พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมอบสารแห่งความหวังแก่ชาวจีน (Pope Francis offers message of hope for the Chinese people)
- รายละเอียด
- หมวด: vatican news
- เขียนโดย Nuphan Thasmalee
- ฮิต: 234
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมอบสารแห่งความหวังแก่ชาวจีน (Pope Francis offers message of hope for the Chinese people)
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงให้สัมภาษณ์กับสมาชิกคณะเยสุอิตชาวจีน (Chinese Province of the Society of Jesus) ณ นครรัฐวาติกัน เพื่อเผยแพร่ในยูทูปของคณะเยสุอิตในประเทศจีน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2024 ทรงตรัสว่า ชาวจีนเป็น “ประชาชนผู้ยิ่งใหญ่” ที่ “จะต้องไม่ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง” และกล่าวย้ำถึงความปรารถนาของพระองค์ที่จะเดินทางไปเยือนยังประเทศนี้
ความสำคัญของการสัมภาษณ์ ที่พระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวกับคุณพ่อเปโดร เจีย (Father Pedro Chia) ผู้อำนวยการแผนกสื่อมวลชนของคณะเยสุอิตแขวงประเทศจีน คือ “ #ข้อความแห่งความหวัง ” และเป็นการอวยพรให้กับชาวจีนทุกคน เป็นการสัมภาษณ์ที่เน้นจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง สลับด้วยความทรงจำส่วนตัวของพระองค์ และมุมมองเกี่ยวกับอนาคตของพระศาสนจักร
สืบทอดมรดกของพวกเขาต่อไป (Carrying forward their legacy)
พระสันตะปาปาฟรังซิสไม่ได้ซ่อนความปรารถนาที่จะเสด็จเยือนประเทศจีน โดยเฉพาะพระวิหารแม่พระแห่งเช่อชานในเขตซงเจียง (Shrine of Sheshan in the Songjiang District) ซึ่งอุทิศให้กับพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ของคริสตชน สำหรับประเทศในทวีปเอเชีย พระองค์ทรงต้องการพบปะกับพระสังฆราชท้องถิ่น และ “ประชากรของพระเจ้าผู้มีความเชื่อมาก” “เป็นคนศรัทธา” “พวกเขาผ่านอะไรมามากมายแต่ก็ยังคงซื่อสัตย์”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคนหนุ่มสาวคาทอลิกชาวจีน “สำหรับข้าพเจ้าดูเหมือนเป็นเรื่องซ้ำซากที่จะส่งข้อความแห่งความหวังไปยังผู้คนที่เป็นเจ้าของความหวัง” และ “ความอดทนในการรอคอย” ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สวยงามมาก ประชาชนชาวจีนเป็น “ประชาชนผู้ยิ่งใหญ่” ที่ “ต้องไม่ทิ้งมรดกของตนไปโดยเปล่าประโยชน์” ตรงกันข้าม “พวกเขาต้องอดทนในการสืบสานมรดกของพวกเขาต่อไป”
คำวิจารณ์และการต่อต้าน (Criticism and resistance)
ในระหว่างการสัมภาษณ์ พระสันตะปาปาฟรังซิสยังสะท้อนถึงตำแหน่งสังฆราชของพระองค์ ซึ่งได้ดำเนินการด้วยความร่วมมือ การรับฟัง และการปรึกษาหารือกับหัวหน้าสมณสภาต่าง ๆ และคนอื่น ๆ “การวิพากษ์วิจารณ์สามารถให้ความช่วยเหลือ แม้ว่าจะไม่สร้างสรรค์ก็ตาม” เพราะ “การวิพากษ์วิจารณ์มีประโยชน์เสมอ มันทำให้คุณไตร่ตรองถึงการกระทำของคุณ”
และแม้กระทั่ง “เบื้องหลังการต่อต้าน บางครั้งอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีได้” บางครั้งคุณต้อง "รอคอยและอดทน" แม้จะ "เจ็บปวด" เช่นเมื่อต้องเผชิญกับการต่อต้าน "ต่อพระศาสนจักรอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้" จาก "กลุ่มเล็ก ๆ" อย่างไรก็ตาม “ช่วงเวลาแห่งความยากลำบากหรือความอ้างว้างจะได้รับการแก้ไขเสมอด้วยการปลอบประโลมใจ” ของพระเจ้า
สงครามและความท้าทายอื่นๆ (War and other challenges)
สำหรับ “ความท้าทาย” มากมายที่พระองค์ทรงเผชิญบนบัลลังก์ของนักบุญเปโตร จนถึงขณะนี้ พระสันตะปาปาทรงนึกถึง “ความท้าทายอันยิ่งใหญ่” ของโรคระบาด เช่นเดียวกับ “ความท้าทายในปัจจุบัน” ของสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยูเครน เมียนมาร์ และตะวันออกกลาง
“ข้าพเจ้าพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยการเสวนาอยู่เสมอ และเมื่อมันไม่ได้ผล ก็ต้องอดทนและมีอารมณ์ขันด้วย” ตามคำสอนของนักบุญโธมัส มอร์ (St. Thomas More)
วิกฤตส่วนบุคคล (Personal crises)
ในระดับส่วนตัว พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงนึกได้ว่า เคยประสบ “วิกฤต” บ้าง ในช่วงชีวิตนักบวชในฐานะเยสุอิต สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ “ไม่เช่นนั้น ข้าพเจ้าคงไม่ใช่มนุษย์” แต่วิกฤตการณ์สามารถเอาชนะได้ด้วยสองวิธี คือ 1) วิกฤตการณ์เหล่านี้ถูกผ่านไปและ 2) ถูกนำทางไป "เหมือนเขาวงกต" (labyrinth)
ซึ่งวิกฤตการณ์จะปรากฎออกมา "จากด้านบน" แล้ว “ไม่เคยออกมาตามลำพัง แต่จะมาด้วยความช่วยเหลือเสมอ” เพราะ “การยอมให้ตัวเองได้รับการช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญมาก” ข้าพเจ้าทูลขอจากพระเจ้าสำหรับ “พระหรรษทานที่จะได้รับการอภัย ขอให้พระองค์ทรงอดทนกับข้าพเจ้าด้วย”
มุมมองของผู้ยากจนเยาวชนและบ้านส่วนรวม (Discernment, the poor, the young, our common home)
พระสันตะปาปาฟรังซิสยังทรงกล่าวถึง “คุณลักษณะ 4 ประการของธรรมทูตสากล” (universal apostolic preferences) ของคณะเยสุอิต ซึ่งสรุปไว้ในปี 2019 ว่า เป็นลำดับความสำคัญสำหรับคณะสงฆ์ในอีกสิบปีข้างหน้า ได้แก่
1) การส่งเสริมการฝึกฝนด้านจิตวิญญาณและการคิดวิเคราะห์แยกแยะ
2) การเดินร่วมกับผู้ยากจนและผู้ที่ถูกกีดกัน
3) การร่วมมือกับคนหนุ่มสาวในการสร้างอนาคตแห่งความหวัง และ
4) การดูแลบ้านส่วนรวมของเรา
นี่คือหลักการ "บูรณาการ" 4 ประการที่ "แยกจากกันไม่ได้" โดยเน้นว่าการร่วมเดินทาง การวิเคราะห์แยกแยะ และงานแพร่ธรรมเป็นรากฐานสำคัญของคณะเยสุอิต
ลัทธิสมณะนิยมและเรื่องทางโลก (Clericalism and worldliness)
เมื่อมองถึงอนาคตของพระศาสนจักร พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวว่า ตามที่บางคนกล่าวไว้ว่า อนาคตของพระศาสนจักรจะ "เล็กลงกว่าเดิม" และจะต้อง "ระวังอย่าให้ตกอยู่ในภัยพิบัติของลัทธิสมณะนิยมและจิตวิญญาณฝ่ายโลก" ดังพระคาร์ดินัลอองรี เดอ ลูบัค (Cardinal Henri de Lubac) ผู้ล่วงลับไปแล้วเคยกล่าวว่า จะเป็น “ความชั่วร้ายที่เลวร้ายที่สุดที่อาจทำให้พระศาสนจักรต้องทนทุกข์ทรมาน และเลวร้ายยิ่งกว่าสมัยของผู้นำที่ไร้ศีลธรรมอีกด้วย”
สุดท้ายนี้ สำหรับใครก็ตามที่จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากบัลลังก์ของนักบุญเปโตร พระสันตะปาปาฟรังซิสเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอธิษฐานภาวนา เพราะ “พระเจ้าจะทรงตรัสในการอธิษฐานภาวนา”