![]() |
|||||||||||
|
|
|
![]() |
![]() |
อนึ่ง โครงการฯ นี้ พระสังฆราช วีระ อาภรรัตน์ อดีตผู้จัดการแผนกคริสตศาสนธรรม (20 ต.ค. 1988 - 30 เม.ย. 2009) ได้ริเริ่มจัดให้มีโครงการฯนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 สถาปนาบุญราศีแห่งทั้งเจ็ดแห่งสองคอนและจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 20 แล้ว |
|
|
![]() |
![]() |
ในวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2009 ออกเดินทางจากอาสนวิหารอัสสัมชัญ เวลา 20.00 น. และถึงโรงแรมมุกธารา เวลา 06.30 น. เข้าที่พักและรับประทานอาหารเช้า วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2009 เวลา 08.00 น. เดินทางสู่สักการสถานบุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน และร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ในเวลา 10.00 น. อนึ่งในเวลา 09.30 น. ทางสักการสถานฯ ได้จัดมีพิธีถวายพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปล่อยลูกโป่งสวรรค์ จากนั้นต่อด้วยพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณโดย พระอัครสังฆราชหลุยส์จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ประมุขสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง พร้อมด้วยพระสงฆ์นักบวชชายหญิง และบรรดาพี่้น้องสัตบุรุษที่มาจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมพิธีในวันนี้เป็นจำนวนมาก โดยทางสักการสุถานได้เตรียมรองรับสัตบุรุษที่มาในด้านที่จอดรถ และอาหารรองรับ ได้เป็นอย่างดี โดยการอ่านประวัติบุญราศีแห่งสองคอน (ดูประวัติเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ "75 องค์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์" หน้า 87-94)่ พิธีแห่พระธาตุ และพิธีเคารพพระธาตุที่ป่าศักดิ์สิทธิ์ |
|
|
![]() |
![]() |
วันที่อาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2009 เวลา 08.00 น. ออกเดินทางไปวัดอัครเทวดามีคาแอล ซ่งแย้ จ. ยโสธร ซึ่งเป็นทางผ่านกลับกรุงเทพฯ ได้แวะเยี่ยมคุณพ่อบุญเลิศ พรหมเสนา เจ้าอาวาสและซิสเตอร์รักกางเขนแห่งอุบลราชธานี 2 รูปที่ประจำที่วัดฯ และ ในปีนี้ทางวัดได้จัดสร้างเรือนไม้พิพิธภัณฑ์ของวัดและจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง คณะของเราก็ได้มีโอกาสเข้าชมและช่วยซื้อสินค้าพื้นเมืองด้วย ต่อจากนั้น คุณพ่อเจ้าอาวาสได้แบ่งปันเกี่ยวกับชุมชนวัดคร่าวๆ ซึ่งวัดหลังนี้ มีอายุ 55 ปีแล้ว (1954 (พ.ศ. 2597- ปัจจุบัน) มีสัตบุรุษประมาณ 2,000 คน และวัดหลังนี้ได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นศาสนสถานคาทอลิก UNSEEN IN THAILAND แห่งหนึ่ง ซึ่งในประเทศไทยมี 3 แห่งคือ 1. สักการสถานบุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน 2. อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี และ 3. วัดอัครเทวดามีคาแอล ซ่งแย้ ซึ่งเป็นวัดเสาไม้จำนวนมากถึง 230 ต้น และปัจจุบันวัดได้รับการบูรณะ ใหม่ โดยรับคำเสนอแนะจากคณะกรรมการพิธีกรรม คือ คุณพ่อไพศาล อานามวัฒน์ พระสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิชและคณะของท่าน โดยใช้โครงสร้างเดิมและปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมทางภาคอีสาน โดยการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านช่วยกันทำจนเสร็จและสวยงามดังที่เห็นอยู่ขณะนี้ ใช้เวลา 3 ปี |
|
|
![]() |
![]() |
|
![]() |