Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
1 อัฐวารปัสกา |
2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน |
3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา |
4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ |
5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี |
7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์ |
8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา |
10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี |
12 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ ) |
14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา |
17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ) |
18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา |
21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา |
23น.ยอร์จ มรณสักขี |
24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา |
28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์ |
29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา |
|
อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลมหาพรต
- รายละเอียด
- หมวด: อธิบายพระวรสารปี A
- เขียนโดย แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
- ฮิต: 1725
อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลมหาพรต
ข่าวดี ยอห์น 9:1-41
(1)ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินผ่านไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนตาบอดแต่กำเนิดคนหนึ่ง (2)บรรดาศิษย์ทูลถามพระองค์ว่า “พระอาจารย์ ใครทำบาป ชายคนนี้ หรือบิดามารดาของเขา เขาจึงเกิดมาตาบอด” (3) พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “มิใช่ชายคนนี้ หรือบิดามารดาของเขาทำบาป แต่เขาเป็นเช่นนี้ก็เพื่อให้กิจการของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา” (4) ตราบใดที่ยังเป็นกลางวันอยู่เราทั้งหลายต้องทำกิจการของผู้ที่ทรงส่งเรามา แต่เมื่อกลางคืนมาถึง ก็ไม่มีใครทำงานได้ (5) ตราบที่เรายังอยู่ในโลก เราเป็นแสงสว่างส่องโลก (6)เมื่อตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงถ่มพระเขฬะลงบนพื้นผสมกับดิน ป้ายตาคนตาบอด (7)แล้วตรัสกับเขาว่า “จงไปล้างตาที่สระสิโลอัมเถิด” “สิโลอัม” หมายความว่า “ถูกส่งไป” คนตาบอดจึงไปล้างตา แล้วกลับมามองเห็น (8) เพื่อนบ้านและคนที่เคยเห็นเขาเป็นขอทานมาก่อน พูดว่า “คนนี้เป็นคนที่เคยนั่งขอทานอยู่มิใช่หรือ” (9) บางคนพูดว่า “ใช่แล้ว” บางคนพูดว่า “ไม่ใช่ แต่เป็นคนอื่นที่คล้ายคลึงกัน” แต่คนที่เคยตาบอดพูดว่า “ใช่แล้ว เป็นฉันเอง” (10) คนเหล่านั้นจึงถามเขาว่า “ตาของท่านหายบอดได้อย่างไร’” (11)เขาตอบว่า “คนที่ชื่อเยซูทำโคลนป้ายตาของฉัน และบอกฉันว่า “จงไปล้างตาที่สระสิโลอัมเถิด” ฉันจึงไปล้าง พอล้างแล้ว ก็มองเห็น” (12)พวกนั้นถามว่า “เวลานี้คนนั้นอยู่ที่ไหน” เขาตอบว่า “ฉันไม่รู้” (13)คนเหล่านั้นจึงพาคนที่เคยตาบอดไปหาชาวฟาริสี (14)วันที่พระเยซูเจ้าทรงถ่มพระเขฬะผสมดินและทรงรักษาตาของคนตาบอดนั้นเป็นวันสับบาโต (15)ชาวฟาริสีได้ถามเขาอีกว่า “เขามองเห็นได้อย่างไร” เขาจึงตอบว่า “คนนั้นเอาโคลนป้ายตาของฉัน ฉันไปล้างตาแล้วก็มองเห็น” (16)ชาวฟาริสีบางคนพูดว่า “คนนั้นไม่ได้มาจากพระเจ้า เขาไม่ถือวันสับบาโต” แต่บางคนแย้งว่า “คนบาปจะทำเครื่องหมายอัศจรรย์อย่างนี้ได้อย่างไร” ชาวฟาริสีเหล่านั้นมีความคิดเห็นแตกต่างกัน (17)จึงถามคนที่เคยตาบอดอีกว่า “ท่านล่ะ ท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับคนนั้น ที่เขาทำให้ตาของท่านกลับมองเห็น” เขาตอบว่า ”คนนั้นเป็นประกาศก” (18)แต่ชาวยิวไม่ยอมเชื่อว่าชายคนนี้เคยตาบอดแล้วกลับมองเห็น จึงเรียกบิดามารดาของเขามา (19) แล้วถามว่า “คนนี้เป็นลูกของท่าน ซึ่งท่านบอกว่าเกิดมาตาบอดใช่หรือไม่ บัดนี้ เขากลับมองเห็นได้อย่างไร” (20)บิดามารดาตอบว่า “เรารู้ว่าคนนี้เป็นลูกของเรา และเกิดมาตาบอด (21)แต่เราไม่รู้ว่า บัดนี้ เขามองเห็นได้อย่างไร หรือใครรักษาตาของเขา เราก็ไม่รู้ ท่านจงถามเขาเองเถิดเขาโตพอจะตอบเองได้แล้ว” (22)บิดามารดาตอบเช่นนี้ก็เพราะกลัวชาวยิว ซึ่งตกลงกันแล้วว่า ใครยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสตเจ้าจะถูกขับออกจากศาลาธรรม (23)บิดามารดาของเขาจึงตอบว่า “เขาโตแล้ว ท่านจงถามเขาเองเถิด” (24)ชาวยิวเรียกคนที่เคยตาบอดมาอีก บอกเขาว่า “จงถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด พวกเรารู้ว่าคนนั้นเป็นคนบาป” (25)คนที่เคยตาบอดแย้งว่า “เขาเป็นคนบาปหรือไม่ ฉันไม่รู้ ฉันรู้อย่างเดียวว่า ฉันเคยตาบอด และบัดนี้มองเห็นแล้ว” (26) พวกนั้นถามอีกว่า “เขาทำอะไรกับท่าน เขารักษาตาของท่านอย่างไร” (27) คนที่เคยตาบอดตอบว่า “ฉันบอกท่านแล้ว แต่ท่านไม่ฟัง ทำไมท่านต้องการฟังอีกเล่า ท่านต้องการเป็นศิษย์ของเขาด้วยกระมัง” (28)พวกนั้นจึงด่าเขาว่า “ท่านสิ เป็นศิษย์ของเขา ส่วนเราเป็นศิษย์ของโมเสส (29)พวกเรารู้ว่า พระเจ้าตรัสกับโมเสส แต่เยซูคนนี้ เราไม่รู้ว่าเขามาจากไหน” (30)คนที่เคยตาบอดจึงพูดว่า “แปลกจริงท่านทั้งหลายไม่รู้ว่าเขามาจากไหน แต่เขาได้รักษาตาของฉันให้กลับมองเห็น (31)เราทั้งหลายรู้ว่า พระเจ้าไม่ทรงฟังคนบาป แต่ทรงฟังผู้ที่ยำเกรงพระองค์และปฏิบัติตามพระประสงค์เท่านั้น (32)แต่ไหนแต่ไรมา ไม่เคยได้ยินเลยว่ามีใครรักษาคนตาบอดแต่กำเนิดให้หายได้ (33)ถ้าเขาไม่ได้มาจากพระเจ้า เขาก็คงจะทำอะไรไม่ได้” (34)คนเหล่านั้นตอบว่า “ท่านเกิดมาในบาปทั้งตัว แล้วยังกล้ามาสั่งสอนพวกเราอีกหรือ” แล้วจึงขับไล่เขาออกไป (35)พระเยซูเจ้าทรงได้ยินว่าชาวฟาริสีขับไล่คนที่ตาบอดออกไปจากศาลาธรรม เมื่อทรงพบเขา จึงตรัสถามว่า “ท่านเชื่อในบุตรแห่งมนุษย์หรือ” (36)เขาทูลถามว่า “บุตรแห่งมนุษย์คือใคร พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะได้เชื่อในพระองค์” (37)พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านได้เห็นแล้ว เป็นผู้ที่กำลังพูดอยู่กับท่านนี้แหละ” (38)เขาจึงทูลว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ พระเจ้าข้า” แล้วกราบลงนมัสการพระองค์ (39)พระเยซูเจ้าตรัสว่า เรามาในโลกนี้เพื่อพิพากษา คนที่มองไม่เห็นจะได้มองเห็น ส่วนคนที่มองเห็นจะกลายเป็นคนตาบอด (40)ชาวฟาริสีบางคนซึ่งอยู่ที่นั่นได้ยินพระวาจาเหล่านี้ จึงทูลถามพระองค์ว่า “พวกเราก็ตาบอดด้วยใช่ไหม” (41)พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า ถ้าท่านทั้งหลายตาบอดท่านก็ไม่มีบาป แต่ท่านกล่าวว่า “เรามองเห็น” บาปของท่านจึงยังคงอยู่
1. บาปของใคร
นี่เป็นครั้งเดียวในพระวรสารที่มีการระบุว่าผู้ตกทุกข์ได้ยากเป็นมาตั้งแต่เกิด !
เมื่อเห็นชายตาบอดแต่กำเนิด บรรดาศิษย์จึงทูลถามปัญหาซึ่งค้างคาใจชาวยิวมานานว่า “พระอาจารย์ ใครทำบาป ชายคนนี้หรือบิดามารดาของเขา เขาจึงเกิดมาตาบอด” (ยน 9:2)
ที่ว่าค้างคาใจก็เพราะชาวยิวนำการตกทุกข์ได้ยากไปผูกติดไว้กับบาป ใครตกทุกข์ได้ยากก็แปลว่าคนนั้นทำบาป แต่เนื่องจากชายตาบอดคนนี้ตกทุกข์ได้ยากตั้งแต่เกิด ยังไม่เคยทำบาปมาก่อน จึงเกิดปัญหาว่าจะเอาบาปไปผูกติดไว้กับผู้ใด ?
ชาวยิวถือว่าจะเอาบาปไปผูกติดไว้กับคนตาบอดเองก็ได้ เพราะพวกเขาเชื่อว่ามีบาปก่อนเกิด (ไม่ใช่บาปกำเนิด) นั่นคือมนุษย์รู้จักทำบาปหรือได้รับอิทธิพลของบาปตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดาแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามีวิญญาณทั้งดีและชั่วตั้งแต่สร้างโลก ใครได้วิญญาณดีติดตัวมาตอนเกิดก็โชคดีไป ใครได้วิญญาณชั่วก็โชคร้ายไป (เทียบ ปชญ 8:19)
อีกทฤษฎีหนึ่งถือว่าตาบอดแต่กำเนิดเป็นผลจากบาปของบิดามารดา ดังที่พระยาห์เวห์ตรัสว่า “เราคือพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน เป็นพระเจ้าที่ลงโทษความผิดบิดาที่เกลียดชังเราไปถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน แต่เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเราจนถึงพันชั่วอายุคน” (อพย 20:5-6)
แต่คำตอบของพระเยซูเจ้าคือ “มิใช่ชายคนนี้หรือบิดามารดาของเขาทำบาป แต่เขาเป็นเช่นนี้ก็เพื่อให้กิจการของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา” (ยน 9:3)
เท่ากับว่าจะนำการตกทุกข์ได้ยากมาผูกติดไว้กับบาปกรรมต่อไปไม่ได้อีกแล้ว !!
2. เพื่อให้กิจการของพระเจ้าปรากฏ
กรณีของชายตาบอดแต่กำเนิด พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เขาเป็นเช่นนี้ก็เพื่อให้กิจการของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา” (ยน 9:3)
แปลว่า มนุษย์ตกทุกข์ได้ยากก็เพื่อพระเจ้าจะมีโอกาสกระทำกิจการของพระองค์ในตัวเรา !!
ยอห์นเรียกกิจการของพระเจ้าเช่นนี้ว่า “เครื่องหมายอัศจรรย์” (ยน 9:16) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึง “ความรัก”, “ความตื้นตันพระทัย” และ “ความเมตตาสงสาร” จากก้นบึ้งแห่งหัวใจของพระองค์ (มก 1:41; 6:34) และทุกครั้งที่พระเจ้าทรงกระทำกิจการของพระองค์ ผู้ที่รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ ก็คือผู้ตกทุกข์ได้ยากนั่นเอง
สิ่งที่ผู้ตกทุกข์ได้ยากได้รับจากกิจการของพระเจ้าคือพระหรรษทานที่หลั่งไหลลงมาสู่เขา ทำให้เขามีพละกำลังเข็มแข็ง สามารถอดทนต่อความทุกข์ยากทั้งปวงได้อย่างสง่างาม เฉกเช่นเดียวกับบรรดามรณสักขีผู้เคยแบกรับความเจ็บปวดทรมานเพื่อยืนยันความเชื่อด้วยความปีติยินดีมาแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น พระเจ้ายังทรงกระทำกิจการของพระองค์โดยผ่านทาง “เพื่อนมนุษย์” อย่างเราทุกคนอีกด้วย
ทุกครั้งที่เราช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เรากำลังทำเหมือนพระเจ้า เรากำลังทำให้แสงสว่างส่องต่อหน้ามนุษย์ เพื่อคนทั้งหลายจะได้เห็นกิจการดีของเรา และสรรเสริญพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์ (มธ 5:16)
ในเมื่อความช่วยเหลือหลั่งไหลมาจากทั้งพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์เช่นนี้ เราจะถือว่าการตกทุกข์ได้ยากเป็นผลมาจากบาปหรือเป็น “เวรกรรม” ของเราได้อย่างไรกัน ?!
เราจึงควรเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ว่า การตกทุกข์ได้ยากคือ “การเขน” อันเป็นท่อธารแห่งพระหรรษทานทั้งปวง !!!
3. ตราบที่ยังเป็นกลางวัน
ก่อนรักษาคนตาบอด พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ตราบใดที่ยังเป็นกลางวันอยู่ เราทั้งหลายต้องทำกิจการของผู้ที่ทรงส่งเรามา แต่เมื่อกลางคืนมาถึง ก็ไม่มีใครทำงานได้” (ยน 9:4)
พระองค์กำลังตรัสเตือนพระองค์เองเพราะ “กางเขน” ใกล้เข้ามาแล้ว “เวลา” ของพระองค์เหลือน้อยแล้ว !
อันที่จริง เราแต่ละคนต่างได้รับ “เวลา” มาจำนวนหนึ่ง เมื่อเวลาหมด เราก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นระหว่างที่ยังมีเวลาอยู่ เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่าเลื่อนไปทำพรุ่งนี้ เพราะอาจไม่มี “พรุ่งนี้” สำหรับเรา
E. D. Starbuck ได้ให้สถิติที่น่าสนใจไว้ในหนังสือ The Psychology of Religion (จิตวิทยาศาสนา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “เวลา” ของเราดังนี้
โดยทั่วไป “การกลับใจ” เริ่มต้นเมื่ออายุ 7-8 ขวบ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ 10-11 ขวบ จากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงอายุ 16 ขวบ
จากอายุ 16 จนถึง 20 ขวบ โอกาสกลับใจจะลดลงแบบชันดิ่ง และเมื่อถึง 30 ขวบ โอกาสกลับใจแทบไม่มีหรือมีน้อยมาก
แปลว่า แม้จะมี “พรุ่งนี้” สำหรับเรา แต่อาจเป็น “พรุ่งนี้” ที่มืดสลัวอย่างยิ่งก็ได้ !
ฉะนั้น เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า “ตราบที่เรายังอยู่ในโลก เราเป็นแสงสว่างส่องโลก” (ยน 9:5) จึงไม่ได้หมายความว่า เมื่อพระองค์ไม่อยู่ในโลก แสงสว่างของพระองค์จะมืดมัวลง แต่หมายความว่า ยิ่งเราทอดเวลาตัดสินใจเลือกพระองค์ออกไปนานเท่าใด โอกาสของเรายิ่งมืดมนลงเท่านั้น !
3. วิธีรักษา
หลังจากเตือนให้ทุกคนเร่งทำสิ่งที่ต้องทำในขณะที่ยังทำได้แล้ว “พระองค์ทรงถ่มพระเขฬะลงบนพื้นผสมกับดิน ป้ายตาคนตาบอด” (ยน 9:6)
นี่เป็นหนึ่งในสองครั้งที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ “พระเขฬะ” หรือ “น้ำลาย” รักษาโรค อีกครั้งหนึ่งคือการรักษาคนใบ้และหูหนวกในดินแดนทศบุรี (มก 7:33)
การใช้น้ำลายดูเหมือนจะน่ารังเกียจและไม่ถูกอนามัย แต่ในสมัยโบราณ การใช้น้ำลายรักษาโรคถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้ทุกวันนี้ หลายคนยังเชื่อว่าหูดรักษาได้โดยใช้น้ำลายเลีย และเกือบเป็นสัญชาติญาณของทุกคนที่จะเอานิ้วจิ้มน้ำลายในปากเมื่อโดนไฟลวก
นี่คือ “ความสุดยอด” ของพระเยซูเจ้าที่ทรงเลือกวิธีรักษาโรคที่ผู้คนสมัยนั้นคุ้นเคย เข้าใจ และนิยมใช้กัน เพื่อให้คนไข้มั่นใจ
แพทย์ในปัจจุบันต่างยอมรับว่า ประสิทธิภาพของการรักษาย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของคนไข้ด้วย
พระองค์ทรงปลุกความหวังและความมั่นใจ โดยทรงกระทำในสิ่งที่คนตาบอดคาดหวัง !
พระองค์ทรงเป็นแพทย์ผู้ทรงประสิทธิภาพสูงสุด !
“คนตาบอดจึงไปล้างตา แล้วกลับมามองเห็น” (ยน 9:7) แต่ดูเหมือนเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในการชักชวนเพื่อนบ้าน คนที่เคยรู้จักเขา และพวกฟาริสี ให้เชื่อว่าเขาได้รับการรักษาให้หายจากตาบอดแล้ว กระนั้นก็ตาม เขาไม่ย่อท้อที่จะยืนยันและประกาศสิ่งที่พระเยซูเจ้าได้ทรงกระทำแก่เขา
ทุกวันนี้ พระเยซูเจ้ายังทรงกระทำกิจการของพระเจ้า ซึ่งดูเหมือนจะดีและมหัศจรรย์เกินกว่าจะเป็นจริงสำหรับคนที่ไม่มีความเชื่อ แต่สำหรับผู้ที่มีความเชื่อ เขาจะได้สัมผัสกับกิจการของพระองค์ทุกวัน !
4. ปฏิกิริยา
หลังการรักษาคนตาบอด เราได้เห็นพฤติกรรมของบุคคลต่าง ๆ อย่างชัดเจน
1. คนตาบอด เขาทนดูความดื้อรั้นของพวกฟาริสีไม่ได้ จึงแย้งแบบกวน ๆ ว่า “อยากพูดอะไรเกี่ยวกับพระองค์ก็พูดไปเถอะ พระองค์เป็นคนบาปหรือไม่ ฉันไม่รู้ ฉันรู้อย่างเดียวว่า ฉันเคยตาบอด และบัดนี้มองเห็นแล้ว” (เทียบ ยน 9:25)
แม้เขาจะอธิบายพระเยซูเจ้าด้วยถ้อยคำสวยหรูตามหลักเทววิทยาให้ชาวยิวฟังไม่ได้ แต่เขาสามารถยืนยันอย่างกล้าหาญว่าพระองค์ได้ทรงกระทำสิ่งใดแก่เขาทั้ง ๆ ที่รู้ชะตากรรมดีว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากเขายืนอยู่ข้างพระองค์
นี่คือแบบอย่างสำหรับเรา แม้สติปัญญาของเราจะไม่รู้เทววิทยาขั้นสูงจนอธิบายพระเยซูเจ้าได้อย่างแจ่มแจ้ง แต่เราสามารถรับรู้ด้วยหัวใจของเราว่าพระองค์ได้ทรงช่วยเหลือวิญญาณของเราอย่างไรบ้าง ?
เป็นการดีกว่าที่จะรักพระเยซูเจ้า มากกว่ารักทฤษฎีเกี่ยวกับพระองค์ !
2. บิดามารดาของคนตาบอด พวกเขาไม่ได้เห็นด้วยกับพวกฟาริสี แต่ก็ “กลัวชาวยิวซึ่งตกลงกันแล้วว่า ใครยอมรับว่าพระองค์เป็นพระคริสตเจ้าจะถูกขับออกจากศาลาธรรม” (ยน 9:22)
เพื่อจะรวบรวมเชลยชาวยิวที่กลับจากบาบิโลนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ประกาศกเอสราจึงออกกฎว่า “ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหมายประกาศ ให้ริบทรัพย์สินทั้งหมด และขับไล่ออกจากกลุ่มชน” (อสร 10:8)
การขับไล่ออกจากกลุ่มชนมี 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการขับไล่ตลอดชีวิต ซึ่งถือเป็นการลงโทษอย่างเปิดเผยและมีผลให้บุคคลนั้นถูกตัดขาดจากพระเจ้าและศาลาธรรมตลอดชีวิต อีกประเภทหนึ่งเป็นการขับออกจากกลุ่มชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลาแน่นอน เช่น หนึ่งเดือน เป็นต้น
แม้หัวหน้าชาวยิวเองก็กลัวกฎเหล็กนี้ ยอห์นเล่าว่า “ยังมีหัวหน้าชาวยิวหลายคนที่เชื่อในพระองค์ แต่ไม่กล้าแสดงความเชื่ออย่างเปิดเผย เพราะกลัวชาวฟาริสี เกรงว่าจะถูกขับไล่ออกจากศาลาธรรม” (ยน 12:42) และพระเยซูเจ้าเองก็เคยเตือนศิษย์ของพระองค์เช่นกันว่า “เขาจะขับไล่ท่านออกจากศาลาธรรม” (ยน 16:2)
จะเห็นว่าพวกฟาริสีพร้อมทำทุกวิถีทาง แม้กระทั้งใช้กฎระเบียบทางศาสนาอย่างไม่เป็นธรรมเพื่อกำจัดพระเยซูเจ้า !
น่าเสียดายที่ทั้งบิดาและมารดาของคนตาบอดกลัวที่จะยืนอยู่ข้างเดียวกับพระเยซูเจ้า จึงพลาดโอกาสดี ๆ แบบที่บุตรชายของพวกเขาได้รับ
3. พวกฟาริสี ปฏิกิริยาแรกสุดเมื่อเพื่อนบ้านพาคนตาบอดไปพบพวกเขาคือฟันธงว่าพระเยซูเจ้า “ไม่ได้มาจากพระเจ้า เขาไม่ถือวันสับบาโต” (ยน 9:16)
บังเอิญว่าวันที่ทรงรักษาคนตาบอดเป็นวันสับบาโต (ยน 9:14) พระองค์จึงโดนข้อหาหลายกระทงด้วยกัน
กระทงแรก ลำพังถ่มน้ำลายจนมีปริมาณมากพอสำหรับป้ายเปลือกตาก็เป็นการละเมิดวันสับบาโตแล้ว
การผสมน้ำลายกับดินจนเป็นโคลนถือเป็นการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในวันสับบาโต นี่เป็นความผิดกระทงที่สอง
กระทงที่สาม การรักษาโรคทุกชนิดเป็นสิ่งต้องห้ามในวันสับบาโตยกเว้นกรณีเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต และแม้ในกรณีเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตก็ทำได้เพียงควบคุมมิให้อาการกำเริบไปกว่าเดิม ห้ามทำการใด ๆ เพื่อเยียวยาให้อาการดีขึ้น กรณีของคนตาบอดไม่ใช่อันตรายถึงแก่ชีวิต พระองค์จึงโดนข้อหารักษาโรคในวันสับบาโตอีกหนึ่งกระทง
พวกฟาริสีตัดสินว่าพระองค์ “ไม่ได้มาจากพระเจ้า” เพราะไม่ถือวันสับบาโตตามที่โมเสสบัญญัติไว้ สำหรับพวกเขา หนทางเดียวในการรับใช้พระเจ้าคือการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ พวกเขาพร้อมประณามทุกคนที่มีความคิดเห็นทางศาสนาแตกต่างออกไป
เมื่อคนตาบอดไม่เห็นด้วยกับพวกเขาและพูดว่า “เราทั้งหลายรู้ว่า พระเจ้าไม่ทรงฟังคนบาป แต่ทรงฟังผู้ที่ยำเกรงพระองค์และปฏิบัติตามพระประสงค์เท่านั้น” พวกเขาจึงจนตรอกและไม่รู้จะตอบโต้คนตาบอดอย่างไร (ยน 9:31 เทียบ โยบ 27:9; อสย 1:15; อสค 8:18; สดด 34:15, 66:18, 145:19; สภษ 15:29)
ยิ่งไปกว่านั้น คนตาบอดยังพูดแทงใจดำพวกเขาอีกว่า “แต่ไหนแต่ไรมา ไม่เคยได้ยินเลยว่ามีใครรักษาคนตาบอดแต่กำเนิดให้หายได้ ถ้าเขาไม่ได้มาจากพระเจ้า เขาก็คงจะทำอะไรไม่ได้” (ยน 9:32-33)
เมื่อสถานการณ์เริ่มเอนเอียงไปสู่ข้อสรุปว่าพระองค์มาจากพระเจ้า พวกฟาริสีจึงหาทางออกด้วยการโจมตีคนตาบอด
ก) พวกเขาทำให้คนตาบอด “สับสน” ด้วยการถามวนไปวนมาว่า “เขาทำอะไรกับท่าน เขารักษาตาของท่านอย่างไร” (ยน 9:15,26) จนคนตาบอดทนไม่ไหว ต้องตอกกลับไปเจ็บ ๆ ว่า “ฉันบอกท่านแล้ว แต่ท่านไม่ฟัง ทำไมท่านต้องการฟังอีกเล่า ท่านต้องการเป็นศิษย์ของเขาด้วยกระมัง” (ยน 9:27)
ข) พวกเขา “ดูหมิ่น” คนตาบอดด้วยการพูดว่า “ท่านเกิดมาในบาปทั้งตัว (เพราะตาบอดแต่กำเนิด) แล้วยังกล้ามาสั่งสอนพวกเราอีกหรือ” (ยน 9:34)
ค) ที่สุดพวกเขา “คุกคาม” คนตาบอดด้วยการขับไล่ออกจากศาลาธรรม (ยน 9:34)
นี่คือพฤติกรรมของพวกฟาริสี !
จริงอยู่การถกเถียงกันเพราะมีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อใดที่เราถกเถียงกันโดยมีเจตนาก่อให้เกิดความสับสน การดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือการคุกคามใด ๆ ก็ตาม เมื่อนั้นเรากำลังทำให้การถกเถียงกลายเป็นการต่อสู้อันขมขื่น และเป็นการเผยแสดงให้คนอื่นรู้ว่าน้ำหนักเหตุผลของเรามีมากน้อยเพียงใด ?!
และเพราะพฤติกรรมสุดทนของพวกฟาริสีนี้เอง พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “เรามาในโลกนี้เพื่อพิพากษา คนที่มองไม่เห็นจะได้มองเห็น ส่วนคนที่มองเห็นจะกลายเป็นคนตาบอด” (ยน 9:39)
คำพูดนี้มิได้หมายความว่าพระเยซูเจ้าจะทรงเป็นผู้พิพากษาด้วยพระองค์เอง แต่หมายความว่าเมื่ออยู่ต่อหน้าพระองค์ เราเองคือผู้พิพากษาที่จะตัดสินตนเอง
เมื่ออยู่ต่อหน้าพระองค์ หากเราไม่เห็นพระองค์น่าสนใจ น่าชื่นชม น่าปรารถนา หรือน่ารัก เรากำลังพิพากษาประณามตัวเราเอง
ตรงกันข้าม หากเราเห็นพระองค์น่าพิศวง น่าแสวงหา น่าติดตาม เรากำลังตัดสินใจก้าวเดินตามหนทางของพระองค์
อนึ่ง พระองค์ตรัสว่า “คนที่มองไม่เห็นจะได้มองเห็น” ก็เพราะคนที่รู้ตัวว่าไม่เห็นและไม่รู้จะพยายามขวนขวายทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองมองเห็นชัดเจนขึ้น รู้มากขึ้น จนว่าดวงตาของเขาจะเปิดและสติปัญญาของเขาจะหยั่งรู้ความจริงในที่สุด
“ส่วนคนที่มองเห็นจะกลายเป็นคนตาบอด” เพราะเขาคิดว่าตัวเองเห็นและรู้แล้ว จึงปิดหูปิดตาแล้วกลายเป็นคนบอดมืดสนิทจริง ๆ
พวกฟาริสีอ้างว่าเห็นและรู้พระคัมภีร์มากกว่าผู้ใด แต่เมื่อบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมา พวกเขากลับไม่รู้จักและไม่ฟังเสียงของพระองค์
นี่คือ “จุดตาย” ที่พวกเขาพิพากษาตัดสินตัวเอง
พระองค์จึงตรัสกับพวกเขาว่า “ถ้าท่านทั้งหลายตาบอดท่านก็ไม่มีบาป แต่ท่านกล่าวว่า ‘เรามองเห็น’ บาปของท่านจึงยังคงอยู่” (ยน 9:40)
5. รางวัล
คนตาบอดสัตย์ซื่อต่อพระเยซูเจ้ากระทั่งยอมถูกขับไล่ออกจากศาลาธรรม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงเสด็จไปสนทนากับเขา (ยน 9:35)
เป็นพระองค์เองที่เสด็จมาหาผู้จงรักภักดีต่อพระองค์ !
ยิ่งคนตาบอดอยู่ใกล้ชิดพระองค์มากเท่าใด พระองค์ยิ่งเผยแสดงพระองค์แก่เขามากเท่านั้น
ครั้งแรกที่เพื่อนบ้านรุมเร้าถามว่า “ตาของท่านหายบอดได้อย่างไร” เขาตอบว่า “คนที่ชื่อเยซูทำโคลนป้ายตาของฉัน” (ยน 9:11)
ต่อมาเมื่อพวกฟาริสีถามว่า “ท่านล่ะ ท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับคนนั้น ที่เขาทำให้ตาของท่านกลับมองเห็น” เขาตอบว่า “คนนั้นเป็นประกาศก” (ยน 9:17)
ที่สุดเมื่อพระเยซูเจ้าตรัสถามว่า “ท่านเชื่อในบุตรแห่งมนุษย์หรือ” (ยน 9:35) เขาทูลว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ พระเจ้าข้า” แล้วกราบลงนมัสการพระองค์ (ยน 9:38)
เห็นได้ชัดเจนว่า ยิ่งใกล้ชิดและรู้จักพระเยซูเจ้ามากเท่าใด เขายิ่งเห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
จากคนธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่ชื่อเยซู กลายเป็นประกาศก และเป็นบุตรแห่งมนุษย์ในที่สุด
นี่คือรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่สุด !!
เพราะเมื่อได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้าอย่างนี้แล้ว ยังจะมีหัวใจดวงใดอีกหรือที่ปฏิเสธความรักของพระองค์ !?
หากหัวใจของเรายังไร้ “รัก” นั่นเป็นเพราะเรายังไม่รู้จักพระองค์จริง !!
ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016
ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
|
|
1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ ) |
2 ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก |
4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา |
5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล ) |
6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา |
8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ |
9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา |
12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี |
13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา |
14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก |
15 สมโภชพระจิตเจ้า |
16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี |
19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา |
20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา ) |
21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี |
22 สมโภชพระตรีเอกภาพ |
23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี |
26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์ |
27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช |
28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา |
29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า |
30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา |
31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก ) |
|
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี |
2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี |
3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์ |
5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก ) |
6 น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช |
7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์ |
10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา |
11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก |
12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์ |
14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
16 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา |
19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล |
21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช |
22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี |
23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด |
25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา |
26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด ) |
27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร |
28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ |
29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม |
30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม |
|
|
|
ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา |
3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก |
4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส |
5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์ |
6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี |
7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา |
8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา |
9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน |
10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา |
11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก ) |
12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา |
13 น.เฮนรี่ |
14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์ |
15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล |
17 อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา |
20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา ) |
21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์ |
22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา |
23 น.บรียิต นักบวช |
24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก |
26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี ) |
27 สัปดาห์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
28 สัปดาห์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา |
29 ระลึกถึง น.มาร์ธา |
30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา |
ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์ |
3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา |
4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์ |
5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก |
7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล ) |
8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์ |
9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี |
10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี |
11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี |
12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช |
13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี |
14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม ) |
16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี |
17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา |
19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์ |
20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ |
22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก |
23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี |
24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว |
25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์ |
26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา |
27 ระลึกถึง น.โมนิกา |
28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ |
30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา |
2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
8 ฉลองแม่พระบังเกิด |
9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์ |
10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา |
11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา |
12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี |
13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์ |
14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน |
15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์ |
16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี |
17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี |
20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ ) |
21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์ |
24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา |
25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา |
26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี |
27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์ |
28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี |
29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล |
30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
|
|
ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
|
|
1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี |
5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา |
6 น.บรูโน พระสงฆ์ |
7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน ) |
8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา |
9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา |
12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา |
14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี |
15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา ) |
17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี |
18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี |
20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา |
21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา |
22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา |
23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช ) |
24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช |
25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก |
29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา |
30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
|
|
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ |
3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช |
4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา |
6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย |
7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา |
8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา |
9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน |
10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร |
11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช |
12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี |
13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน ) |
14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา |
15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี |
17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช |
18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก |
19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา |
20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก ) |
21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช |
22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี |
23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ |
24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี |
25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี |
26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา |
27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี A ) |
28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
29 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก |
|
|
|
|
ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
|
|
|
1 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ ) |
2 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง |
4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ ) |
5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ) |
6 น.นิโคลัส พระสังฆราช |
7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์ |
8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล |
9 น.ฮวน ดีเอโก |
10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ ) |
11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป |
13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี |
14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร |
15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย ) |
17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ |
18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง |
22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ |
23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์ |
24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ |
25 สมโภชพระคริสตสมภพ |
26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี |
27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร |
28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล |
29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี |
30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า |
31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ ) |
|
ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
Sun |
1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา |
2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน ) |
3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช |
4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา |
5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน ) |
6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี |
7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา |
8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี |
9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา |
10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ ) |
11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก ) |
12 หลังวันพุธรับเถ้า |
13 หลังวันพุธรับเถ้า |
14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์ |
18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต |
21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา ) |
23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี |
24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต |
28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต |
29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต |
|
|
|
|
|
|