มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

                                     

พระสันตะปาปาจะเสด็จเยือนมัสยิดอิสติกลัล (Istiqlal mosque) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซีย

 

 

พระสันตะปาปาจะเสด็จเยือนมัสยิดอิสติกลัล (Istiqlal mosque) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินโดนีเซีย

     นับเป็นสถานที่แรกในการเสด็จเยือนทวีปเอเชียสำหรับการเดินทางเพื่อทำศาสนสัมพันธ์ของพระองค์ในเดือนกันยายน 2024 นี้ (Pope will visit the Istiqlal mosque in Indonesia on the first stop of an interfaith Asian trip, จากสำนักข่าว Mainichi Japan เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2024) 

     พระสันตะปาปาฟรังซิส วัย 87 ปี แม้ว่าจะมีปัญหาด้านสุขภาพมากมายและต้องพึ่งพารถเข็นมากขึ้น มีตารางเวลาการเสด็จเยือน 4 ประเทศในครั้งนี้อย่างมากมาย โดยพระองค์จะเริ่มต้นการเดินทางในกรุงจาการ์ตาในวันอังคารที่ 3 กันยายน 2024 ซึ่งพระองค์จะพบกับประธานาธิบดีโจโก วิโดโด (President Joko Widodo) ของอินโดนีเซีย

     ในมัสยิดอิสติกลาล (Istiqlal mosque) พระสันตะปาปาฟรังซิสจะพบปะกับผู้แทนจาก 6 ศาสนาที่ได้การรับรองอย่างเป็นทางการของประเทศ คือ อิสลาม พุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนต์ รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียยอมรับว่าสองศาสนาหลังนี้เป็นศาสนาที่แยกจากกัน

     อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังมีความท้าทายเกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ประมาณ 87% ของประชากร 280 ล้านคนของประเทศเป็นมุสลิม แต่มีประชากรคริสตชนมากเป็นอันดับสามในเอเชีย รองจากฟิลิปปินส์และจีน มีเพียง 2.9% ของประชากรทั้งหมดที่เป็นคาทอลิก หรือประมาณ 8,120,000 คน

     มัสยิดอิสติกลัลซึ่งแปลว่า “อิสรภาพ” ในภาษาอาหรับ เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 22 เอเคอร์ (9 เฮกตาร์) ชื่อนี้เป็นเครื่องเตือนใจอยู่เสมอถึงการต่อสู้ของประเทศกับอาณานิคมดัตช์ที่ปกครองประเทศมาเกือบ 350 ปี

 

 

ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้

     ตรงข้ามกับมัสยิดคือวัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (the Assumption of the Blessed Virgin Mary Cathedral) ของนิกายโรมันคาทอลิก รูปแบบนีโอโกธิคในกรุงจาการ์ตา ความใกล้ชิดของศาสนสถานทั้งสองแห่งนี้ เป็นสัญลักษณ์ว่าศาสนาต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้อย่างไร จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการระบุว่า

     มัสยิดและอาสนวิหารเชื่อมต่อกันด้วยทางลอดที่เรียกว่า "อุโมงค์แห่งมิตรภาพ" ซึ่งมีความยาวประมาณ 28 เมตร (91 ฟุต) โดยมีประติมากรรมเป็นรูปการณ์จับมือกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความปรองดองทางศาสนา โดยคาดว่าพระสันตะปาปาฟรังซิสจะเสด็จผ่านอุโมงค์นี้ด้วย

     แกรนด์อิหม่าม นาซารุดดิน อุมาร์ (Grand Imam Nasaruddin Umar) แห่งมัสยิดอิสติกลาล กล่าวกับสำนักพิมพ์ The Associated Press ว่า พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเลือกอินโดนีเซียเป็นจุดแรกในการเยือนทวีปเอเชียของพระองค์ ทำให้ "ชุมชนมุสลิมภาคภูมิใจ" นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า

     พวกเขาจะใช้การเสด็จเยือนของพระสันตะปาปา “เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นร่วมกันระหว่างชุมชนทางศาสนา และเน้นย้ำถึงความเหมือนกันระหว่างศาสนา ชาติพันธุ์ และความเชื่อ” แกรนด์อิหม่าม อูมาร์ ยอมรับว่า "สังคมพหุสังคมที่เพิ่มมากขึ้น" เช่นอินโดนีเซีย สามารถเผชิญกับความท้าทายได้มากขึ้น "แต่เราต้องรู้ว่าเราอยู่ด้วยกันภายใต้พระเจ้า"

 

 

ความรุนแรงทางศาสนา

     แม้ว่ารัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียจะรับประกันเสรีภาพในการนับถือศาสนาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นประเทศมุสลิมสายกลาง แต่กลับมีการปฏิบัติการด้วยความรุนแรง ดังเช่นในกรณีที่มีการจำคุกผู้ว่าการคริสตชนจาการ์ตาในข้อหาดูหมิ่นศาสนา ซึ่งส่งผลให้เกิดการประท้วงหลายครั้งในปี 2016 ไปจนถึงการโบยทำโทษชายรักร่วมเพศในจังหวัดอาเจะห์ (Aceh) ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายชาริอะห์ของศาสนาอิสลาม (Islamic Shariah law) นอกจากนี้ ยังมีรายงานความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยทางศาสนา และกลุ่มความเชื่อบางกลุ่ม ที่ไม่ยอมให้ใบอนุญาตก่อสร้างศาสนสถานได้

 

 

ความยินดีของชาวอินโดนีเซีย

     ในขณะเดียวกัน คันติกา สยามสินูร (Cantika Syamsinur) นักศึกษาวิทยาลัยอายุ 23 ปี ที่เพิ่งเสร็จสิ้นการละหมาดในมัสยิดอิสติกลัล และกำลังเดินทางไปที่อาสนวิหาร กล่าวว่า เธอยินดีต่อการมาเยือนของพระสันตะปาปาฟรังซิสและการประชุมศาสนสัมพันธ์ “มีศาสนามากมายในอินโดนีเซีย และฉันหวังว่าเราจะเคารพซึ่งกันและกัน” พระสันตะปาปาฟรังซิสจะเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 3 ที่เสด็จเยือนอินโดนีเซีย

     แต่เดิมการเดินทางนี้ถูกวางแผนไว้ในปี 2020 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซุสยานา สุวาดี (Susyana Suwadie) หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ของอาสนวิหารกล่าวว่า “การรอคอยสี่ปีนั้นค่อนข้างยาวนาน แต่ฉันรู้สึกตื้นตันใจมากขณะรอคอยการมาเยือนของพระองค์ “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่สำคัญนี้กำลังจะเกิดขึ้นในที่สุด”

 

 

พระสันตะปาปาจะช่วยเปลี่ยนแปลงโลกให้ดียิ่งขึ้น

     บางคนหวังว่า การประชุมศาสนสัมพันธ์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระดับรากหญ้า คุณพ่อโธมัส อูลัน อิสโมโย (Thomas Ulun Ismoyo) พระสงฆ์คาทอลิกซึ่งเป็นประชาสัมพันธ์ ของคณะกรรมการต้อนรับพระสันตะปาปาฟรังซิสในอินโดนีเซียกล่าวว่า “ผู้นำศาสนาในอินโดนีเซียมีบทบาทสำคัญมากเพราะประชาชนจะฟังพวกเขา ผมหวังว่า การเสด็จเยือนของพระสันตะปาปาฟรังซิส “จะนำไปสู่สิ่งที่ดี” และสนับสนุนโลกที่ดีกว่า ที่ซึ่งมนุษยชาติและความยุติธรรมทางสังคมได้รับความนับถือ

     อันดี ซาห์รา อลิเฟีย มาสดาร์ (Andi Zahra Alifia Masdar) นักศึกษาวิทยาลัยอายุ 19 ปีในกรุงจาการ์ตาเห็นด้วยว่า "เราสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้มากขึ้น มีความอดทนมากขึ้น และสามารถอยู่เคียงข้างกัน โดยไม่ทะเลาะกันตลอดเวลา"

 

 

 

 

 

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown