The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

อาทิตย์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

ข่าวดี    มาระโก 6:1-6

พระเยซูเจ้าเสด็จกลับมาที่เมืองนาซาเร็ธ
6  (1)พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากที่นั่นกลับไปยังถิ่นกำเนิดของพระองค์ บรรดาศิษย์ติดตามไปด้วย  (2)ครั้นถึงวันสับบาโตพระองค์ทรงเริ่มสั่งสอนในศาลาธรรม ผู้ฟังมากมายต่างประหลาดใจ และพูดว่า “เขาเอาเรื่องทั้งหมดนี้มาจากไหน ปรีชาญาณที่เขาได้รับมานี้คืออะไร อะไรคืออัศจรรย์ที่สำเร็จด้วยมือของเขา  (3)คนนี้เป็นช่างไม้  ลูกนางมารีย์ เป็นพี่น้องของยา กอบ โยเสท ยูดาและซีโมนไม่ใช่หรือ พี่สาวน้องสาวของเขาก็อยู่ที่นี่กับพวกเรามิใช่หรือ” คนเหล่านั้นรู้สึกสะดุดใจและไม่ยอมรับพระองค์  (4)พระเยซูเจ้าตรัสแก่เขาว่า “ประกาศกย่อมไม่ถูกเหยียดหยามนอกจากในถิ่นกำเนิด  ท่ามกลางวงศ์ญาติ และในบ้านของตน”  (5)พระองค์ทรงทำอัศจรรย์ที่นั่นไม่ได้ นอกจากทรงปกพระหัตถ์รักษาผู้เจ็บป่วยบางคนให้หายจากโรคภัย  (6)พระองค์ทรงแปลกพระทัยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเชื่อ

******************************


พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปยังเมืองนาซาเร็ธถิ่นกำเนิดของพระองค์ ไม่ใช่เพื่อเยี่ยมบ้านและญาติพี่น้องเป็นการส่วนตัว  แต่ทรงนำบรรดาศิษย์ติดตามไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่าพระองค์ทรงเสด็จไปในฐานะ “รับบี” หรือ “อาจารย์” ที่ส่วนใหญ่มักเดินทางสั่งสอนไปทั่วโดยมีศิษย์ใกล้ชิดแวดล้อมอยู่กลุ่มหนึ่ง
และที่บ้านเกิดนี้เองที่พระองค์ทรงถูกท้าทายอย่างหนัก แถมยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง “โดยคนที่รู้จักพระองค์ตั้งแต่เป็นเด็ก” !
พระองค์เสด็จไปสั่งสอนในศาลาธรรม แต่แทนที่พวกเขาจะชื่นชมในคำสอนและกิจการของพระองค์  พวกเขากลับไม่ยอมรับพระองค์ ดูถูกเหยียดหยามพระองค์ และรู้สึกสะดุดใจในปรีชาญาณและอัศจรรย์ที่สำเร็จด้วยน้ำมือของพระองค์
จากพระวรสาร เราสามารถระบุสาเหตุที่ทำให้ชาวนาซาเร็ธไม่ยอมรับพระองค์ได้ดังนี้
1.    พวกเขาพูดว่า “คนนี้เป็นช่างไม้ไม่ใช่หรือ ?”
อันที่จริงคำกรีก tektōn (เทคโตน) ซึ่งแปลว่า “ช่างไม้” นั้น มีความหมายมากกว่าคนที่ทำงานเกี่ยวกับไม้ธรรมดา ๆ เช่นทำประตูหรือหน้าต่างบ้าน  แต่หมายถึงบุคคลระดับ “ช่าง” หรือ “ผู้ชำนาญการพิเศษ”  ในหนังสือของ Homer (โฮเมอร์) กล่าวถึง “เทคโตน” ว่าเป็นผู้สร้างเรือ สร้างบ้าน และสร้างพระวิหาร  กล่าวโดยสรุปคือ “เทคโตน” เป็นบุคคลระดับที่สามารถสร้างสรรค์งานฝีมือด้วยมือเปล่าหรือใช้เครื่องมือที่เรียบง่ายที่สุด
แต่แทนที่ชาวนาซาเร็ธจะพูดถึงพระองค์ว่า “คนนี้เป็นถึงช่างไม้”  พวกเขากลับพูดว่า “คนนี้เป็นช่างไม้ไม่ใช่หรือ ?”
เห็นได้ชัดเจนว่าพวกเขาไม่ยอมรับพระองค์ให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษหรือเป็นผู้ชำนาญงานไม้  ตรงกันข้าม พวกเขาพูดถึงพระองค์แบบดูถูกเหยียดหยาม
พวกเขามองเห็นพระองค์เป็น “คนงานชั้นต่ำ” เป็น “คนงานกระจอก” เป็น “คนงานธรรมดา”
คนระดับนี้จะมีปรีชาญาณและทำอัศจรรย์ได้อย่างไรกัน ?!
แต่สำหรับเราคริสตชน นี่คือเกียรติยศอันยิ่งใหญ่สูงสุดของมนุษยชาติ ที่องค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสด็จมายังโลกนี้ ทรงน้อมรับชีวิตแบบสามัญชนและทำงานแบบธรรมดา ๆ เพื่อยังชีพ
พระองค์ทรงร่วมชะตากรรมเดียวกันกับเรา โดยไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ประการเดียว !
เมื่อมีพระองค์อยู่เคียงข้างและร่วมชะตากรรมใกล้ชิดเช่นนี้  โชคชะตาราศี ชาติกำเนิด หรือแม้แต่บรรดาวงศาคณาญาติของเราแต่ละคน ล้วนไม่ใช่สาระสำคัญ
สาระสำคัญคือ แม้เราจะเป็นผู้ต่ำต้อยที่สุด เราก็มีพระเจ้าอยู่เคียงข้างเรา !
เราจึงต้องไม่พลาดท่า ไปประเมินค่าผู้อื่นจากสิ่งภายนอกหรือสิ่งละอันพันละน้อย โดยไม่ดูให้ลึกถึงสาระสำคัญในมนุษย์แต่ละคน !
หาไม่แล้วเราก็ทำตัวเหมือนชาวนาซาเร็ธ !
2.    พวกเขาพูดว่า “นี่ลูกนางมารีย์ไม่ใช่หรือ ?”
การเรียกพระองค์เป็น “ลูกนางมารีย์” แสดงว่าโยเซฟคงเสียชีวิตไปแล้ว
และการที่พวกเขาเรียกพระองค์ “เป็นพี่น้องของยากอบ โยเสท ยูดาและซีโมน” อีกทั้งรู้ว่า “พี่สาวน้องสาวของเขาก็อยู่ที่นี่กับพวกเรา” แสดงว่าพวกเขารู้จักครอบครัวและพี่น้องของพระองค์เป็นอย่างดี (ดูคำอธิบายเรื่อง “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” เพิ่มเติมด้านล่าง)
แต่น่าเสียดายที่การรู้จักมักคุ้นกับครอบครัวของพระองค์ กลับทำให้พวกเขาดูหมิ่นเหยียดหยามพระองค์ !
โธมัส แคมพ์เบล เป็นกวีที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง  เมื่อจัดพิมพ์บทประพันธ์เล่มแรกเสร็จ เขาส่งหนังสือผลงานให้คุณพ่อผู้สูงอายุของเขาเล่มหนึ่ง  หลังจากหยิบหนังสือขึ้นมาพินิจพิเคราะห์การเข้าเล่มอย่างละเอียดโดยไม่สนใจเปิดอ่านแม้แต่สารบัญของหนังสือแล้ว คุณพ่อก็เอ่ยขึ้นว่า “แหม ใครจะไปนึกว่าไอ้ทอม (โธมัส) มันจะทำหนังสือแบบนี้ได้ !”
เขาไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าลูกชายของเขาจะจัดพิมพ์หนังสือสวย ๆ แบบนี้ได้  ยิ่งเนื้อหาข้างในเล่มยิ่งไม่ต้องพูดถึง !
เพราะความใกล้ชิดแท้ ๆ ที่ทำให้เขามองไม่เห็นความยิ่งใหญ่ของบุตรชาย !
ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ยิ่งใกล้ชิดกันมากเท่าใด เรายิ่งน่าจะเห็นความดีและความยิ่งใหญ่ของกันและกันเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น !!!
เหมือนเรายิ่งใกล้ชิดพระเยซูเจ้ามากเท่าใด เรายิ่งรู้จักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น และหากได้รู้จักพระองค์แล้ว ไม่มีทางเลยที่เราจะไม่รักพระองค์        
ผลจากการไม่ยอมรับพระเยซูเจ้าคือ “พระองค์ทรงทำอัศจรรย์ที่นั่นไม่ได้” (ข้อ 5)  ซึ่งบ่งบอกว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่สามารถทำได้หากสถานการณ์หรือบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ดังเช่น
1.    ไม่มีใครได้รับการรักษาหากเขาไม่ยอมให้รักษา  ไม่มีหมอคนใดสามารถช่วยคนที่ไม่อยากมีชีวิตได้  เขาต้องมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตเสียก่อน จึงจะมีชีวิตอยู่ได้
ชีวิตวิญญาณก็เช่นเดียวกัน หากเราไม่มีความมุ่งมั่นที่จะมีชีวิตฝ่ายวิญญาณ เราย่อมไม่ต้องการการรักษา
และถ้าไม่ต้องการการรักษา พระเยซูเจ้าย่อมทำอัศจรรย์ในตัวเราไม่ได้ !
2.    ไม่มีใครเทศน์สอนได้หากบรรยากาศไม่เป็นใจ  จริง ๆ แล้วหากสัตบุรุษในวัดเฝ้าคอยข่าวดีของพระเจ้าด้วยใจร้อนรน พวกเขาได้ช่วยพระสงฆ์เทศน์สอนเกินครึ่งไปแล้ว  พระสงฆ์เพียงแค่จุดประกายไฟอีกนิดเดียว อาณาจักรของพระเจ้าก็จะได้รับการสถาปนาขึ้นภายในวัดแห่งนั้น
ตรงกันข้าม หากบรรยากาศภายในวัดเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์  หรือสัตบุรุษมีจิตใจเย็นเฉย ต่อให้เทวดาลงมาเทศน์สอนก็คงไม่บังเกิดผล
3.    ไม่มีใครสร้างสันติได้หากบรรยากาศไม่เอื้ออำนวย  หากสัตบุรุษแต่ละคนมีจิตใจเกลียดชัง ทั้งวัดก็จะเกลียดชังกัน  หากแต่ละคนไม่ต้องการเข้าใจกัน ทั้งวัดก็จะเข้าใจกันผิด ๆ   หากแต่ละคนยึดมั่นในความคิดของตนเอง ทั้งวัดก็จะมองไม่เห็นหัวคนอื่น
แต่ถ้าแต่ละคนมาโดยมีความรักของพระคริสตเจ้าอยู่ในหัวใจ และพยายามที่จะรักและถนอมน้ำใจกันไว้  ต่อให้คนที่ทิ้งวัดไปแล้วเป็นสิบ ๆ ปีก็จะกลับมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง
เพราะฉะนั้น เราทุกคนจึงมีความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง
... ที่จะช่วยกันจรรโลงงานของพระเยซูเจ้า ไม่ใช่บรรจุโลง งานของพระองค์
… ที่จะเปิดประตูกว้างต้อนรับพระองค์ ไม่ใช่ปิดประตูใส่หน้าพระองค์ !!!

_____________

คำอธิบายเพิ่มเติม
เรื่อง

พี่น้องของพระเยซูเจ้า

“เขาเป็นลูกช่างไม้มิใช่หรือ แม่ของเขาชื่อมารีย์ พี่ชายน้องชายของเขามิใช่ยากอบ โยเซฟ ซีโมน และยูดาหรือ” (มธ 13:55)
“คนนี้เป็นช่างไม้ ลูกนางมารีย์ เป็นพี่น้องของยากอบ โยเสท ยูดาและซีโมนไม่ใช่หรือ พี่สาวน้องสาวของเขาก็อยู่ที่นี่กับพวกเรามิใช่หรือ” (มก 6:3)
“เมื่อโยเซฟตื่นขึ้นก็ทำตามคำซึ่งทูตสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าสั่งนั้น คือได้รับมารีย์มาเป็นภรรยา แต่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเธอจนกว่าให้พระกำเนิดบุตรชายแล้ว” (มธ 1:24-25)
“พระนางประสูติพระโอรสองค์แรก ทรงใช้ผ้าพันพระวรกายพระกุมารนั้น แล้วทรงวางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากไม่มีที่ในห้องพักแรมเลย” (ลก 2:7)

จากพระวรสารที่ยกมานี้ ก่อให้เกิดคำถามสำคัญ 2 ประการคือ
1.    ยากอบ โยเซฟหรือโยเสท ยูดา และซีโมน  ทั้ง 4 คนนี้เป็น “น้องชายแท้ ๆ” ของพระเยซูเจ้าจริงหรือ ?
2.    แม่พระมีบุตรเพียงคนเดียวหรือ ? คำว่า “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” จะให้เข้าใจว่าอย่างไร ?

1.  ยากอบ โยเซฟหรือโยเสท ยูดา และซีโมนเป็นใคร ?

ยากอบ จากหลักฐานในพระคัมภีร์ เราพบว่าท่านคือ
- หนึ่งในบรรดาอัครสาวก “ข้าพเจ้าไม่พบอัครสาวกอื่น ๆ นอกจากยากอบ ผู้เป็นน้องชายขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (กท 1:19)
- นอกจากเป็นอัครสาวกแล้ว ยังมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จนนักบุญเปาโลใส่ชื่อของท่านก่อนเคฟาส (นักบุญเปโตร) เสียอีก “ดังนั้น เมื่อยากอบ เคฟาสและยอห์น ซึ่งได้รับความนับถือว่าเป็นหลัก รู้เรื่องพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานแก่ข้าพเจ้าแล้ว ก็จับมือกับข้าพเจ้าและบารนาบัส แสดงความเป็นเพื่อนร่วมงานกัน ตกลงกันว่า เราจะไปพบคนต่างศาสนา ส่วนพวกเขาจะไปพบผู้เข้าสุหนัตแล้ว” (กท 2:9)
ในกิจการอัครสาวกบทที่ 15 ซึ่งกล่าวถึงการประชุมระหว่างบรรดาอัครสาวกและผู้อาวุโสที่กรุงเยรูซาเล็มเพื่อพิจารณาปัญหาที่ว่า “ต้องให้คนต่างศาสนาเข้าสุหนัต และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติของโมเสส” หรือไม่  ยากอบก็มีบทบาทอย่างสูงโดยเป็นผู้กล่าวคำปราศรัยในที่ประชุมถัดจากเปโตรทันที
- เป็นสังฆราชของเยรูซาเล็ม “เมื่อเรามาถึงกรุงเยรูซาเล็ม บรรดาพี่น้องต้อนรับเราด้วยความยินดี วันรุ่งขึ้นเปาโลและเราไปพบยากอบ บรรดาผู้อาวุโสทุกคนอยู่ที่นั่นด้วย” (กจ 21:17-18)
- เป็นคนแรกที่เขียนบทจดหมายถึงบรรดาคริสตชน (จดหมายของนักบุญยา-กอบ)
จากรายชื่ออัครสาวกทั้ง 12 คนซึ่งประกอบด้วย “ซีโมน ผู้มีสมญาว่าเปโตร กับอันดรูว์น้องชายของเขา ยากอบบุตรของเศเบดีกับยอห์นน้องชาย ฟิลิปและบาร์โธโลมิว  โธมัสและมัทธิว คนเก็บภาษี ยากอบบุตรอัลเฟอัส และธัดเดอัส ซีโมนจากกลุ่มชาตินิยม และยูดาสอิสคาริโอท” (มธ 10:2-4) เราจะเห็นว่ามีคนชื่อยากอบ 2 คน คือ ยากอบบุตรของเศเบดี และยากอบบุตรอัลเฟอัส
แต่เราสามารถตัดยากอบบุตรของเศเบดีออกไปจากการประชุมที่กรุงเยรูซาเล็มได้เลย (กจ 15; กท 2:9) เพราะ “กษัตริย์เฮโรดทรงเริ่มเบียดเบียนสมาชิกบางคนของพระศาสนจักร พระองค์ทรงประหารยากอบ (บุตรของเศเบดี) พี่ชายของยอห์นโดยตัดศีรษะ” (กจ 12:1-2)
เพราะฉะนั้น บุคคลที่นักบุญเปาโลเรียกว่า “ยากอบ ผู้เป็นน้องชายขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (กท 1:19) จึงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ยากอบบุตรของอัลเฟอัส”
และเมื่อเทียบพระวรสารตอนที่เล่าเหตุการณ์ ณ เชิงไม้กางเขนเข้าด้วยกันดังนี้
ยน 19:25 “พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์พร้อมกับน้องสาวของพระนาง มารีย์ภรรยาของเคลโอปัส และมารีย์ชาวมักดาลา”
มธ 27:56 “ในจำนวนนี้มีมารีย์ชาวมักดาลา และมารีย์มารดาของยากอบและของโยเซฟ และมารดาของบุตรเศเบดี (นางสะโลเม)”
มก 15:40 “สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ ในจำนวนนี้มีมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบคนเล็กและของโยเสท และนางสะโลเม”
เราจะพบว่า มารีย์ภรรยาของเคลโอปัส หรือที่ถูกกว่าตามต้นฉบับภาษากรีกคือ โคลปัส (Clopas) นั้นเป็นน้องสาวของแม่พระ (ยน 19:25) และเป็นแม่ของยากอบคนเล็ก และโยเซฟ (มธ 27:56) หรือโยเสท (มก 15:40)
ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า โคลปัส และอัลเฟอัส เป็นวิธีเขียนชื่อภาษาอาราไมอิคให้เป็นภาษากรีกของคน ๆ เดียวกันคือ Halphai   และตามบันทึกของนักบุญ Hegesippus โคลปัส คือน้องชายของนักบุญโยเซฟอีกด้วย
สรุปคือ ยากอบที่ได้ชื่อว่าเป็นน้องชายของพระเยซูเจ้า คือยากอบคนเล็ก หนึ่งในบรรดาอัครสาวก ผู้เป็นบุตรของอัลเฟอัสหรือโคลปัส  และมีมารดาชื่อมารีย์ซึ่งเป็นน้องสาวของแม่พระ

โยเซฟ หรือ โยเสท เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับท่านมากไปกว่าที่อ้างอิงมาแล้ว คือท่านเป็นบุตรของมารีย์น้องสาวแม่พระ หรือเป็นน้องชายแท้ ๆ ของยากอบนั่นเอง (มก 15:40; มธ 27:56)

ยูดา  ในรายชื่ออัครสาวกสิบสองคนที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ฉบับ Douay (เป็นพระคัมภีร์ที่แปลโดยคาทอลิกหลังการแยกตัวของโปรแตสแตนท์ ได้รับการยอมรับอย่างสูงและเป็นต้นแบบในการแปลพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษที่เป็นของคาทอลิกแทบทุกฉบับ) มีชื่อ Judas Jacobi ซึ่งแปลว่า “ยูดาน้องชายของยากอบ” (ลก 6:16 และ กจ 1:13) รวมอยู่ในบรรดาอัครสาวกด้วย
จึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่า ท่านคือคน ๆ เดียวกันกับ ธัดเดอัส หนึ่งในบรรดาอัครสาวก และเป็นผู้เขียนจดหมายถึงพวกคริสตชนฉบับสุดท้าย ซึ่งท่านขึ้นต้นจดหมายของท่านว่า “จากยูดา ผู้รับใช้ของพระเยซูคริสตเจ้า น้องของยากอบ” (ยด 1:1)

ซีโมน  ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าท่านคือบุตรของโคลปัส เป็นน้องชายของยากอบและยูดา และเป็นสังฆราชของเยรูซาเล็มต่อจากยากอบผู้พี่
มีส่วนน้อยที่เชื่อว่าท่านคือ ซีโมนชาวคานาอัน (มธ 10:4) หรือ ซีโมนชาตินิยม หนึ่งในบรรดาอัครสาวก

ส่วนคำโต้แย้งที่ว่าบรรดาพี่น้องของพระเยซูเจ้าไม่เชื่อในพระองค์ แล้วจะเป็นอัครสาวกได้อย่างไรดังที่ปรากฏใน ยน 7:3-5 ว่า  “บรรดาพี่น้องของพระองค์กล่าวกับพระองค์ว่า “จงออกจากที่นี่ เดินทางไปในแคว้นยูเดียเถิด เพื่อบรรดาศิษย์ของท่านจะเห็นกิจการที่ท่านทำด้วย ไม่มีใครซ่อนเร้นสิ่งใด ถ้าต้องการให้ทุกคนรู้ ถ้าท่านกำลังทำกิจการเหล่านี้อยู่ ก็จงแสดงตนให้โลกเห็นเถิด” แม้แต่พี่น้องของพระองค์ก็ไม่เชื่อในพระองค์” นั้น คงเกิดจากการตีความผิด เพราะพี่น้องของพระองค์ไม่ใช่ไม่เชื่อ พวกเขาเชื่อว่าพระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ เพียงแต่ว่าความคิดเรื่องพระเมสสิยาห์ของพวกเขาไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะแม้แต่บรรดาอัครสาวกเองยังเข้าใจความหมายของพระเมสสิยาห์จริง ๆ ก็ต่อเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์แล้วเท่านั้น (กจ 1:6)
อีกทั้งข้อความที่ว่า “แม้แต่พี่น้องของพระองค์ก็ไม่เชื่อในพระองค์” ในย่อหน้าข้างบน ก็ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าในบรรดาพี่น้องของพระองค์ ไม่มีใครเชื่อพระองค์เลยแม้แต่คนเดียว

2.  “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” หมายถึงอะไร

พวกที่มีความเชื่อผิด ๆ (heretics) ในสมัยโบราณเช่น Helvidius และพวก Antidicomarianites ถือว่า พี่น้องของพระเยซูเจ้าคือน้องร่วมสายโลหิตหรือน้องที่มาจาก “มดลูก” ของแม่พระจริง ๆ   ผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ของโปรแตสแตนท์ส่วนใหญ่ก็เชื่อเช่นนี้     ความคิดเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อพวกเราคาทอลิกด้วยเหมือนกัน จนบางคนอดสงสัยไม่ได้ว่า “แม่พระมีบุตรกี่คน” หรือ “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” หมายถึงอะไร ?
เพื่อจะตอบคำถามนี้ ประการแรก เราต้องไม่ลืมว่า คำ “พี่น้อง” อาจแปลตามตัวอักษรว่าหมายถึง “พี่น้องท้องเดียวกัน” หรือเป็นเพียง “ลูกพี่ลูกน้อง” กันก็ได้  ยิ่งในภาษาเสมิติกดังเช่น ฮีบรู และอาราไมอิคที่ใช้ในพระคัมภีร์ด้วยแล้ว ยิ่งมีความหมายครอบคลุมไปถึงบรรดาญาติพี่น้องที่ห่างกันมาก ๆ อีกด้วย เช่น
“อับรามจึงบอกแก่โลทว่า “เราอย่าวิวาทกันเลย อย่าให้คนเลี้ยงสัตว์ของท่านกับคนเลี้ยงสัตว์ของฉันวิวาทกัน เพราะเราเป็นญาติกัน” (ปฐก 13:8; 14:14) ทั้ง ๆ ที่โลทเป็นเพียงผู้อพยพออกจากเมืองฮารานไปอียิปต์พร้อมกับอับรามเท่านั้น
ประการที่สอง พวกคาทอลิกเองเคยมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 ค่ายเกี่ยวกับคำว่า “พี่น้องของพระเยซูเจ้า”
ค่ายแรกคือพวกปิตาจารย์และนักเขียนกรีก (ค่ายตะวันออก) พวกนี้ได้รับอิทธิพลจากหนังสืออธิกธรรม (Apocrypha) จึงถือว่าพี่น้องของพระเยซูเจ้าคือบรรดาลูก ๆ ของโยเซฟที่เกิดจากการแต่งงานครั้งแรก
ค่ายที่สองคือบรรดาปิตาจารย์ลาติน (ค่ายตะวันตก) พวกนี้ถือว่าพี่น้องของพระเยซูเจ้าเป็นเพียง “ลูกพี่ลูกน้อง” ของพระองค์เท่านั้น
เหตุผลสนับสนุนความคิดของปิตาจารย์ลาตินคือ 
1.    พระธรรมใหม่ทั้งหมดพูดถึงแม่พระว่าเป็นแม่ของพระเยซูเจ้าเพียงคนเดียว  และแยกแม่พระออกจากบรรดาผู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นพี่น้องของพระองค์ เช่น
“ขณะที่พระเยซูเจ้ากำลังตรัสกับประชาชน พระมารดาและพระญาติของพระองค์ (ไม่ได้บอกว่าเป็นลูกของแม่พระ – ผู้เรียบเรียง) มายืนอยู่ข้างนอก ต้องการพูดกับพระองค์” (มธ 12:46; มก 3:31; ลก 8:19)
“ทุกคนร่วมอธิษฐานภาวนาสม่ำเสมอเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมกับบรรดาสตรี รวมทั้งมารีย์พระมารดาของพระเยซูเจ้าและพี่น้องของพระองค์” (กจ 1:14)
2.    เมื่อพระเยซูเจ้าอายุ 12 ขวบ ลูกาเล่าว่า “โยเซฟพร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้าเคยขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกาทุกปี” (ลก 2:41) เหตุการณ์นี้คงเป็นไปได้ยากถ้าแม่พระมีลูกเล็ก ๆ ตามมาอีกหลายคน เพราะการเดินทางไกลเป็นประจำเช่นนี้คงเป็นภาระเกินกำลังและเกินงบประมาณของแม่พระเป็นแน่
3.    ถ้าพระเยซูเจ้ามีน้องร่วมสายโลหิตจริง ๆ ก็คงเป็นเรื่องแปลกมาก ที่ในช่วงวิกฤตใกล้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์กลับมอบให้นักบุญยอห์นซึ่งเป็นคนนอกเป็นผู้ดูแลแม่ของพระองค์เอง แทนที่จะมอบให้น้อง ๆ เป็นผู้ดูแล (ยน 19:26)
และหากคิดในทางร้ายสุด ๆ ว่าพระองค์มีปัญหากับพวกน้อง ๆ หรือแม่พระเข้ากันไม่ได้กับลูกคนอื่น ๆ  คำที่พระองค์ควรใช้คือ i;de ui`o,j sou (ไม่มี article) แทนที่จะเป็น i;de o` ui`o,j sou (มี article) ซึ่งบ่งบอกถึงบุตรคนเดียว ดังที่ปรากฏอยู่ในต้นฉบับภาษากรีก
4.    ข้อพิสูจน์ที่หนักแน่นที่สุดคือ เรารู้แน่นอนว่า ยากอบ และโยเซฟหรือโยเสท เป็นบุตรของอัลเฟอัสหรือโคลปัส และนางมารีย์ซึ่งเป็นน้องสาวของแม่พระ  เขาทั้งสองคนเป็นเพียง “ลูกผู้น้อง” ของพระเยซูเจ้า ไม่ใช่น้องชายแท้ ๆ
เมื่อสองคนในรายชื่อ “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” ไม่ใช่น้องท้องเดียวกันของพระองค์ คนอื่น ๆ ก็ไม่น่าจะใช่ด้วย
และผลที่ตามมาก็คือเราตัดความคิดที่ว่าพี่น้องเหล่านี้เป็นบุตรที่เกิดจากการแต่งงานครั้งแรกของนักบุญโยเซฟออกไปได้เลย

พวกที่โต้แย้งเหตุผลของปิตาจารย์ลาตินมักยกข้อความที่ว่า “โยเซฟไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเธอจนกว่าให้พระกำเนิดบุตรชายแล้ว” (มธ 1:25) และ “พระนางประสูติพระโอรสองค์แรก” (ลก 2:7) มาเป็นข้ออ้าง 
ความจริงโอรสองค์แรก (prototokos) ไม่ได้หมายความว่าต้องมีองค์ที่สอง และต่อ ๆ ไป ดังที่เมื่อลูกาบันทึกไว้ว่า “มีเขียนไว้ในธรรมบัญญัติของพระเจ้าว่า จะต้องถวายบุตรชายคนแรก (prototokos) แด่พระเจ้า” (ลก 2:23) ท่านต้องการหมายความเพียงว่าแม้มีลูกคนเดียวก็ต้องถวายแด่พระเจ้า เพราะลูกคนเดียวนี้ถือว่าได้เบิกครรภ์ครั้งแรกของมารดาแล้วและ “ทุกอย่างที่เบิกครรภ์ครั้งแรกนั้น ท่านจงแยกถวายแด่พระเจ้า” (อพย 13:12)
และเช่นกันนักบุญเยโรมย้ำนักย้ำหนาว่า การที่โยเซฟ “ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับเธอจนกว่าให้พระกำเนิดบุตรชายแล้ว” เป็นเพียงคำกล่าวยืนยันว่าพระเยซูเจ้าบังเกิดด้วยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้าล้วน ๆ   หาได้หมายความว่าโยเซฟมีเพศสัมพันธ์กับแม่พระหลังให้กำเนิดพระองค์แล้วแต่ประการใดไม่
ขอฟันธงว่า “พี่น้องของพระเยซูเจ้า” เป็นเพียง “ลูกผู้น้อง” ของพระองค์เท่านั้น !

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries