พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงระลึกถึงการสิ้นสุดการยึดครองกรุงโรมของนาซี (Pope recalls end of Nazi occupation of Rome)
- รายละเอียด
- หมวด: vatican news
- เขียนโดย Nuphan Thasmalee
- ฮิต: 159
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงระลึกถึงการสิ้นสุดการยึดครองกรุงโรมของนาซี (Pope recalls end of Nazi occupation of Rome)
เมื่อวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2024 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเขียนจดหมายเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปีแห่งคำปฏิญาณที่ทำขึ้นในกรุงโรม ต่อหน้าแม่พระแห่งความรอดของชาวโรม (Salus Populi Romani) หลังจากที่เมืองนี้ได้รับการปลดปล่อยจากพวกนาซี นี่เป็นครั้งแรกที่เหตุการณ์นี้ได้รับการระลึกถึงในลักษณะนี้ โดยพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงเขียนจดหมายถึงรองพระสังฆราชแห่งโรมคือ พระสังฆราชผู้ช่วย บัลดัสซาเร เรนา (Auxiliary Bishop Baldassare Reina) ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อเย็นวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา
ในวันที่ 4 มิถุนายน 1944 ชาวโรมพร้อมด้วยพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 วิงวอนขอต่อพระแม่ให้กอบกู้บ้านเมือง เมื่อการปะทะกันโดยตรงระหว่างกองทัพเยอรมันและพันธมิตรแองโกลอเมริกัน (Anglo-American) ใกล้เข้ามา และเมืองกำลังเผชิญหน้ากับ "ฝันร้าย" แห่งการทำลายล้างของนาซี" โอกาสครบรอบ 80 ปี เป็นโอกาสหนึ่ง “เพื่ออธิษฐานภาวนาเพื่อเหยื่อของสงครามโลกครั้งที่ 2 และไตร่ตรองถึงหายนะอันเลวร้ายของสงคราม” “เราไม่สามารถและต้องไม่ยอมแพ้ต่อตรรกะของการใช้อาวุธ!” เหยื่อผู้บริสุทธิ์จากสงครามในยูเครน ปาเลสไตน์ อิสราเอล ซูดาน เมียนมาร์ และที่อื่น ๆ ท้าทาย “มโนธรรมของทุกคน เราไม่สามารถและจะต้องไม่ยอมแพ้ต่อตรรกะของการใช้อาวุธ!”
จงเป็นผู้สร้างสันติในทุกๆวัน (Everyday peacemakers)
สันติภาพเป็นของขวัญจากพระเจ้า แต่ต้องการคนที่เต็มใจยอมรับ “และมอบตัวเป็นผู้สร้างการคืนดีและเป็นพยานแห่งความหวัง” พระองค์ทรงแสดงความหวังว่า การรำลึกถึงคำปฏิญาณที่พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงให้ไว้กับแม่พระเมื่อ 80 ปีที่แล้ว จะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวโรมัน “เป็นสถาปนิกแห่งสันติภาพที่แท้จริงในทุกแห่งหน และเพื่อรื้อฟื้นภราดรภาพในฐานะเงื่อนไขสำคัญในการแก้ไขข้อขัดแย้งและความเป็นศัตรู” พระสันตะปาปาทรงเรียกร้องให้มีทัศนคติที่สงบสุขในชีวิตประจำวัน พระองค์ตรัสว่า เป็นเรื่องของการสนับสนุนความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้คน “ด้วยความกล้าหาญและความอ่อนโยน” และ “การปรองดองกับความตึงเครียดในครอบครัว ที่ทำงาน ที่โรงเรียน และในหมู่เพื่อนฝูง”
ความศรัทธาของพระสันตะปาปาฟรังซิสต่อแม่พระแห่งความรอดของชาวโรม (The Pope’s devotion to the Salus Populi Romani)
ในช่วง 11 ปีของการดำรงตำแหน่งสังฆราชแห่งโรม พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงทำสิ่งต่าง ๆ มากมาย เพื่อฟื้นฟูความศรัทธาต่อแม่พระแห่งความรอดของชาวโรม พระองค์ไปเยี่ยมรูปภาพนี้เป็นประจำ ซึ่งประดิษฐานไว้ ณ พระมหาวิหารพระนางมารีย์แห่งกรุงโรม (Basilica of Santa Maria Maggiore) ก่อนและหลังการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงในวันสมโภชพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมลในวันที่ 8 ธันวาคม และพระองค์มักจะนำรูปภาพนี้มาใช้ในการประกอบพิธีกรรมที่วาติกันด้วยเสมอ ล่าสุดนี้ รูปภาพของแม่พระแห่งความรอดของชาวโรมนี้ สามารถมองเห็นได้ในฉากหลังของพระสันตะปาปาฟรังซิสโอกาสมโภชพระวรกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสตเจ้า
เมื่อพระองค์ทรงอวยพรศีลมหาสนิทสิ้นสุดขบวนแห่ที่บริเวณด้านหน้าของพระมหาวิหารพระนางมารีย์แห่งกรุงโรม พระสันตะปาปาฟรังซิสกล่าวว่า “เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่พระสันตะปาปาในอดีต ทรงเขียนจดหมายของพระองค์ว่า ภาพของพระแม่มารี “สถิตอยู่ในหัวใจของชาวโรม” ผู้ซึ่งวิงวอนขอพระนางในการอธิษฐานภาวนาในช่วงที่เกิดโรคระบาด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และสงคราม “เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิตทางศาสนาและพลเมืองของโรมพบว่ามีเสียงสะท้อนอยู่ตรงหน้าภาพนี้”
ด้วยเหตุนี้ ชาวโรมจึงมอบความไว้วางใจให้กับแม่พระแห่งความรอดของชาวโรม เพราะพวกเขากลัวว่าเมืองของพวกเขาจะถูกทำลายโดยพวกนาซีในปี 1944
4 มิถุนายน 1944: #การปลดปล่อยกรุงโรมอย่างสันติ (4 June 1944: The peaceful liberation of Rome) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1944 กรุงโรมเป็นเมืองหลวงแห่งแรกที่ได้รับการปลดปล่อยจากการยึดครองของนาซี โดยปราศจากการต่อสู้ที่น่ากลัว ประจักษ์พยานร่วมสมัยบางคนมองว่า เป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่เมืองนี้ไม่ได้ถูกทำลายล้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชาวอเมริกันทิ้งระเบิดและทำลายเมืองมอนเตกัสซิโน (Montecassino) จนหมดสิ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์
นครรัฐวาติกันและพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 (1939-1958) ชักชวนจอมพลอัลเบิร์ต เคสเซลริง (Field Marshal Albert Kesselring) ให้ประกาศให้กรุงโรมว่าเป็น 'เมืองเปิด' (Open City) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่ได้รับการปกป้อง ดังนั้นจึงไม่อาจถูกโจมตีได้