The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

ข่าวดี    มาระโก 5:21-43
พระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงตกเลือด ทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้คืนชีพ
(21)เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จลงเรือข้ามฟากอีกครั้งหนึ่ง ประชาชนชุมนุมกันเนืองแน่นรอบพระองค์ขณะที่ยังทรงอยู่ริมทะเลสาบ  (22)หัวหน้าศาลาธรรมคนหนึ่งชื่อไยรัสเดินมา เมื่อเห็นพระองค์ เขากราบลงที่พระบาท  (23)พร่ำวิงวอนว่า “บุตรหญิงเล็ก ๆ ของข้าพเจ้าจวนจะสิ้นใจอยู่แล้ว เชิญพระองค์เสด็จไปปกพระหัตถ์เหนือเขาเถิด เขาจะได้หายจากโรค กลับมีชีวิต”  (24)พระเยซูเจ้าจึงเสด็จไปกับเขา ประชาชนกลุ่มใหญ่ติดตามไปและเบียดเสียดพระองค์  (25)ขณะนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นโรคตกเลือดมาสิบสองปีแล้ว  (26)ได้รับความทรมานมากจากการรักษาของแพทย์หลายคน เสียทรัพย์จนหมดสิ้น โรคก็มิได้บรรเทา ตรงกันข้ามกลับทรุดหนัก  (27)นางได้ยินเขาพูดกันถึงเรื่องพระเยซูเจ้า จึงเดินปะปนกับประชาชนเข้ามาเบื้องหลัง และสัมผัสฉลองพระองค์ นางคิดว่า  (28)”ถ้าฉันเพียงได้สัมผัสฉลองพระองค์เท่านั้น ฉันก็จะหายจากโรค”  (29)ทันใดนั้น อาการตกเลือดก็หยุด  นางรู้สึกว่าร่างกายหายจากโรคแล้ว 30)ขณะเดียวกัน พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกว่ามีอิทธิฤทธิ์ออกจากพระองค์ไปจึงทรงหันมายังกลุ่มชน ตรัสว่า “ใครสัมผัสเสื้อของเรา  (31)บรรดาศิษย์ทูลว่า “พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าผู้คนเบียดเสียดกันเช่นนี้ แล้วยังทรงถามอีกหรือว่า “ใครสัมผัสเรา”  (32)พระองค์ทรงหันไปรอบ ๆ เพื่อทอดพระเนตรผู้ที่กระทำเช่นนั้น  (33)หญิงคนนั้นรู้สึกกลัวจนตัวสั่นเพราะรู้ดีว่าอะไรได้เกิดขึ้นแก่ตน จึงกราบลงเฉพาะพระพักตร์และทูลให้ทรงทราบความจริงทุกประการ  (34)พระองค์จึงตรัสว่า “ลูกเอ๋ย ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุข หายจากโรคเถิด” (35)ขณะกำลังตรัสอยู่นั้น มีคนมาจากบ้านหัวหน้าศาลาธรรม บอกเขาว่า “บุตรหญิงของท่านตายแล้ว ไปรบกวนพระอาจารย์อีกทำไมเล่า”  (36)แต่พระเยซูเจ้าทรงได้ยินเขาพูดดังนั้น จึงตรัสแก่หัวหน้าศาลาธรรมว่า “อย่ากลัวเลย จงมีความเชื่อไว้เถิด”  (37)พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ใครติดตามไปนอกจากเปโตร ยากอบ และยอห์นน้องชายของยากอบ  (38)เมื่อทุกคนมาถึงบ้านหัวหน้าศาลาธรรม พระเยซูเจ้าทรงเห็นความวุ่นวาย  และเห็นผู้คนร่ำไห้พิลาปรำพันเป็นอันมาก  (39)พระองค์เสด็จเข้าไป ตรัสแก่คนเหล่านั้นว่า “วุ่นวายและร้องไห้ไปทำไม เด็กคนนี้ไม่ตาย เพียงแต่นอนหลับไปเท่านั้น”  (40)เขาต่างหัวเราะเยาะพระองค์ พระองค์ทรงไล่เขาออกไปข้างนอก ทรงนำบิดามารดาของเด็กและศิษย์ที่ติดตามเข้าไปยังที่ที่เด็กนอนอยู่  (41)ทรงจับมือเด็ก ตรัสว่า “ทาลิธาคูม” แปลว่า “หนูเอ๋ย เราสั่งให้หนูลุกขึ้น”  (42)เด็กหญิงนั้นก็ลุกขึ้นทันที และเดินไปมา  เด็กนั้นอายุสิบสองขวบแล้ว คนทั้งหลายต่างประหลาดใจอย่างยิ่ง  (43)พระองค์ทรงกำชับอย่างแข็งขันมิให้แพร่งพรายเรื่องนี้แก่ผู้ใด และทรงสั่งให้เขานำอาหารมาให้เด็กนั้นกิน

****************************

พระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงตกเลือด

ในปาเลสไตน์ โรคตกเลือดพบง่ายแต่รักษายาก  หนังสือ Talmud ที่รวบรวมกฎหมายและธรรมประเพณีของชาวยิวพร้อมคำอธิบาย ได้ให้แนวทางรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 11 วิธี  บางวิธีใช้ยาบำรุง  บางวิธีใช้ยาสมาน  บางวิธีก็ไปนอกลู่นอกทางสุดโต่ง เช่น ให้ห้อยเถ้าถ่านของไข่นกกระจอกเทศไว้กับตัวโดยใช้เศษผ้าลินินห่อในฤดูร้อนและใช้เศษผ้าฝ้ายห่อในฤดูหนาว  หรืออีกวิธีหนึ่งคือห้อยเมล็ดข้าวโพดที่พบในมูลลาเพศเมียสีขาว เป็นต้น
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหญิงคนนี้ได้ทดลองรักษามาแล้วทุกหนทางจนหมดทรัพย์  แต่นอกจากอาการจะไม่ทุเลาลงแล้ว นางกลับยิ่งมีมลทินมากขึ้นจนเข้าร่วมนมัสการพระเจ้าและเข้าสังคมกับเพื่อนฝูงก็ไม่ได้อีกด้วย

โชคดีที่นางได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า แต่โรคของนางน่าอับอายเกินกว่าจะเล่าให้พระองค์ฟังอย่างเปิดเผยท่ามกลางฝูงชนมากมายเช่นนี้ได้ นางจึงตัดสินใจแอบสัมผัสเสื้อของพระองค์โดยไม่บอกกล่าว  แล้วนางก็ดีใจจนเนื้อเต้นเมื่อพบว่าอาการตกเลือดหยุดแล้ว
หลังจากได้พยายามรักษาโรคทุกวิถีทางเท่าที่วงการแพทย์สมัยนั้นจะหยิบยื่นให้ได้แล้ว  นางจึงหันมาหาพระเยซูเจ้าในฐานะ “ที่พึ่งสุดท้าย” !
จริงอยู่นางสมควรถูกตำหนิที่มาหาพระองค์หลังสุด  แต่เราต้องไม่ลืมว่าคริสตชนจำนวนมากก็ชอบทำเช่นเดียวกัน...
... เราเข้ามาวอนขอความช่วยเหลือจากพระเยซูเจ้าเมื่อจนปัญญาแล้วจริง ๆ
... เราต่อสู้กับการประจญจนหมดแรงแล้ว จึงค่อยกางมือวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์
... เราอาจดิ้นรนทำงานหนักจนจวนเจียนจะเอาชีวิตไม่รอด จึงค่อยวอนขอพละกำลังจากพระองค์ “พระเจ้าข้า โปรดช่วยข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้ากำลังจะตายแล้ว !”
ทุกคนพึงตระหนักอยู่เสมอว่าเราไม่จำเป็นต้องรอจน “สถานการณ์บีบบังคับให้มาหาพระเยซูเจ้า” !
และถึงแม้เราจะมาหาพระองค์เมื่อจนตรอกแล้วก็ตาม ไม่มีทางเลยที่พระองค์จะปล่อยให้เรากลับไปมือเปล่า........

การรักษาหญิงตกเลือดครั้งนี้เกี่ยวข้องกับบุคคล 3 ฝ่าย  แต่ละฝ่ายล้วนให้ข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตของเรา
1.    พระเยซูเจ้า  พระองค์ไม่ได้รักษาหญิงตกเลือดแบบไม่มีอะไรต้องสูญเสีย ตรงกันข้าม พระองค์ต้องแลกกับบางสิ่งบางอย่างที่ออกไปจากตัวของพระองค์เอง ดังที่มาระโกเล่าว่า “ทรงรู้สึกว่ามีอิทธิฤทธิ์ออกจากพระองค์” (ข้อ 30)
เราจึงได้หลักการในการดำเนินชีวิตข้อหนึ่งว่า “เราจะสร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เลย หากเราไม่พร้อมจะใส่บางสิ่งบางอย่างของชีวิตเราเข้าไปในผลงานนั้น”
นักแสดงที่ออกเสียงได้ชัดเจน ฉะฉาน และมีลีลาการแสดงถูกต้องตามที่ผู้กำกับกำหนดจะเป็นนักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ไม่ได้เลย หากเขาไม่ได้ใส่ชีวิตจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของตนลงไปในการแสดงนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น น้ำตาของเขาต้องเป็นน้ำตาจริง ๆ  และความรู้สึกของเขาต้องเป็นความรู้สึกที่ออกมาจากหัวใจของเขาจริง ๆ
เช่นเดียวกัน พระสงฆ์ที่ลงจากธรรมาสน์โดยไม่ได้ทุ่มเทชีวิตและวิญญาณของตนลงไปในบทเทศน์ ย่อมไม่สามารถประกาศข่าวดีได้อย่างบังเกิดผล
หรือผู้ที่ต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง ย่อมต้องพลีไม่เพียงแต่แรงกายเท่านั้น แต่ต้องพร้อมใส่ชีวิตจิตใจของตนลงไปในความช่วยเหลือนั้น ๆ ด้วย
ความยิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้าอยู่ตรงที่พระองค์พร้อมจะพลีทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตของพระองค์เองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น !
2.    บรรดาศิษย์  พวกเขาใช้สามัญสำนึกตัดสินและทูลว่า “พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าผู้คนเบียดเสียดกันเช่นนี้ แล้วยังทรงถามอีกหรือว่า “ใครสัมผัสเรา”” (ข้อ 31)
ความหมายคือผู้คนมากมายและเบียดเสียดกันเช่นนี้ จะมีคนถูกเนื้อต้องตัวพระองค์บ้างไม่ได้เชียวหรือ ?
ใช่ พวกเขามีสามัญสำนึกที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่พวกเขาไม่รู้และไม่ได้นึกถึงด้วยซ้ำไปก็คือ พระองค์ต้องเสียสละอะไรไปบ้างเพื่อช่วยเหลือหญิงตกเลือดผู้นี้ !
นี่เป็นโศกนาฏกรรมอันใหญ่หลวง ที่เรามนุษย์ไม่สามารถหรือไม่สนใจที่จะรับรู้ความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของกันและกัน
ตัวอย่างเช่น คนฉลาดมักจะไม่ตระหนักเลยว่า คนที่ด้อยปัญญากว่าตนต้องใช้ความเพียรพยายามมากสักเพียงใดจึงจะเข้าใจสิ่งที่ตนอ่านหรือฟังเพียงครั้งเดียวก็รู้เรื่อง
เพราะฉะนั้น เราจึงต้องวอนขอพระเจ้าโปรดให้เรามีทั้งสามัญสำนึกที่ถูกต้อง  และในเวลาเดียวกัน ก็มีจิตใจที่พร้อมจะรับรู้ความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของผู้อื่นด้วย
3.    หญิงตกเลือด  มาระโกเล่าว่า “หญิงคนนั้นรู้สึกกลัวจนตัวสั่นเพราะรู้ดีว่าอะไรได้เกิดขึ้นแก่ตน จึงกราบลงเฉพาะพระพักตร์และทูลให้ทรงทราบความจริงทุกประการ” (ข้อ 33)
การ “สารภาพ” เป็นเรื่องยาก น่ากลัว และต้องมีความสุภาพจริง ๆ จึงจะทำได้  แต่ทันทีที่นางสารภาพความจริงกับพระเยซูเจ้า  ความกลัวจนตัวสั่นก็หมดสิ้นไป คงเหลือไว้แต่ความสุขใจอันเปี่ยมล้น
อีกทั้งนางยังได้ค้นพบว่าพระเยซูเจ้าทรงพระทัยดีเสียนี่กระไร คำพูดของพระองค์ที่ว่า “ลูกเอ๋ย ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว จงไปเป็นสุข หายจากโรคเถิด” (ข้อ 34) คงดังก้องอยู่ในโสตประสาทของนางจวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้าย
จะเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไรเลยที่จะ “สารภาพ” กับคนเช่นพระเยซูเจ้า !

พระเยซูเจ้าทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้คืนชีพ

ประเพณีของชาวยิวถือว่าเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุ 12 ปีกับอีก 1 วัน  บุตรหญิงของไยรัสอายุ 12 ปีแล้วจึงกำลังจะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว  แต่ช่างน่าเสียดายและน่าเศร้าใจจริง ๆ ที่ความตายกำลังจะมาเยือนเธอ
ไยรัสเป็นหัวหน้าศาลาธรรม  เขาจึงเป็นบุคคลที่สำคัญและได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในชุมชน  หน้าที่ของเขาคือเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารศาลาธรรมซึ่งประกอบด้วยบรรดาผู้อาวุโสของชุมชน  เป็นผู้รับผิดชอบจัดให้มีบริการต่าง ๆ ทั้งเรื่องศาสนพิธีและการแจกจ่ายความช่วยเหลือให้แก่ผู้ขัดสน
แต่เมื่อบุตรสาวของเขาที่กำลังโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวเกิดป่วยหนักจวนจะสิ้นใจ  มีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นที่ทำให้เขาคิดถึงพระเยซูเจ้า
1.    เขาลืมอคติ  ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบรรดาหัวหน้าศาลาธรรมล้วนมีอคติต่อพระเยซูเจ้าและถือว่าพระองค์คือ “คนนอก”  เป็นบุคคลอันตรายที่สอนความเชื่อผิด ๆ   และเป็นบุคคลต้องห้ามที่ไม่มีศาลาธรรมแห่งใดยินดีต้อนรับ
“อคติ” คือ “การตัดสินล่วงหน้า” โดยไม่พิจารณาหลักฐานหรือข้อเท็จจริง
แต่ไยรัสยิ่งใหญ่พอที่จะละทิ้งอคติที่มีต่อพระเยซูเจ้าในยามที่เขาต้องการความช่วยเหลือจากพระองค์มากที่สุดเช่นนี้
ตรงกันข้ามกับคนอีกจำนวนมากที่ปล่อยตัวจมอยู่ในอคติ จนจิตใจของเขาปิดตายจากความช่วยเหลือและพระพรอีกมากมายที่พระเจ้าพร้อมจะประทานให้ทันทีแก่ผู้วอนขอ !
2.    เขาลืมศักดิ์ศรี  ไยรัสเป็นถึงหัวหน้าศาลาธรรมแต่ “เมื่อเห็นพระองค์ เขากราบลงที่พระบาท” (ข้อ 22) ทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นเพียงอาจารย์ที่ร่อนเร่ไปเรื่อยโดยไม่มีหลักแหล่ง
นาอามานซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงของซีเรียก็ยอมละทิ้งศักดิ์ศรี ปฏิบัติตามคำสั่งของประกาศกเอลีชาที่ฝากผ่านคนใช้มาอีกทีหนึ่ง  ผลคือเขาหายจากโรคเรื้อน (2 พกษ 5)
เราทุกคนจึงต้องพร้อมลืมเรื่องศักดิ์ศรีเพื่อรักษาชีวิตและวิญญาณของเราไว้ !
3.    เขาลืมความหยิ่งจองหอง  ในโลกนี้ไม่มีใครอยากเป็นหนี้บุญคุณคนอื่น  ยิ่งไยรัสซึ่งเป็นหัวหน้าศาลาธรรมด้วยแล้ว เขายิ่งต้องใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อจะลืมความหยิ่งจองหอง และมีความสุภาพมากพอที่จะเข้ามาขอความช่วยเหลือจากคนชื่อเยซูชาวนาซาเร็ธ
และนี่คือก้าวแรกของการดำเนินชีวิตเยี่ยงคริสตชนนั่นคือ การตระหนักว่าเราไม่เป็นอะไรเลยนอกจากเป็นหนี้พระเจ้า !
4.    เขาลืมเพื่อน  น่าแปลกที่ไยรัสยอมละทิ้งบุตรสาวที่กำลังจะสิ้นใจเพื่อไปพบพระเยซูเจ้า แทนที่จะส่งคนอื่นไปทูลเชิญพระองค์
เป็นไปได้มากว่าไม่มีใครเห็นด้วยและไม่มีใครยอมไปพบพระเยซูเจ้า  อีกทั้งคำพูดที่ว่า “บุตรหญิงของท่านตายแล้ว ไปรบกวนพระอาจารย์อีกทำไมเล่า” (ข้อ 35) ก็ดูเหมือนจะส่อว่าพวกเขาไม่ต้องการให้พระองค์เข้ามาในบ้าน !
เรียกว่าไยรัสต้องฝืนสู้กับความคิดเห็นของชุมชนและญาติพี่น้องชนิดหัวชนฝา เพื่อจะได้เชิญพระองค์มาช่วยเหลือบุตรสาวของตน
นี่คือเรื่องราวของคน ๆ หนึ่งที่ลืมทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากสิ่งเดียวคือ “เขาต้องการความช่วยเหลือจากพระเยซูเจ้า”  และเพราะเขาลืมได้เช่นนี้เอง เขาจึงระลึกได้ว่า “พระเยซูเจ้าคือพระผู้ช่วยให้รอด” จริง ๆ

“เมื่อมาถึงบ้านของหัวหน้าศาลาธรรม  พระเยซูเจ้าทรงเห็นความวุ่นวาย และเห็นผู้คนร่ำไห้พิลาปรำพันเป็นอันมาก” (ข้อ 38)
การจัดผู้คนให้มาร่ำไห้พิลาปรำพันเพื่อตอกย้ำความเศร้าสลดอันเนื่องมาจากความตายและการพลัดพรากจากกันนั้น เป็นประเพณีที่จะขาดเสียมิได้ทั้งในโรม กรีก ฟีนีเซีย อัสซีเรีย และปาเลสไตน์  ถึงกับมีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่ว่าจะยากจนเพียงใดก็ตาม สามีต้องจัดให้มีคนเป่าขลุ่ยอย่างน้อย 2 คนในงานศพของภรรยา”
แต่นี่เป็นการเตรียมงานศพของบุตรสาวหัวหน้าศาลาธรรม จึงมีผู้คนมากเป็นพิเศษ
โดยไม่สนใจเสียงหัวเราะเยาะของพวกเขา พระเยซูเจ้าทรงจับมือเด็ก ตรัสว่า “ทาลิธาคูม” แปลว่า “หนูเอ๋ย เราสั่งให้หนูลุกขึ้น” (ข้อ 41)
น่าแปลกที่คำ “ทาลิธาคูม” ซึ่งเป็นภาษาอาราไมอิค มาอยู่ในพระวรสารของมาระโกซึ่งเป็นภาษากรีกได้อย่างไร ?
คำตอบนั้นชัดเจนมาก คือ มาระโกได้ข้อมูลจากเปโตรซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย  และแม้เปโตรจะพูดภาษากรีกได้ แต่เสียง “ทาลิธาคูม” ซึ่งเปี่ยมด้วยความรัก ความอ่อนโยน และความเอาใจใส่ คงดังก้องอยู่ในโสตประสาทของเปโตรชนิดไม่มีวันลืมเลือน จนท่านไม่อาจคิดเป็นภาษากรีกได้  ท่านจำได้แต่เสียงและคำพูดที่พระองค์ทรงตรัสเป็นภาษาอาราไมอิคเท่านั้น !
จากการช่วยบุตรสาวของไยรัสให้กลับคืนชีพครั้งนี้  เราสามารถแยกแยะความแตกต่างอย่างสุดขั้วระหว่างผู้คนที่มาร่ำไห้พิลาปรำพันและพระเยซูเจ้า
1.    ผู้คนที่มาร่ำไห้พิลาปรำพันล้วน “สิ้นหวัง”  ส่วนพระเยซูเจ้า “เต็มไปด้วยความหวัง”
พวกเขาพูดว่า “ไปรบกวนพระอาจารย์อีกทำไมเล่า  ไม่มีใครช่วยอะไรได้อีกแล้ว”  ส่วนพระองค์ตรัสว่า “อย่ากลัวเลย จงมีความเชื่อไว้เถิด”
2.    พวกเขาร่ำไห้พิลาปรำพันเป็นอันมาก  ส่วนพระเยซูเจ้าเปี่ยมด้วยความสงบเยือกเย็น ปราศจากความหวั่นไหว
สาเหตุเป็นเพราะพระองค์ทรงมีความวางใจในพระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม  พวกเขาหัวเราะเยาะพระองค์เพราะคิดว่าพระองค์ “หวังลม ๆ แล้ง ๆ”  แต่ที่สุดเสียงหัวเราะเยาะของพวกเขากลับกลายเป็นความ “ประหลาดใจอย่างยิ่ง” (ข้อ 42) เพราะสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเหลือเชื่อ ล้วนเป็นไปได้เสมอสำหรับพระเจ้า
ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เราเผชิญหน้าไม่ได้ และไม่มีสิ่งใดที่เราเอาชนะไม่ได้ แม้แต่ความตาย หากเราเผชิญหน้าและเอาชนะมันอาศัยความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเรา

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries