มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

ปัญญาประดิษฐ์จะต้องส่งเสริมและไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Pope to World Economic Forum: AI must promote and never violate human dignity)

 

ปัญญาประดิษฐ์จะต้องส่งเสริมและไม่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Pope to World Economic Forum: AI must promote and never violate human dignity)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงส่งพระราชดำรัสถึงการประชุมเศรษฐกิจโลก  ครั้งที่ 55 (World Economic Forum ปี 2025) ที่เมืองดา-วอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Davos, Switzerland) ทรงเรียกร้องให้มีการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบ  ซึ่งจะต้องช่วยมนุษย์ทุกคนให้ได้รับประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องศักดิ์ศรีของมนุษย์ สำหรับหัวข้อของการประชุมในปีนี้คือ “ความร่วมมือเพื่อยุคอัจฉริยะ” (Collaboration for the Intelligent Age) ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ “ไม่เพียงแต่สำหรับสร้างความร่วมมือ” “แต่ยังเพื่อรวบรวมผู้คนเข้าด้วยกัน”

 

 

ของขวัญแห่งความเฉลียวฉลาด (The gift of intelligence)

     ตามธรรมประเพณีของคริสตชนถือว่า ของประทานแห่งสติปัญญาเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ที่สร้างขึ้น “ตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า”  ในขณะเดียวกัน พระศาสนจักรคาทอลิกเป็นบุคคลสำคัญ และสนับสนุนความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ และความพยายามในรูปแบบอื่น ๆ ของมนุษย์มาโดยตลอด "โดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นที่ของ 'ความร่วมมือของมนุษย์กับพระเจ้าในการทำให้สิ่งทรงสร้างที่มองเห็นได้สมบูรณ์แบบ'”

 

 

สถานการณ์ที่ไม่คาดคิดทำให้เกิดความเสี่ยง (Unforeseen situations create risk)

     เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์ มีจุดประสงค์เพื่อเลียนแบบสติปัญญาของมนุษย์ที่ออกแบบมัน สิ่งนี้ก่อให้เกิดชุดคำถามและความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทคโนโลยีนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเรียนรู้และตัดสินใจเลือกบางอย่างด้วยตนเอง และสามารถให้คำตอบที่ผู้ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ด้วยเหตุนี้ ปัญญาประดิษฐ์จึงทำให้เกิด "คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความรับผิดชอบด้านจริยธรรม ด้านความปลอดภัยของมนุษย์ และผลกระทบในวงกว้างของการพัฒนาเหล่านี้ต่อสังคม"

 

 

เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ (Assisting human person)

     “เมื่อเราใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างถูกต้อง ปัญญาประดิษฐ์ก็จะช่วยให้มนุษย์บรรลุถึงกระแสเรียกของตน ในเสรีภาพ และความรับผิดชอบ” เช่นเดียวกับกิจกรรมอื่น ๆ ของมนุษย์และการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์จะต้องได้รับคำสั่งจากมนุษย์ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อให้บรรลุ "ความยุติธรรมที่มากขึ้น ความเป็นพี่น้องที่กว้างขวางมากขึ้น และช่วยจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีมนุษยธรรมมากขึ้น" การบรรลุเป้าหมายนี้ “มีคุณค่ามากกว่าความก้าวหน้าในด้านเทคนิค”  แต่ขอให้ระวังความเสี่ยงที่ปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนา "กระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยี" ซึ่งถูกมองว่า ปัญหาทั้งหมดของโลกสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว “ภายในกระบวนทัศน์นี้ ศักดิ์ศรีและภราดรภาพของมนุษย์มักถูกครอบงำในการแสวงหาประสิทธิภาพ ราวกับว่าความเป็นจริง ความดี และความจริงโดยธรรมชาติ แล้วหลุดออกมาจากอำนาจทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ” “แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะต้องไม่ถูกละเมิดเพื่อประสิทธิภาพ”

 

 

ไม่ทำลายความเท่าเทียมกันหรือเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น (Cannot worsen inequalities or conflicts)

     “การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้น แต่กลับสร้าง หรือทำให้ความไม่เท่าเทียมและความขัดแย้งมีมากยิ่งขึ้น ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นความก้าวหน้าที่แท้จริง” ด้วยเหตุนี้ ปัญญาประดิษฐ์จึงควรได้รับการบริการเพื่อการพัฒนาที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์ ให้มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น มีสังคมมากขึ้น และมีความสมบูรณ์มากขึ้น

 

 

ความขยันขันแข็งและความระมัดระวัง (Diligence and vigilance)

     “ความก้าวหน้าที่เห็นได้จากรุ่งอรุณของปัญญาประดิษฐ์ ได้เรียกร้องให้มีการค้นพบความสำคัญของชุมชนอีกครั้ง และมีความมุ่งมั่นที่จะดูแลบ้านส่วนรวมที่พระเจ้ามอบหมายให้กับเรา” “เพื่อสำรวจความซับซ้อนของปัญญาประดิษฐ์ รัฐบาลและภาคธุรกิจจะต้องใช้ความรอบคอบและความระมัดระวัง” ในเรื่องนี้ ให้ "ประเมินการใช้งานของปัญญาประดิษฐ์แต่ละอย่างอย่างมีวิจารณญาณในบริบทต่าง ๆ โดยเฉพาะ เพื่อพิจารณาว่าการใช้งานดังกล่าว ส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กระแสเรียก และเพื่อความดีส่วนรวมหรือไม่" “เช่นเดียวกับเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของปัญญาประดิษฐ์ “ผลกระทบของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่หลากหลาย อาจไม่สามารถคาดเดาได้ตั้งแต่เริ่มแรกเสมอไป”

 

 

ปัญญาประดิษฐ์มุ่งไปสู่ประโยชน์ของทุกคน (AI directed toward the good of all)

     “ในขณะที่การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ และผลกระทบทางสังคมมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การตอบสนองที่เหมาะสมควรเกิดขึ้นในทุกระดับของสังคม ผู้ใช้แต่ละราย ครอบครัว ประชาสังคม องค์กร สถาบัน รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ ควรทำงานในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของทุกคน" พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงปิดท้ายด้วยการอธิษฐานภาวนา ส่งความปรารถนาดีสำหรับการประชุมและขอพระพรจากสวรรค์แก่ผู้เข้าร่วมงานทุกคน

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown