The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

วัดพระมหาไถ่ ร่วมฤดี

ตั้งอยู่เลขที่ 123/15 ซอยร่วมฤดี 5  ถนนวิทยุ
แขวงลุมพินี   เขตปทุมวัน  กรุงเทพฯ  10330
โทร. 0-2651-5251 ถึง 3  FAX: 0-2651-5255 
E-mail:  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Website: www.holyredeemerbangkok.net
Facebook.com/holyredeemerbangkok
 
         ในปี ค.ศ. 1949 นับตั้งแต่พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่เข้ามาเปิดบ้านของคณะที่กรุงเทพฯ ณ ซอยนายเลิศ ภายในบ้านของคณะก็มีวัดน้อยของตนเอง ซึ่งเปิดให้สัตบุรุษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้ามาร่วมฟังมิสซา วัดน้อยแห่งนี้มีชื่อว่า "วัดแม่พระโรงรถ" ถือว่าเป็นวัดน้อยแห่งแรกของคณะพระมหาไถ่ในกรุงเทพฯ ต่อมาเนื่องจากจำนวนสัตบุรุษที่มาฟังมิสซามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนล้นออกมานอกวัด จึงได้มีการขยายตัววัดยื่นออกไปตามทางด้านหน้าโรงรถและถวายนามใหม่ว่า "วัดแม่พระโรงรถและบาทวิถี" ในปี ค.ศ. 1952 มีสัตบุรุษมาฟังมิสซากันมากมายทำให้วัดคับแคบไปคุณพ่อก็อดเบ้าท์ เห็นความจำเป็นที่จะต้องหาสถานที่ใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนสัตบุรุษ และด้วยความกรุณาของพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง และความเอื้อเฟื้อของภคินี อูร์ซูลิน คุณพ่อจึงได้ใช้หอประชุมของโรงเรียนมาแตร์เดอี  เป็นสถานที่ประกอบพิธีมิสซา
 
 
        พระสังฆราชโชแรง ได้มอบให้คณะสงฆ์พระมหาไถ่ปกครองบรรดาสัตบุรุษต่างชาติที่อยู่ในบริเวณนี้ คุณพ่อก็อดเบ้าท์ และโกแตนต์ จึงได้เริ่มทำการจดทะเบียนสัตบุรุษภายในปกครอง และคุณพ่อทั้งสองมีความเห็นพ้องต้องกันว่าท้องที่ของพระนครย่านนี้ยังไม่มีวัดเลย จึงคิดที่จะสร้างวัดอย่างถาวรขึ้นมาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาในวันข้างหน้า คุณพ่อทั้งสองใช้เวลาในการหาซื้อที่ดินอยู่ถึงสองปี จึงมาได้ที่ที่ซอยร่วมฤดี มีเนื้อที่ 4 ไร่  โดยความช่วยเหลือของคุณพ่อเจมส์ แวนซ์ เจ้าคณะแขวงเซนต์หลุยส์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และคุณพ่อแฟรนซิส  เฟเกิน เจ้าคณะแขวงองค์ก่อน ซึ่งได้จัดหาเงินสำหรับซื้อที่ดินและปลูกสร้างวัดและอาคารของคณะ  
 
   
 
       ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1953 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ได้มาประกอบพิธีเสกศิลาฤกษ์วัดใหม่ที่จะสร้างวัดหลังนี้ปลูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ทั้งลวดลายต่างๆ ของตัวโบสถ์และการตบแต่งก็เป็นศิลปะของไทยทั้งหมด ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 400 วัน ทำพิธีเสกและเปิดในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1954 โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง มีคุณพ่อก็อดเบ้าท์  เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
 
        การก่อสร้างโบสถ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 12 เดือนธันวาคม ค.ศ.1954 และในโอกาสเดียวกันนั้น พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ทำพิธีเสกบ้านพักพระสงฆ์ใหม่ของคณะพระมหาไถ่ด้วย
 
        นับตั้งแต่ปี 1954 ที่มีการเปิดวัดมาจนถึงปี ค.ศ. 1991 วัดพระมหาไถ่มีคุณพ่อเจ้าอาวาสรวมทั้งสิ้น 12 องค์ รวมทั้งคุณพ่อแลรี แพทิน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 1991 คุณพ่อวัดพระมหาไถ่ได้ทำงานอภิบาลให้กับคาทอลิกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  งานอภิบาลของวัดได้เพิ่มขึ้นหลายด้าน เช่น ดูแลโรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา สำหรับลูกหลานของชาวต่างชาติ โรงเรียนพระมหาไถ่ศึกษากรุงเทพฯเปิดสำหรับเด็กยากจน  งานให้การอบรมคู่แต่งงาน งานให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ติดสุรา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมคาทอลิกอีกหลายด้าน  คือ สมาคมนักบุญวินเซนต์   เดอปอล  คณะพลมารีไทยและอังกฤษ ฯลฯ  
 
วัดพระมหาไถ่กับสมาชิก
       ในการฉลองวัด ไม่ว่าจะเป็นวัดใดก็ตาม คือการฉลองสมาชิกของวัด ร่วมกับการฉลองสิ่งปลูกสร้างซึ่งพวกเขารวมกันเพื่อถวายบูชามิสซา พ่อคิดว่าคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ถ้าจะกล่าวว่าโบสถ์พระมหาไถ่เป็นอาคารที่ดี บางคนอาจกล่าวกระทั่งว่ามหัศจรรย์หรืองดงาม สิ่งที่พ่อจะชี้ให้เห็นคือ  โบสถ์ไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ถ้าจะมองว่าเป็นอาคารที่ดีหรือขนาดเรียกว่ามหัศจรรย์หรืองดงาม ก็ต้องมีสมาชิกของโบสถ์อยู่ในภาพด้วย และใครเล่าคือสมาชิกวัด ถ้าจะพูดอย่างตรงไปตรงมาแล้ว สมาชิกโบสถ์พระมหาไถ่ก็คือ คาทอลิกที่อาศัยอยู่ในเขตของวัดพระมหาไถ่ ซึ่งกินเนื้อที่ระหว่างถนนชิดลมและซอยอาณัฐทางหนึ่ง และคลองแสนแสบหลังถนนเพชรบุรีตัดใหม่ถึงถนนพระราม 6 ในอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ดี หากจะมองตามความเป็นจริงในชีวิตปัจจุบันแล้ว พ่อกล้ากล่าวว่า ขอบเขตทางกายภาพที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการเป็นสมาชิกโบสถ์ หรืออย่างน้อยก็สำหรับการมาร่วมถวายบูชาได้มากไปกว่าความสะดวกสำหรับผู้ที่มาโบสถ์ ดังนั้น ใครคือสมาชิกของโบสถ์ พ่อคิดว่า น่าจะเป็นใครก็ตามที่มาร่วมถวายบูชามิสซาที่นี่ และมองว่าโบสถ์พระมหาไถ่เป็นที่ที่เขามารับศีลศักดิ์สิทธิ์และมาภาวนา ถ้าจะมองลึกไปว่าโบสถ์พระมหาไถ่ (หรือวัดพระมหาไถ่) มีความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของการมาวัดวันอาทิตย์ ซึ่งหมายความว่า มีความจำเป็นที่จะให้โอกาสกับผู้ที่มาได้ฟังพระวรสารในภาษาอังกฤษ ข้อแม้ของพระสังฆราชในการให้เราจัดตั้งวัดในกรุงเทพฯ คือ เราจะต้องดูแลชุมชนของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งมีจำนวนมากในเมืองนี้ ซึ่งเราก็ได้พยายามทำเช่นนั้นและยังทำอยู่ ที่ผ่านมาลูกวัดที่ใช้ภาษาไทย มีจำนวนมากๆ พอกับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษและแน่นอนว่า จำนวนของมิสซาสำหรับพวกเขาก็เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน กระนั้นก็ตาม เราควรจะระลึกว่า  ทุกอาทิตย์ก็ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาร่วมพิธีมิสซากับเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งพวกเขาก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี 
 
        จากที่กล่าวมาแล้ว พ่อขอย้อนกลับไปยังประเด็นที่เราต้องการที่จะอธิบายให้กระจ่าง ณ ที่นี้ คือ ความสำคัญในการที่จะระลึกว่า ในการฉลองนั้นเราไม่ได้เพียงแต่ฉลองวัดเท่านั้น แต่ฉลองทั้งวัดและสมาชิกด้วย วัดพระมหาไถ่ขยายตัวและพัฒนาไม่ใช่เพียงแต่ในด้านการรักษาและการต่อเติมโครงสร้าง ซึ่งทำไปไม่ใช่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหลังคาวัดที่เริ่มหย่อนสภาพขึ้นใหม่ หรือการปฏิสังขรณ์พื้นพระแท่น ซึ่งเริ่มทรุด การตกแต่งภายในวัดใหม่หมด ระบบเสียงและไฟใหม่ การมุงหลังคาวัดเมื่อเร็วๆ นี้ เกราะคุ้มกันเสาหินแกรนิตที่สวยงาม อย่างไรก็ดีนอกเหนือจากการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพ สิ่งที่เราควรจะตระหนักด้วยก็คือผลประ โยชน์ทางวิญญาณ ซึ่งมาจากความพยายามและความร้อนรนของวัดและสมาชิก และเมื่อเราพูดถึงสมาชิก ขอให้คิดสักนิดถึงการเปรียบเทียบของนักบุญเปาโล ถึงร่างกายของมนุษย์กับร่างกายของพระคริสตเจ้า ซึ่งก็คือพระศาสนจักร สมาชิกของร่างกายมนุษย์ประก อบด้วยศีรษะพร้อมกับส่วนอื่นๆ เช่นเดียวกับสมาชิกพระศาสนจักรซึ่งมีพระสันตะปาปาเป็นผู้นำ และทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคาทอลิก ถ้าเราจะใช้รูปแบบเดียวกันในการเปรียบเทียบ เราจะเห็นวัดของเราประกอบด้วยคุณพ่อเจ้าวัดและพระสงฆ์ และส่วนที่เหลือ คือ สมาชิกวัดรวมกันเป็นโบสถ์พระมหาไถ่
 
 
        กล่าวโดยสรุป ลองมาดูความหมายโดยรวมของการฉลองของวัดพระมหาไถ่ในโอกาสนี้ โดยที่เราตระห นักถึงบทบาทของเราในฐานะสมาชิกอย่างยินดี เรายอมรับถึงหน้าที่และสิทธิพิเศษในการปฏิบัติงานที่พระคริสตเจ้ามอบหมายให้กับพระศาสนจักรทั่วโลกด้วย นั่นคือ จงนำข่าวดีไปประกาศให้กับทุกคน ไปในที่ซึ่งพระจิตเจ้าทรงนำ ทำในสิ่งที่พระจิตเจ้าทรงต้องการ การฉลองในโอกาสนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระตุ้นเตือนให้ท่านปฏิบัติตามหน้าที่นี้แต่อย่างใด แต่เพื่อให้เราตระหนักอย่างชื่นชมยินดีในหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ซึ่งด้วยพระหรรษทานของพระผู้เป็นเจ้า ท่านและสมาชิกทุกคนที่อยู่ต่อหน้าท่านได้ปฏิบัติ ไม่ใช่แต่เพียงการบริการของคุณพ่อเจ้าวัดและพระสงฆ์ในการทำมิสซาและการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เท่านั้น แต่เป็นการตอบรับจากแถวที่นั่ง ความพร้อมในการร่วมมือ และแบ่งปัน วัดไม่ได้อยู่ด้วยความพยายามของพ่อเจ้าวัดหรือพระสงฆ์เท่านั้น ความสนใจที่แสดงออกโดยผู้ที่ได้รับบริการ กำลังใจ และความเต็มใจที่จะให้และให้อย่างเต็มที่ เป็นสิ่งที่ทำให้งานข องวัดสามารถขยายไปในส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ตลอด 50 ปี ที่ผ่านมา เราสามารถรวบรวมกิจกรรมที่ทำประโยชน์ให้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่หายไปกับกาลเวลาแล้ว เช่นกลุ่มเยาวชน CFM (กลุ่มครอบครัวคริสตชน) รวมทั้งกิจกรรมที่สามารถดำเนินต่อมาและทำงานด้วยความเมตตา เช่น กลุ่มสตรีช่วยมิสซัง สมาคมวินเซน เดอ ปอล พลมารี และเมื่อเร็วๆ นี้ คือกลุ่ม AIC สมาคมนานาชาติเพื่อการสงเคราะห์ กลุ่มคาริสมาติค กลุ่มต้อนรับ CCD กลุ่มคำสอนสำหรับนักเรียนที่ไม่ได้เรียนโรงเรียนคาทอลิก และล่าสุดก็คือ กลุ่ มที่ได้รับการก่อตั้งโดยคุณพ่อเจ้าวัด คุณพ่อพล เนตรธรรม นั่นคือ สภาอภิบาลแห่งโบสถ์พระมหาไถ่ ซึ่งเป็นกลุ่มบุรุษและสตรีในวัดที่มีบทบาทในการจัดงานของวัด ในหลายๆ ด้าน ร่วมกับคุณพ่อเจ้าวัด
 
 
       เราต้องไม่ลืมว่า แม้งานของวัดจะต้องทำ อย่างต่อเนื่อง และความพยายามในการแพร่พระวรสารไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศต้องเพิ่มขึ้นอย่างร้อนรน เราจำต้องเผื่อเวลาที่จะนึกถึงและขอบคุณพระเจ้าสำหรับความสำเร็จของโบสถ์พระมหาไถ่ ในช่วงปีที่ผ่านมา ไม่เพียงในชุมชนของเราเท่านั้นแต่ในชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลจากเขตวัดของเรา เป็นต้นว่าในช่วงที่คุณพ่อเทรวิสเป็นพ่อเจ้าวัด ท่านได้ริเริ่มการเชิญธรรมทูตประจำเดือนมากระตุ้นเตือนให้พวกเราตระ หนักว่า เราก็คือธรรมทูตและได้มีโอกาสช่วยสนับสนุนธรรมทูตของพระมหาไถ่ในมิสซังที่ห่างไกล เรามีโอกาสช่วยงานใหม่นี้ด้วยการให้การบริจาคสนับสนุนงานของธรรมทูตเป็นประจำทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน
 
      เราสามารถที่จะยื่นมือออกไปสัมผัสผู้อื่นอีกมากมาย เช่น คุณพ่อกริฟฟิท ซึ่งจากพวกเราไปแล้วได้เล็งเห็นความต้องการของกลุ่มคาทอลิกนอกเมือง และอาสาที่จะดูแลพวกเขา และต่อมาก็สามารถสร้างวัดและทำมิสซาและโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ งานดังกล่าวได้มีการต่อเนื่องและได้กลายเป็นที่มาของวัดซอย 101 ภายใต้การดูแลของพระสงฆ์ในสังฆมณฑล   อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล รวมถึงบ้านเมตตาในสลัมคลองเตย ภายใต้การดูแลของคุณพ่อโจ ไมเออร์ สำหรับคุณพ่อโจ ไมเออร์ คงไม่ต้องมีการแนะนำกันแล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่จะระลึกว่า คุณพ่อก็มาจากวัดพระมหาไถ่ของเราและเป็นหนึ่งในสมาชิกของวัดพระมหาไถ่ จะเป็นการดียิ่งถ้าท่านสามารถแวะไปเยี่ยมดูงานที่หลากหลายของคุณพ่อ ในการดูแลคนยากไร้ในหมู่คนจนรวมถึงเด็กที่มีชีวิตอยู่บนถนนจำนวนมาก คนไข้โรคเอดส์ และลูกๆโรงเรียนอนุบาลในสลัม 33 แห่ง และอื่นๆ คุณพ่อได้รับความช่วยเหลือด้านวัตถุและเงินจากหลายแห่ง แต่พ่ออยากจะพูดว่าความหมายและผลงานของคุณพ่อ คือสิ่งที่ทำให้เราสนใจและชื่นชมในตัวคุณพ่อ พร้อมๆ กับความปรารถนาดีของเราที่มีต่อคุณพ่อ เราสามารถจะคุยต่อถึงงาน และความภาคภูมิใจของเราในความสำเร็จของหลายๆ คน เมื่อคนเหล่านั้นเป็นหนึ่งในความเชื่อและความพยายามกับคนอื่นๆ แต่ถึงเวลาที่เราควรจะหยุด และขอบคุณพระเป็นเจ้าสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์กระทำและหวังว่าพระองค์จะทรงพอพระทัยที่จะใช้เราในงานของพระองค์ในอนาคต
 
ประวัติความเป็นมาของภาพประติมากรรมฝาผนัง
        ภายในของโบสถ์ การออกแบบได้ดัดแปลงสถาปัตยกรรมแบบไทยให้สนองความต้องการ ด้านจารีตพิธีคาทอลิก สอดสายตามองไปรอบๆ ภายในโบสถ์รูปปั้นนูนสูงแสดง พระมหาทรมานและการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า ใครเห็นก็ต้องสะเทือนใจ รูปปั้นนูนสูงความยาว 40 เมตร แสดงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าบนผนังทั้งสองข้างภายในตัวโบสถ์ และรูปปั้นพระเยซูเจ้าปางผู้ไถ่นี้ คุณพ่อแฮรี่ ทีล เป็นผู้ว่าจ้างสถาปนิกชาวฟิลิปปินส์ MR. VIRGIKIO (VER) MANIPOL ให้ออกแบบในปี ค.ศ.1970 เริ่มต้นจะนำภาพวาดขนาดเท่าจริงไปปะติดผนังของโบสถ์ทั้งสองข้าง แล้วเอาลวดตาข่ายตอกติดด้วยตะปู ยกรูปเป็นเค้าโครง 3 มิติ จากนั้นนำปูนซีเมนต์และปูนปาสเตอร์มาโบก ท้ายที่สุดจึงปั้นเป็นรูปและสลักด้วยเกรียง แปรง และตกแต่งรายละเอียดด้วยมือ เมื่อผิวรูปปั้นแห้งดีแล้วจึงเคลือบด้วยสีให้ดูเป็นของเก่า รูปปั้นรูปมโหฬารหลังพระแท่นบูชาก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ ซึ่งต่อมาทาเป็นสีทอง
 
        

ด้วยความร่วมมือของ คุณพ่อทีล และMr.VER เราจึงได้มาซึ่งงานศิลป์ที่ไม่เหมือนใครแสดงถึงพระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการเสด็จฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้า นอกจากรูปปั้นนูนสูงแสดงมรรคาแห่งกางเขนทั้ง 14 ภาค แล้วยังมีภาพที่แสดงถึงการเข้าตรีทูตในสวนเกทเสมนี (ด้านขวาสุด) และการเสด็จฟื้นคืนชีพ (ด้านซ้ายสุด) อีกด้วยรูปปั้นนูนสูงแสดงเหตุการณ์ แต่ละภาพที่เชื่อมต่อกัน เหมือนคลื่นโน้มน้าวใจเราให้ซาบซึ้งถึงโศกนาฏกรรมแห่งมรรคาศักดิ์สิทธิ์ พระมหาทรมาน เริ่มต้นในคืนที่พระเยซูเจ้าทรงภาวนาด้วยพระทัยสุดโทมนัสอยู่ในสวนมะกอก ทรงอ้อนวอนขอให้พ้นจากการทรมานที่รออยู่เบื้องหน้า ณ กรุงเยรูซาเล็ม แต่ทรงจบการอ้อนวอนด้วยการสยบตามน้ำพระทัยของพระบิดาอย่างสิ้นเชิงด้วยคำภาวนาว่า “ทั้งนี้โปรดให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์เถิด มิใช่ของลูก”  ความโศกสลดของหญิงชาวกาลิลี คือ เวโรนิกา (ภาพพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าบนผ้าผืนนั้นของเธอเป็นภาพที่น่าทึ่งยิ่งนัก) และสตรีอื่นๆ ขณะที่เห็นพระองค์ถูกสบประมาทอย่างสาหัส คล้ายกับจะสะท้อนออกมาจากใบหน้าที่แสดง ออกถึงความปวดร้าวของเหล่าผู้คุ้ม ทำนองเดียวกันกับโจรผู้กลับใจ ผู้ยอมรับรู้ว่าจริงๆ แล้วพระเยซูเจ้าเป็นใคร การที่ผู้คุมเหล่านั้นรู้สึกรังเกียจขยะแขยงต่อการกระทำทารุณกรรมที่พวกเขากระทำ แสดงให้เห็นว่า พวกเขาเองก็ได้สัมผัสกับความเป็นพระเจ้าในความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าที่ถูกทรมานจนหมดสภาพ เมื่อพิธีปลงพระศพอันแสนเศร้าผ่านไป ความทุกข์เริ่มคลายและกลับกลายมาเป็นความปิติยินดีด้วยการฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้า “ความตายถูกกลืนหายไปในชัยชนะ”  (1 โครินทร์ 15:54) ดังจะเห็นได้จากรูปปั้นอันงามตระการตาของผู้มีชัยชนะ พระเยซูเจ้าองค์พระมหาไถ่ จอกแห่งพระมหาทรมานในสวนเกทเสมนี ได้กลายมาเป็นจอกกาลิกส์แห่งศีลมหาสนิท ข้อความเชื่อในการฟื้นคืนชีพของพระเยซูเจ้าทำให้เรามีความมั่นใจในอันที่จะสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าบนโลกนี้ ด้วยความหวังอันแน่วแน่ไม่มีวันเสื่อมคลายว่าเราจะฟื้นคืนชีพเช่นกัน 
 
คุณพ่อบรรจง  ไชยรา              ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 1981
คุณพ่อชูชาติ ศรีวิชัยรัตน์          ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 1994
คุณพ่อธนู กระทอง                 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 1994 - 2003
คุณพ่อพล เนตรธรรม              ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2004 - 2005
คุณพ่อสมพงษ์ เตียวตระกูล      ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2005 - 2008
คุณพ่อศิริชัย  เล้ากอบกุล         ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2008 - 2011
คุณพ่อไพบูลย์ อุดมเดช           ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2011 - 2014
คุณพ่อวิรัช อมรพัฒนา             ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ. 2015 - 2023
คุณพ่อภฤศ ทิพย์ทอง              ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี  ค.ศ. 2023 - ปัจจุบัน
 
ปี ค.ศ. 2012 พิธีเปิดตึก “ศูนย์อภิบาล” โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์เกรียงศักดิ์  โกวิทวาณิช
 
- พิธีเปิดไปต้นคริสตมาส โดยพระสังฆราชฟิลิป บรรจง ไชยรา 
- จัดบริการสัตบุรุษให้มีพิธีสวดศพ
- จัดห้องสำหรับการประชุม สัมมนา
- จัดห้อง AUDITRIUM สำหรับจัดงานเลี้ยงพิธีสมรสและอื่นๆ
 
ปี ค.ศ. 2019 ได้มีการจัดอบรมเตรียมสมรสทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 2 ของเดือนตลอดทั้งปี
- มีการเรียนคำสอนผู้ใหญ่ตลอดทั้งปี โดยมีบราเดอร์และคุณพ่อเป็นผู้สอน ในวันธรรมดาและวันอาทิตย์
- งานอภิบาลสัตบุรุษ การส่งศีลเจิมผู้ป่วย การเสกบ้าน เสกรถ
- ศีลล้างบาปสำหรับเด็กทุกวันอาทิตย์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ศีลอภัยบาป ทุกวันหลังมิสซาทุกรอบ และวันอาทิตย์ทุกรอบมิสซา
- มีนพวารทุกวันพุธ และทุกพุธต้นเดือนมีพิธีบูชาของพระคุณพร้อมแห่พระมารดานิจจานุเคราะห์
- คำสอนกลุ่ม CCD สำหรับเด็กต่างชาติ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.30-11.30 น.
- ตั้งสวดภาวนาสำหรับผู้ล่วงลับ 39 ราย
- มีพระสงฆ์ของคณะพระมหาไถ่ มาเทศน์ธรรมทูตทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนของแต่ละเดือน
- พิธีสมรสสำหรับคู่บ่าวสาว 46 คู่
- กิจกรรมช่วยเหลือผู้ลี้ภัย แจกอาหารทุกวันศุกร์สัปดาห์ ที่ 3 ของเดือน
- กลุ่ม LMAG คณะสตรีช่วยมิสซัง จำหน่ายขนมเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ชองพระศาสนจักร
- กลุ่ม AIC ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อนำทุนไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ ที่ 3
 
ปี ค.ศ. 2020  ได้มีการจัดอบรมเตรียมสมรสทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 2 ของเดือนตลอดทั้งปี
- มีการเรียนคำสอนผู้ใหญ่ตลอดทั้งปี โดยมีบราเดอร์และคุณพ่อเป็นผู้สอน ในวันธรรมดาและวันอาทิตย์
- งานอภิบาลสัตบุรุษ การส่งศีลเจิมผู้ป่วย การเสกบ้าน เสกรถ
- ศีลล้างบาปสำหรับเด็กทุกวันอาทิตย์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ศีลอภัยบาป ทุกวันหลังมิสซาทุกรอบ และวันอาทิตย์ทุกรอบมิสซา
- มีนพวาร 7 รอบ ทุกวันพุธ และทุกพุธต้นเดือนมีพิธีบูชาของพระคุณพร้อมแห่พระมารดานิจจานุเคราะห์
- คำสอนกลุ่ม CCD สำหรับเด็กต่างชาติ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.30-11.30 น.
- ตั้งสวดภาวนาสำหรับผู้ล่วงลับ 43 ราย
- มีพระสงฆ์ของคณะพระมหาไถ่ มาเทศน์ธรรมทูตทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนของแต่ละเดือน
- พิธีสมรสสำหรับคู่บ่าวสาว 30 คู่
- ถ่ายทอดสดพิธีมิสซาและพิธีนพวารออนไลน์ทุกรอบ
- กลุ่ม LMAG คณะสตรีช่วยมิสซัง จำหน่ายขนมเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ของพระศาสนจักร
- จำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อนำทุนไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ 

ปี ค.ศ. 2021 อบรมเตรียมชีวิตสมรส จำนวน 194 คู่
- มีการเรียนคำสอนผู้ใหญ่ตลอดทั้งปี โดยมีคุณพ่อเป็นผู้สอน ในวันธรรมดาและวันอาทิตย์
- งานอภิบาลสัตบุรุษ การส่งศีลเจิมผู้ป่วย การเสกบ้าน เสกรถ
- ศีลล้างบาปทุกวันอาทิตย์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ศีลอภัยบาป ทุกวันหลังมิสซาทุกรอบ และวันอาทิตย์ทุกรอบมิสซา
- มีนพวารทุกวันพุธ และทุกพุธต้นเดือนมีพิธีบูชาขอบพระคุณพร้อมแห่พระมารดานิจจานุเคราะห์
- คำสอนกลุ่ม CCD สำหรับเด็กต่างชาติ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.30-11.30 น. (เรียนออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19)
- ตั้งสวดภาวนาสำหรับผู้ล่วงลับ 72 ราย
- การถ่ายทอดสดพิธีมิสซาและพิธีนพวารออนไลน์ทุกรอบ (เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19)
- กลุ่ม LMAG คณะสตรีช่วยมิสซัง จำหน่ายขนมเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ของพระศาสนจักร
- จำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อนำทุนไปช่วยเหลือผู้ยากไร้
-  กลุ่มพลมารีไทยและอังกฤษ

 ข้อมูลจากหนังสือฉลอง 50 ปี โบสถ์พระมหาไถ่
 
 
 แผนที่การเดินทาง
 

 

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries