www.catholic.or.th

มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

คริสตชนควรปฏิบัติตนอย่างไร ในเทศกาลมหาพรต

คริสตชนควรปฏิบัติตนอย่างไร ในเทศกาลมหาพรต

1. การสวดภาวนา 

การสวดภาวนา นับว่าเป็นกิจการที่สำคัญในเทศกาลมหาพรต เพราะถ้าบาปหมายถึงการตัดความสัมพันธ์กับพระเจ้า และบาปเป็นสิ่งที่ทำลายชีวิตพระในตัวเรา การสวดภาวนาจึงเป็นวิธีการสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับพระเจ้า

พระศาสนจักรจัดเตรียมความช่วยเหลือที่ดีที่สุดให้กับคริสตชนในช่วงเวลาพิเศษนี้ คือ บทอ่านจากพระคัมภีร์และบทภาวนาในพิธีมิสซาตลอดเทศกาลมหาพรต ซึ่งจะช่วยเราให้รำพึงไตร่ตรองและเป็นแนวทางในการเจริญชีวิตของเราให้มุ่งสู่การสมโภชปัสกา จึงเป็นสิ่งที่ คริสตชนจะต้องให้ความสำคัญที่จะ

ไปร่วมมิสซา และรับศีลมหาสนิท โดยเฉพาะในมิสซาวันอาทิตย์ แล ะมิสซาวันธรรมดาที่ตนสามารถไปร่วมพิธีได้ตลอดเทศกาลมหาพรต

•คริสตชนควรรับศีลอภัยบาป 
เพราะการรับศีลอภัยบาปในเทศกาลมหาพรตเป็นโอกาสที่คริสตชนจะได้ชำระจิตใจสำหรับการมีส่วนร่วมในการฉลองธรรมล้ำลึกปัสกา

นอกจากนั้น พระศาสนจักรยังส่งเสริมกิจศรัทธาที่เข้ากันได้ดีกับเทศกาลมหาพรต เช่น พิธีเดินรูป 14 ภาค กิจศรัทธาเช่นนี้ควรส่งเสริมจิตตารมณ์ทางพิธีกรรม เพื่อให้สัตบุรุษเตรียมตัวเพื่อฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาของพระเจ้าได้อย่างดี  

นักบุญยอห์น ครีโซสโตม สอนว่า “การภาวนารวมเราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า ดวงตาขอ งเราสว่าง เมื่อเราเห็นแสงสว่างฉันใด จิตใจของเราก็จะได้รับการส่องสว่างไม่มีขอบเขต เมื่อเราจดจ่ออยู่ในพระเป็นเจ้าฉันนั้น” แต่ท่านนักบุญก็ยังสอนต่อไปอีกว่า “จิตใจของเร าต้องมุ่งหาพระเจ้าเสมอ มิใช่ในเวลารำพึงภาวนาเท่านั้น แต่ในเวลาอื่นด้วย... จิตใจเราควรใฝ่หาพระเจ้าและคิดถึงพระองค์อยู่เสมอ เพื่อเราจะได้หล่อเลี้ยงกิจการต่างๆ ด้วยความรักและการคิดถึงพระองค์อยู่เสมอ”

ดังนั้น อาศัยการภาวนาทั้งในพิธีกรรม และการภาวนาด้วยความศรัทธาส่วนตัว จะทำให้จิตใจของเราใฝ่หาพระเจ้าเสมอ และทำกิจการต่างๆ ในชีวิตเพราะความรักต่อพระองค์

 
2. การพลีกรรมใช้โทษบาปและการจำศีลอดอาหาร 

ธรรมชาติของมนุษย์มักจะหละหลวมต่อตนเอง และหลายครั้งมนุษย์ก็ผิดพลาดไปในบาป เพราะความหละหลวมยอมตามความพอใจฝ่ายต่ำของตน ดังนั้นนอกจากการสวดภาวนาที่เป็นหัวใจสำคัญของเทศกาลมหาพรตที่พาใจของคริสตชนมุ่งไปสู่ พระเจ้าแล้ว คริสตชนควรควบคุมใจของตนให้ใฝ่หาพระเจ้าตลอดเวลา ในทุกกิจการของชีวิต ด้วยการพลีกรรมใช้โทษบาปและการจำศีลอดอาหาร

นักบุญออกัสตินได้ให้ข้อคิดว่า “ดังนั้น ไม่มีใครสงสัยเลยว่าการพลีกรรม จำศีลอดอาหารนั้น เป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์ เพราะเมื่อผู้ใดยอมที่จะจำศีลก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาต้องการสิ่งที่เขากำลังสวดขอจริงๆ ฉะนั้น จึงมีคำกล่าวว่า คำภาวนาจะดีเมื่อมีการจำศีลคู่กัน (ทบต. 12:8) ดังนั้น คำภาวนาจึงแสวงหาการจำศีลควบคู่กันไป เพื่อจะได้รับการสดับฟัง (จากพระเจ้า)”

การจำศีลอดอาหาร มีจุดหมายที่สำคัญ คือ เป็นเครื่องมือที่จะปราบกิเลสหรือบาป นักบุญออกัสตินสอนว่า “ถ้าเราจะอดอาหารอย่างแท้จริง เราต้องอดบาปเหนืออื่นใด”ดัง นั้นการพลีกรรมและจำศีลอดอาหารในเทศกาลมหาพรต      จึงต้องเริ่มด้วยการละเว้นจากการทำบาปเป็นสิ่งแรก นั่นคือ การหลีกเลี่ยงจากโอกาสบาป และการต่อสู้กับการประจญของปีศาจอย่างเต็มกำลัง

เมื่อคริสตชนจำศีลอดอาหาร เราต้องตระหนักว่า จุดประสงค์สำคัญของการจำศีลอดอาหาร คือ เพื่อวิญญาณจะมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นตามรูปแบบของพระคริสตเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน

สำหรับพระศาสนจักรในประเทศไทยได้ให้ข้อกำหนดเรื่อง การจำศีลในเทศกาลมหาพรตไว้ ดังนี้

1. ตามบัญญัติของพระเป็นเจ้า คริสตชนทุกคนต้องชดใช้โทษบาปของตนตามวิธีการของแต่ละคน และเพื่อการปฏิบัติร่วม กัน จึงได้กำหนดวันชดเชยใช้โทษบาปซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนา ปฏิบัติกิจเมตตาปรานีและความรักเป็นพิเศษ เสียสละตนเอง และทำหน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ 

2. ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป 

3. ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่ เป็นวันอดเนื้อหรืออาหารอื่นตามข้อกำหน ดของสภาพระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร 

 4. คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องอดเนื้อ คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จนถึง 59 ปีบริบูรณ์ ต้องอดอาหาร

การจำศีลอดอาหารและการอดเนื้อนั้น เราควรทำด้วยเจตนาที่จะร่วมส่วนในพระทรมานของพระเยซูเจ้าและใช้โทษบาปของเรามากกว่าที่จะทำไปตามกฎเกณฑ์ของพระศาสนจักรเพราะกลัวว่าถ้าไม่ทำตามแล้วจะเป็นบาป 

จะเห็นว่าในปัจจุบันพระศาสนจักรในหลายๆ แห่ง รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ได้วางแนวทางใน การอดอาหารและอดเนื้อ โดยมองที่เจตนารมณ์มากกว่า ปัจจุบันพระศาสนจักรในประเทศไทยจึงกำหนดใหม่ดังนี้ว่า ผู้ที่ปฏิบัติข้อต่างๆ ต่อไปนี้ (ข้อใดข้อหนึ่ง) ถือได้ว่าถือตามกฎการอดเนื้อ คือ

1. อดเนื้อ (ตามประเพณีที่ถือปฏิบัติของพระศาสนจักร)

2. ปฏิบัติกิจศรัทธาเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่เคยปฏิบัติ เช่น เดินรูป 14 ภาค เฝ้าศีลมหาสนิท ส วดสายประคำ ฯลฯ (เป็นการ “อด” เวลาที่เป็นส่วนตัวของตนเอง เพื่อถวายเวลานั้นให้แก่พระเจ้า) 

3. ปฏิบัติกิจเมตตาปรานี เช่น ให้ทานคนจน เยี่ยมคนเจ็บป่วย ฯลฯ (เป็นการ “อด” ความสุขส่วนตัว เพื่อแสดงความรักต่อผู้อื่น)

4. งดเว้นอาหารหรือสิ่งที่อาจเคยปฏิบัติเป็นประจำ เช่น งดดื่มสุราและเบียร์ งดสูบบุหรี่ (เป็นการ “อด” ในสิ่งที่ตนชอบ)

5. รู้จักอดออมและละเว้นความฟุ้งเฟ้อต่างๆ 

สำหรับการอดอาหาร หมายถึง การรับประทานอิ่มเพียงมื้อเดียว ซึ่งถ้าเรายึดตามเจตนารมณ์ของการอดอาหารแล้ว ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี อาจจะอดอาหารมากกว่ าที่พระศาสนจักรเรียกร้องก็ได้ ส่วนผู้ป่วยและคนสูงอายุที่มีสุขภาพไม่ดี อาจจะปฏิบัติกิจศรัทธาแทนการอดเนื้อ

3. กิจการแห่งความรัก

นักบุญเลโอ พระสันตะปาปาผู้ยิ่งใหญ่ ในบทเทศน์ระหว่างเทศกาลมหาพรตของท่านนักบุญเกือบทั้งหมดพูดถึงเรื่อง“ความรัก การยกโทษ และการบริจาคทานช่วยคนยากจน”

การให้อภัยแก่กันเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ 
ท่านนักบุญเทศน์สอนว่า “เราจงยกโทษแก่ผู้อื่นเพื่อเราจะได้รับการยกโทษ เราจงอภัยให้เขาดังที่เราแสวงหา เราจงสวดภา วนาเพื่อขอการอภัยโทษ เราต้องไม่แสวงหาการแก้แค้น” 

ท่านนักบุญยังสอนในเรื่องกิจการแห่งความรักอีกว่า “ทุกเวลาเหมาะสำหรับปฏิบัติความรัก แต่เทศกาลมหาพรตมีทุกอย่างพร้อมสำหรับส่งเสริมความรักเป็นพิเศษ ผู้ที่อยากฉลองปัสกาของพระเจ้าด้วยจิตใจและร่างกายที่บริสุทธิ์ ต้องพยายามอย่างสุดความ สามารถที่จะพิชิตพระคุณนี้ให้ได้ เพราะความรักบรรจุคุณธรรมทั้งหลายและลบล้างบาปมากมาย... ก่อนอื่นเราจงทำตัวให้พร้อมสรรพ สำหรับถวายกิจเม ตตาของเราเป็นเครื่องบูชาแด่พระองค์... เราจงมีใจกว้างขวาง ต้อนรับคนยากจนและคนตกทุกข์ได้ยากด้วยความเต็มใจ เพื่อเขาเหล่านี้จะได้กล่าวคำขอบคุณพระเจ้า... ในฐานะที่เราเป็นสัตบุรุษ ไม่มีความจงรักภักดีใดๆ เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เท่ากับการทุ่มเทกำลังช่วยเหลือคนยากจน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความเอาใจใส่ของพระองค์เยี่ยงบิดา  ในการให้ทานนี้ ไม่ต้องกังวลว่าไม่มีเงินทอง จิตใจที่กว้างขว างนั่นแหละเป็นขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่แล้ว ด้วยใจที่กว้างขวาง ไม่มีคำว่าขัดสนข้าวของเงินทอง เพราะพระคริสตเจ้าเอง ทรงเป็นผู้เลี้ยงดู และทรงเป็นผู้รับการเลี้ยงดู ในกิจเมตตานี้พระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าอยู่กับเรา เป็นพระหัตถ์ที่ทวีปังโดยการบิ และเพิ่มปังโดยการแจกจ่าย” 

การบริจาคทานให้คนยากจน เป็นรูปแบบของความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งไม่ควรแยกออกจากการจำศีลอดอาหาร นักบุญเปโตร คริโซโลโก พระสังฆราช สอนว่า “การ จำศีลอดอาหารจะต้องควบคู่ไปกับเมตตาธรรมเสมอ การถือศีลอดอาหารมีประสิทธิภาพไม่ได้ นอกจากจะได้รับการชุบชูด้วยน้ำแห่งเมตตาธรรม... แม้ท่านจะฝึกฝนน้ำใจ ถอนรากพยศชั่ว หว่านคุณธรรมต่างๆ แต่ถ้าท่านไม่ปล่อยให้เมตตาธรรมผลิดอกออกผล การถือศีล อดอาหารของท่านก็ไม่บังเกิดผล” 

นอกจากนั้นในเทศกาลมหาพรต พระสันตะปาปายังได้ออกสารมหาพรตถึงบรรดาคริสตชน โดยยึดเอาสัญญาณแห่งกาลเวลา หรือปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนโลกในขณะนั้นม าเป็นจุดสนใจ และทรงเรียกร้องการตอบสนองอย่างเป็นรูปธรรมจากบรรดาคริสตชน โดยยึดการไตร่ตรองรำพึงถึงพระทรมานของพระคริสตเจ้าเป็นหลัก จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยเราในการเจริญชีวิตได้ พร้อมกัน นี้ ในแต่ละสังฆมณฑลยังมีการส่งเสริมจิตตารมณ์มหาพรต เช่น แจกกระปุกมหาพรตให้คริสตชนอดออมเงินของตนตลอดเทศกาลมหาพรต เพื่อนำเงินที่ได้จากความเสียสละนี้ไปช่วยเหลือคนจน ซึ่งถือว่าเป็นกิจการแห่งความรัก ความเป็นหนึ่ งเดียวของพระศาสนจักรท้องถิ่นที่คริสตชนทุกคนควรให้ความร่วมมือ