ที่มา จาก เว็บหอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  
                               โดย ...บาทหลวงสุรชัย  ชุ่มศรีพันธุ์

 

มิสซังสยามได้รับยกขึ้นเป็นสังฆมณฑล

นับตั้งแต่ปี 1965 ที่มิสซังสยามได้รับการแบ่งและยกขึ้นเป็นสังฆมณฑลต่าง ๆ มาจนถึงปีนี้คือ 1990 ก็เป็นเวลา 25 ปีพอดี สำหรับเรื่องการแบ่งแยกและการยกมิสซังสยามเช่นนี้เพื่อให้มีการปกครองและบริหารแบฐานันดรของพระศาสนจักร (Ecclesiastical Hierarchy)

ในปี 1965 มาจนถึง ปี 1990 นี้ จะยังไม่พูดในบทความนี้ ขอให้สังเกตว่าในขณะที่พระศาสนจักรในเมืองไทยยังคงเป็น “มิสซังสยาม” อยู่นี้ มิสซังสยามอยู่ในระบบการปกครองและบริหารโดยมี Apostolic  Vicar เป็นประมุข เราอาจจะแปลได้ว่า “รองอัครสาวก” หรือ “ผู้แทนพระสันตะปาปา” โดย Apostolic Vicar นี้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชของสังฆมณฑลใดสังฆมณฑลหนึ่ง ซึ่งถือเป็นตำแหน่งทางการของพระศาสนจั กรเวลาเดียวกันถูกถือว่าเป็นผู้ที่ถูกส่งมาในฐานะผู้แทนพระสันตะปาปาในลักษณะเช่นนี้ Apostolic Vicar  จึงเป็น Titular Bishop (In Partibus Infidelium) ซึ่งหมายความว่าเป็นสังฆราช แต่ไม่ต้องประจำ ( Residence) ในท้องที่ที่ถูกกำหนดไว้ตามตำแหน่ง (สังคายนาที่เมือง Trent กำชับเรื่องนี้อย่างแข็งขัน) แต่ให้ไปทำหน้าที่เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาแทน Title ที่ได้รับมาจึงเป็นแค่เพียงเกียรติศักดิ์เท่านั้น

เหตุผลที่สมณกระทรวง PROPAGANDA FIDE ต้องส่ง Apostolic Vicar ออกมาทำงานในลักษณะเช่นนี้ (แทนที่จะทำให้ง่าย ๆ โดยการแต่งตั้งให้เป็นสังฆราชของท้องที่ที่จะส่งไปเลย ก็สิ้นเรื่อง)ก็เป็นเพราะว่า หากไม่ทำเช่นนี้ มันจะไม่สิ้นเรื่องอย่างว่า แต่จะกลายเป็นก่อเรื่องมากขึ้น เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และน่าสนใจ ผมจะขอสรุปเหตุผลให้ฟังย่อ ๆ โดยใช้ภูมิหลัง (Background) บางอย่างมาประกอบ ดังนี้ :

ใน ศต. ที่ 14 และ 15 แขกมุสลิม หรือ พวก เติร์ก (TURK) กำลังมีอำนาจมากและรุกรานยุโรป และเมื่อเมืองสำคัญเช่น Constantinople ถูกตีแตกในวันที่ 29 พ.ค. 1453 ชาวยุโรป และพระศาสนจักรเองก็เริ่มกลัวกันว่า ยุโรปจะรอดพ้นมือของพวกเติร์กหรือไม่ในยุโรปตอนนั้นก็มีเพียงประเทศ 2 ประเทศที่มีอำนาจและเข้มแข็งเพียงพอที่จะต้านทานการ รุกรานของพวกแขกมุสลิมได้ ได้แก่ โปรตุเกส และสเปน นอกจากมีอำนาจและกำลังเพียงพอแล้ว ยังมีความก้าวหน้าในการสำรวจดินแดนใหม่ ๆ อีกด้วย กษัตริย์ของทั้ง 2 ประเทศ (ซึ่งเป็นประเทศคริสตัง) ต่างก็ขออำนาจจากพระสันตะปาปา ที่จะทำหน้าที่เผยแพร่ความเชื่อไปยังดินแดนที่เพิ่งค้นพบใหม่ ๆ เหล่านั้น บรรดาพระสันตะปาปาในสมัยนั้น ต่างก็เห็นถึงประโยชน์ทั้งด้านวิญญาณและด้านวัตถุด้วย ก็ได้มอบสิทธิพิเศษมากมายแก่พวกนักสำรวจของ โปรตุเกส และสเปน และมอบ หมายให้ทั้ง 2 ประเทศนี้ทำหน้าที่เผยแพร่ความเชื่อในลักษณะเช่นนี้ สิทธิพิเศษเหล่านี้ทำให้ประเทศ โปรตุเกส และสเปน กุมบังเหียน การแพร่ธรรมเอาไว้ รวมทั้งยังประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย เราเรียกกันรวม ๆ ว่า PADROADO หรือ PATRONAGE ผมขอยกตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ของสิทธิพิเศษเหล่านี้ เช่น

- โปรตุเกส และ สเปน มีสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวที่จะเผยแพร่ศาสนาคาทอลิกในดินแดนที่ค้นพบใหม่ ๆ

- มีสิทธิ์กำหนดผู้ที่จะเป็นสังฆราช พระสงฆ์ ประจำตามสถานที่ต่าง ๆ มีสิทธิ์สร้าง วัดวาอารามและอื่น ๆ

- ผู้ที่จะเข้ามาในดินแดนเหล่านี้ ที่ถูกค้นพบเพื่อเผยแพร่ศาสนา ต้องได้รับอนุญาตจากโปรตุเกส หรือสเปน เสียก่อ น และต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่

ในสถานที่ที่กำหนดไว้ เช่น โปรตุเกส กำหนดให้กรุงลิสบอนเป็นจุดตรวจ เป็นต้นและเนื่องจากทั้ง โปรตุเกส และสเปน ต่างก็เป็นมหาอำนาจด้วยกันทั้งคู่ในสมัยนั้น เพื่อมิให้ทะเลาะวิวาท และบาดหมางกันเอง โลกใบนี้ก็กว้างใหญ่ พระสันตะปาปา ALEXANDERVI จึงได้ออกกฤษฎีกา INTER CAETERA วันที่ 3 พ.ค. 1493 แบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก โดยก ารขีดเส้นจากขั้วโลกหนึ่งไปยังอีกขั้วโลกหนึ่ง ซีกโลกด้านตะวันตกมอบให้ สเปน, ด้านตะวันออกมอบให้โปรตุเกส. ทั้ง โปรตุเกส และสเปน ต่างก็หวงแหนสิทธิพิเศษเหล่านี้ ซึ่งได้รับการเพิ่มพูนมากขึ้นในสมัยของพระสันตะปาปายุคต่อ ๆ มาใครจะมาล่วงล้ำต่อสิทธิพิเศษนี้ในดินแดนของตนไม่ได้ เรื่องราวของการหวงแหนสิทธิเหล่านี้มีมาจนถึง ศต. ที่ 19 แม้ในสมัยที่หมดความเป็นมหาอำนาจไปแล้วก็ตาม เราจะเห็นว่าในระบบนี้ พระสันตะปาปาสูญเสียอำนาจในการแพร่ธรรมไปอย่างมา กมายในดินแดนใหม่ ๆ เพราะตกอยู่ในมือของโปรตุเกสและสเปน (ใครดูภาพยนตร์เรื่อง The Mission ก็คงจะพอเข้าใจ และเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่กรุณาอย่าเชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดว่าเป็นเรื่องจริง) ดังนั้นหลังจากการสังคายนาสากลที่เมือง Trent ระหว่างปี 1545-1563, ทางโรมเห็นว่าระบบนี้ไม่เหมาะสม และมีหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการแพร่ธรรม จึงหาหนทางที่จะเอาอำนาจการแพร่ธรรมกลับคืนมาและเพื่อมิให้มีข้อบาดหมางกับทั้ง 2 ประเทศนั้นด้วย ก็ต้องหาทางออกที่เห มาะสมโดยการก่อตั้งสมณกระทรวง Propaganda Fide ขึ้นมาในปี 1622 เพื่อรับผิดชอบในการแพร่ธรรมในส่วนต่าง ๆ ของโลก บังเอิญในช่วงปี 1622 นั้นประเทศโปรตุเกสกำลังอยู่ในสภาพสูญเสียความเป็นมหาอำนาจ อย่างไรก็ตาม การที่ Propaganda Fide จะทำอะไรสักอย่างเพื่อการแพร่ธรรม ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อมิให้เกิดเรื่องขึ้นได้ เพราะอาจะไปล่วงล้ำสิทธิพิเศษต่าง ๆ เหล่านั้น การแต่งตั้งสังฆราชปกติเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิพิเศษประการหนึ่ง แต่ก็ไม่ มีสิทธิพิเศษข้อใดที่ขัดแย้งกับการส่งผู้แทนพระสันตะปาปา เข้ามาดูงานในเขตดินแดนเหล่านั้นรวมทั้งในเขตที่ยังไม่ถูกยึดครองโดย โปรตุเกส และสเปน ดังนั้นทางเดียวที่ทำได้คือ แต่งตั้งพระสังฆราชและมอบหมายให้เป็น Apostolic Vicar ดังกล่าวถึงกระนั้นก็ดี ทั้ง 2 ประเทศนั้นต่างก็ถือว่า บรรดามิชชันนารีของ Propaganda Fide ได้เข้ามาล่วงล้ำสิทธิพิเศษของตน จึงไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราชที่ถูกส่งมา เรื่องของเรื่องก็คือ บรรดามิชชันนารีของ Padroado และของ Propaganda Fide ก็ต้องทะเลาะกันและบาดหมางกันในทุกภาคของโลกก็ว่าได้ (สำหรับผู้ที่สนใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาอยู่มากในมิสซังสยามเองก็มีการทะเลาะกันเรื่องนี้เช่นเดียวกัน)

ในส่วนที่เกี่ยวกับมิสซังสยาม บรรดา Apostolic Vicar ที่ทาง Propaganda Fide ส่งมาจากคณะพระสงฆ์ M.E.P. (Missions Etrangeres de Paris) ทั้ง 3 ท่านแรกคือ ฯพณฯ Lambert de La Motte , ฯพณฯ Pallu และ ฯพณฯ Ignatius Cotolendi มิได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาในมิสซังสยาม แต่เนื่องจากในดินแดนที่ถูกกำหนดมาคือ จีน, ตังเกี๋ยและโคจินจีน กำลังมีการเบียดเบียนศาสนา ฯพณฯ Lambert และ ฯพณฯ Pallu จึงต้องตั้งหลักอยู่ที่อยุธยา ส่วนท่าน Cotolendi เสียชีวิตไป พระสังฆราชทั้ง 2 เห็นว่าประเทศสยามให้อิสระต่อการประกาศพระศาสนา สถานกา รณ์ต่าง ๆ ก็เอื้ออำนวย จึงขออนุญาตจากโรมทำงานในดินแดนนี้ รวมทั้งขอให้โรม ยกดินแดนนี้ขึ้นเป็นเขตปกครองโดยมี Apostolic Vicar เป็นประมุขดูแล ซึ่งการขอนี้ก็สำเร็จเป็นไปในปี  1669 และปี 1674 มิสซังสยามก็มี ฯพณฯ Laneau เป็น Apostolic Vicar คนแรก แน่นอนที่สุดบรรดามิชชันนารีของ Padroado ซึ่งอยู่ในสยามเวลานั้น ย่อมไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราช

มิสซังสยามจึงต้องถูกนับว่าเป็นมิสซังแรกที่มีมิชชันนารี M.E.P. ได้มาทำงาน และถูกนับว่าเป็นมิสซั งแรกของคณะสงฆ์คณะนี้ด้วย นอกจากนี้ที่อยุธยาเองยังเป็นแห่งแรกที่มีการจัดประชุม Synod ปี 1664 ผลของการประชุมนี้ ทำให้เกิดมีการพิมพ์คู่มือที่รวบรวมคำสั่งสอนและวิธีการแพร่ธรรมสำหรับพวกมิชชันนารีขึ้น คู่มือนี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นถึง 12 ครั้ง มิสซังสยามยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่ก่อตั้งบ้านเณร หรือวิทยาลัยกลางขึ้นมาเป็นแห่งแรกของคณะ M.E.P. เพื่อผลิตพระสงฆ์พื้นเมืองขึ้นมาทำงานโดยจัดขึ้นแห่งแรกที่มหาพราหมณ์(ต่อมาย้ายไปที่อันนาม, อินเดีย และปีนัง ตามลำดับ) ในการประชุม Synod ครั้งนั้นยังได้ตกลงกันก่อนที่จ ะก่อตั้งคณะนักบวชพื้นเมืองที่เรียกกันว่า “คณะรักไม้กางเขน Amantes de La Croix “ ขึ้นมาด้วย โดยที่จะให้มีสมาชิก มีทั้งชาย และหญิง รวมถึง พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสด้วย แต่เท่าที่สามารถจัดตั้งได้ก็เป็นแค่นักบวชหญิงเท่านั้น

มิสซังสยามเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ แม้ว่าจะมีอุปสรรคนานัปการ แต่ก็เรียกได้ว่าก้าวหน้า แม้จะเป็นความก้า วหน้าอย่างช้า ๆ ก็ตาม ในสมัยต่อ ๆ มา ก็มีการแยกมิสซังลาวออกจากมิสซังสยาม และมีการเผยแพร่ศาสนาออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศ จนในที่สุดก็มีการแบ่งการปกครองออกเป็นสังฆมณฑลต่าง ๆ ในปัจจุบันเราก็ยังคงเรียกกันติดปากว่า สังฆมณฑลต่าง ๆ นั้นเป็นมิสซัง เช่น เรียกสังฆมณฑลจันทบุรีว่า มิสซังจันทบุรี ซึ่งถ้าหากจะเรียกกันตามฐานะที่ถูกต้องแล้ว ก็คงจะเรียกเป็นมิสซังไม่ได้ Apostolic Vicar คนสุดท้ายของมิสซังสยาม ได้แก่ ฯพณฯ ยวง นิตโย เป็น Tilular Proshop ของ OBBA และเป็น ฯพณฯ ยวง นิตโย นี้เองที่เป็นพระอัครสังฆราชองค์แรกแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในปี 1965

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010