มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

เรื่องราวคือระยะห่างที่สั้นที่สุดระหว่างผู้คน (Jubilee of Communication: A story is the shortest distance between people)

 

 

เรื่องราวคือระยะห่างที่สั้นที่สุดระหว่างผู้คน (Jubilee of Communication: A story is the shortest distance between people)

     ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารนับหมื่นคน ประกอบไปด้วยคนหนุ่มสาวไปจนถึงประธานกรรมการบริหาร (CEOs) จากทั่วโลก ได้เดินทางมาร่วมพิธีเปิดงานปีศักดิ์สิทธิ์เพื่อการสื่อสาร ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์หรือวันสำคัญแรกในปีศักดิ์สิทธิ์ยูบีลี 2025 ที่จัดขึ้นเพื่อโลกแห่งการสื่อสารโดยเฉพาะเป็นระยะเวลา 3 วัน คือ ระหว่างวันศุกร์ที่ 24 ถึงวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2025

 

 

การเฉลิมฉลองการสื่อสาร (Celebrating communication)

     พิธีเปิดปีศักดิ์สิทธิ์เพื่อการสื่อสารเริ่มต้นด้วยพิธีสำนึกผิด ณ พระมหาวิหารนักบุญยอห์นแห่งลาเตรัน โอกาสฉลองนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ นักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักข่าวและนักเขียน ตามด้วยการแสวงบุญไปยังประตูศักดิ์สิทธิ์ของพระมหาวิหารนักบุญเปโตรในเช้าวันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2025 การเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาฟรังซิส และการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสวันอาทิตย์พระวาจาของพระเจ้า (Sunday of the Word of God) ในวันอาทิตย์ 26 มกราคม 2025 โดยมีพระสันตะปาปาฟรังซิสเป็นประธานในพิธี

     สมณมนตรีประจำสมณสภาเพื่อการสื่อสาร (Dicastery for Communication) อธิบายว่า “เริ่มต้นปีศักดิ์สิทธิ์แห่งความหวังนี้ ไม่ใช่ภาพลวงตา หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม แต่เป็น "แรงผลักดันที่กระตุ้นให้เราแต่ละคนเชื่อว่า สิ่งที่เราบอกไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเขียน คำพูด รูปภาพ จะไปถึงที่แห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่อ่าน ผู้ฟัง และผู้ดู" พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ตรัสบ่อยครั้งเกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสารที่ดี และการแบ่งปันข้อความแห่งความหวัง พระองค์ได้สนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมองพันธกิจของตนโดยแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ

1) #ทำให้ผู้คนเหงาน้อยลง (to make people less lonely)


2) #ให้เสียงแก่ผู้ที่ไม่มีเสียง (give voice to the voiceless) และ


3) #ฝึกที่จะเป็นผู้ให้ข่าวสารตามความเป็นจริง (educate themselves to communicate truthfully)

 

 

การเล่าเรื่องเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย (Storytelling is fundamental to democracy)

     ในงานเปิดงานปีศักดิ์สิทธิ์เพื่อการสื่อสารในครั้งนี้ สมณสภาเพื่อการสื่อสาร ได้เชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงและนักการสื่อสาร จำนวน 2 คน มาพบปะกัน เพื่อแนะนำข้อมูลเชิงลึกและแบ่งปันแนวคิดของพวกเขา ได้แก่

1) โคลัม แมคแคนน์ (Colum #McCann) นักเขียนผู้ผลงานมากมายและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “เรื่องเล่า 4” (Narrative 4) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรระดับโลก โดยใช้การเล่าเรื่องเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และ


2. มาเรีย เรสซา (Maria #Ressa) กรรมการผู้บริหารของสื่ออิสระ ( #Rappler ) เป็นองค์กรข่าวท้องถิ่นดิจิทัลอิสระชั้นนำของประเทศฟิลิปปินส์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และผู้ให้การสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก

     โคลัม #แมคแคนน์ กล่าวว่า งานปีศักดิ์สิทธิ์เพื่อการสื่อสารมีความสำคัญ เนื่องจากการเล่าเรื่องทำให้ผู้คนมารวมตัวกัน “ระยะห่างที่สั้นที่สุดระหว่างบุคคลใด ๆ ก็คือเรื่องราว ดังนั้นความสามารถของเราในการบอกเล่าเรื่องราวของเรา และความสามารถของเราในการฟังเรื่องราวของคนอื่น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตัวตนของเรา และวิธีที่เราจะดำเนินต่อไป” เขาอธิบายว่า การนำผู้คนจากทุกสาขาอาชีพและภูมิหลังมาร่วมงานปีศักดิ์สิทธิ์นี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการที่ผู้คนไม่จำเป็นต้องแบ่งปันความเชื่อแบบเดียวกันเพื่อแบ่งปันเรื่องราว “ความสามารถในการเข้าใจเรื่องราวของคนอื่น” ที่เป็น “พื้นฐานของแนวความคิดเรื่องประชาธิปไตย และการเป็นเจ้าของ”

 

 

อินฟลูเอนเซอร์และนักข่าวมีบทบาทในการสื่อสาร (Influencers and journalists have a role in communication)

     #เรสซา เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของแมคแคนน์เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการสื่อสาร เธออธิบายเหตุผลที่เธอต้องการเข้าร่วมงานปีศักดิ์สิทธิ์นี้ก็คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่งคือ “การได้พูดคุยกับคนจริง ๆ ในโลกของความเป็นจริงที่แบ่งปันกันด้วยค่านิยมที่เรายึดมั่น” ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เรสซาแย้งว่า ทั้งผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย (Influencers) และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมวลชน มีบทบาทในการเป็นแหล่งของการสื่อสาร นักข่าวควร “ดำเนินงานภายใต้มาตรฐานและมีจริยธรรม” ในขณะที่ผู้มีอิทธิพลเก่งในการแปล หรือแปลงข้อมูลใหม่สำหรับผู้ชมที่แตกต่างกัน

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown