สตรี บุรุษ และเด็กๆ หลายแสนคน ยังคงต้องทนทุกข์ในความรุนแรงทางเพศเนื่องจากการสู้รบ
- รายละเอียด
- หมวด: vatican news
- เขียนโดย คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม
- ฮิต: 276
• ในเดือนพฤศจิกายน 2018 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติได้ประณามความรุนแรงทาสเพศทุกรูปแบบ ประกาศว่านี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ตามที่องค์การสหประชาชาติแถลง จากการสำรวจสตรีและเด็กผู้หญิง 200 ล้านคน ใน 30 ประเทศทั่วโลก ต้องทุกข์ทนจากการถูกขลิบอวัยวะเพศ (female genital mutilation)
++ อันโตนีโอ กูเตอร์เรส ++
(เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ)
“ความรุนแรงสามารถเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ในครัวเรือนจนไปถึงการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ความรุนแรงทางเพศเมื่อขัดแย้งกันไปจนถึงเรื่องให้แต่งงานกันตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก การขลิบอวัยวะเพศไปจนถึงเรื่องสังหารสตรีให้ถึงตาย (femicide)
ดูเหมือนเป็นประเด็นที่กระทำต่อปัจเจกบุคคล แต่ก็ส่งผลยาวไกลต่อครอบครัวและสังคม"
• เพื่อตอบปัญหานี้ องค์การสหประชาชาติได้จัดกิจกรรม 16 วัน ปฏิบัติการต่อต้านความรุนแรงทางเพศ
โดยตั้งชื่อการประชุมนี้ว่า “โลกสีส้ม : # ฟังฉันด้วย”
มีจุดหมายเพื่อส่งเสริมความสำนึกต่อเรื่องราวเกี่ยวพันธ์กับปัญหาที่กล่าวมานี้
• ยิ่งกว่านั้น ตามคำแถลงของสมณฑูตวาติกันในประเทศสหราชอาณาจักรและเบลเยียมกล่าวว่า “สตรี บุรุษ และเด็ก นับแสนคนยังคงต้องทนทุกข์ในความรุนแรงทางเพศจากการสู้รบ”
สิ่งนี้มักนำมาใช้เป็นอาวุธในสงคราม เพื่อทำลายผู้คนและล้มล้างประเทศ
• ซิสเตอร์ไชลา คินเซย์ ผู้ทำงานในคณะกรรมการยุติธรรม สันติ และบูรณภาพ แห่งสรรพสิ่งสร้าง (Justice, Peace and Integrity of Creation Commission) กล่าวว่า ความรุนแรงทางเพศมักเกิดขึ้นในสถานที่ที่คล้ายกับประเทศประชาธิปไตยคองโก ซึ่งมีกิจการด้านลบดำเนินอยู่ ที่นี่แร่ธาตุใต้ดินถูกนำมาสกัดในโรงงานผลิตสินค้าทุกวัน ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่
++ ซิสเตอร์ไชลา คินเซย์ ++
(ผู้ช่วยเลขาธิการบริหารคณะกรรมการยุติธรรม สันติ และบูรณภาพแห่งสรรพสิ่งสร้าง)
“ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมองดูที่โทรศัพท์ไร้สายหรือคอมพิวเตอร์ของคุณ แร่โคลแทน (ใช้ทำแบตเตอรี่สำหรับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ไร้สาย) นำมาจากประเทศประชาธิปไตยคองโก แหล่งผลิตใหญ่ที่สุดอยู่ที่ประเทศนี้ ก็เลยเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบกัน”
• ซิสเตอร์คินเซย์เล่าว่าคณะกรรมการระดับชาติและความร่วมมือกันในวงกว้าง เช่นบริษัทไมโครซอฟท์ต้องการปกป้องศักดิ์ศรีมนุษย์ และขอให้ประเทศที่ส่งออกแร่โคลแทนเหล่านั้นต้องปราศจากการรบสู้แย่งชิงกัน
++ ซิสเตอร์ไชลา คินเซย์ ++
(ผู้ช่วยเลขาธิการบริหารคณะกรรมการยุติธรรม สันติ และบูรณภาพแห่งสรรพสิ่งสร้าง)
“ถ้าเราจะพูดกับประชาชนเช่นนายบิลเกตส์ หรือใครก็ตามที่ต้องการใช้แร่โคลแทน ผู้อยู่ในที่ปลอดภัย...ให้เขาบอกกับโลกว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการเห็นในสถานที่ส่งสินแร่นี้มาให้เขาเพื่อจะนำไปผลิตอุปกรณ์นี้ จะต้องมาจากพื้นที่ที่ปลอดภัยและมีสันติ”
• ซิสเตอร์ยังเสริมว่าความพยายามนี้ยังต้องมาจากเราแต่ละคนด้วย นี่หมายความว่าเราจะเป็นสังคมที่มีความรับผิดชอบในทุกกิจการลงทุนและซื้อขาย สำรวจด้วยว่าเงินลงทุนของพวกเขานั้นได้มาจากแหล่งไหน.