มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

ความเชื่อ เป็น แสงสว่าง

วันที่    2 มกราคม 2014        ฮีบรู 11: 1-3, 8-10
                        ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงสิ่งที่มองไม่
                    เห็น  เพราะความเชื่อนี้ คนในสมัยก่อนจึงได้รับการยกย่องในพระคัมภีร์
                    เพราะความเชื่อ เราจึงเข้าใจว่าพระวาจาของพระเจ้าเนรมิตสร้างโลก ดังนั้น
                    สิ่งที่มนุษย์มองเห็นได้จึงเกิดขึ้นจากสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น

                        ......เพราะความเชื่ออับราฮัมเชื่อฟังเมื่อพระเจ้าทรงเรียกให้ออกเดิน
                    ทางไปสู่สถานที่เขาจะได้รับเป็นมรดก เขาออกเดินทางไปโดยไม่รู้ว่าจะไปไหน                    เพราะความเชื่อ  เขาพำนักในดินแดนแห่งพระสัญญาเยี่ยงคนต่างด้าวในต่าง
                    แดน เขาอาศัยอยู่ในกระโจมเช่นเดียวกับอิสอัคและยาโคบผู้เป็นทายาทร่วม
                    พระสัญญาเดียวกัน  เขารอคอยนครที่มีรากฐานซึ่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ออกแบบ
                    และทรงก่อสร้าง       
                   

                                          
                               


       


                             สวัสดีปีใหม่ 2557
                   

            ------ 2 ------

ความเชื่อ เป็น แสงสว่าง

    ความเชื่อ เป็นแสงสว่างที่ให้ความกระจ่างแก่สติปัญญาของมนุษย์ และแยกเราคริสตชนให้แตกต่างจากนักปรัชญา  อย่างเช่น  การรู้ที่จะใช้เหตุผลที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์  สำหรับคริสตชน มีความรู้อยู่สามระดับ คือ:

(  i   )    ความรู้ด้านประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การเห็น การฟัง การรับรู้รส การดมกลิ่น การสัมผัส
(sense knowledge)
(  ii  )    ความรู้จากสติปัญญา  ความรู้นี้ได้มาจากการใช้สมอง การใช้ปรีชาญาณ การใช้ความคิด 
การใช้เหตุผล (rational knowledge)
(  iii )    ความรู้ด้านจิตใจ (เหนือธรรมชาติ) เป็นความรู้ที่เราได้จากความเชื่อ (Faith)  จากการเผยของพระเจ้า  ความรู้ข้อนี้เหนือกว่าสองข้อแรก (spiritual/supernatural knowledge)

    ความรู้จากความเชื่อของเรา เผยให้เรา รู้ รู้จัก และ รักพระเจ้า  และทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับพระเจ้า  ที่เราไม่สามารถรู้ได้ด้วยการใช้ความรู้จากสติปัญญา จากเหตุผลเพียงอย่างเดียว

    ความเชื่อ บอกให้เรารู้ว่า  พระเจ้าทรงชีวิต (living God) ในพระตรีเอกภาพแต่นิรันดร.....  พระบิดาทรงสร้างสรรพสิ่ง พระบุตรทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่กู้เรา และผู้ที่เชื่อในพระองค์ก็จะเป็นพระบุตรของพระเจ้า  พระจิตประทับในตัวเรา ประทานพระพรให้ชีวิตเราศักดิ์สิทธิ์และเลือกทำแต่ความดีงามในชีวิต     นี่เป็นความรู้พื้นฐานที่พระเจ้าทรงเผยให้เราโดยทางพระหรรษทานแห่งความเชื่อ

    ความเชื่อนำเราให้ลงลึกในความจริงมากกว่าระดับของการใช้เหตุผล  ความเชื่อให้ข้อสอนด้านศีลธรรมที่เที่ยงตรง มั่นคง และ บริบูรณ์มากกว่าจริยธรรมตามสัญชาติญาณธรรมชาติ

                            โดย   คุณพ่อ  Adolphe Tanquerey SS
                            Magnificat Year of Faith Companion
 







......./3
----- 3 ------

ข้อคิดสำหรับคริสตชน (ตอนที่ 8 – ตอนจบ)

o    พระเจ้าทรงเผยมนุษยชาติใหม่ (new humanity)  ในองค์พระเยซูคริสต์ นั่นคือ การสรร (เลือก) และ สรรค์สร้าง  เราทุกคนแต่ละคนให้เหมือนพระเยซูคริสต์  และนี่คือ  การ  “ปั้นแต่ง” (to form-formation)  วิธีการพัฒนาฟื้นฟูชีวิตมนุษย์ที่พระองค์  (พระเยซู)   ให้เป็นแบบอย่างแก่เราโดยการดำเนินชีวิตในฐานะมนุษย์แท้บนโลกนี้                                      
การ  “ปั้นแต่ง” (ที่เราใช้คำว่า “การฝึกอบรมต่อเนื่อง” (on-going formation)  ในปัจจุบัน) จึงหมายถึง  “การมอบตัวเรา  (อำเภอใจ)  ให้คล้อยตาม  ‘พระองค์ผู้มารับบังเกิดเป็นมนุษย์  ถูกตรึงกางเขน และทรงกลับฟื้นคืนพระชนมชีพ’  (being conformed to the unique form of the One who became human, was crucified and is risen)  ผู้นั้นก็คือ  พระเยซูคริสต์”  และวิถีการดำเนินชีวิตมนุษย์ใหม่ของพระเยซูคริสต์นั้นไม่ใช่อยู่ลำพังคนเดียว  แต่พระองค์ทรงเรียก คนอื่น/ทุกคน ให้ติดตามพระองค์  พระองค์ทรงเชิญให้เรา  “เข้าไปดู”  (พระเยซูเจ้าตรัสว่า  “มาดูเถิด”  เขาจึงไปเห็นที่ประทับของพระองค์ – ยน. 1: 39)  พระองค์ใช้จริยธรรมเชิงการเผยแก่ชาวอิสราเอล   แก่อัครสาวกทุกคน ท่ามกลางชุมชน ท่ามกลางการรวมตัวกันเพื่อการภาวนา  Qahal = Ecclesia  = Church = วัด 

และนี่จึงเป็นวิถีแนวทางปฎิบัติของคริสตชนในรุ่นปัจจุบันเช่นกัน   เราแต่ละคนในฐานะผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์และสมาชิกพระศาสนจักรต้องถามตัวเราเองว่า  “เราต้องทำอะไรบ้าง?”

    +   เราต้องทำสิ่งที่จำเป็น  และเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องทำขณะนั้น
         กับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นขณะนั้น
+   เราต้องทำสิ่งที่  “พระเจ้าในพระเยซูคริสต์”  ทรงกระทำในขณะนั้นเพื่อให้ชีวิต
      มนุษย์เป็นชีวิตมนุษย์ที่แท้จริง”   (to make and keep human life human)

                +   เราต้องทำสิ่งที่  ฟื้นฟู  เปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  ให้ผลดีขึ้นในภายภาคหน้า
         เพื่อเป็นมนุษย์มิติใหม่  ในสภาพชีวิตที่กลับคืนชีพเยี่ยงพระเยซูคริสต์
         (eschatologically charged and transformed in accord with the new
         humanity which takes its form from the risen Christ).

    +   เราต้องนำพระเยซูคริสต์ให้ประทับอยู่ ณ ทุกที่  ทุกเหตุการณ์  เพื่อเป็นชุมชน
         ของพระเจ้า  กลุ่มคนที่เอื้ออาทรช่วยเหลือกันและกัน (koinonia)

    +   เราต้องฟันฝ่า มุมานะ อดทน ต่อทุกเหตุการณ์  ทุกสถานภาพ ทุกวิกฤตของชีวิต
         ที่เป็นเสมือนการเจริญรอยตามชีวิตของพระเยซูคริสต์  นั่นคือ:

-    มีชีวิตของพระคริสต์
-    แบกกางเขนพระคริสต์
-    ตายบนกางเขนของพระคริสต์
-    กลับเป็นขึ้นมา
-    มีชีวิตใหม่ในพระคริสต์                                          ……./4
------ 4 ------
  
         ด้วยความสำนึก และวิถีชีวิตเยี่ยงนี้  วิกฤติชีวิต  (the crisis of reality)
      ก็จะเป็นไฟที่เผาแท่งเหล็กให้ร้อนเป็นสีแดงและเนื้อเหล็กอ่อนนุ่ม  และวางบน
      “ทั่งตีเหล็ก” (anvil)  ที่  “จริยธรรมเชิงศีลธรรมและจริยธรรมเชิงการเผย  “จะตี
      ให้สนิมเหล็กหลุดออกไป  แผ่นเหล็กนี้จะได้เป็นแผ่นเหล็กบริสุทธิ์  และถูกตีขึ้น
      รูปแบบใหม่ตามที่เจ้าของต้องการ”  คำเปรียบเทียบนี้ตีความหมายได้ว่า  วิกฤต
      ของชีวิตทำให้ชีวิตบริบูรณ์ ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นชีวิตใหม่  ความเป็นจริงของชีวิต
      จึงนำชีวิตให้รอดพ้นได้ (the crisis perfects;  it sanctifies; and it makes
       new.  Reality redeems)

o    เพื่อที่จะให้จริยธรรมสัมพันธ์กับพระเจ้าได้  เราจึงจำต้องฟังพระเจ้า  ฟังพระวาจาพระเจ้าในองค์พระบุตร 
ในพระคัมภีร์  ในพระวรสาร  เพื่อเชื่อมความเชื่อของเราในความสำนึกและในคำสอนของพระบุตรของพระเจ้า  เพื่อเป็นคริสตชนที่เติบใหญ่  (maturity)

    และในพระศาสนจักรเอง  (Ecclesia – Church)  ที่เป็นศูนย์รวมพวกเราคริสตชนเพื่อฟังพระวาจาของพระเจ้า  และจากพวกเราคริสตชน  วิถีแนวทางชีวิตแบบคริสตชนจึงสามารถแผ่กระจายไปในสังคมในระดับต่างๆ ตั้งแต่เบื้องล่างพื้นฐานสู่เบื้องบน  จากระดับคนงานสู่ผู้จัดการ  ด้วยกิจการ/ กิจกรรมของคริสตชน  (คริสตกรรม =  การปฏิบัติแบบพระคริสต์)  ในโลกมนุษย์เช่นนี้  มนุษยชาติใหม่จึงสามารถเกิดขึ้นได้  เป็นการยืนยันว่า พระวรสาร  (The Gospel)  เป็นการรื้อฟื้น   ฟื้นฟู  ปรับเปลี่ยนคนทุกคนให้เป็นคนใหม่ เป็นการตอบสนอง  “การทำงาน” ของพระเจ้าเอง  (to participate in the dynamics of the self authenticating activity of God)               

    คริสตชนถูกเรียกเป็นบุคคลแห่งความเชื่อ ความหวัง และ ความรัก  และเป็นพยานถึง    ความเชื่อ  ความหวัง  และความรักของพระคริสต์  และทำให้พระคริสต์  “เป็น”  “ประทับปรากฏอยู่”  ในโลกปัจจุบันเพื่อ  “นำ ชี้ทาง และ ฟื้นฟูโลก”  (Christ’s presence directs and transforms)  อย่างเช่นที่พระองค์ทรงแปลงกายบนภูเขาทาบอร์ต่อหน้าอัครสาวก (ลูกา 9: 28-36)   (Christ’s transfigured and transfiguring presence)


------------------------------------------   ---------------------------------------

                                                 (จบบริบูรณ์)

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown