มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED
HOT NEWS
ขอเชิญร่วมศึกษาพระคัมภีร์ “หนังสือกันดาร: แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯขอเชิญร่วมศึกษาพระคัมภีร์ “หนังสือกันดารวิถี” (Book of Numbers)วันเสาร์ที่ 11 และ 18 พฤษภาคม 2024บรรยายโดย Fr.Guillaume LEPESQUEUX, MEP วิทยากรออนไลน์ด้วยโปรแกรม ZOOMMeeting ID: 3946886488 Passcode: 363636และ Youtube Live แผนกพระคัมภีร์ กรุงเทพฯ กำหนดการ08.15 น. เปิดห้อง ZOOM08.30 น. ศึกษาพระคัมภีร์ ช่วงที่ 109.30 น. พัก 15 นาที09.45 น. ศึกษาพระคัมภีร์ ช่วงที่ 210.45 น. พัก 15 นาที11.00 น. ศึกษาพระคัมภีร์ ช่วงที่ 312.00 น. พักเที่ยง13.30 น. ศึกษาพระคัมภีร์ ช่วงที่ 414.30 น. พัก 15 นาที14.45 น. ศึกษาพระคัมภีร์ ช่วงที่ 515.45 น. จบการอบรม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อ.มนต์สิงห์ โทร. 0836980122 หรือ ID Line : thaibible พิธีปฏิญาณตนตลอดชีพพัชรสมโภช 70 ปี 60 ปี: พิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสพิธีปฏิญาณตนตลอดชีพพัชรสมโภช 70 ปี 60 ปีสุวรรณสมโภชและหิรัญสมโภช คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานในพิธีวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 ณ หอประชุม Trinity Hall โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์   รับศีลมหาสนิทครั้งแรก วัดนักบุญหลุยส์มาร: คุณพ่อยออากิม ธนายุทธ ผลาผล เป็นประธานพิธีบูชาขอบพระคุณ รับศีลมหาสนิทครั้งแรกให้นักเรียน เรียนคำสอน 2 ท่าน และร่วมแห่แม่พระประจำเดือนพฤกษภาคม ณ วัดนักบุญหลุยส์มารีย์ เดอ มงฟอร์ต (บางแค) วันอาทิตย์ที่ 5 พฤกษภาคม 2024 พิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและพิธีรื้อฟื้น: วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2024 รับศีลมหาสนิทครั้งแรก สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา พิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรกและพิธีรื้อฟื้นศีลล้างบาปอย่างสง่า โดย คุณพ่อ ยอห์น บัปติสต์ สำรวย กิจสำเร็จ  ณ วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง วัดนักบุญเปโตร สามพรานอำลาคุณพ่อและซิสเต: วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2024 ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน พิธีบูชาขอบพระคุณอำลาคุณพ่ออัครนนท์ กิจเจริญ และซิสเตอร์กิตติมา โสภานุสนธิ์  เข้าดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหม่ 

ตำแหน่ง “มงซินญอร์” (พระคุณเจ้า) และความหมาย


ความหมายและที่มา
คำว่า “Monsignor” เป็นเอกพจน์ อ่านว่า ‘มงซินญอร์’ คำ “Monsignori” เป็นพหูพจน์อ่านว่า ‘มงซินญอรี’ คือรูปแบบของคำ นำ หน้าตำแหน่ง “Title” การทักทายที่ให้เกียรติต่อสมาชิกสงฆ์บางองค์ของ พระศาสนจักรคาทอลิกซึ่งได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติจากสมเด็จพระสันตะปาปา ตำแหน่งนี้จะมอบให้กับ ปัจเจกบุคคลซึ่งทำ งานที่ถือว่ามีคุณค่าน่ายกย่องมาก สำหรับพระศาสนจักร หรือสำหรับบุคคลท่ีปฏิบัติหน้าที่พิเศษบางอย่างในการปกครองของพระศาสนจักร หรือสำหรับพระสงฆ์สมาชิกขององค์กรที่มีลักษณะพิเศษบางประเภท เช่น ทางการทูตของสันตะสำนักตำแหน่งดังกล่าวไม่เคยมีการมอบให้กับบุคคลที่จัดอยู่ในประเภทนักบวช (Religious orders) แห่งพระศาสนจักรคาทอลิก แม้ในบางภาษาตำแหน่งนี้หรือรูปแบบของการทักทายจะใช้กับพระสังฆราช ซึ่งเป็นคำทักทายที่ให้เกียรติเป็นอย่างสูงสำ หรับภาษาเหล่านั้น เช่น ภาษาฝรั่งเศส อิตาเลียน สเปน แต่นี่มิได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภาษาอังกฤษ คำว่า Monsignor เป็นคำ ที่มาจากศัพท์เดียวกันกับภาษาอิตาเลียน Monsignoreและจากภาษาฝรั่งเศส mon+seigneur ซึ่งแปลว่า “my lord”คำย่อคือ Mgr (ไม่ต้องใส่จุด) หรือ Msgr.หรือ Mons.“Monsignor” เป็นรูปแบบของการทักทายยกย่องให้เกียรติ การแต่งตั้งนี้ไม่ใช่โดยสังฆราชมอบให้กับเจ้าวัดหรือเป็นมงซินญอร์แห่งวัด ตำแหน่งหรือรูปแบบของการทักทายนี้มีความสัมพันธ์โดยเฉพาะซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาเท่านั้นจะแต่งตั้งเป็นลักษณะของเครื่องราชฯ หรือเครื่องยศประเภทหนึ่ง เดิมทีนั้นมีหลายชั้นหรือหลายลำ ดับทีเดียว ซึ่งในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทรงลดลงให้เหลือเพียง 3 ชั้น

ได้แก่ 1. Protonotary Apostolic
2. Honorary Prelate of His Holiness และ
3.Chaplain of His Holiness

นอกเหนือจากผู้ที่ทำ งานอยู่ในสมณกระทรวงต่างๆ ของกรุงโรมและผู้ที่ทำงานด้านการทูตของสันตะสำนักแล้ว โดยปกติยังมีสงฆ์แห่งสังฆมณฑลที่พระสันตะปาปาทรงมอบตำแหน่งนี้ได้โดยการเสนอชื่อจากพระสังฆราชท้องถิ่น การจะประทานตำแหน่งนี้ให้แก่ผู้ใดขึ้นอยู่กับระเบียบแห่งสันตะสำ นักซึ่งรวมถึงอายุขั้นต่ำสุดด้วย

     ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสหลังได้รับการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013จากนั้นไม่นานพระองค์ทรงยกเลิกการมอบตำแหน่งมงซินญอร์ให้ผู้ใดในสังฆมณฑลถ้าไม่จำเป็นจริงๆยกเว้นสมาชิกที่ทำ งานด้านการทูตของสันตะสำนักหรือบุคคลที่เคยได้รับตำแหน่งมาแล้วให้ดำเนินต่อไป ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกันพระองค์ทรงแจ้งให้ทุกคนทราบถึงการตัดสินพระทัยที่จะไม่รับคำ ร้องจากบรรดาพระสังฆราชท้องถิ่น ในการแต่งตั้งมงซินญอร์แบบพร่ำ เพรื่อทั้งสามชั้น ยกเว้น Chaplain of His Holiness(อนุศาสนาจารย์ส่วนพระองค์) ซึ่งเป็นลำดับชั้นต่ำสุดและผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้รับตำแหน่งนั้นต้องมีอายุไม่่ำ กว่า 65 ปี สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสยังตรัสว่าในช่วง 15 ปีที่พระองค์เป็นพระอัครสังฆราชแห่งบัวโนสไอเรสนั้นพระองค์ไม่เคยขอให้พระสงฆ์ของพระองค์รับตำแหน่งนี้เลย เพราะมีพระสังฆราชหลายองค์ขอให้พระสงฆ์ลักษณะเป็นเครื่องต่อรองในการมอบตำแหน่งและรางวัลให้ ซึ่งเราเข้าใจว่าพระองค์ทรงคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงหรือแนวโน้มของบางคนกับคำว่า “อาชีพของความเป็นสงฆ์” เพราะมีพระสงฆ์บางองค์ทำงานแบบ “อาชีพพระสงฆ์” ซึ่งแท้จริงแล้ว พระสงฆ์เป็นชีวิตไม่ใช่เป็นอาชีพ อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่มอบให้ไปแล้วจะไม่มีการถอดถอนการแต่งตั้งมงซินญอร์ทั้งสามลำ ดับชั้นยังคงดำเนินต่อไปสำ หรับเจ้าหน้าที่ในสมณกระทรวงและผู้ที่ทำงานในวงการทูตของสันตะสำนัก (Diplomats of the Holy See) อีกทั้งไม่มีการขอคืนอภิสิทธิ์ที่มอบให้กับบางองค์กรซึ่งสมาชิกบางท่านเคยได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติ คือ Protonotary Apostolic,Honorary Prelate of His Holiness และChaplain of His Holinessเช่นเดียวกันผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบกับกระบวนใหม่นี้คือตำแหน่งอุปสังฆราช ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลแต่งตั้ง โดยไม่จำ เป็นที่จะต้องแต่งตั้งเป็น protonotary apostolic พระสงฆ์พื้นเมืองที่เป็นอุปสังฆราชก็ยังคงดำ รงในตำแหน่งตราบเท่าที่ยังทำหน้าที่นั้นอยู่เท่านั้น

 

ตำแหน่งและรูปแบบของการทักทาย 

     แม้ในบางภาษา “Monsignore (อิตาเลียน)” “Monseigneur (ฝรั่งเศส)” “Monseñor (สเปน)”ฯลฯ เป็นรูปแบบปกติในการทักทายสงฆ์ที่มีตำแหน่งสูง ซึ่ง จัดว่าเป็น “พระผู้ใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิ” รูปหนึ่งแต่ต่ำกว่า ตำแหน่งพระคาร์ดินัล สมเด็จพระอัยกา พระสังฆราชและพระอัครสังฆราช ปกติแล้วในภาษาอังกฤษเขาจะทักทายพระคาร์ดินัลว่า “Your Eminence” หรือภาษาไทย “เจ้าพระคุณท่าน” และเรียกคำ นำ หน้าพระสังฆราชว่า “Most Reverend” (พระคุณท่าน หรือพระคุณเจ้า)ส่วนคำว่า “มงซินญอร์” โดยทั่วไปจะเรียกทับศัพท์หรือภาษาไทย อาจจะเรียกได้ “พระคุณเจ้า” ซึ่งเป็นคำ ที่สงวนไว้สำ หรับเรียกพระสงฆ์พื้นเมืองที่ได้รับเกียรติพิเศษหรือที่ทำ หน้าที่พิเศษโดยเฉพาะในการเขียนทักทายสำ หรับพระสงฆ์ที่ได้รับ
     ตำแหน่งดังกล่าวคือ มงซินญอร์แล้วตามด้วยชื่อและนามสกุล หรือ The Most Reverend Monsignorตามด้วยชื่อและนามสกุล สำ หรับภาษาพูดจะทักทายด้วย มงซินญอร์แล้วตามด้วยนามสกุล ก่อนที่จะมีการ
ทำ ให้การเรียกตำแหน่งนี้ง่ายขึ้นในปี 1969 ผู้ที่เป็นมงซินญอร์ชั้นต่ำ สุดในภาษาอังกฤษต้องทักทายว่าThe Reverend Monsignor (ภาษาละติน ReverendissimusDominus; ภาษาอิตาเลียน ReverendissimoMonsignore)
     ส่วนผู้ที่เป็นมงซินญอร์ชั้นสูงกว่าต้องทักทายว่า The Right ReverendMonsignor(ภาษาละติน Illustrissimus et ReverendissimusDominus; ภาษาอิตาเลียน Illustrissimoe ReverendissimoMonsignore)
ในปี ค.ศ. 1969 มีคำแนะนำจากสำนักเลขาธิการรัฐแห่งสันตะสำ นักที่ระบุว่าตำแหน่งมงซินญอร์อาจใช้ได้สำ หรับทักทายพระสังฆราชก็ได้ เพราะไม่ต้องเรียก ฯพณฯ ตลอดเวลาในการสนทนาคำแนะนำ นี้มีการ
ปฏิบัติกันโดยทั่วไปสำ หรับประเทศที่ใช้ภาษาอิตาเลียนฝรั่งเศสและสเปนยกเว้นภาษาอังกฤษ คำ นำ ดังกล่าวยังแสดงว่าในกรณีของพระสังฆราช “Reverendissimus”ซึ่งในที่นี้มักจะแปลกันว่า “The Most Reverend”
แทนที่จะแปลว่า “Very Reverend” คำ เหล่านี้อาจนำไปผนวกเข้ากับคำว่า “Monsignor” ได้ เช่นเดียวกับกรณีของสงฆ์ผู้ใหญ่ที่ไม่มีตำแหน่งสังฆราช เช่น Promotor General of Justice and the Defender of the
Bond of the Apostolic Signatura, the Apostolic Protonotaries “de numero,”andthefour Clericsof the Camera ส่วนคำ นำ หน้า “His Lordship”หรือ “Your Lordship” ในภาษาอังกฤษจะใช้สำ หรับ
พระสังฆราชเท่านั้น 

ลำดับชั้นตำแหน่งมงซินญอร์

      ตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนปี1968 ตำแหน่งมงซินญอร์อย่างน้อยก็มี14 ชั้นด้วยกัน ซึ่งรวมถึงผู้ที่เป็นหัวหน้าคูเรียพระสังฆราชท้องถิ่น Protonotaries apostolic มี4 ลำ ดับชั้น ส่วน Papal chamberlain หรือสำ นัก พระราชวังพระสันตะปาปา มีอีก 4 ลำ ดับชั้น และในชั้นนี้Papal chamberlain ยังมีถึง 5 ประเภทด้วยกัน สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทรงใช้สมณโองการ PontificalisDomus ลงวันที่ 28 มีนาคม 1968 ประกาศลดตำแหน่งมงซินญอร์เหลือเพียง 3 ลำดับชั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา apostolic protonotaries ถูกจัดให้เป็นประเภท de numero หรือ supernumerary ตำแหน่งเดิมประเภท chamberlain และ chaplains ถูกลบทิ้งไป คงเหลือเพียงตำแหน่งเดียว คือ “Chaplains of His Holiness” ซึ่งเป็น ตำแหน่งสำหรับพระสงฆ์อาวุโสผู้ที่มีวุฒิภาวะและความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ 

 

สามตำแหน่งที่สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทรงตั้งขึ้นใหม่ตามลำดับมีดังนี้

1. Apostolic Protonotary ที่ยังคงไว้สองประเภทได้แก่ de numero ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงกว่าซึ่งมีไม่กี่คนในวาติกัน ปกติมักจะมีแค่7 คนส่วน Supernumerary (ตำแหน่งสูงสุดสำ หรับมงซินญอร์ที่อยู่นอกโรม) ในชั้นนี้ พระคุณเจ้า ยวง นิตโย อดีตประมุขแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เคยได้รับก่อนที่ท่านได้เป็นพระอัครสังฆราช

2. Honorary Prelate of His Holiness (เดิมชื่อว่า “Domestic Prelate”) ในประเทศไทย มี พระสงฆ์ท่านเดียว คือ มงซินญอร์วิษณุ ธัญญอนันต์ ที่ได้รับขั้นนี้มาเนื่องจากท่านรับราชการสายการทูตแห่ง
สันตะสำ นัก นครรัฐวาติกัน

3. Chaplain of His Holiness (เดิมชื่อว่า “Supernumarary Privy Chamberlain”) ซึ่งเป็นลำดับขั้นที่ มงซินญอร์ทัศไนย์ คมกฤส เพิ่งได้รับมา ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส 

 

ในอดีต ลำดับ Chaplain of His Holiness นี้ เคยมีพระสงฆ์ไทยที่ได้รับก่อนหน้ามงซินญอร์ ทัศไนย์ คมกฤส คือมงซินญอร์วิลเลี่ยม ตัน พระสงฆ์ แห่งกรุงเทพฯ และมงซินญอร์ชวลิต วินิตกูล พระสงฆ์แห่งราชบุรี (ท่านทั้งสองนี้เสียชีวิตแล้ว)
ก่อนปี ค.ศ. 1968 การแต่งตั้ง Privy Chamberlain จะพ้นหน้าที่เมื่อพระสันตะปาปาผู้ประทาน ตำแหน่งสิ้นชีวิตลง กฎนี้ยกเลิกไปแล้ว เช่นผู้ที่มีรายชื่อ อยู่ในสมุดบันทึกของพระสันตะปาปาเป็น Chaplain of His Holiness ยังคงมีชื่ออยู่ต่อไปในสมุดบันทึก 

หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 1 ในปี 1978 จนถึงหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะ ปาปายอห์น ปอล ที่2 ในปี2005 แม้แต่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเองก็ทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่รับคำ ร้องจากพระสังฆราชท้องที่ขอให้เลื่อนตำแหน่งผู้ใดให้สูงกว่าตำแหน่ง Chaplain of His Holiness และสมาชิกทั้งสามประเภทที่สมเด็จ พระสันตะปาปาเปาโล ที่6 ทรงแต่งตั้งไว้ก็ยังคงสามารถทำหน้าที่ได้ต่อไป ตำแหน่งที่สูงกว่าอาจได้มาโดยการเป็นสมาชิกของบางองค์กรที่เกี่ยวกับกฎหมายและผู้ที่เป็นอุปสังฆราช (เฉพาะเมื่ออยู่ในตำแหน่ง) ส่วนการแต่งตั้งใหม่นั้นยังคงมีต่อไปสำหรับเจ้าหน้าที่ศาลและผู้ที่ทำ งานด้านการทูตของสันตะสำ นักเท่านั้น

 

เครื่องแบบสมณศักดิ์

     คำสั่งของสำนักเลขาธิการรัฐแห่งสันตะสำนักในปีค.ศ. 1969 กำ ชับเรื่องเครื่องแบบของมงซินญอร์ ให้มีความเรียบง่าย 

Chaplains of His Holiness ใช้เสื้อหล่อ สีดำ หรือสีขาวในประเทศร้อน ชายเสื้อหล่อขลิบด้วยสีม่วง และมีผ้าสีม่วงคาดเอวในทุกโอกาสตำแหน่ง

Honorary Prelate of His Holinessใช้เสื้อหล่อสีดำ หรือสีขาวในประเทศร้อน ขลิบชายเสื้อสีแดง และมีผ้าคาดเอวสีม่วงใช้ในทุกโอกาส สีแดงจะ
เป็นสีเดียวกับที่ใช้กับบรรดาพระสังฆราช พวกเขาอาจใช้เสื้อหล่อสีม่วงทั้งชุดดุจคณะนักร้องในพิธีจารีตในโอกาสที่มีการฉลองพิเศษก็ได้เรียกว่า abitocolrale 

SupernumeraryApostolicProtonotaryแต่งกายเช่นเดียวกับ Honorary Prelate แต่มีอภิสิทธิ์ใช้ferraiuolo สีม่วงซึ่งเป็นเสื้อคลุมทำ ด้วยผ้าไหมสวมทับเสื้อหล่อสีดำ ขลิบชายเสื้อสีแดงซึ่งไม่ใช้ในจารีตพิธีฉลองใหญ่ๆ เช่นงานวันรับปริญญา

ApostolicProtonotary de nemeroและหัวหน้าสำ นักงานต่างๆ ในคูเรียที่ไม่ได้เป็นพระสังฆราช และผู้ที่อาจได้รับการทักทายว่า Most Reverend Mongsignor ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะแต่งกายด้วยเครื่องแบบเดียวกันกับApostolicProtonotaryแต่สวมหมวกดำสี่เหลี่ยมมีจุกสีแดง(Beretta) พวกเขาจึงถูกเรียกว่า prelates of the mantelletta เพราะการแต่งกายที่แตกต่างไปจากผู้อื่น

 

มงซินญอร์ประเภทอื่น

ตามกฎหมายของสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 10 อุปสังฆราชหรือผู้บริหารสังฆมณฑลระดับสูงมีตำแหน่ง Protonotariesdurantemunere คือมีตำแหน่งตราบเท่าที่ยังทำ หน้าที่เป็นอุปสังฆราชอยู่เท่านั้น จึงสามารถได้รับการทักทายว่า Monsignor ได้อภิสิทธิ์แต่ประการเดียวสำหรับเครื่องแบบที่สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 10 ทรงมอบให้ผ้าคาดเอวที่ทำ ด้วยผ้าไหม หมวกสี่เหลี่ยมสีดำ มีจุกบนหมวกพร้อมเสื้อคลุมสีดำ ที่ไม่มีแขน เพราะเหตุดังกล่าวพวกนี้ในบางประเทศได้รับสมญานามว่า black protonotaryแต่ตำ หนักของพระสันตะปาปา (Pontificalisdomus)ของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่6 ทรงปลดตำแหน่งนี้ออกไป ตำแหน่ง “monsignor” มิได้ถูกเพิกถอนไปจากผู้ที่เป็นอุปสังฆราช เช่นว่าเราจะเห็นการใช้คำย่อ“Mons.” นำหน้าชื่อของผู้ที่เป็นอุปสังฆราชประจำสังฆมณฑลในสมุดบันทึกแห่งสันตะสำ นัก แต่ตำแหน่งMonsignor ที่ถือว่าเป็นตำแหน่งทรงเกียรตินี้ถือว่าไม่เหมาะสมสำ หรับผู้ที่เป็นนักบวชคณะต่างๆ

ภายใต้สมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 สำนักเลขาธิการแห่งสันตะสำนักตั้งคุณสมบัติขั้นต่ำ ของพระสงฆ์ในการแต่งตั้งเป็นChaplains of His Holiness (อายุ 35 ปีและบวชมาแล้วอย่างน้อย 10 ปี) Honorary Prelate (อายุ45 ปีและบวชมาแล้ว15 ปี) Protonotary Apostolic Supernumerary (อายุ 55 ปีและบวชมาแล้ว 20ปี) ยกเว้นอายุขั้นต่ำ อุปสังฆราชที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Honorary Prelate ด้วยความจริงที่ว่า ตราบที่เขาเป็นอุปสังฆราชเขารั้งตำแหน่งที่สูงกว่า Protonotary Apostolic Supernemerary อยู่แล้ว ด้วยเหตุผลเดียวกันสำ นักเลขาธิการรัฐถือว่าเป็นการไม่เหมาะสม ที่ผู้ใดที่เคยเป็นอุปสังฆราชแล้วจะได้รับการแต่งตั้ง
เป็น Chaplain of His Holiness อย่างไรก็ตามกฎระเบียบเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยการตัดสินพระทัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเมื่อปี 2013 โดยจะมอบตำ แหน่ง Chaplain of His Holiness และผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำ กว่า 65 ปี 

ตราประจำตำแหน่งและการใช้สีหมวกปีก – พู่ห้อย (Coat of arms)ตราประจำ ตำแหน่ง สัญลักษณ์หมวกปีกม่วง
และการใช้สีพู่ห้อยสีแดง 12 ดอก (ProtonotaryApostolic)


ตราประจำ ตำแหน่ง สัญลักษณ์หมวกปีกม่วงและการใช้สีพู่ห้อยสีม่วง 12 ดอก (HonoraryPrelate of His Holiness)
ตราประจำ ตำแหน่ง สัญลักษณ์หมวกปีกดำและการใช้สีพู่ห้อยสีม่วง 12 ดอก (Chaplain of HisHoliness)

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown