มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED

สรุปพระสมณสาส์นขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า (Laudato Si’)

สรุปพระสมณสาส์นขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า (Laudato Si’)ของพระสันตะปาปาฟรังซิส

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเขียนพระสมณสาสน์ฉบับนี้สำหรับทุกคนบนโลกใบนี้ พระองค์ทรงหวังว่าจะมีการเสวนากันของผู้คนที่อยู่บนโลกใบนี้ที่เป็นเสมือนบ้านร่วมกันของทุกคนชื่อของพระสมณสาสน์ฉบับนี้นำมาจากบทเพลงของสิ่งสร้าง หรือ บทเพลงของดวงอาทิตย์ โดยนักบุญฟรังซิสอัสซีซี ท่านเป็นแบบอย่างแก่เราในเรื่องของความรักต่อสิ่งสร้าง ท่านเตือนเราว่า “เราเป็นส่วนหนึ่งของโลก” เราจึงมิใช่แค่เพียงผู้อาศัย แต่เราต้องเป็นผู้ดูแลและรักษาโลกตลอดพระสมณสาสน์ฉบับนี้ พระองค์ทรงเน้นเรื่องการเสวนาซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาวิกฤตของสภาพแวดล้อมทรงอ้างถึงนักปรัชญาและนักเทววิทยาของศาสนาอื่นด้วย ทรงต้องการจะสอนว่าการดูแลโลกและสิ่งสร้างของพระเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยไม่แบ่งแยกศาสนา หรืออาชีพ
     ในพระสมณสาสน์บทที่ 1 กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของเรา “วิกฤติสภาวะแวดล้อมหรือระบบนิเวศในปัจจุบัน” (ข้อ 17-61)ซึ่งข้อมูลได้มาจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ วิกฤติเหล่านี้ก็คือ มลภาวะทางอากาศความสิ้นเปลือง และการใช้ข้าวของแบบใช้แล้วทิ้งทรงเสนอรูปแบบการผลิตบนรากฐานของการนำกลับมาใช้ใหม่(reuse) การทำให้นำกลับมาใช้อีกได้(recycle)สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงซี่งทุกคนได้รับผลกระทบและทำให้เกิดการอพยพ พระองค์ทรงกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำทรงสอนว่าการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทุกปีจะมีพืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ ทำให้เกิดระบบนิเวศที่ไม่สมบูรณ์ความเสื่อมถอยของการเคารพคุณค่าของมนุษย์ในสังคมการไม่เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาระบบนิเวศที่แท้จริงคือการแก้ปัญหาสังคม เป็นการได้ยินทั้งเสียงร้องของโลกและเสียงร้องของคนจน เพราะปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อคนยากจนมากที่สุด พระองค์ทรงเห็นว่าการตอบสนองต่อปัญหาเหล่านี้ของผู้นำทางสังคมยังไม่เพียงพอ
   

บทที่ 2 พระวรสารแห่งสิ่งสร้าง “คำสอนจากพระคัมภีร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธรรรมชาติและสิ่งสร้างของพระเจ้า” (ข้อ 62-100)จากพระคัมภีร์เราพบว่า พระเจ้าเป็นผู้สั่งให้เราดูแลสิ่งสร้างต่างๆ ในโลก และทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดจากแสงสว่างที่ให้ความเชื่อบอกกับเราว่าปัญหาที่ซับซ้อนของวิกฤตสภาพแวดล้อมต้องการการเสวนา ถ้าพูดถึงระบบนิเวศต้องพูดถึงชีวิตฝ่ายจิตและศาสนา ความเชื่อบอกให้เราเอาใจใส่ต่อธรรมชาติและมีความรับผิดชอบต่อเพื่อนพี่น้องชายหญิงที่ได้รับความเจ็บปวดจากปัญหานี้การสร้างคือของขวัญจากพระเจ้าสำหรับทุกคน โลกเป็นของขวัญจากพระเจ้ามนุษย์จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งสร้างที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เขาดูแล ถ้ามีอิสรภาพ ต้องมีอิสรภาพสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาที่ดีเป็นต้นระบบนิเวศซึ่งพระเจ้ามอบให้เราดูแล ไม่ใช่อิสรภาพในการทำลายพระสิริของพระเจ้าเผยแสดงผ่านทางสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง สิ่งสร้างแต่ละชนิดมีส่วนสำคัญในโลกของเราสิ่งสร้างทั้งหมดมีสายสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันในพระบิดาองค์เดียวกัน เราจึงต้องรักและให้ความเคารพต่อธรรมชาติและสิ่งสร้างต่างๆ (ข้อ 89)ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องมีไว้สำหรับมนุษย์ทุกคน(ข้อ93)พระสันตะปาปาเสนอว่าเราต้องเสวนากับทุกศาสนาให้เข้าใจว่า โลกนี้เป็นมรดกที่เรารับจากพระเจ้า ทุกคนต้องได้ใช้ประโยชน์พระเยซูเจ้าทรงเชิญให้เราตระหนักถึงความสัมพันธ์กับพระเจ้าพระบิดา (ข้อ96) และดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ (ข้อ98)
 

 บทที่ 3 น้ำมือของมนุษย์ในวิกฤตนิเวศวิทยา “พระสันตะปาปาทรงวิเคราะห์ให้เราเห็นถึงรากเหง้าของปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น” (ข้อ 101-136) ซึ่งมาจาก 

1. เทคโนโลยี เป็นทั้งการสร้างสรรค์และอำนาจที่ควบคุมมนุษย์และโลก (ข้อ104)พระสันตะปาปาทรงเห็นว่าโลกของเราต้องการจริยธรรมที่มีพลัง ชีวิตฝ่ายจิตที่แท้จริงและการควบคุมตนเอง เป็นต้น ในการใช้เทคโนโลยี(ข้อ105)

2. โลกาภิวัฒน์แห่งกระบวนทรรศน์ทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันทุกอย่างอยู่ในระบบของเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสร้างวิถีการดำเนินชีวิต จนบางครั้งคำสอนที่ดีๆ เข้าไม่ถึงชีวิตมนุษย์ (ข้อ109)

3. วิกฤตและผลของการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางอันตรายมาก เพราะมนุษย์จะคิดว่าตนทำลายธรรมชาติ ทำลายผู้อื่นได้ (ข้อ116)ความคิดนี้ทำให้เกิดปัญหา 3 ประการที่เราจะต้องใส่ใจและแก้ไข

              3.1สัมพัทธนิยม (relativism)ความจริงขึ้นอยู่กับแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ถ้าสิ่งนี้ให้ประโยชน์กับเขา หรือกลุ่มของเขา สิ่งนี้ก็คือความจริง ไม่มีหลักความจริงสากล (ข้อ122) คือถ้าเราชอบเราก็จะต้องครอบครองให้ได้ถ้าไม่ชอบก็ทำลายหรือทิ้ง ความจริงขึ้นอยู่กับเราหรือกลุ่มของเรา

              3.2 ความจำเป็นที่ต้องปกป้องการทำงานการทำงานเป็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของของมนุษย์ ที่สำคัญก็คือคนงานต้องได้รับค่าแรงที่ยุติธรรมและได้รับการปกป้อง 

              3.3เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีววิทยาGMOsมีสิ่งที่ดีทำให้มีอาหารรับประทานเวลาที่ขาดแคลน แต่ก็เป็นอันตรายเพราะอาจทำให้เกิดการค้าที่ผูกขาด และผลกระทบทางนิเวศวิทยา (ข้อ134)

 

บทที่ 4 นิเวศวิทยาเชิงบูรณาการ “การพัฒนาระบบนิเวศแบบองค์รวม โดยเน้นที่ความสัมพันธ์อันดีและถูกต้องกับสิ่งแวดล้อม” (ข้อ 137-162) พระสันตะปาปาทรงเสนอแนวทางในการรักษาสภาพแวดล้อม โดยการเคารพต่ออัตลักษณ์ของมนุษย์ในโลก และในความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม

     1. นิเวศวิทยาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอันหนึ่งเดียวกันและเชื่อมโยงกัน(ข้อ141)

     2. นิเวศวิทยาทางวัฒนธรรม การดูแลระบบนิเวศวิทยายังหมายถึงการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ (ข้อ143)

     3. นิเวศวิทยาในชีวิตประจำวันพระสันตะปาปาทรงมีพระประสงค์ให้เราทุกคนต้องทำเรื่องนี้ในชีวิตประจำวัน (ข้อ148)

     4. หลักการความดีส่วนรวม (common good) พระสันตะปาปาทรงเน้นให้เราส่งเสริมความคิดที่จะดูแลคนยากจน (ข้อ158)

     5. ความยุติธรรมระหว่างคนในรุ่นนี้และรุ่นต่อไปคำถามของพระสันตะปาปาก็คือ “โลกแบบไหนที่พวกเราคิดจะมอบให้คนรุ่นหลังของเรา”

 

บทที่ 5 แนวทางและการปฏิบัติ “ข้อเสนอให้มีการเสวนาอย่างโปร่งใสและมีการปฏิบัติอย่างจริงใจร่วมกัน” (ข้อ 163-201)ต้องเสวนาในระบบของนานาชาติ เสวนาในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น เสวนาและการตัดสินใจอย่างโปร่งใส ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง การเสวนาระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจเพื่อบรรลุถึงความต้องการของมนุษย์ในเรื่องนี้พระสันตะปาปาทรงเน้นหลักการทางศีลธรรมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการเมืองและเศรษฐกิจต้องมีระบบเศรษฐกิจที่มีจริยธรรมศาสนาต้องเสวนากับวิทยาศาสตร์ ชีวิตของเราต้องมีความรู้จากหลายๆ ด้าน รวมทั้งวิทยาศาสตร์ด้วยศาสนาต่างๆ จะต้องเสวนากัน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม

 

บทที่ 6 การศึกษาและจิตตารมณ์ด้านนิเวศวิทยา พระสันตะปาปาทรงให้แนวทางในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนประสบการณ์ชีวิตจิตของคริสตชน (ข้อ 202-246) พระสันตะปาปาทรงให้แนวทางว่าชีวิตฝ่ายจิตเป็นหนทางที่จะแก้ปัญหานี้การกลับใจ การดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องเป็นกระบวนการที่ลึกซึ้งภายในในพระศาสนจักรต้องส่งเสริมและสอนเรื่องสิ่งแวดล้อม ในครอบครัว โรงเรียน สื่อ การสอนคำสอน ฯลฯนักบุญฟรังซิส อัสซีซี เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ท่านมีชีวิตเรียบง่าย แต่มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนกับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และธรรมชาติ พระสันตะปาปาทรงเสนอวิธีการที่เป็นรูปธรรมดังนี้

     1. มุ่งสู่วิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ต้องเอาชนะสัมพัทธนิยม(relativism) ปัจเจกนิยมและบริโภคนิยม เป็นต้น การกินทิ้งขว้าง การใช้ข้าวของอย่างฟุ่มเฟือย ใช้แล้วทิ้ง ฯลฯ พระสันตะปาปายังมีความหวัง ทรงมีความเชื่อมั่นในมนุษย์ ทรงมองว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่ไม่ดี เลือกสิ่งที่ดี และสามารถเริ่มต้นใหม่ได้

     2. การศึกษาเพื่อพันธสัญญาข้อตกลงระหว่างมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม (ให้ความรู้) บ้าน วัด โรงเรียน ต้องร่วมมือกันปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน สม่ำเสมอ เป็นต้นในเรื่องพื้นฐานทั่วไป เช่น หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกลดการใช้น้ำ คัดแยกขยะ ทำอาหารในปริมาณที่สามารถรับประทานได้หมด ปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วยความใส่ใจ ใช้การคมนาคมขนส่งสาธารณะ หรือใช้ยานพาหนะร่วมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกัน ปลูกต้นไม้ ปิดไฟที่ไม่จำเป็น ฯลฯ เพราะเรามีแรงจูงใจที่ลึกซึ้ง ว่าการปฏิบัติเช่นนี้เป็นการกระทำกิจการแห่งความรักที่เรามีต่อพระเจ้า เพื่อนมนุษย์และสิ่งสร้าง

     3. การกลับใจในเรื่องระบบนิเวศ เราต้องสร้างแรงจูงใจที่จะปกป้องโลก ปกป้องธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ (ข้อ 216)การกลับใจส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่พอ ปัญหานี้ต้องแก้ไขโดยใช้เครือข่ายทางสังคมด้วย (ข้อ 219) พระศาสนจักรต้องเป็นพลังถึงจิตตารมณ์ของการขอบคุณพระ (แทนที่จะบ่น)

     4. ความชื่นชมยินดีและสันติ พระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยความยินดี (ความยินดีทำให้เกิดพลังในการปฏิบัติ) ทรงเน้นความเรียบง่าย ละทิ้งความครอบงำของการทำตามกิเลสตัณหา และความเห็นแก่ตัว(ข้อ 223)มีความสุขได้แม้ในเรื่องเล็กน้อย เช่น ฟังดนตรี สวดภาวนา ฯลฯ การแสดงออกถึงทัศนคตินี้ก็คือการหยุดและสวดภาวนาขอบคุณพระเจ้าก่อนและหลังรับประทานอาหาร (ข้อ 227)การสวดภาวนาก่อนและหลังรับประทานอาหารทำให้เราคิดถึงพระ ขอบคุณพระ ขอบคุณคนที่ทำอาหารให้เราตระหนักว่าอาหารมาจากโลก เราด้องรักและดูแลธรรมชาติให้ดีที่สุด คิดถึงคนที่ไม่มีอาหารจะรับประทาน

     5. ความรักต่อสังคมและการเมืองเราควรมีความรักต่อสังคม ทำความดีเพื่อส่วนรวม และกล้าแสดงออก

     6. เครื่องหมายแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์และการพักผ่อนเพื่อเฉลิมฉลองมิสซาเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิตศีลมหาสนิทเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต และสร้างแรงจูงใจแก่เราในการดูแลสิ่งแวดล้อม และรับใช้สิ่งสร้างของพระเจ้าในวันอาทิตย์ (วันพระเจ้า)คริสตชนมาร่วมมิสซาสรรเสริญพระเจ้าหยุดงานและพักผ่อนในพระองค์ซึ่งจะกลับกลายเป็นพลังในการดำเนินชีวิตของพวกเขาในสัปดาห์ต่อไป

     7. พระตรีเอกภาพและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสร้างต่างๆ พระตรีเอกภาพเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ ความสัมพันธ์ที่เป็นหนี่งเดียวของพระเจ้าเป็นแบบอย่างในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งต่างๆ(ข้อ 239-240)

     8. พระนางมารีย์พระมารดาและราชินีแห่งสิ่งสร้างทั้งปวงและนักบุญยอแซฟ (องค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล) ท่านทำงานหนัก แต่นิ่มนวล เข้มแข็ง ทั้งสองพระองค์สอนเราและจูงใจเราให้ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายพอเพียง มีความสุขและปกป้องคุ้มครองโลกใบนี้ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่เรา
     ขอให้ทุกสิ่งสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้าเหนือดวงตะวัน เรามีอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก เรามีพระเจ้าองค์แห่งความรักพ่ออยากจะจบบทสรุปพระสมสาสน์ฉบับนี้ด้วยคำถามของพระสันตะปาปาที่ว่า “โลกแบบไหนที่พวกเราคิดจะมอบให้คนรุ่นหลังของเรา”

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown