การเบียดเบียนศาสนา ในมิสซังกรุงเทพฯ
- รายละเอียด
- หมวด: นักบุญ นักโทษ 1
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 1363
การเบียดเบียนศาสนา ในมิสซังกรุงเทพฯ
ในมิสซังกรุงเทพฯ การเบียดเบียนรุนแรงมากเช่นเดียวกันและดำเนินเป็นขั้นตอนเหมือนทางภาคอีสาน เว้นแต่พวกมรณสักขีของหมู่บ้านสองคอน
เกี่ยวกับการบีบบังคับ ในตอนต้นพวกพระสงฆ์ไม่ว่าใครก็ตาม ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแนวที่ 5 พระสงฆ์ไทย 4 องค์ ถูกจับจำคุกและถูกส่งมาขังที่บางขวางรวมกับคุณพ่อเอดัวรด์จากนครพนม ฝ่ายพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส รัฐบาลดำเนินการตามคำสั่งลงวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และคำสั่งลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941
และด้วยการกำจัดศาสนาคริสต์ทุกวิถีทางด้วยการทำให้พวกคริสตังทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ ในโรงเรียน ละทิ้งศาสนาด้วยการทำให้กลัว เขาไล่พวกข้าราชการและพวกครูคาทอลิกออกจากราชการ เว้นแต่พวก เขาจะยอมละทิ้งศาสนาพวกเลือดไทยเผาวัด 4แห่งพร้อมทั้งทำลายหรือสร้างความเสียหายให้แก่วัดหลาย แห่ง วัด 17 แห่ง ถูกปิดเช่นเดียวกับโรงเรียนเล็กๆ ของวัดทุกแห่ง
กรุงเทพฯ
คำสั่งของหลวงพิบูล ซึ่งพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ภายหลังการปฏิวัติได้บอกแก่ ข้าราชการทุกคนและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทุกคนทั้งพุทธและคาทอลิก ให้แจ้งการนับถือศาสนาของตน และ ดังนั้น จึงได้ดำเนินการจัดทำรายชื่อข้าราชการคาทอลิกทุกคน
นายมั่นและนายคงจากสถานีวิทยุกระจายเสียง รวมทั้งคณะเลือดไทย ทำการกดดันพวกคริสตัง เพื่อจะให้เกิดเอกภาพทางศาสนาในศาสนาพุทธ
พิธีใหญ่โตในการละทิ้งศาสนาจัดขึ้นที่วัดพระมหาธาตุเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ดู จดหมายของพระสังฆราชแปร์รอสถึงเพื่อนมิชชันนารีที่ไปอยู่ในมิสซังไซ่ง่อนตั้งแต่วันที่ 2กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ดังนี้
เอกสารหมายเลข 24
ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่ละทิ้งศาสนา
พระสังฆราชแปร์รอสยกตัวอย่างของพระวิชัย
พระวิชัยเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ หลังจากได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ หลวง อดุลผู้บังคับบัญชาของเขาได้กล่าวชมเชยและไม่ยอมรับใบลาออกของเขา
เช่นเดียวกัน พระอชิรกิต รองอธิบดีกรมไปรษณีย์กลาง ได้กล่าวว่า ท่านรับราชการมา30 ปี ด้วย ความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เงินเดือนที่ได้รับพอเป็นค่าอาหารและเลี้ยงดูลูกๆ หลายคน ต่อมาท่านประ กาศอย่างเปิดเผยว่า ครอบครัวของท่านไว้ใจในพระญาณสอดส่อง และท่านยื่นใบลาออกจากหน้าที่ราชการ ต่อเจ้านายของท่านทันที อธิบดีกรมไปรษณีย์กลางไม่ยอมรับใบลาออกของท่าน ได้เห็นความกล้าหาญและ ความซื่อสัตย์ของท่านในการรับใช้พระเจ้าและประเทศชาติ
จำนวนรวมของผู้ที่ละทิ้งศาสนาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เพียงวันเดียวมากกว่า 300 คน
ในจดหมายฉบับวันที่ 24 มีนาคม พระสังฆราชแปร์รอสเขียนว่า “พวกพระสงฆ์พื้นเมืองตัวสั่นด้วย ความกลัว” ส่วนในจดหมายอีกฉบับหนึ่ง คุณพ่อโชแรงหลังจากได้เห็นกับตาว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญเกือบ ว่างเปล่าในวันอาทิตย์ ท่านเสริมว่า “พวกคริสตังตัวสั่นด้วยความตกใจ พวกเขาซ่อนตัวอยู่"