึกนึกคิดแบบคริสตชนที่ลึกซึ้ง 

ที่เมืองลีอองส์ ท่านได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์และต่อมาก็ได้เป็นพระสังฆราชสืบตำแหน่งแทนนักบุญ โฟตินุส ซึ่งเป็นมรณสักขีในปี 177

     ภารกิจที่สำคัญของท่านก็คือ ต่อสู้กับความหลงผิดของพวกนิยมลัทธิ Syncretism และ Gnosticism โดยท่านได้ประกาศว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นพระบุคคลในประวัติศาสตร์จริงๆ เป็นผู้ไขแสดงสูงสุดของพระบิดาเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่ และพระศาสนจักรเองก็ได้เจริญชีวิตพระคริสตเจ้าและได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งไปหาพระคริสตเจ้า และจะต้องได้รับการปฏิรูปปรับปรุงในพระองค์ซึ่งเป็นอาดัมคนใหม่ และพระนางมารีอาทรงเป็นเอวาคนใหม่

     ชื่อของท่านก็บอกอยู่แล้วว่าหมายถึง “สันติ” (Irenaeus = Pacificus) ท่านได้พยายามเป็นคนกลางที่คอยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรตะวันออกกับพระศาสนจักรตะวันตก (โรม) นอกจากจะเป็นมรณสักขีแล้ว ท่านยังสมที่จะได้รับเกียรติเป็น “นักปราชญ์” ของพระศาสนจักรอีกด้วย

     ทุกๆ ครั้งที่เรามาร่วมกันถวายบูชามิสซาก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงห่วงสัมพันธ์ของสายโซ่ที่ไม่เคยได้ขาดตอนเลย ตั้งแต่การทานเลี้ยงอาหารค่ำของพระคริสตเจ้าเรื่อยมาจนถึงบรรดาอัครธรรมทูต บรรดาปิตาจารย์ ฯลฯ จนกระทั่งถึงพวกเราในสมัยนี้ ปังและเหล้าองุ่นซึ่งเป็นผลผลิตของแผ่นดินและของการทำงานของมนุษย์ได้เข้ามามีส่วนในบูชามิสซาก็เพื่อที่จะเปลี่ยนให้เป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า  ทั้งสองอย่างนี้เป็นผลแรกของการสร้างใหม่อันเป็นเครื่องหมายของการเป็นเจ้านายที่พระผู้เสด็จกลับคืนชีพมีต่อสสารและจิตซึ่งจะได้รับการเปิดเผยให้เห็นก็ต่อเมื่อ “ฟ้าใหม่และแผ่นดินใหม่” จะปรากฎขึ้น

 

คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ

 

1. ขอให้เราได้มีจิตสำนึกถึงพลังของธรรมประเพณีที่แท้จริงซึ่งเราได้รับสืบทอดต่อกันมาจากบรรดาอัครธรรมทูต 

2. ให้เราได้ร่วมกันถวายบูชามิสซาด้วยจิตตารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระสันตะปาปาและพระสังฆราช

3. ขอให้บูชามิสซา-ศีลมหาสนิทจงเป็น “การชิดสนิทสัมพันธ์” กับทุกๆ คน ที่มาร่วมถวายบูชามิสซากับเรานี้

4. ขอให้บูชามิสซานี้เป็นรูปแบบที่นำหน้าอันแสดงให้เราเห็นถึง “การ สร้างใหม่” ในวาระสุดท้าย

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown