แสงสว่างแบบใหม่ส่องมายังงานของราฟาเอลในพิพิธภัณฑ์วาติกัน
- รายละเอียด
- หมวด: vatican news
- เขียนโดย POPE REPORT
- ฮิต: 377
• ไฟแอลอีดี 2,400 ดวง ไม่ได้ตั้งใจจะก่อความพร่ามัวในสายตาให้แก่ผู้ชม มากเท่ากับตั้งใจจะปรับปรุงสภาพแวดล้อม
ให้กับตัวภาพสมัยศตวรรษที่ 16 ซึ่งวาดไว้บนผนังของพิพิธภัณฑ์วาติกัน
• งานติดไฟนี้ค่อนข้างยาก เพราะจะต้องสร้างไฟเทียมที่มีความเข้มข้นแบบแสงดวงอาทิตย์
แสงสว่างนั้นจะต้องเข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมที่ห้องนั้นมีภาพวาด เพื่อผู้เข้าชมจะได้ชื่นชมภาพได้ชัดเจน
คาร์โล โบกานิ (ผู้อำนวยการโครงการติดตั้งแสงไฟ)
“จุดหมายของเราคือต้องการสร้างแสงธรรมชาติเทียม
ดังนั้นสิ่งท้าทายก็คือ เราต้องสร้างโครงร่างสี (chromatic scheme) ของแสงแสงอาทิตย์ หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง
เพื่อว่ามันจะเป็นแสงลักษณะเดียวกันกับที่ศิลปินราฟาแอลใช้ส่องสว่างขณะวาดภาพปูนเปียก (frescoes) ของเขา”
• เนื่องจากความสำเร็จของโครงการนี้ ผู้เข้าชมสามารถชมภาพ “การศึกษาแห่งนครเอเธนส์” (School of Athens)
หนึ่งในภาพอันมีชื่อเสียงที่สุดของราฟาเอล แบบที่ไม่เคยมีแสงแบบนี้มาก่อน คือเป็นแสงห้องที่ศิลปินหนุ่มราฟาเอลในช่วงวัยเลย 25 ปี
ไปเล็กน้อยได้วาดภาพปูนเปียกอันมีชื่อเสียงของเขา
• งานวาดได้รับการมอบหมายจากพระสันตะปาปาจูลิอุส ที่ 2 ซึ่งทรงต้องการจะตกแต่งห้อง “Room of the Signatura” ให้เป็นห้องสมุดส่วนพระองค์
• “การศึกษาแห่งนครเอเธนส์” เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นภาพวาดที่มีองค์ประกอบสร้างสรรค์ล้ำสมัยและมีมุมมองแบบพิเศษ
เพราะราฟาเอลต้องการจะบรรจุเรื่องราวประวัติศาสตร์ปรัชญาไว้ในกรอบภาพเดียว
กลางภาพปูนเปียกบนผนังยึดความเด่นไว้ด้วยอริสโตเติ้ลและเพลโต้ ที่มีสมมุติฐานต่างกัน ขณะที่รายรอบล้อมไปด้วยนักคิดคนสำคัญในอดีต
• หลังจากได้ไปชมโบสถ์น้อยซีสทีน ราฟาเอลได้วาดนักปรัชญาเฮราคลิตุส เพิ่มในภาพปูนเปียกของเขา หลายคนเชื่อว่าเป็นตัวแทนของ
ไมเคิ้ล อันเจโลในภาพวาด สิ่งหนึ่งซึ่งบันทึกไว้ว่าเป็นการวาดที่มีคุณภาพมากที่สุดซึ่งน้อยคนจะมี นั่นคือสายตาคนในภาพวาดที่จ้องมองดูผู้ชม
• ส่วนหน้าเรื่องราวของนักปรัชญา ราฟาเอลเสนอเรื่องเทววิทยา ด้วยภาพ “การถกเถียงเรื่องศีลมหาสนิท” ซึ่งเป็นภาพที่วาดก่อนในสองภาพนี้
• บัดนี้ ผู้ชมสามารถชื่นชมภาพปูนเปียกในแบบที่ราฟาเอลมีความตั้งใจ จะให้เราเห็นดังภาพสดใหม่ที่วาดบนกำแพงที่ผนังปูนยังเปียกอยู่