มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

ทำไมพระสันตะปาปาทรงให้สภาพระสังฆราชใส่ใจรับผิดชอบต่อการแปลบทประจำพิธีมิสซา

• พระสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้สนับสนุนให้บรรดาสัตบุรุษมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในพิธีกรรมด้วยวิธีสะดวกมากขึ้น โดยจัดพิมพ์บทประจำพิธีมิสซาฉบับแปลขึ้นมา

• อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจมิใช่เรื่องง่ายที่จะนำมาใช้ปฏิบัติ เพราะคำแปลอาจทำให้ความหมายง่ายต่อการคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับเดิม

ฮวน โฆเซ่ ซิลแวสเตร (ผู้เชี่ยวชาญพิธีกรรม)
“ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1969 -2001 คำแนะนำพูดว่าผู้เข้าร่วมพิธีมีความสำคัญมากยิ่งกว่าข่าวสาร หากผู้เข้าร่วมไม่เข้าใจข่าวสาร ก็ไม่มีประโยชน์อะไร นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไมในการแปล
ผู้เข้าร่วมพิธีเป็นผู้อยู่เหนือข่าวสาร เป็นเหตุให้การแปลเป็นภาษาท้องถิ่นไม่มีความเหมือนภาษาลาติน เพราะว่าการแปลภาษาลาตินตามรูปแบบก่อความเข้าใจไปสู่ความคิด
และความคิดนี้เองสะท้อนให้เห็นถึงภาษาในทุกวันนี้ “

• การรับผิดชอบแปลตัวบทพิธีกรรมจึงเป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราช จากสำนักวาติกันโดยสมณสภาเพื่อการนมัสการพระเจ้า รับรองการแปลมาจนถึง ปี ค.ศ.2001
ในปีนั้นเนื่องจากมีคำแปลที่ผิดพลาดมาก สมณสภาจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น 16 ปี ต่อมา พระสันตะปาปาฟรังซิสได้มอบคืนหน้าที่นี้แก่ประเทศนั้นๆ ด้วยอำนาจ
ส่วนพระองค์ (Proprio Motu) ที่เรียกว่า “Magnum Principium.”

ฮวน โฆเซ่ ซิลแวสเตร (ผู้เชี่ยวชาญพิธีกรรม)
“พระองค์ทรงแสวงหาสิ่งใด? การคืนกลับไปสู่สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้เราค้นพบตัวเองหลังจากพระสังคายนาวาติกันที่พูดอีกอย่างหนึ่ง สภาพระสังฆราชต้องรับผิดชอบ
ต่อคำแปลตัวบทเหล่านี้ เพราะว่าสมณสภามีหน้าที่เพียงการอนุมัติเห็นชอบ”

• ด้วยอาศัย อำนาจส่วนพระองค์ (Proprio Motu) พระสันตะปาปาได้กำหนดให้สมณสภาเพื่อการนมัสการพระเจ้าจะไม่ต้องตรวจตราคำแปลให้ละเอียดถี่ถ้วนเพื่ออนุมัติ
เป็นเพียงการอนุมัติเห็นชอบ ไม่ใช่การมาสำรวจอย่างถี่ถ้วนลึกลงไป เพราะว่าความรับผิดชอบนี้เป็นของสภาพระสังฆราช

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown