มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

ภาพรวมของพระศาสนจักรในอินโดนีเซีย (An overview of the Church in Indonesia)

 

 

ภาพรวมของพระศาสนจักรในอินโดนีเซีย (An overview of the Church in Indonesia)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จเยือนประเทศอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2024 นี้ ศาสนาคริสต์เข้ามาในอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 7 แล้ว แต่เริ่มแพร่หลายอย่างจริงจังในศตวรรษที่ 16 เมื่อมิชชันนารีคาทอลิกหลายคนที่ร่วมเดินทางมากับชาวโปรตุเกส และได้เริ่มเทศนาในหมู่เกาะดังกล่าว
ชาวดัตช์ (ฮอลแลนด์หรือเนเธอร์แลดนด์) ได้ขับไล่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสออกไปในปี 1605 และได้นำนิกายโปรเตสแตนต์คาลวิล (Calvinist Protestantism) เข้ามา นิกายโรมันคาธอลิกถูกห้ามไม่ให้เข้าในดินแดนแห่งนี้จนกระทั่งในปี 1806 (200 ปี)

 

 

การเติบโตของพระศาสนจักรในอินโดนีเซียในศตวรรษที่ 19 และ 20 (Growth of Church in Indonesia in the 19th and 20th centuries)

     มิชชันนารีคาทอลิกสามารถกลับเข้ามาในอินโดนีเซียได้อีกครั้งในปี 1807 เมื่อมีการสถาปนามิสซังบาตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ขึ้นเป็นครั้งแรก พระศาสนจักรคาทอลิกจึงได้เริ่มต้นอีกครั้ง อาศัยมิชชันนารีจากคณะนักบวชต่าง ๆ เข้ามาทำงานในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20
20 ปีแรกของการทำงาน เขตมิสซังอื่น ๆ ได้เริ่มต้นสถาปนาขึ้น มิชชันนารีแห่งพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ (MSC) ได้รับมอบหมายให้ทำงานในเขตตะวันออก คณะคาปูชินทำงานในเขตบอร์เนียวและสุมาตรา (Borneo and Sumatra) และมิชชันนารีคณะผู้รับใช้แห่งพระวาจาของพระเจ้า (Societas Verbi Divini หรือ Verbite Missionaries) รับผิดชอบในเขตนูซาเต็กการาและฟลอเรส (Nusa Teggara and Flores)

     ในปี 1924 บรรดาสังฆราชแห่งอินโดนีเซียได้จัดการประชุมครั้งแรก และต่อมาได้จัดให้มีขึ้นทุก ๆ ห้าปี การประชุมถูกระงับลงในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครอง (1942-45) ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับพระศาสนจักร เนื่องจากมีการกักขังมิชชันนารีเกือบทั้งหมดที่ทำงานในหมู่เกาะนี้ ในปี 1940 ได้มีการแต่งตั้งพระสังฆราชชาวอินโดนีเซียคนแรก คือ อัลแบร์ตุส โซเอกิจาปรานาตา (Albertus Soegijapranata) คณะเยสุอิต, ในปี 1955 ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ด้านการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างนครรัฐวาติกันและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากที่เพิ่งสถาปนาประเทศขึ้นใหม่ในปี 1950 พระสังฆราชของอินโดนีเซียได้กลับมาประชุมสภาเต็มคณะได้อีกครั้ง และก่อตั้งสภาสูงสุดของพระสังฆราชอินโดนีเซีย (the Supreme Council of Indonesian Bishops หรือ MAWI) ซึ่งเป็นแกนหลักของการประชุมสภาพระสังฆราชอินโดนีเซียที่จะมีขึ้นในเวลาต่อมา (Konferensi Waligereja Indonesia, KWI) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1987
ในปี 1961

     นักบุญพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ได้สถาปนาเขตการปกครองพระศาสนจักรคาทอลิก โดยแบ่งเป็น 6 อัครสังฆมณฑล (ecclesiastical provinces), ในปี 1967 พระสังฆราชจัสตินัส ดาร์โมวูโจโน (Bishop Justinus Darmowujono, 1914-1994) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกของอินโดนีเซีย ในปี 1970 หลังจากสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 บรรดาพระสังฆราชอินโดนีเซียได้ออกคำสั่งครั้งแรกเกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตของคริสตชนคาทอลิกในสังคมอินโดนีเซีย โดยยึดหลักปัญจศีลหรือ ปันจาซีลา (Pancasila principles) คือ การปกป้องหลักการรัฐธรรมนูญ 5 ประการซึ่งเป็นรากฐานของรัฐอินโดนีเซีย และแนวทางปฏิบัติของพระศาสนจักรอินโดนีเซียมาโดยตลอด

 

 

การเสด็จเยือนอินโดนีเซียของพระสันตtปาปาองค์ก่อนๆ (Visits of previous Popes’ to Indonesia)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสจะเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 3 ที่เสด็จเยือนอินโดนีเซีย พระสันตะปาปา 2 พระองค์แรกที่เคยเสด็จเยือน คือ

1) นักบุญพระสันตะปาปาที่ 6 เสด็จเยือนกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1970 ระหว่างการเดินทางอภิบาลต่างประเทศไปยังเอเชียตะวันออก, โอเชียเนีย, และออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 1970 พระองค์ได้รับการต้อนรับจากประธานาธิบดีซูฮาร์โตแห่งอินโดนีเซีย (President Suharto) และทรงประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ณ สนามกีฬาในเมืองหลวง


2) นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 9 ถึง 13 ตุลาคม 1989 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางอภิบาลต่างประเทศครั้งที่ 44 ของพระองค์ โดยแวะพักที่กรุงจาการ์ตา, ชวา, ฟลอเรส, และติมอร์ตะวันออก (ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย)

 

 

บริบททางศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย (Religious context in Indonesia)

     อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 276 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก โดยประชากรเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม
แม้ว่าชาวมุสลิมจะมีจำนวนมาก แต่ประเทศอินโดนีเซียไม่ได้เป็นรัฐอิสลาม แต่ก่อตั้งขึ้นบนหลักการปัญจศีล ซึ่งเป็นหลักการ 5 ประการที่บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่

1) ศรัทธาในพระเจ้าสูงสุดหนึ่งเดียว (faith in one supreme God)


2) ความยุติธรรมและมนุษยธรรม (just and civil humanity)


3) ความเป็นหนึ่งเดียว (unity)


4) ประชาธิปไตยที่นำด้วยปัญญา (democracy guided by wisdom) และ


5) ความยุติธรรมทางสังคม (social justice) ซึ่งรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาให้กับทุกคน

     อินโดนีเซียเป็นสังคมที่มีหลายศาสนาและหลายเชื้อชาติ จึงมีคติประจำประเทศว่า "ความเป็นหนึ่งเดียวกันในความหลากหลาย" (Unity in diversity) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ทำให้ชาวมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นได้อย่างสันติมาอย่างยาวนาน ชุมชนคริสตชนคาทอลิกก็ได้รับประโยชน์จากความปรองดองนี้เช่นกัน การเดินทางอภิบาลต่างประเทศทั้ง 2 ครั้งของนักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ในปี 1970 และของนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ในปี 1989 มีส่วนช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระศาสนจักรและรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา อาศัยโครงการความร่วมมือในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

     ในทางกลับกัน บทบัญญัติบางประการของกฎหมายของอินโดนีเซียยังคงลงโทษชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอยู่ เช่น
1) กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทศาสนา
2) กฎหมายที่ควบคุมการสร้างศาสนสถานแห่งใหม่ และ
3) กฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างศาสนา

     ปัญหาที่ทำลายสันติภาพและความสามัคคีทางศาสนาในอินโดนีเซีย คือการเผยแพร่ของศาสนาของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ซึ่งในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนิกายต่าง ๆ และก่อให้เกิดเครือข่ายการก่อการร้ายในท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับอัลอิดะห์ (Qaeda) และกลุ่มที่เรียกตนเองว่ารัฐอิสลาม
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีรายงานระบุว่าความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนาเพิ่มขึ้น รวมถึงคริสตชนด้วย การละเมิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในจังหวัดชวาตะวันตก, สุมาตรา, จาการ์ตา,

     และจังหวัดปกครองตนเองอาเจะห์ (Aceh) ซึ่งกฎหมายชารีอะห์ (Sharia law) มีผลบังคับใช้ที่นั่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิอิสลามหัวรุนแรง ยังเกิดขึ้นในหมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) ในเหตุการณ์นองเลือดระหว่างชุมชนคริสตชนโปรเตสแตนต์และมุสลิมเมื่อปี 2000-2001 อย่างไรก็ตาม กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงเหล่านี้ ยังคงเป็นชนกลุ่มน้อย และยังมีมุสลิม, ผู้นำ, และปัญญาชนสายกลางจำนวนมากที่เปิดรับการเสวนา พระศาสนจักรโรมันคาธอลิกก็ร่วมในความมุ่งมั่นนี้ด้วย

 

 

ความมีชีวิตชีวาของคริสตชนคาทอลิกประมาณ 3% (A vibrant minority of 3% Catholics)

     พระศาสนโรมันคาธอลิกเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ด้วยความสามารถในการปลูกฝังคุณค่าพระวรสารในสังคมอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีชาวคาทอลิกมากกว่า 3% ของประชากรและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคริสตชนคาทอลิกจะมีจำนวนน้อย แต่พระศาสนจักรก็เป็นชุมชนที่มีชีวิตชีวา ซึ่งบรรดาคริสตชนฆราวาสมีความกระตือรือร้นในการทำงานด้านศาสนา ตลอดจนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบว่ากระแสเรียกแห่งการเป็นนักบวชและพระสงฆ์ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับทศวรรษ 1980 ที่ผ่านมา

 

 

พระศาสนจักรคาทอลิกในสังคมอินโดนีเซีย (The Catholic Church in Indonesian society)

     พระศาสนจักรโรมันคาธอลิก เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และได้รับการยกย่องในด้านกิจกรรมทางสังคม สุขภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา ที่เคารพความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของประเทศ พระศาสนจักรยังมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิดเห็นในที่สาธารณะ และได้แสดงจุดยืนในประเด็นสำคัญหลายประการ เช่น โทษประหารชีวิต (ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่) การทำแท้ง สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านลัทธิหัวรุนแรงทุกรูปแบบ ที่บ่อนทำลายโครงสร้างทางสังคมของอินโดนีเซีย

 

 

งานอภิบาลที่สำคัญ (Pastoral priorities)

     ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา วัฒนธรรม และสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมอินโดนีเซีย ในทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาสังฆราชในอินโดนีเซียได้มุ่งความสนใจไปที่การดูแลจิตวิญญาณดังต่อไปนี้ คือ

1) การฟื้นฟูพันธกิจในการประกาศพระวรสาร (รวมถึงผ่านสื่อสมัยใหม่ด้วย) ตามแนวทางที่พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ระบุไว้ในพระสมณสาส์นความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร (Evangelii Gaudium) ของพระองค์


2) ตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์ที่ว่า “การเป็นพระศาสนจักรที่ออกไป”


3) การให้คุณค่ากับความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายเชื้อชาติในพระศาสนจักร


4) การเสริมสร้างการเสวนาระหว่างศาสนา และ


5) การส่งเสริมงานการกุศลของพระศาสนจักร


     พระศาสนจักรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเยาวชน เพื่อให้พวกเขาได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำพระวรสารไปสู่สังคมอินโดนีเซียและเป็น “ #ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ” (agents of change) เพื่อความยุติธรรมและสันติภาพในประเทศของตน ด้วยจิตวิญญาณนี้ บรรดาพระสังฆราชจึงได้ริเริ่มวันเยาวชนอินโดนีเซีย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ได้นำเยาวชนคาทอลิกจากทั่วอินโดนีเซียมารวมตัวกันทุก ๆ 4 ปี
บรรดาพระสังฆราชยังต้องการส่งเสริมให้ #ครอบครัวคาทอลิก มีบทบาทสำคัญต่อการประกาศพระวรสารในสังคมพหุวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้หลักที่เกิดขึ้นจากการประชุมระดับชาติของพระศาสนจักรคาทอลิกอินโดนีเซียเรื่องครอบครัวในปี 2015 (Sagki 2015) ซึ่งมีชื่อว่า “ครอบครัวคาทอลิก พระวรสารแห่งความหวัง กระแสเรียกและพันธกิจในพระศาสนจักรและในสังคมพหุวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย”

 

 

งานคริสตสัมพันธ์ในอินโดนีเซีย (Ecumenical dialogue in Indonesia)

     การทำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (Ecumenism) ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอินโดนีเซีย และมีความสำคัญยิ่งขึ้นในประเทศที่มีคริสตชนเป็นชนกลุ่มน้อยประมาณร้อยละ 10 ของประชากร ซึ่งประกอบด้วยโปรเตสแตนต์จากนิกายต่าง ๆ คือ คาทอลิก, ออร์โธดอกซ์, และอีแวนเจลิคัล
พระศาสนจักรทำงานร่วมกันในรูปแบบที่แตกต่างกัน รูปแบบที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดคือ องค์กรเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย (Communion of Churches in Indonesia หรือ PGI) ซึ่งริเริ่มโดยคริสตจักรโปรเตสแตนต์ดั้งเดิม (traditional Protestant Churches) ซึ่งบรรดาพระศาสนจักรคาทอลิกได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน
ตั้งแต่ปี 1980 องค์กรเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย (PGI) และ สภาพระสังฆราชอินโดนีเซีย (KWI) ได้ร่วมกันส่งสารวันคริสต์มาส และในปี 2019 พวกเขาได้ร่วมมือกันเตรียมเงินอุดหนุนสำหรับสัปดาห์แห่งการอธิษฐานภาวนาประจำปีเพื่อเอกภาพของคริสตชน (17-25 มกราคม 2019) อีกด้วย
นอกจากนี้ องค์กรเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย (PGI) และ สภาพระสังฆราชอินโดนีเซีย (KWI) ยังทำงานร่วมกันในฐานะสมาชิกของ FUKRI ซึ่งประกอบไปด้วย

1) สมาคมคริสตจักรนิกายอีแวนเจลิสต์และสถาบันคริสตชนต่าง ๆ (Fellowship of Evangelical Churches and Institutions หรือ PGLII)


2) สมาคมคริสตจักรนิกายเปนเตกอส (Fellowship of Pentecostal Churches หรือ PGPI)


3) สมาคมคริสตจักรนิกายบัปติสต์, กองทัพแห่งความรอด, และเซเวนธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสต์(Fellowship of Baptist Churches, Salvation Army, Seventh-Day Adventist Church) และ


4) พระศาสนจักรนิกายออร์ธอด็อก (Orthodox Church)
ที่จะพบกันเป็นประจำเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown