มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

งานประชุมคนหูหนวกคาทอลิกภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 1 วันที่ 13-19 พ.ย. 15...บ้านผู้หว่าน ประเทศไทยเจ้าภาพ

การประชุมคนหูหนวกคาทอลิกภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 1 วันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน 2015 ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลบ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม

" เอฟฟาธา - จงเปิดเถิด ! "

ตารางเวลา

วันแรก - วันศุกร์ที่ 13 พ.ย. 15
ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่การประชุม

ช่วงเช้า - บ่าย ยินดีต้อนรับสู่ประเทศไทย
• ผู้ร่วมประชุมมาถึงสนามบิน และเดินทางสู่บ้านผู้หว่าน
• เข้าเช็คอิน บ้านผู้หว่าน
18.00 - 20.00               อาหารค่ำ
20.00 – 21.00              แต่ละประเทศ จัดนิทรรศการ
21.00 – 21.30              พบล่ามทุกประเทศ
21.30                          พักผ่อน


วันที่สอง – วันเสาร์ที่ 14 พ.ย. 15

หัวข้อ – ลุกขึ้น ! คุณทำได้

07.00 – 08.00         อาหารเช้า
08.00 – 09.00         ต้อนรับ และแนะนำผู้ร่วมประชุมทุกท่าน จากทุกประเทศอย่างเป็นทางการ
09.00 – 10.00         กล่าวต้อนรับ   โดย คุณพ่อเปโตร วัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมของสันตะสำนัก (ประเทศไทย) 

10.00 – 10.30         พัก และรับอาหารว่าง (ประเทศไทยเตรียมพิธีกรรม)

10.30 - 12.00         มิสซาเปิด   ประธานในพิธีโดย : พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู (หลังมิสซาถ่ายภาพหมู่)

12.00 – 13.30         อาหารเที่ยง และชีวิตกลุ่มสัมพันธ์

13.30 – 15.00        ช่วงที่ 1   แรงบันดาลใจ และความหวังของคนหูหนวกในทวีปเอเชีย  โดยคุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล ; ผู้อภิบาลคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

15.00 – 15.30        พัก และรับอาหารว่าง

15.30 – 18.00    สัมผัสประสบการณ์การนวดแผนไทย ที่ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอด สามพราน

18.00 – 19.30     อาหารเย็น

20.00 – 21.30     การแสดงวัฒนธรรม    
                         พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราช พบบรรดาผู้ร่วมประชุม (ถ่ายภาพหมู่)

21.30                 พักผ่อน

วันที่สาม – วันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย. 15 (สวมเสื้อสีชมพู และหมวก)
หัวข้อ – วันพักผ่อนร่วมกัน
07.00 – 08.00 อาหารเช้า
08.00 – 08.30 เดินทางสู่สักการสถานบุญราศรี บุญเกิด กฤษบำรุง
09.00 - 10.30 มิสซาขอบพระคุณ สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา
ประธานในพิธีโดย : มงซินญอร์ วิษณุ ธัญยะอนันต์

11.00 - 12.00 ชมนิทรรศการ และ สิ่งน่าสนใจ
อาคารเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างและรูปทรงซึ่งแฝงไว้ด้วยความ หมาย เช่น ไม้กางเขนที่พระเยซูได้ประกาศให้โลกได้รับรู้ไว้ว่าเป็นกางเขนที่พิชิตความ ตายและบาป ถือเป็นแสงสว่างที่นำชีวิตมาสู่โลก แท่นที่ทูนกางเขนมีสามชั้นคือพระตรีเอกภาพ ได้แก่ พระบิดา พระบุตร และพระจิต หลังคาแบ่งเป็นสามระดับคือสิ่งที่พระตรีเอกภาพได้ประทานไว้ให้กับโลกได้แก่ ความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก ตัวอาคารแปดเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์แห่งมหาบุญลาภ 8 ประการที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงประกาศให้กับโลก

12.00 – 12.30 ขึ้นรถกลับสู่บ้านผู้หว่าน
12.30 – 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 – 21.00 เดินทางสู่วัดบางนกแขวก และลงเรือล่องแม่น้ำ เที่ยวตลาดอัมพวา และ รับประทานอาหารเย็นที่อัมพวา

1. อาสนวิหารแม่พระบังเกิดเคยเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ นิกายคาทอลิกภาคตะวันตกและภาคใต้ ดังนั้นจึงมีการตกแต่งโบสถ์อย่างวิจิตรสวยงามกว่าโบสถ์ของนิกายอื่นอย่าง โปรเตสแตนต์ โบสถ์มีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบกอทิก (Gothic) มียอดแหลมของอาคารพุ่งขึ้นไปบนฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบนี้ ภายในประดับด้วยภาพเขียน กระจกสี (Stained Glass) จาก ฝรั่งเศส ส่วนใหญ่เป็นภาพนักบุญ เมื่อแสงลอดผ่านกระจกสี จะทำให้ภาพโดดเด่นมีสีสันสวยงาม มีธรรมาสน์เทศน์ อ่างสำหรับใช้ในพิธีรับศีลล้างบาป เชิงเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักของเทพหลายองค์ตามพระคัมภีร์ไบเบิล

2. ในปีพ.ศ. 2550 ชุมชนริมคลองอัมพวา ได้รับรางวัลชมเชย (Honourable Mention) จากการประกวดรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปีพ.ศ. 2550 (UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Heritage Conservation) ซึ่งถือเป็นความสำเร็จในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการ อนุรักษ์อาคารเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าและมีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมและสะท้อน ถึงลักษณะสำคัญทางท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

21.00 เดินทางกลับสู่บ้านผู้หว่าน
* คุณพ่อนิโคลัส บุญเกิด กฤษบำรุง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2438 เป็นบาทหลวงชาวนครปฐม สังกัดมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และได้ทำงานอภิบาลที่วัดหลายแห่งทั่วประเทศ มีใจเมตตาต่อคนยากจนและกระตือรือร้นในงานธรรมทูต ในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดของการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อศาสนาคริสต์ ทำให้ท่านถูกจับกุมในข้อหา "กบฏภายนอกราชอาณาจักร" ในปี พ.ศ. 2484 เมื่ออายุ 49 ปี โดยถูกกล่าวหาว่าช่วยฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน บาทหลวงบุญเกิดถูกตำรวจจับ

ศาลตัดสินให้จำคุก 15 ปีที่เรือนจำกลางบางขวาง ท่านถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคหลังจากติดคุกได้ 3 ปี
แม้ในช่วงอยู่ในเรือนจำท่านยังได้เผยแพร่คำสอนและโปรดศีล ล้างบาปให้นักโทษที่ใกล้ตายถึง 68 คน ถือเป็นการทำหน้าที่ประกาศข่าวดีแก่ผู้ที่อยู่ในเรือนจำให้ได้รับชีวิตใหม่ ในองค์พระผู้เป็นเจ้า ความเชื่อมั่นศรัทธา และความดีของคุณพ่อนิโคลาสเลื่องลือไปยังพระศาสนจักร แห่งโรม โดยในวันที่ 5 มีนาคม 2543 สมเด็จพระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ประกอบพิธีสถาปนาท่านเป็นบุญราศีมรณสักขี ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม ประเทศอิตาลี

คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 12 มกราคม ของทุกปีเป็นวันระลึกถึงบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง และได้มีการสร้างสักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด ในจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านในเวลาต่อมา
.

วันที่สี่ – วันจันทร์ที่ 16 พ.ย. 15
หัวข้อ – ออกไป และรับใช้
07.00 – 08.00 อาหารเช้า
08.00 – 09.30 มิสซาภาษามือ
• ประธานในพิธีโดย : คุณพ่อ ชาร์ลี ดิทเมเยอร์, พระสงฆ์ชาวอเมริกา และสังกัดคณะแมรี่โนล์ ปัจจุบันทำงานกับคนหูหนวก และอาศัยในประเทศกัมพูชา
09.30 - 10.00 พัก และรับอาหารว่าง

10.00 - 12.00 ช่วงที่ 2
• ออกไป และรับใช้
• โดย : คุณพ่อเบเนดิกต์ มิน โซ ปาร์ค พระสงฆ์หูหนวก และจิตตาภิบาลคนหูหนวก ประเทศเกาหลี
12.00 – 13.30 อาหารเที่ยง และชีวิตกลุ่มสัมพันธ์

13.30 – 15.00 ช่วงที่ 3
• โดย: คุณพ่อ ซิริล อเล็กซ์ร๊อด ; พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ ; พระสงฆ์หูหนวก และตาบอด ; ผู้ประพันธ์หนังสือ : And The Journey Begins

15.00 - 15.30 พัก และรับอาหารว่าง

15.30 – 18.00 วาระการพูดคุย และแบ่งปัน
• อนาคตของคนหูหนวคาทอลิกในพระศาสนจักรเอเชีย
• โดย : คุณพ่อเบเนดิกต์ มิน โซ ปาร์ค; พระสงฆ์หูหนวก และจิตตาภิบาลคนหูหนวก ประเทศเกาหลี

18.00 – 19.30   อาหารเย็น และชีวิตกลุ่มสัมพันธ์
20.00               พักผ่อน 

วันที่ห้า – วันอังคารที่ 17 พ.ย. 15 (สวมเสื้อสีชมพู และหมวก)
หัวข้อ – จาริกแสวงบุญ
07.00 – 08.00 อาหารเช้า

08.00 – 21.00 แสวงบุญสู่วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา , เดินทางสู่หมู่บ้านโปรตุเกส และเมืองแห่งประวัติศาสตร์อยุธยา (ถ่ายภาพหมู่ทุกที่)

(1030) มิสซาที่วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา– มิสซาภาษามือโดย : คุณพ่อเบเนดิกต์ มิน โซ ปาร์ค (ทีมพิธีกรรมจากประเทศเกาหลี)

1. วัดนักบุญยอแซฟ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐ หมู่ ๑๑ ตำบลสำเภาล่ม สร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๐๙ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกษัตริย์องค์ที่ ๒๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากคณะธรรมทูตรุ่นแรกแห่งปารีส คือ ฯพณฯ ท่าน ลอมแบรต์ เดอ ลาม็อตกับพระสงฆ์อีก ๒ รูป ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๒๐๕ ท่านและคณะได้ทำประโยชน์ต่อชาวกรุงศรีอยุธยา เป็นที่พอพระทัย พร้อมกันนั้นท่านได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทูลขอสถานที่สร้างวัดและโรงเรียน เพื่อประกอบพิธีการทางศาสนาและให้การศึกษาแก่เด็ก พระองค์ท่านจึงได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งริมน้ำ เพื่อสร้างวัดและโรงเรียนซึ่งเรียกชื่อในสมัยนั้นว่า “ค่ายนักบุญยอแซฟ”

คนไทยได้อาศัยวัดนี้เป็นป้อมต่อสู้กับพม่าจนกระทั่งถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๐ ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าเพียง ๑๐ วัน พม่าได้เผาและปล้นสะดมทรัพย์สินไปจนหมดสิ้น กวาดต้อนพระสังฆราชบริโกต์และคณะไปพม่าด้วย หลังเสียกรุงศรีอยุธยาวัดนี้จึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์ดูแล ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๓๗๔ คุณพ่อปัลเลอกัว และคณะได้เดินทางมาเมืองไทย จึงได้มีการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้ง

เมื่อไม่นานมานี้ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีการบูรณะฟื้นฟูส่วนต่างๆ และประดับตกแต่งภายในทั้งหมด พร้อมทั้งจัดที่บรรจุศพของพระสังฆราชปีแอร์ ลอมแบรต์ เดอ ลาม็อต และพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ไว้ภายในวัดบริเวณด้านพระแท่นทั้งสองข้าง ส่วนศพ(กระดูก)ของพระสังฆราชอีก ๖ องค์รวมทั้งบรรดามิชชันนารีอีก ๒๓ องค์ได้ย้ายไปบรรจุไว้ในอนุสรณ์สถานฯในสุสานของวัด

2. หมู่บ้านโปรตุเกส ตั้งอยู่ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยาบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศตะวันตกอยู่ทางใต้ ของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2054 โดยอัลฟองโซ เอออัลมูเคอร์กผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำเอเซียได้ส่ง นายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดสเป็นฑูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยาปัจจุบันที่ดินแห่งนี้ ปรากฏมีโบราณสถานอยู่รวม ๓ แห่งคือ ซานเปาโล ซานโดมิงโก และซานเปรโด หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญคือ พบซากของโบราณสถานโครงกระดูกและเครื่องปั้นดินเผาภายในประเทศ และต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

3. นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเมืองบริวาร (Historic City of Ayutthaya) พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีเก่าแก่ของไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี แม้ว่าภายหลังจะถูกทำลายลงจากภัยสงคราม แต่ยังคงเหลือโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญ รุ่งเรือง และ ความมีอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษของชาวกรุงศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ 3 สายคือ แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้ง ถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของ ภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 –23

21.00 เดินทางกลับบ้านผู้หว่าน และพักผ่อน 

วันที่หก – วันพุธที่ 18 พ.ย. 15
วันปิดการประชุม

07.00 – 08.00 อาหารเช้า
08.00 – 10.00 ตัวแทนแต่ละประเทศรายงาน
10.00 - 10.30 พัก และรับอาหารว่าง
10.30 - 12.00 ตัวแทนแต่ละประเทศรายงาน
12.00 – 13.30 อาหารเที่ยง และชีวิตกลุ่มสัมพันธ์
13.30 – 14.30 ตัวแทนแต่ละประเทศรายงาน
14.30 – 15.00 พัก และรับอาหารว่าง
15.00 – 16.30 เวลาอิสระ ทีมประเทศไทยเตรียมพิธีกรรม
16.30 - 18.00 มิสซาปิด และ มอบวุฒิบัตร
ประธานในพิธีโดย : พระสังฆราชซิลวิโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ; พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี
18.00 – 19.30 อาหารเย็น และชีวิตกลุ่มสัมพันธ์
20.00 – 22.30 • งานเลี้ยงอำลา และ มอบวุฒิบัตร
• ชมการแสดงนาฎศิลป์ไทย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีลอยกระทง โดย กรมศิลปากร
22.30 พักผ่อน

วันที่เจ็ด – วันพฤหัสที่ 19 พ.ย. 15
เดินทางโดยสวัสดิภาพ
07.00 – 08.00 อาหารเช้า
08.00 เช็คเอ้าท์ และผู้ร่วมประชุมเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown