![]() |
![]() |
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
วันแรกของสัมมนาพระสงฆ์ประจำปีครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2011 |
![]() |
![]() |
วันที่สองของสัมมนาพระสงฆ์ประจำปีครั้งที่ 28 วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2011 |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
วันที่สามของการสัมมนาพระสงฆ์ วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2011 เริ่มต้นด้วยทำวัตรเช้าและมิสซาโดยพระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย จากนั้นหลังรับประทานอาหารเช้าแล้วเริ่มต้นฟังบรรยายจากพระสังฆราชปีเตอร์ ยูอิน คัง จากประเทศเกาหลีใต้ ท่าน ได้พูดถึงประวัติของพระศาสนจักร และพูดถึงประวัติของชุมชนคริสตชนย่อยของพระศาสนจักรจากเอกสารท่านได้พูดถึงการประชุมสมาพันธ์พระสังฆราชแห่งเอเชีย FABC ที่บันดุง และได้พูดถึง A New Way of Being Church ที่ได้มีการประกาศในปี1990 A New Way of Being Church คือ วิถีทางใหม่การเป็นพระศาสนจักร ท่านได้พูดถึงวิถีทางเก่าว่าการมีส่วนร่วมของสัตบุรุษอาจจะมีน้อย แต่ในวิถีใหม่หรือ A New Way of Being Church จะเน้นถึงการมีส่วนร่วมของสัตบุรุษมากขึ้น โครงสร้างของคริสตชนย่อยเน้นที่พระศาสนจักรในละแวกบ้าน เน้นที่การมีัสัมพันธ์อันดีต่อกัน พิธีกรรม การเป็นประจักษ์พยาน การบริการรับใช้ และหลังจากนั้นท่านได้พูดถึงโครงสร้างของพระศาสนจักรในสมัยแรกซึ่งแน่นอนพระศาสนจักรในสมัยอัครสาวกก็รูปเป็นแบบของคริสตชนย่อยนั่นเอง พระศาสนจักรมีการชุมชนุมกันที่บ้าน และท่านได้สรุปว่าหัวใจในการชุมนุมนั้นก็มีอยู่4ด้านด้วยกัน ได้แก่คำสอนของอัครสาวก คำภาวนา |
||||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน นั่นก็คือการบิปัง การบิชีวิตของตนเอง และนอกจากนั้นยังพูดถึงความเป็นพี่เป็นน้องกันนี่คือพระศาสนจักรในยุคแรกเน้นการมีส่วนร่วม ท่านพูดถึงกิจการอัครสาวก 6 : 1-7 ด้วยเมื่อเกิดมีปัญหาระหว่างการแบ่งปันอาหารระหว่างหญิงหม้ายที่เป็นชาวกรีกกับชาวยิว พระศาสนจักรก็เน้นการมีส่วนร่วม มีการเลือกสังฆานุกร 7ท่าน นอกจากจะทำหน้าที่แบ่งอาหารแล้วยังมีส่วนร่วมกับอัครสสาวกในการประกาศพระวาขาของพระเป็นเจ้า |
|
|
![]() |
![]() |
4ประการนั่นคือ คำสอนของอัครสาวก และแน่นอนคำสอนของอัครสาวกก็มาจากพระวาจาของพระเป็น เจ้า เอกสารต่อไปคือลูแมนแจนซิอุม พระศาสนจักรเน้นที่ความเป็นพี่เป็นน้องความเป็นหนึ่งเดียวกันก็เหหมือนกับคริสตชนสมัยแรกที่เน้นว่าพระศาสนจักรนั้นมีความเป็นพี่เป็นน้องกัน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||||||
เอกสารต่อไปคือ กาดิอุมแอสแปส ซึ่งบอกว่าพระศาสนจัีกรนั้นจะต้องอยู่ในโลกและก็จะต้องเหมือนกับเป็นปังที่ถูกบิ คือจะต้องสนับสนุนและพัฒนาโลกให้เป็นโลกแห่งความยุติธรรม และสันติภาพ แน่นอนก็เหมือนกับการบิปัง บิชีวิตของคริสตชนในสมัยแรก สุดท้ายก็พูดถึงเอกสารเรื่องพิธีกรรม สังฆฑรรมนูญเรื่องพิธีกรรม ก็เป็นการเน้นเรื่องของพิธีกรรม ท่านก็บอกว่านี่คือหลักประการที่ 4 ของพระศาสนจักรในสมัยแรก นั่นคือการสวดภาวนา เพราะฉะนั้นการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 จึงเป็นการกลับมายังความหมายดั้งเดิมของคริสตชนในยุคของอัครสาวก 4 ประเด็นใหญ่ๆ พระวาจาของพระเ้ป็นเจ้าซึ่งในสมัยนั้นก็คือการสอนของอัครสาวก ประเด็นที่2 นั่นก็คือความเป็นพี่เป็นน้องกันรูปแบบของพระศาสนจักรที่มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน ประเด็นที่ 3 คือ พระศาสนจักรที่ห่วงใยผู้ยากไร้ห่วงใยสังคม นั่นคือการบิปัง บังที่ถูกบิ ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันและบิตัวเองเพื่อผู้อื่น และประเด็นที่ 4 พระศาสนจักรที่ร้อนรนในการสวดภาวนาก็คือเรื่องของพิธีกรรม ท่านได้สรุปว่าหัวใจสำคัญและหลักของวิถีชุมชนวัดก็มี 4 ประการด้วยกัน ประการที่ 1. คือการชุมนุมกันในละแวกบ้าน 2.หัวใจอยู่ที่พระวาจา 3.การแบ่งปันด้วยความรัก พระวาจาที่ถูกนำมาเป็นความรัก ปฏิบัติ สุดท้ายก็คือ4.เป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสจักร เป็นหนึ่งเดียวกับวัดที่ตัวเองอยู่ ช่วงที่ 2ได้พูดถึง การแบ่งปันพระวาจา เป็นการแบ่งปันพระวาจาในกลุ่ม แบ่งกลุ่ม 25 กลุ่ม คุณพ่อเข้าไปในกลุ่มและใช้วิธีัการแบ่งปันพระวาจา แบบ 7 ขั้นตอน ส่วนพระวาจาที่ใช้นั้นก็ เป็นพระวาจา มธ 11 : 28-30 หลังจากมีการแบ่งปันแล้วในแต่ละกลุ่มก็มีปารประเมินส่วนตัวโดยใช้เอกสารที่ทางAsIPA ได้จัดให้ |
||||||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ในภาคบ่ายเริ่มเวลา14.00น. มีการประชุมกลุ่มย่อย 25กลุ่มนั้นมีการใช้เอกสารD9 เอกสาร D9พูดถึงภาวะผู้นำในวิถีทางใหม่ ผู้นำแบบเสริมสร้าง เอกสารฉบับนี้เหมือนกับเอกสารAsIPA ทั่วๆไปก็คือ เน้นหารมีส่วนร่วม เน้นการแสดงความคิดเห็นของคุณพ่อที่เข้าร่วมแต่ละกลุ่ม ในเอกสารพูดถึงภาวะผู้นำของพระเยซูเจ้า และพูดถึงภาวะผู้นำที่ ต้องการจะเน้นก็คือ ภาวะผู้นำแบบเสริมสร้างซึ่งสอดคล้องกับวิถีชุมชนวัด เน้นการมีส่วนร่วม โดยให้ดูทั้งสองแบบ แบบที่ไม่ใช่และแบบที่ใช่ และก็มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นกัน และสุดท้ายแล้วก็เป็นบทสรุป ว่าเราจะทำอย่างไร? มีสิ่งใดที่เรายังขาดอยู่ มีสิ่งใดที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน จากนั้นอ่านพระคัมภีร์ ฟป 2:6-8 โดยสรุปแล้วพูดถึงว่าแม้ว่าพระเยซูเจ้าเป็นพระเป็นเจ้าแต่ว่าพระองค์ก็ได้สละสภาพมารับสภาพมนุษย์ และแน่นอนพระองค์ให้เรามนุษย์นั้นมีส่วนร่วมในงานของพระองค์ และจบด้วยเอกสาร D8 เป็นทีมรวมของAsIPA เอกสารนี้พูดถึงการรับใช้ดังเช่นพระเยซูเจ้า โดยสรุปแล้วก็คือผู้ที่จะเป็นผู้นำ เป็นต้นในจิตตารมณ์ของวิถีชุมชนวัดนั้นจะต้องเลียนแบบพระเยซูเจ้าเป็นพระเยซูเจ้าผู้ที่รับใช้ผู้อื่นโดยให้อ่านพระวาจา มีการอภิปราย ให้เห็นภาพของการเป็นผู้นำผู้รับใช้ของพระเยซูคริสตเจ้า ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับ ถ้าเราเป็นผู้นำแบบนี้ และสุดท้ายแล้วก็เน้นให้มีการอภิรายไตร่ตรองว่าเราจะเติบโตในความเป็นผู้นำคริสตชนอย่างไร และสุดท้ายแล้วเขาก็ให้กิจกรรมว่า แน่นอนเพื่อที่จะเป็นผู้นำอย่างรับใช้นั้นคุณพ่อทุกท่านจะมีอะไรที่จะปรับ มีการแจกกระดาษที่เอาไปติดและทำเป็นแผนที่ประเทศไทย พระสงฆ์แต่ละท่านก็จะเขียน 3 ข้อที่เราคิดว่าเราจะพัฒนาตัวของเราเพื่อที่จะเป็นผู้นำในการรับใช้แบบพระเยซูคริสตเจ้า |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||||||
บทเทศน์พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย มิสซา วันที่ 13 กรกฎาคม2011 1. ความทุกข์ของผู้อยู่ในสภาวะลำบาก 1.ทุกวันนี้เด็กและสตรีออกจากหมู่บ้านชนบทไทย จากภูเขาสูงทางภาคเหนือ ไปเรียนและหางานทำในเมืองใหญ่ ต้องปรับตัวเข้ากับวิถีดำเนินชีวิตของคนเมือง ต้องหางานและทำงานหนัก และงานรับใช้ที่คนเมืองไม่อยากจะทำ 2.ผู้อพยพย้ายถิ่นจากต่างแดนเป็นต้น เขมร พม่า ลาว เข้ามาอยู่ตามชายแดน และพื้นที่ทั่วประเทศ หลายคนว่ามากกว่า สองล้านคน 3.คนทุกชาติเข้ามาหางานทำ บ้างก็แต่งงานกับคนไทย ผสมผสานทางวัฒนธรรมเนื่องจากโลกใหม่ที่ไร้พรมแดน และการติดต่อสื่อสาร ทางบกทางอากาศและแบบไร้สาย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้ก่อให้เกิด ความทุกข์แก่ทุกฝ่าย และบางกลุ่มก็ข่มเห่งซึ่งกันและกัน 2. กลุ่มคริสตชนในประเทศไทย 1.ยึดวัดเป็นศูนย์กลาง คือ ให้วัดเป็นผู้ริเริ่มดำเนินงานและประสานงานในทุกกิจกรรม ดำเนินไปด้วยดีอย่างสร้างสรรค์ แต่ก็มีวัดอีกเป็นจำนวนมากที่ขาดผู้นำ เช่น พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส 2.ยึดสถานบันครอบครัวเป็นหลัก ที่เรียกว่า Domestic Church ซึ่งสะท้อนความรักของพระเจ้า มีพ่อ แม่ ลูก เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แต่เราพบว่าผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง พ่อแม่ต้องทำงานหาเงิน เด็กๆกับพ่อแม่ ไม่ค่อยมีโอกาสพบหน้ากัน 3.ยึดกลุ่มชุมชน(Area Community Based) คือ การยึดพื้นที่เป็นเป็นหลักและแบ่งหมู่บ้านออกเป็น คุ้มเล็ก คุ้มน้อย เพื่อให้แต่ละบ้านในคุ้มนั้น เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปัญหา คือ ขณะที่ผู้ใหญ่พูด เด็กๆ ก็ฟังไม่รู้เรื่อง บางบ้านส่งคนมาประชุมคุ้ม 3คน บางบ้านไม่ส่งมาเลย 4.กลุ่มไร้สาย เช่น FaceBook Hi5 Msn Skype chat กลุ่มเหล่านี้ไม่เห็นหน้ากันแต่สามารถสื่อสารกันตลอดทั้งวันอย่างใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มข้างบน มีทั้งสร้างผลประโยชน์ให้แก่กัน หรือหลอกลวงกันก็มีมากมาย ข้อสรุป ก็คือว่า คำว่ากลุ่มภายนอกมีข้อสร้างสรรค์และข้อจำกัดของตัวของเขาเอง การจะยึดติดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และประกาศว่า นี่คือ
BECคงไม่น่าจะใช่ องค์พระเป็นเจ้าตรัวว่า เราจะอยู่กับท่านและเครื่องหมายแสดงว่า เราส่งท่านไป ก็คือ เมื่อท่านนำประชากร ออกจากอียิปต์แล้ว ท่านทั้งหลายจะมานมัสการ พระเจ้าบนภูเขานี้ เป้าหมายของการทำกิจการใดๆ คือ การนำประชากรออกจากความทุกข์ ด้วยความตระหนักว่าพระเป็นเจ้าประทับอยู่กับเรา เราจะต้องนำคนทั้งหมายกลับไปนมัสการพระเป็นเจ้า บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ดังที่โมเสลนำชาวอิสราเอล สู่บนเขาซีนาย เพื่อรับพระบัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ 10ประการนี้ ได้กลายเป็น แนวทางการดำเนินชีวิตของชาวอิสราเอล ซึ่งต่อในสมัยพระเยซูเจ้า ก็ได้ ยืนยันคำสอน ในบทบัญญัติ 10 ประการเช่นเดียวกัน โดย อธิบายเพิ่มเติมคำว่า ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ คือการดำเนินชีวิตโดยยึด พระจิต และสัจธรรม ความจริงเป็นหลัก (พระดำรัสกับชาวสะมาเรียที่บ่อน้ำของยาโคบ) การสร้างกลุ่มคริสตชน ประการแรกที่สำคัญ คือการสร้างจิตวิญญาณใหม่ให้เราหันกลับไปหา พระเป็นเจ้าโดยมีพระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลาง (เราเป็นลำต้นท่านเป็นกิ่งก้าน) และมีองค์พระจิตเจ้า ทรงเป็นผู้นำ (พระองค์จะอธิบายให้เราทราบ ทุกอย่างที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์...) ถ้าเราย่อมยึดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน ทุกฝ่ายจะมีอิสระเสรีมากขึ้น แต่ถ้าหากว่า เรากลับไปยึดรูปแบบข้างบนจนเกินไป
ก็น่าจะมีข้อจำกัดหลายประการ ดังกล่าวข้างต้น ไม่มีใครรู้จักพระบิดานอกจากพระบุตรและผู้ที่พระบุตรเปิดเผยให้ทราบ ขอบคุณพระเป็นเจ้าที่พระองค์ทรงเลือกเรา ดุจดังเลือกโมเสส
ให้เป็นผู้นำประชากรของพระเป็นเจ้าทำให้เรา มีสิทธิที่จะอภิบาลวัด ครอบครัว ชุมชน เด็ก สตรี บรรดาผู้สูงอายุ และกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นหรือตัวเราเป็นผู้สร้างเอง
ทุกวันเราจะต้องหล่อเลี้ยงเขาด้วยพระวาจาของพระเจ้าและศีลศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เขามีความเชื่อมั่นว่า พระองค์ทรงประทับอยู่กับเขา เพื่อเขาจะได้นมัสการพระองค์ ด้วยการดำเนินชีวิตในพระจิตและสัจธรรม |
||||||||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |