The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

การแพร่ธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การแพร่ธรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

               ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1782 สถานการณ์ต่างๆ เริ่มดีขึ้น แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน (1768-1782) จะได้ขับไล่พวกมิชชันนารีออกนอกประเทศด้วยเหตุผลบางประการ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ก็ได้เชิญพระสังฆราชกูเดและบรรดามิชชันนารีกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมางานแพร่ธรรมก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ส่งผลใหญ่โตนัก แต่ก็ต้องนับว่าเป็นความพยายามที่น่าชมของพระสังฆราชและบรรดามิชชันนารีทุกท่าน ในปี ค.ศ. 1785 เมื่อกองทัพสยามกลับมาจากประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม หลังจากที่ได้ไปช่วยรบต่อต้านพวกไต้ซ้อง ก็ได้นำคริสตังโปรตุเกสจากประเทศกัมพูชามาเป็นจำนวน 450 คน พร้อมกับชาวกัมพูชาที่ต้องหลบหนีพวกไต้ซ้องอีก 100 คน นอกจากนี้ยังมีคริสตังอีก 250 คนซึ่งได้มาลี้ภัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1793 พระมหากษัตริย์ไทยได้ส่งคนไปตามคริสตังกลุ่มนี้พร้อมกับครอบครัวของเขากลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ คริสตังทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้มาตั้งรกรากอยู่ในละแวกวัดคอนเซปชัญ

 ในสมัยพระสังฆราชการ์โนลต์ (Garnault 1786-1811) ต้องนับว่าเป็นสมัยฟื้นฟูมิสซังสยามโดยแท้ พระสังฆราชการ์โนลต์เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในปลายปี ค.ศ. 1795 หรือต้นปี ค.ศ. 1796 เมื่อท่านเดินทางมาถึงในเวลานั้น มีคริสตังอยู่ในเมืองหลวงประมาณ 1,000 คน คริสตัง 400 คน เป็นพวกดั้งเดิมที่อยู่ในประเทศสยาม และอีก 600 คน เป็นพวกที่ลี้ภัย ในปี ค.ศ. 1796 นั้นเอง พระสังฆราชการ์โนลต์ได้จัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่วัดซางตาครู้ส โรงพิมพ์แห่งนี้ได้พิมพ์หนังสือคำสอน ซึ่งนับเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ขึ้นในประเทศสยาม หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยอักษรโรมัน แต่อ่านออกเสียงเป็นภาษาไทย หรือที่เรียกว่า "ภาษาวัด" หนังสือนี้มีชื่อว่า คำสอนคริสตัง (Khanson Christang) นอกจากนี้พระสังฆราชการ์โนลต์ยังได้ก่อตั้งบ้านเณรขึ้น ใช้ชื่อว่า บ้านเณรซางตาครู้ส เพื่อเป็นสถานฝึกอบรมชายหนุ่มที่สมัครใจจะบวชเป็นพระสงฆ์ และยังได้ฟื้นฟูคณะภคินีรักไม้กางเขนขึ้นอีกด้วย ตลอดสมัยที่พระสังฆราชการ์โนลต์เป็นพระสังฆราชท่านได้ทำพิธีบวชพระสงฆ์ 8 องค์

ในสมัยพระสังฆราชฟลอรังส์ (Florens 1811-1834) มิชชันนารีมีจำนวนลดน้อยลง อันเนื่องมากจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ต้องรอคอยเป็นเวลานานถึง 14 ปี จึงมีโอกาสได้ต้อนรับมิชชันนารีองค์แรก และต้องรอคอยอีก 4 ปี จึงได้ต้อนรับมิชชันนารีองค์ที่สอง พระสังฆราชฟลอรังส์ได้ย้ายบ้านเณรจากวัดซางตาครู้สมาอยู่ที่วัดอัสสัมชัญในปี ค.ศ. 1820 และดำรงตำแหน่งอธิการของบ้านเณรด้วย นอกจากสร้างบ้านเณรแล้ว ท่านยังได้สร้างวัดอัสสัมชัญขึ้นในปี ค.ศ. 1820 ในสมัยของพระสังฆราชฟลอรังส์นี้ พระศาสนจักรในประเทศสยามไม่ได้ก้าวหน้าเท่าไรนัก สาเหตุมาจากการขาดแคลนมิชชันนารี การแพร่ธรรมส่วนใหญ่กระทำในหมู่ของชาวจีน

ในปี ค.ศ. 1827 พระสันตะปาปาเลโอ ที่ 12 ได้ออกกฤษฎีกากำหนดให้ประมุขมิสซังสยามมีอำนาจการปกครองเหนือประเทศสิงคโปร์ และอาณานิคมของอังกฤษ

ในสมัยพระสังฆราชกูรเวอซี (Courvezy 1834-1841) จำนวนคริสตังและมิชชันนารีได้เพิ่มมากขึ้น ท่านจึงได้ขอให้ทางกรุงโรมแต่งตั้งพระสังฆราชผู้ช่วยองค์หนึ่ง ซึ่งทางกรุงโรมก็เห็นสมควร และได้แต่งตั้งพระสังฆราชปัลเลอกัว (Pallegoix) เป็นพระสังฆราชผู้ช่วย ได้รับการ อภิเษกวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1838 ต่อมาโดยอาศัยเอกสารฉบับหนึ่งจากกรุงโรม ชื่อว่า "Universi Dominici" ลงวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1841 กรุงโรมได้แบ่งแยกเขตปกครองในส่วนของประเทศมาเลเซียออกจากส่วนของมิสซังสยาม โดยก่อตั้งเป็น 2 มิสซังแยกจากกัน คือ มิสซังสยามตะวันออก ได้แก่ ประเทศสยามและประเทศลาว มีพระสังฆราชปัลเลอกัวเป็นผู้แทนพระสันตะปาปา ทำหน้าที่ปกครอง และมิสซังสยามตะวันตก ได้แก่ แหลมมาละยา, เกาะสุมาตรา และประเทศพม่าทางใต้ มีพระสังฆราชกูรเวอซีเป็นผู้แทนพระสันตะปาปาทำหน้าที่ปกครอง
               บุคคลที่มีชื่อเสียงมากในมิสซังสยามเวลานั้นก็คือ พระสังฆราชปัลเลอกัว (1841-1862) ท่านเป็นผู้มีความสามารถ มีความรู้สูงในด้านวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์ และด้านภาษาต่างๆ เมื่อครั้งที่ท่านประจำอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับวัดราชาธิวาส อันเป็นวัดที่เจ้าฟ้ามงกุฏ (รัชกาลที่ 4) ทรงผนวชอยู่ ท่านได้มีโอกาสถวายการสอนภาษาลาตินแด่พระองค์และพระองค์ก็ทรงสอนภาษาบาลีแก่ท่าน ทำให้พระสังฆราชปัลเลอกัวมีความรู้อย่างแตกฉานในภาษาสยามและภาษาบาลี และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรอย่างแน่นแฟ้นกับเจ้าฟ้ามงกุฏ ความสัมพันธ์อันนี้เองที่ช่วยให้ท่านสามารถเทศน์สอนศาสนาได้โดยเสรีในเวลาต่อมา พระสังฆราชปัลเลอกัวได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยมีชื่อว่า "Description du Royaume Thai ou Siam" ตีพิมพ์ที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1854 และยังได้จัดทำพจนานุกรมเป็นภาษาต่างๆ ถึง 4 ภาษาด้วยกันมีชื่อว่า "สัพะ พะจะนะ พาสา ไท" พจนานุกรมเล่มนี้ใช้เวลาในการทำถึง 10 ปี ด้วยความมานะ พยายามของท่าน นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลต่อประวัติศาสตร์ของชาวไทยโดยเฉพาะในเรื่องภาษาศาสตร์ นอกจากนี้ท่านยังแต่งหนังสืออีกหลายเล่ม ทั้งหนังสือคำสอน และหนังสือที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาไวยากรณ์ไทย พระสังฆราชปัลเลอกัวปกครองมิสซังสยามในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ในปี ค.ศ. 1849 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงขับไล่มิชชันนารีฝรั่งเศส 8 องค์ ออกจากประเทศ เนื่องจากพวกท่านเหล่านั้นไม่ยอมร่วมมือในงานพระราชพิธีงานหนึ่งที่พระองค์ทรงจัดขึ้น ซึ่งขัดต่อข้อความเชื่อของคริสตศาสนา
             

             มิชชันนารีเหล่านี้ได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1851 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี ค.ศ. 1856 ประเทศสยามได้ทำสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศส สนธิสัญญานี้อนุญาตให้ชาวสยามมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา อนุญาตให้บรรดามิชชันนารีประกาศศาสนาโดยเสรี ให้สร้างบ้านเณร ก่อตั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล และสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆ ในประเทศได้ สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 ทรงทราบเรื่อง จึงทรงมีพระสมณสาสน์ฉบับแรกลงวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1852 ส่วนฉบับที่สองลงวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1861 มาแสดงความขอบพระทัยที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อบรรดาคริสตังไทยเป็นอย่างดียิ่ง ตลอดสมัยการปกครองของพระสังฆราชปัลเลอกัว มิสซังได้รับสันติสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมิสซังและต่อพระสังฆราช พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดงานศพของพระสังฆราชอย่างสมเกียรติที่สุด
             พระสังฆราชดือปองด์ (Dupond 1865-1872) ปกครองมิสซังสยามเป็นเวลา 7 ปี จำนวนคริสตังได้เพิ่มขึ้นทุกแห่ง ท่านได้สร้างวัดใหม่ 8 แห่ง จำนวนมิชชันนารีทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศสยามในสมัยของท่านมีถึง 21 องค์ เนื่องด้วยพระสังฆราชดือปองด์เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และสามารถพูดภาษาสยามและภาษาจีนพื้นเมืองได้ดี ท่านสามารถทำงานท่ามกลางชาวสยามและชาวจีนได้ดี มีการกลับใจมากมายโดยเฉพาะจากบรรดาชาวจีน มีการเปิดกลุ่มคริสตชนในที่ใหม่หลายแห่ง โดยเฉพาะในย่านที่มีคนจีนอาศัยอยู่ เมื่อพระสังฆราชดือปองด์ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1872 มิสซังสยามมีคริสตชนจำนวน 10,000 คน มีมิชชันนารีชาวยุโรปจำนวน 20 องค์ และมีพระสงฆ์พื้นเมือง 8 องค์
               ประเทศสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูป มีการนำเอาความรู้ทางตะวันตกใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ เรียกได้ว่ามีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ประเทศชาติกำลังเจริญก้าวหน้าขึ้น ในสมัยเดียวกันนี้ พระสังฆราชยัง หลุยส์ เวย์ (Jean Louis Vey 1875-1909) เป็นผู้ปกครองมิสซังสยาม นอกจากพระสังฆราชเวย์จะมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าแผ่นดินและกับทางราชการแล้ว การแพร่ธรรมของมิสซังก็เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากด้วย ท่านได้ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังมีอยู่ในประเทศโดยก่อตั้งโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ก่อตั้งวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ ได้เชิญคณะนักบวชต่างๆ เข้ามาทำงาน เช่น คณะแซงต์โมร์, คณะเซนต์ ปอล เดอ ชาร์ตร, คณะเซนต์คาเบรียล เข้ามาช่วยงานในมิสซัง นับเป็นความคิดริเริ่มที่บังเกิดผลอย่างมหาศาลต่อมิสซัง มีการพิมพ์หนังสือขึ้นใช้ในการสอนศาสนาจำนวนมาก พระสังฆราชเวย์ได้แต่งหนังสือขึ้นมาหลายเล่ม และส่งเสริมให้บรรดามิชชันนารีแต่งหนังสือเพิ่มขึ้นด้วย
             

           พระสังฆราชเวย์มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษา ท่านจึงได้นำหนังสือ "สัพะ พะจะนะ พาสา ไท" ของพระสังฆราชปัลเลอกัวมาแก้ไขปรับปรุงใหม่ นับเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีคุณค่าทั้งต่อมิสซังสยามและต่อประเทศไทย หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า "ศริพจน์ภาษาไทย์" พิมพ์ในปี ค.ศ. 1896
             

         อุปสรรคประการสำคัญในการทำงานประกาศศาสนาในสมัยของพระสังฆราชเวย์ ได้แก่ การเผชิญหน้ากับสมาคมลับของชาวจีน ซึ่งเรียกกันว่า "อั้งยี่" หรือ "ตั่วเฮีย" ทำให้การประกาศศาสนากับชาวจีนต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอๆ นอกจากนี้ปัญหาใหญ่อีกประการหนึ่งคือ ประเทศสยามมีปัญหาทางการเมืองกับประเทศฝรั่งเศสด้วยเรื่องการเรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในปี ค.ศ. 1894 (ร.ศ. 112) เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ชาวสยามถือว่าชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู รวมทั้งคริสตศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของชาวฝรั่งเศสก็เป็นศาสนาของศัตรูด้วย ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองนี้ไปจนถึงปี ค.ศ. 1907 ประเทศสยามได้ยกดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งหมายความว่าตลอดช่วงสมัยของพระสังฆราชเวย์ มิสซังสยามต้องประสบกับความกดดันทางการเมืองเหล่านี้อยู่เสมอมา ต้องทำงานกับประชาชนซึ่งมองดูมิชชันนารีด้วยสายตาแห่งความเป็นศัตรู
             

การเปลี่ยนแปลงประการหนึ่งที่ทำให้เห็นว่ามิสซังสยามเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากได้แก่การแต่งตั้งมิสซังลาว แยกออกจากการปกครองของมิสซังสยามในปี ค.ศ. 1889 มีพระสังฆราชกืออาส (Cuaz) เป็นผู้แทนพระสันตะปาปา ทำหน้าที่ปกครองดูแลมิสซังใหม่นี้เป็นองค์แรก นอกจากนี้พระสังฆราชเวย์ยังได้เริ่มบุกเบิกงานแพร่ธรรมไปสู่ส่วนต่างๆ ของประเทศมากขึ้นทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ งานต่างๆ เหล่านี้ได้รับการส่งเสริมอย่างดียิ่งและบังเกิดผลมากขึ้นในสมัยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส (Ren้ Perros 1909-1947) เรียกได้ว่ามิสซังสยามเจริญก้าวหน้าขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ช้าๆ แต่มั่นคง
 

ในสมัยของพระสังฆราชแปร์รอสนี้เอง ได้มีการขยายงานแพร่ธรรมออกไปอย่างกว้างขวางทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ เขตปกครองทางราชบุรีได้ถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นดินแดนอิสระ และได้มอบให้พระสงฆ์คณะซาเลเซียนเป็นผู้ทำงานในเขตใหม่นี้ในปี ค.ศ. 1930 ภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี มิสซังราชบุรีได้รับการยกขึ้นเป็นกิ่งมิสซังมีพระสังฆรักษ์เป็นผู้ปกครอง (Apostolic Prefecture) เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 และที่สุดได้รับการยกขึ้นอีกครั้งเป็นมิสซังหรือเทียบสังฆมณฑลเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1941 เขตปกครองทางจันทบุรีก็ได้รับการยกขึ้นเป็นมิสซังหรือเทียบสังฆมณฑลเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1944
             

พระสังฆราชแปร์รอสมีความคิดที่ว่าเมื่อมีวัดคาทอลิกที่ไหน ก็ต้องมีโรงเรียนที่นั่นด้วย เพื่อเป็นสถานที่สำหรับอบรมสั่งสอน และให้การศึกษาแก่ลูกหลานคริสตังและลูกคนต่างศาสนา ดังนั้นในสมัยของท่านจึงมีโรงเรียนต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโรงเรียนของวัด นอกจากนี้ยังมีคณะนักบวชต่างๆ จากต่างประเทศเดินทางเข้ามาทำงานอย่างมากมายหลายคณะ เช่น คณะอูรสุลิน เข้ามาในปี ค.ศ. 1924 จัดตั้งโรงเรียนมาร์แตร์เดอี และโรงเรียนวาสุเทวีขึ้นที่กรุงเทพฯ จัดตั้งโรงเรียนเรยีนาเชลีขึ้นที่เชียงใหม่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1925 ภคินีคณะคาร์เมไลท์เดินทางเข้ามาทำงานในด้านต่างๆ คณะซาเลเซียนเข้ามาในปี ค.ศ. 1927 เป็นต้น การเข้ามาของคณะนักบวชต่างๆ เหล่านี้ ทำให้งานทางด้านการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พระสังฆราชแปร์รอสมีบุคลากรเพิ่มขึ้น และสามารถขยายงานออกไปยังที่ต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สงครามอินโดจีนซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นอุปสรรค สำคัญที่ทำให้งานประกาศพระศาสนาต้องหยุดชะงักลง ชาวไทยมองดูมิชชันนารีฝรั่งเศสและคริสตศาสนาเป็นศัตรูอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้มีเหตุการณ์รุนแรงมาก คณะเลือดไทยซึ่งต่อสู้อย่างเต็มที่กับอิทธิพลของฝรั่งเศสในประเทศไทยได้ทำหน้าที่ในการปกป้องประเทศคริสตศาสนาอ่อนแอลงมาก บรรดามิชชันนารีฝรั่งเศสหลายองค์ต้องเดินทางออกนอกประเทศ และถูกห้ามทำการเผยแพร่ศาสนา เหตุการณ์ในครั้งนั้นคริสตชนชาวไทยหลายคนถูกจับ พระสงฆ์ 5 องค์ ถูกจำคุกเพราะความเข้าใจผิด คริสตชนบางคนถูกฆ่าตาย แต่พระสังฆราชแปร์รอสก็มิได้ท้อถอย พยายามที่จะทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น คอยดูแลเอาใจใส่บรรดามิชชันนารีและพระสงฆ์พื้นเมืองไม่ให้เสียกำลังใจ มิสซังสยามได้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในครั้งนั้นมาได้ด้วยดี เนื่องจากความชราภาพ ท่านได้ลาออกจากประมุขมิสซังในปี ค.ศ. 1947 และเลือกไปทำงานกับกลุ่มคริสตชนเล็กๆ ที่เชียงใหม่ต่อไป

 

 

 

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries