ประมวลภาพ ชุดที่ 1ประมวลภาพ ชุดที่ 2ประมวลภาพ ชุดที่ 3 | ประมวลภาพ ชุดที่ 4 | ประมวลภาพงานฉลอง 25 ปี

ประมวลภาพพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ( หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ )

ประวัติพระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู

ฯพณฯพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู ( เดิมชื่อ ฮั่วเซี้ยง )

เกิด

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1929 ที่หมู่บ้านวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม

บิดา มารดา

ยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู

พี่น้อง

พี่น้องทั้งหมด   8 คน เป็น ชาย 7 คน เป็นหญิง 1 คน
พระคุณเจ้าเป็นบุตรคนที่ 5 ของครอบครัว

ศีลล้างบาป

ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม
วันที่รับศีลล้างบาป 26 มกราคม ค.ศ.1929
ทะเบียนศีลล้างบาปเลขที่ 3939   นามนักบุญ ไมเกิ้ล  โดย คุณพ่อ อันตน  เดชังป์
พ่อทูนหัว ไมเกิ้ล  ง่อเซ็ง

ศีลกำลัง

ณ วัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม
วันที่รับศีลกำลัง 1 สิงหาคม  ค.ศ.1937
โดย  พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส

การอบรมเลี้ยงดู

เป็นครอบครัวที่มีความศรัทธามาก และผลจากการเลี้ยงดูอย่างดีจากบิดามารดา จึงเป็นเด็กดีไม่มีปัญหา ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่มีความศรัทธาต่อพระเป็นเจ้าอย่างมาก จากการบอกเล่าจากพี่สาวของท่านเล่าว่า “ท่านเป็นเด็กที่มีความประพฤติเรียบร้อย สอนง่าย รับการตักเตือนง่าย การทำงานทำการก็มีความเรียบร้อย และที่สำคัญมีความตั้งใจเรียนดีมาก แต่ว่าค่อนข้างจะเป็นเด็กขี้อาย”

ลักษณะเด่น

ท่านได้ใกล้ชิดวัดมาตั้งแต่เด็กโดยมีหน้าที่ช่วยมิสซาสม่ำเสมอ ท่านจึงต้องตื่นนอนแต่เช้าเพื่อไปวัดทุกเช้า เพื่อช่วยมิสซา และในวัยเด็กท่านเป็นสมาชิกของคณะพลศีล โดยได้รับความรักเอ็นดูจากรุ่นพี่ๆ เพราะท่านเป็นเด็กอารมณ์ดี ร่าเริง ยิ้มเสมอ และเป็นที่รักของรุ่นน้องๆ ด้วยเพราะท่านเป็นคนใจดี ลักษณะทางกายที่สะดุดตามีสองประการคือ ลักยิ้มที่มีความโดดเด่น และ มีขวัญ 3 ขวัญ แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญที่สุดคือ ความโดดเด่นทางจรรยา คือ มีความศรัทธาและมีความอ่อนน้อมสุภาพเสมอ จนกระทั่งคุณครูสุทิน เต่งตระกูล คุณครูคนหนึ่งของท่านในสมัยเด็กถึงกับออกปากกับผู้ปกครองของเด็กชายฮั่วเซี้ยงว่า “น่าจะให้บวชเรียนเป็นพระสงฆ์ เพราะมีนิสัยเหมาะมาก แม้แต่คุณพ่อลาร์เก และคุณพ่อยอลี ก็เห็นเช่นเดียวกันในเรื่องความเด่นชัดเรื่องนี้ของท่าน” และในที่สุด ด.ช.ฮั่วเซียง จึงตัดสินใจเดินตามรอยของผู้เป็นลุง (คุณพ่อ เทโอฟิล) เข้าบ้านเณรที่บ้านเณรศรีราชาตั้งแต่อายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น  เมื่อเรียนจบที่โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพรานแล้ว ท่านมีความสามารถให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่เพื่อนๆในหลายๆด้าน เช่น การเรียน การเล่น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จึงเป็นที่ชอบพอรักใคร่ของบรรดาเณรทั่วไป

ประวัติการศึกษา

 

ปี ค.ศ. 1935-1940

เรียนที่โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม จบชั้นประถมปีที่ 4 (เลขประจำตัว 718)

ปี ค.ศ. 1940

เรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร (สามเณราลัยพระหฤทัย) ศรีราชา ชลบุรี ชั้นมัธยมปีที่ 1 (เรียนไม่จบ เนื่องจากเกิดสงครามอินโดจีน จึงย้ายไปเรียนที่บ้านเณรบางช้าง)

ปี ค.ศ. 1941-1944

เรียนที่บ้านเณรพระหฤทัยบางช้าง สมุทรสงคราม เป็นเวลา 4 ปี จบชั้นมัธยมปีที่ 4

ปี ค.ศ. 1945-1947

เรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ชลบุรี จบชั้นมัธยมปีที่ 6

ปี ค.ศ. 1948-1953

เป็นครูเณรที่สามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา ชลบุรี สอนเรียนที่โรงเรียนดาราสมุทร ได้รับตำแหน่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนดาราสมุทร

ปี ค.ศ. 1953-1959

เรียนที่วิทยาลัยโปรปากันดาฟีเด กรุงโรม จบปริญญาโท สาขาปรัชญา และ เทววิทยา ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ที่บ้านเณรปรอปากันดาฟีเด กรุงโรม โดยพระคาร์ดินัลเปโตร อากายาเนียน พร้อมกับพระสังฆราชยอแซฟ เอก ทับปิง (มรณภาพ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985)

ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

(จากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

8 กันยายน 1960

เดินทางกลับประเทศไทย

1 ตุลาคม ค.ศ. 1960   -21 มกราคม 1962

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระนามพระเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี

21 มกราคม 1962 - กุมภาพันธ์ 1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี

กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 - สิงหาคม ค.ศ. 1965

ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ กรุงเทพฯ

28 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 - สิงหาคม ค.ศ.1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นเหรัญญิกของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

28 กรกฎาคม ค.ศ.1965

ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพระสังฆราชของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สิงหาคม ค.ศ. 1965    - มีนาคม ค.ศ. 1973

ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม

3 มิถุนายน ปี ค.ศ.1973/2516

อภิเษกเป็นพระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สืบจาก ฯพณฯ อัครสังฆราช ยอแซฟ ยวง นิตโย

30 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1982/2525

สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2 ทรงมีพระสมณสารแจ้งเป็นการภายในให้ทราบว่า จะทรงแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของพระคาร์ดินัลแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1983/2526

5 มกราคม ปี ค.ศ.1983/2526

มีประกาศอย่างเป็นทางการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล เป็นพระคาร์ดินัลไทยองค์แรก

2  กุมภาพันธ์  ปี ค.ศ. 1983/2526

พิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลท่ามกลางพระคาร์ดินัล คณะทูตานุฑูต และคริสตศาสนิกชน

ปี ค.ศ. 2008

ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

(จากสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย)

ปี ค.ศ. 1979-1982

ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

7 มีนาคม ปี ค.ศ. 1984 / 2527

ประธานคณะกรรมการฝ่ายคาทอลิกจัดงานรับเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2 เสด็จเยือนประเทศไทย

มีนาคม 1985  - กุมภาพันธ์ 1991

ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

เมษายน ค.ศ.1994 -  มีนาคม ค.ศ.1997      

 ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

เมษายน ค.ศ.2000 -  มีนาคม ค.ศ.2006        

ดำรงตำแหน่งประธานสภาพระสังฆราชฯ

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราชฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน

มิถุนายน ค.ศ.1973 - พฤษภาคม ค.ศ.1976
มิถุนายน ค.ศ.1982 -  กุมภาพันธ์ ค.ศ.1985
มีนาคม ค.ศ.1991 - มีนาคม ค.ศ.1994
ค.ศ.1997 - มีนาคม ค.ศ.2000
เมษายน ค.ศ.2006 

ดำรงตำแหน่งเหรัญญิก สภาพระสังฆราชฯ

ปี ค.ศ. 2008 - 13 พฤษภาคม 2009

เหรัญญิกสภาพระสังฆราชฯ
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และกฎหมายบ้านเมือง
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการศึกษา
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบาลสังคม

 ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ

(จากกรุงโรม)

ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวง ประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical Missionary Societies for the Propagation of the Faith )

วันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.1975

ได้รับแต่งตั้งจากสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ  ให้ดำรงตำแหน่ง President of the Missionary Union of the Clergy in Thailand  นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวง เผยแพร่ความเชื่อ หลังจากที่พ้นตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ แล้ว

วันที่ 28 มกราคม ค.ศ.1994

ได้รับ แต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงินและเศรษฐกิจของสันตะสำนัก” นอกจากนี้ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ยังได้รับหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญหลายอย่าง ในพระศาสน จักรและสังคมไทย ได้เป็นนายกสภาวิทยาลัยแสงธรรมตั้งแต่ปี  ค.ศ.1976 จนถึงปัจจุบัน และนายกสภา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ด้วย   

นับเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นภาระที่หนัก  ซึ่งพระคาร์ดินัลได้รับความไว้วางใจจากสภาพระสังฆราชฯ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู มีคำขวัญว่า “โดยทางกางเขน จะพบความสว่าง” (Per Crucem ad Lucem)

เหตุการณ์สำคัญในชีวิต

 

วันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1973

 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครสังฆราช ประมุขแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1973

ได้รับการอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราช แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย

ค.ศ.1979 - 2001

 เป็นประธานสำนักงานคาทอลิกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ  อินโดจีน เช่น เขมร เวียดนาม ซึ่งเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนหลายแสนคน จนกระทั่งปัจจุบัน ยังช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านี้อยู่ และได้ขยายความช่วยเหลือไปยังประเทศกัมพูชา

ค.ศ.1982

 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดประชุมสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย (เอฟเอบีซี) ครั้งที่ 4  ที่บ้านเณรแสงธรรม สามพราน นครปฐม ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรก มีพิธีสหบูชามิสซา ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ด้วย

วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1982

สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงมีพระสมณสาสน์แจ้ง เป็นการภายในให้ทราบว่า  จะทรงแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของพระคาร์ดินัลแห่งพระศาสนจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983

วันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1983

มีประกาศอย่างเป็นทางการ  แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล นับเป็นพระคาร์ดินัลไทยองค์แรก

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983

พิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสตศาสนึกชนโดย สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ณ พระมหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม นครรัฐวาติกัน

วันที่ 10-11 พฤษภาคม ค.ศ.1984

เป็นประธาน คณะกรรมการจัดการพิธีรับเสด็จ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ฝ่ายพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ประสานงานกับฝ่ายรัฐบาล

วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1984

ฉลองครบรอบ 25 ปี แห่งการบวชเป็นพระสงฆ์ (หิรัญสมโภช)

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989

ป่วย เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1998

ฉลองครบรอบ 25 ปีในการดำรงตำแหน่งพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

วันที่ 3-12  มกราคม ค.ศ. 2000

ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดประชุมสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งเอเชีย (เอฟเอบีซี) ในประเทศไทย  เป็นครั้งที่ 2  ระหว่างวันที่ 3-12 มกราคม ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน นครปฐม
 

วันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2000

ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานจัดงานฉลองฝ่ายพระศาสนจักรคาทอลิก ในโอกาสที่พระบาทสมีเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา และโอกาสฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ ณ ศูนย์ กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

มกราคม ค.ศ.2000

โอกาสครบรอบ 100 ปี โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  พระคาร์ดินัลได้พัฒนาปรับปรุง  โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ให้ทันสมัยและสามารถให้บริการผู้ป่วยให้ มีคุณภาพยิ่งขึ้น และวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2000 เวลา 14.30 น. สมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเปิดอาคารร้อยปีบารมีบุญซึ่งเป็นอาคารสูง 24 ชั้น
 

วันที่ 5 มีนา่คม ค.ศ. 2000

ร่วมพิธีสถาปนาคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน ท่านในฐานะเป็นผู้เสนอเรื่องนี้เป็นผู้กล่าวรายงานต่อองค์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 นับเป็นความภาคภูมิใจและเกียรติสำหรับพระศาสนจักร ในประเทศไทย อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และวัดนักบุญเปโตร สามพราน

วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2001

เสกอาคารร้อยปีบารมีบุญ (ตึกใหม่ 24 ชั้น) โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ.2003

เปิดสักการสถานบุญราศี คุณพ่อนิโคลาส กฤษบำรุง และบวชพระสงฆ์

วันที่ 5-25 เมษายน ค.ศ. 2005

ร่วมพิธีปลงพระศพ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 และในฐานะพระคาร์ดินัล ได้เข้าร่วมการเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ (สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16) ประมุขพระศาสนจักรคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก สืบตำแหน่งต่อจาก นักบุญเปโตร ลำดับที่ 265        

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008

ฉลองครบรอบ 25 ปีแห่งสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน

วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ.2008

 เข้าเฝ้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 “อัล ลิมินา” (ad Limina Apostolorum) ร่วมกับสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย (10 สังฆมณฑลใน ประเทศไทย)

วันที่ 14พฤษภาคม ค.ศ. 2009

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่16 ได้อนุมัติการลาของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู  ประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สถิติ เป็นประธานอภิเษกพระสังฆราช

         1. อภิเษก พระอัครสังฆราช หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์

         2. อภิเษก พระสังฆราช ยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ

         3. อภิเษก พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช

         4. อภิเษก พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
 
จำนวนพระสงฆ์ที่ได้รับศีลบวช ในปี ค.ศ. 1973 – 2007

           ก็นับว่าน่าสนใจมิใช่น้อย แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องใหญ่เกินธรรมดา เพราะว่าการบวช พระสงฆ์เป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นก็ตาม แต่เราก็สามารถพบกับการส่งเสริมกระแสเรียก และการเตรียม บุคลากรด้านงานอภิบาล  ที่ท่านได้ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษตลอด 35 ปี ของการปกครอง

จำนวนพระสงฆ์ที่ได้รับศีลบวช ในปี ค.ศ. 1973 – 2007

                 1. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 118 องค์

                 2. สังฆมณฑลจันทบุรี 6 องค์

                 3. สังฆมณฑลนครราชสีมา 1 องค์

                 4. สังฆมณฑลนครสวรรค์ 4 องค์

                 5. สังฆมณฑลราชบุรี 3 องค์

                 6. สังฆมณฑลเชียงใหม่ 3 องค์

                 7. พระสงฆ์คณะเซนต์คาเบรียล 1 องค์

                 8. พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ 15 องค์

                 9. พระสงฆ์คณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ 5 องค์

                 10. พระสงฆ์คณะซาเลเซียน 4 องค์

                 11. พระสงฆ์คณะคามิลเลียน 4 องค์

                 12. พระสงฆ์คณะเยสุอิต 3 องค์

                 13. พระสงฆ์คณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล  5 องค์

                 14. พระสงฆ์คณะอิเดนเตส  1 องค์

                 15. พระสงฆ์คณะภราดาน้อยกาปูชิน 1 องค์

                                                             รวม     174 องค์

           จำนวนตัวเลข ณ ที่นี้ อาจจะมีผิดพลาดบ้างเล็กน้อย ด้วยเหตุผลบางประการ และสำหรับพระสงฆ์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ไม่ได้รวมพระสงฆ์ที่ได้รับศีลบวชโดย สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ในปี ค.ศ.1984 ที่ บ้านเณรนักบุญยอแซฟ สามพราน ไว้ด้วย

การสร้างและบูรณะวัด
ภารกิจที่สำคัญของท่านในด้านการสร้างและบูรณะวัด,โรงเรียน,บ้านพักพระสงฆ์,บ้านซิสเตอร์
ตั้งแต่ ปีค.ศ.1973 – 2007

อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ

บูรณะวัด, สร้างและขยายโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา

วัดแม่พระลูกประคำ  กาลหว่าร์
 
 

บูรณะวัด, สร้างบ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์, ปรับปรุงพื้นที่บริเวณรอบๆ  และรวมโรงเรียนกุหลาบวัฒนา (หญิง) กับโรงเรียนกุหลาบวิทยา (ชาย) ให้เป็นโรงเรียนเดียวกัน โดยใช้ชื่อโรงเรียนกุหลาบวิทยา มีทั้งนักเรียนชาย-หญิง เปิดสอนชั้นอนุบาล-ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6

วัดเซนต์หลุยส์ สาทรใต้

สร้างบ้านพักพระสงฆ์, โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา และโรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล

วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์

สร้างโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา

วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดราชินีแห่งสันติสุข ซอย 101

ปรับปรุงวัดและบริเวณรอบๆ

วัดพระกุมารเยซู ก.ม. 8

 สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดคอนเซ็ปชัญ

บูรณะวัด

วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน

ปรับปรุงวัด และสร้างโรงเรียน

แม่พระฟาติมา ดินแดง

ปรับปรุงวัด และสร้างโรงเรียน

วัดอัครเทวดามีคาแอล สะพานใหม

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดพระชนนีของพระเป็นเจ้า รังสิต

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ คลองจั่น

สร้างวัด, โรงเรียน และบ้านพักซิสเตอร์

วัดเซนต์จอห์น ลาดพร้าว

 ซื้อที่ดินเพิ่มเติมและปรับปรุงอาคารที่พักพระสงฆ์

วัดนักบุญมาร์โก ปทุมธานี

สร้างวัด และซื้อที่ดินเพิ่มเติม

วัดแม่พระกุหลาบทิพย์

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดซางตาครู้ส กุฎีจีน

บูรณะวัด และสร้างโรงเรียน

ดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ปากลัด

ปรับปรุงวัด และสร้างโรงเรียน

วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก

ปรับปรุงวัด และสร้างโรงเรียน

วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์ และบ้านพักซิสเตอร์

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

ศีลมหาสนิท ตลิ่งชัน

ปรับปรุงวัด และซื้อที่ดินเพิ่ม

วัดนักบุญหลุยส์มารีฯ บางแค

ปรับปรุงวัด

วัดพระวิสุทธิวงส์ ลำไทร

ปรับปรุงวัด

วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก

สร้างโรงเรียน และบ้านพักพระสงฆ์

วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หัวตะเข้

 สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดเซนต์แอนโทนี  แปดริ้ว

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดเซนต์ร็อค ท่าไข่

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดแม่พระฟาติมา บางวัว

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญเปาโล บ้านนา

ปรับปรุงวัด, สร้างโรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์และบ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญยอแซฟ หนองรี

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญเปโตร สามพราน

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์ สร้างสักการสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

วัดพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

สร้างวัด, บ้านพักพระสงฆ์ และสร้างสุสานศานติคาม

วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน

สร้างโรงเรียนและปรับปรุงบริเวณรอบๆ

วัดพระคริสตกษัตริย์ นครปฐม

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญอันเดร บางภาษี

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน

บูรณะวัด, สร้างโรงเรียนและปรับพื้นที่บริเวณรอบๆ

วัดนักบุญเทเรซา หน้าโคก

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญยวง บัปติสตา เจ้าเจ็ด

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

บูรณะวัด, และปรับพื้นที่บริเวณรอบๆ

วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่

สร้างโรงเรียนและปรับพื้นที่บริเวณรอบๆ

ัแม่พระประจักษ์แห่งภูเขาคาร์แมล

บูรณะวัด, สร้างโรงเรียนและปรับพื้นที่บริเวณรอบๆ

วัดนักบุญลูกา อู่ทอง

สร้างวัด, โรงเรียน, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์

วัดนักบุญบาร์โธโลมิว ดอนตาล

สร้างวัด และบ้านพักพระสงฆ์

สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ

ปรับปรุงบริเวณรอบบ้านเณร, สร้างบ้านผู้หว่าน, โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ชาย-หญิง และบ้านพักพระสงฆ์ผู้สูงอายุ

วันเสาร์ที่  2 กุมภาพันธ์  2008  :  สมโภชการเข้ารับพระสมณศักดิ์ พระคาร์ดินัล ครบ 25 ปี

สัมภาษณ์พระอัครสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู

ข้อมูลบางส่วนจากห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010