www.catholic.or.th

มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

กำเนิดและความหมายของวันคริสต์มาส

วันคริสต์มาสมาให้ โดยทั่วไป เชื่อว่าซาตาคลอสคือนักบุญนิโคลัส พระสังฆราชแห่งมีรา (270-343)

วันคริสต์มาส เฉลิมฉลองกันในหมู่ประชาชนที่เป็นคริสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีการฉลองกันใน หมู่ผู้ไม่ใช่คริสตศาสนิกชนด้วย อันเป็นการ ฉลองทางโลก การรื่นเริงทางวัฒนธรรม เป็นเทศกาลที่ฉลองกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก

กำเนิดและความหมาย

คำว่า Christmas ย่อมาจากคำว่า “Christ’s mass” มีกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษสมัยกลาง Christemasse และภาษาอังกฤษโบราณว่า Cristes masse เป็นถ้อยคำที่มีบันทึกเป็นครั้งแรกในปี 1038 เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษโบราณกับคำที่แยกมากจากภาษากรีก Christos แล ะภาษาลาติน Missa คำแปลจากภาษากรีกในสมัยแรกๆ ของพระคัมภีร์พระธรรมใหม่ อักษร X (chi) เป็นอักษรตัวแรกของคำว่า Christ ในช่ว งกลางศตวรรษที่ 16 อักษร X คล้ายกับอักษรโรมัน X ซึ่ง ใช้เป็นคำย่อถึง Christ (พระคริสตเจ้า) ด้วยเหตุนี้ คำว่า X-mas จึงมีการใช้กันบ่อยๆ แทนคำว่า Christmas

หลังจากการกลับใจของพวกแองโกล-แซกซันในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 คริสต์มาสเกี่ยวโยงกับ Geol อันเป็นชื่อก่อนสมัยคริสตชน จัดเป็ นงานรื่นเริงฤดูหนาว ซึ่งภาษาอังกฤษในปัจจุบันคือคำว่า Yule ซึ่งหมายถึง เทศกาลคริสต์มาส

ต้นกำเนิดก่อนสมัยคริสตชน

งานรื่นเริงในฤดูหนาวเป็นประเพณีอันเป็นที่นิยมของประชาชนที่สืบเนื่องกันมาในหลายๆวัฒนธรรม เป็นงานรื่นเริงประจำปี รวมทั้งเหตุผ ลจากงานทางด้านการเพาะปลูกที่ต้องกระทำกันใน ระหว่างช่วงฤดูหนาว เช่นเดียวกับประชาชนที่รอคอยให้ถึงวันที่กลางวันยาวนานกว่ากลา งคืนหลัง จากฤดูหนาวที่พระอาทิตย์อยู่ไกล จากโลกมากที่สุดทางซีกโลกด้านเหนือ คริสต์มาสในสมัยใหม่เกี่ยวโยงกับประเพณีของคนต่างศา สนา รวมทั้งการให้ของขวัญ และงานสนุกสนานนั้น มาจากการเลี้ยงฉลองพระเสาร์ของชาวโรมัน พฤกษชาติ แสงไฟต่างๆ และการทำทานม าจากวันปีใหม่ของชาวโรมัน ท่อนไม้ในเทศกาลคริสต์มาส และอาหารนานาชนิดมาจากการ ฉลองของพวกยุโรปทางเหนือ ดังนั้น ประเพณีที่สืบต่อกันมานี้ ถือว่ามีวิวัฒนาการมาจากงานรื่นเริ่งในฤดูหนาว รวมทั้งเรื่องราวต่อไปนี้

ฉลองวันเกิดของสุริยเทพ

ชาวโรมันในสมัยโบราณจัดงานรื่นเริงในวันที่ 25 ธันวาคม เรียกกันว่า “Dies Natalis Solis Invicti” คือ “วันเกิดของสุริยเทพ” การใช้ชื่ อ Sol Invictus คือ ยอมให้ความเป็นพระเจ้าของพระอาทิตย์เป็นที่สักการะ โดยส่วนรวม รวมทั้ง Elah-Gabal พระอาทิตย์พระเจ้าของชาวซีเรีย Sol พระเจ้าของจักรพรรดิออเรเลียน (270-274) และ Mithras พระเจ้าของพวกทหารที่มีกำเนิดมาจากชาวเปอร์เซีย จักรพรรดิเอลากาบาลุส (218-222) เป็นผู้นำงานเฉลิมฉลองนี้เข้ามาและแผ่ขยายออก ไปเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นอ ย่างมากใน สมัยของจักรพรรดิออเรเลียน ซึ่งได้ส่งเสริมให้เป็นวันนักขัตฤกษ์ทั่วอาณาจักรโรมัน

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันรำลึกถึงฤดูหนาวที่พระอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุด ซึ่งชา วโรมันเรียกว่า bruma และเมื่อจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์นำปฏิทินจูเลียนเข้ามาใช้ในปี 45 ก่อนคริสตศักราช วันที่ 25 ธันวาคม นับได้ว่าเกือบจะเป็นวันตรงกับวันที่พระอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมาก ที่สุด ในสมัยปัจจุบัน วันที่พระ อาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากที่สุดคือวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม อันเป็นวันที่พระอาทิตย์ปรากฎตัวเองว่าเป็น “Sol Invictus” หรือ “ผู้ไม่เคยแพ้ใคร” และเริ่มเคลื่อนตัวเองไปสู่ขอบฟ้าทางทิศเหนือ นักเขียนคริส ตชนรุ่น แรกๆ หลายท่านได้ทำการประสานการเกิดใหม่ของพระอาทิตย์ไปสู่การบังเกิดของพระเยซู นักบุญซีเปรียน (200-258) ได้เขียนไว้ว่า “ช่างเป็นการกระทำที่น่าพิศวงของพระญาณสอดส่อง ในวันนั้นวันซึ่งเป็นวันประสูติของพระอาทิตย์ ...พระคริสตเจ้าก็ควรทรงลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ในวันด้วย”

เทศกาลคริสต์มาส (Yule)

ชนต่างศาสนาในแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีการเฉลิมฉลองฤดูหนาวเรียกว่า Yule จัดขึ้นในราวปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกรา คม การเผาท่อนไม้คริสต์มาส (Yule log) เป็นการถวายเกียรติแด่พระ ธอร์ (Thor) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้าร้อง ด้วยความเชื่อว่าในทุกครั้งที่มี ประกายไฟฟ้าเกิดขึ้น หมายถึงมีลูกสุกร หรือลูกวัวจะเกิดมาในระหว่างปีที่กำลังจะมาถึง พิธีฉลองจะสืบเนื่องต่อไปจนกว่าท่อนไม้ที่เผานั้นจะดั บมอดลง ซึ่งอาจจะใช้เวลาถึงสิบสองวัน ชนต่างศาสนาเยอรมาเนีย เฉลิมฉลองเทศกาลกลางคืนในกลางฤดูหนาวซึ่งตามด้วย “12 คืนอันบ้าคลั่ง” ด้วยการกิน-ดื่ม และ การจัดงานเลี้ยงสนุกสนานรื่นเริง

ขณะที่ยุโรปทางเหนือซึ่งเป็นภาคพื้นที่ได้กลับใจมานับถือศาสนาคริสต์ล่าช้ากว่าส่วนอื่นๆ ของทวีปยุโรป การเฉลิมฉลองของชนต่างศา สนาจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อวันคริสต์มาส ชาวสแกนดิเนเวียยังคงเรียกวันคริสต์มาสว่า “Jul” และในภาษาอังกฤษ คำว่า “Yule” เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกับคำว่าคริสต์มาส ซึ่งมีบันทึกการใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในปี 900

ต้นกำเนิดของคริสตชน

ไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อไรหรือทำไมที่วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันพระคริสตสมภพ ในพระคัมภีร์พระธรรม ใหม่ มิได้บอกวันประสูติของพระเ ยซูเจ้า เซ็กตุส จูลิอุส อัฟริกานุส ซึ่งต้องการให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันประสูติของของพระคริสตเจ้า ได้เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชน จึ งได้มีบันทึกไว้ในปี 251 ว่าวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ถ้านับถอยหลังไปอีก 9 เดือน คือ วันที่ 25 มีนาคม อันเป็นวันที่พระนางมารีย์ได้รับข่าวการบั งเกิด ของพระเยซูจากเทวทูต ซึ่งเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากันในฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินโรมัน อีกทั้งบรรดาคริสตชนสมัยแรกก็เชื่อว่า พระคริสตเจ้าทรงถูกตรึงกางเขนในวันที่ 25 มีนาคมด้วย ดังนั้นบรรดาคริสตชนต่างก็เชื่อ วันที่พระเยซูเจ้าทรงเริ่มอยู่ในครรภ์ของแม่พระ น่าจะเ ป็นวันเดียวกับที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ คือวันที่ 25 มีนาคม อันสอดคล้องกันกับความเชื่อของชาวยิวที่ว่า จะมีประกาศกท่านหนึ่ง ที่วัน-เดือนเกิดและตายสอด คล้องกัน

การเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม มิได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด หลังจากเป็นที่ยอมรับในหมู่คริสตศาสนิกชน ท่านแตร์ตูเลีย น (160-220) มิได้กล่าวถึงว่าวันคริสต์มาสเป็นวันฉลองใหญ่ ของพระ ศาสนจักรโรมันในอัฟริกาตอนเหนือ ในปี 245 ท่านออริเจน นักเทววิทยาแห่งอเล็กซานเดรีย ได้ประฌามความคิดของการเฉลิมฉลองวันเกิดว่ามีเพียงคนบาปเท่านั้นที่ฉลองวันเกิด มิใช่บรรดานักบุญ

หลักฐานชิ้นแรกสุดของวันฉลองคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคมนั้น พบได้ในปี 354 ที่กรุงโรม ส่วนพระ ศาสนจักรตะวันออกนั้น คริสตชนสมัยแรกฉลองวันสมภพของพระคริสตเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของวันฉลองพระคริสต์ทรงแสดงองค์ (6 มกราคม) แม้ว่าการฉลองนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การรับพิธีล้างของพระเยซูเจ้า

วันคริสต์มาสได้รับการส่งเสริมในหมู่คริสตชนของพระศาสนจักรตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของก ารฟื้นฟูชีวิตของคริสตชน ต่อมาจักรพรรดิวาเลนท์ ซึ่งนับถือลัทธิของอาริอุส สิ้นพระชนม์ลง การฉลองวันคริสต์มาสนี้ได้ถูกนำเข้ามาในกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี 379 และ ที่เมืองอันทิโอ๊คในปี 380 การฉลองนี้ได้จ างหายไปหลังจากพระสังฆราชเกรโกรี แห่งนาซีอานส์ ได้ลาออก จากตำแหน่งพระสังฆราชในปี 381 อย่างไรก็ตาม นักบุญยอห์น คริสโซสโตมได้นำวันฉลองนี้กลับ มาอีกครั้งในปี 400

สิบสองวันคริสต์มาส (Twelve Days of Christmas) คือ สิบสองวันหลังจากวันคริสต์มาสคือ วันที่ 26 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญสเตเฟน ถึงวันฉลองพระคริสตเจ้าแสดงองค์วันที่ 6 มกราคม ได้รวมวันฉลอง สำคัญอื่นๆ กับวันประสูติของพระคริสตเจ้า ในพิธีกรรมลาติน หลังวันคริสต์มาส 1 สัปดาห์ คือวันที่ 1 มกร าคม ตามธรรมประเพณีสืบเนื่องกันมาว่าเป็นวันฉลองการตั้งชื่อและพิธีเข้าสุหนัตของพระคริสตเจ้า แต่หลังจากสภาสังคายนาติกันที่ 2 วันฉลองนี้ได้เปลี่ยนเป็นวันสมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้า

ที่มา http://www.shb.or.th/article/nanasara/christmas/christmas.html