The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

ข่าวดี     ยอห์น 14:1-12
(1)ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย (2)ในบ้านพระบิดาของเรามีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มีเราคงบอกท่านแล้ว เรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน (3)และเมื่อเราไปและเตรียมที่ให้ท่านแล้วเราจะกลับมารับท่านไปอยู่กับเราด้วย เพื่อว่าเราอยู่ที่ใดท่านทั้งหลายจะอยู่ที่นั่นด้วย (4)ที่ที่เราจะไปนั้น ท่านรู้จักหนทางแล้ว (5)โทมัสทูลว่า “พระเจ้าข้า พวกเราไม่ทราบว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ใด แล้วจะรู้จักหนทางได้อย่างไร” (6) พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต ไม่มีใครไปเฝ้าพระบิดาได้นอกจากผ่านทางเรา (7) ถ้าท่านทั้งหลายรู้จักเราท่านก็รู้จักพระบิดาของเราด้วย บัดนี้ ท่านก็รู้จักพระบิดาและเห็นพระองค์แล้ว (8)ฟิลิปทูลว่า “พระเจ้าข้า โปรดทำให้พวกเราได้เห็นพระบิดาเถิด เท่านี้ก็พอแล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า (9) “ฟิลิปเอ๋ย เราอยู่กับท่านมานานเพียงนี้แล้ว ท่านยังไม่รู้จักเราอีกหรือ” ‘ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดาด้วย ท่านพูดได้อย่างไรว่า “โปรดทำให้พวกเราได้เห็นพระบิดาเถิด” (10)ท่านไม่เชื่อหรือว่าเราดำรงอยู่ในพระบิดา และพระบิดาทรงดำรงอยู่ในเรา วาจาที่เราบอกกับท่านทั้งหลายนี้เรามิได้พูดตามใจของเรา แต่พระบิดาผู้สถิตในเราทรงกระทำกิจการของพระองค์ (11)ท่านทั้งหลายจงเชื่อเราเถิดว่า เราดำรงอยู่ในพระบิดา และพระบิดาก็ทรงดำรงอยู่ในเรา หรืออย่างน้อยท่านทั้งหลายจงเชื่อเพราะกิจการเหล่านี้เถิด (12)เราบอกความจริงกับท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่เชื่อในเรา ก็จะทำกิจการที่เรากำลังทำอยู่ด้วย และจะทำกิจการที่ใหญ่กว่านั้นอีก เพราะเรากำลังจะไปเฝ้าพระบิดา


1. “จงเชื่อในเรา”    
พระเยซูเจ้ากำลังจะจากบรรดาศิษย์เพื่อกลับไปเฝ้าพระบิดาในเร็ว ๆ นี้  พระองค์ทรงทราบดีว่าจิตใจของพวกศิษย์กำลังว้าวุ่น กังวล และมืดมนแปดด้าน จึงทรงเตือนสติพวกเขาว่า “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย” (ยน 14:1)
แน่นอนว่าเราเคยผ่านประสบการณ์ชีวิตที่มืดมนสุดขีดดังที่บรรดาศิษย์กำลังเผชิญอยู่ จนบางครั้งเราจำต้องยอมเชื่อในสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้และยอมรับในสิ่งที่ตนเองก็ยังไม่เข้าใจ  ในช่วงเวลาอันมืดมิดเช่นนี้ หากเราเชื่อว่าชีวิตมีเป้าหมาย และเป้าหมายนี้กำหนดโดย “พระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก”  จิตใจของเราจะไม่หวั่นไหว เราจะสามารถทนในสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะทนได้ และจะมองเห็นแสงสว่างท่ามกลางความมืดมิดนี้ได้

ความบรรเทาเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรา “เชื่อในพระเจ้า” และ “เชื่อในพระเยซูเจ้า”
พระเยซูเจ้าทรงน่าเชื่อถืออย่างยิ่งเพราะว่า
1.    พระองค์ทรงจริงใจ  เมื่อกล่าวถึงที่พำนักในบ้านของพระบิดา พระองค์ตรัสตรงไปตรงมาว่า “ถ้าไม่มี เราจะบอกท่านหรือว่าเรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน ?” (ยน 14:2)
         ก่อนหน้านี้พระองค์ตรัสอยู่เสมอว่าชีวิตคริสตชนต้องละทิ้งความสะดวกสบาย “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ไม่มีที่จะวางศีรษะ” (ลก 9:57-58) ต้องพบกับการกดขี่ข่มเหง ความเกลียดชัง การลงโทษ “เราส่งท่านไปเหมือนแกะในฝูงสุนัขป่า... เขาจะมอบท่านที่ศาลและเฆี่ยนท่านในศาลาธรรมของเขา... พี่จะฟ้องน้อง น้องจะฟ้องพี่ให้ต้องโทษถึงตาย พ่อจะฟ้องลูก ลูกจะลุกขึ้นกล่าวโทษพ่อแม่ให้ถึงตาย  คนทั้งปวงจะเกลียดชังท่านเพราะนามของเรา” (มธ 10:16-22) และต้องแบกกางเขน “ถ้าผู้ใดอยากตามเรา ก็จงเลิกคิดถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตน และติดตามเรา” (มธ 16:24) ซึ่งล้วนแล้วแต่บ่งบอกถึงความจริงใจของพระองค์
         พระองค์ไม่เคยใช้เล่ห์เหลี่ยมติดสินบนผู้ใดให้ติดตามพระองค์ด้วยการสัญญาว่าจะประทานตำแหน่งใหญ่โต ชื่อเสียงเกียรติยศ ความสะดวกสบาย หรือความมั่งคั่งใด ๆ เลย
        เมื่อพระองค์ทรงจริงใจเช่นนี้ วาจาทุกถ้อยคำของพระองค์จึงน่าเชื่อถือและวางใจได้อย่างเต็มเปี่ยม !
    2.    พระองค์ทรงรับประกันความปลอดภัย เพราะทรงเป็น “ผู้เสด็จล่วงหน้า” (ฮบ 6:20) ซึ่งตรงกับ prodromos (ปรอ-ดรอ-มอส) ในภาษากรีก
        ชาวกรีกใช้คำ prodromos เพื่อหมายถึงหน่วยลาดตระเวนในกองทัพ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางล่วงหน้าให้แน่ใจว่าปลอดภัย จึงให้กองทัพที่เหลือติดตามไป
        พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน” (ยน 14:2) ซึ่งเท่ากับทรงเป็น prodromos ผู้เสด็จล่วงหน้าไปก่อนเราเพื่อทำให้แน่ใจว่าทุกคนที่ติดตามพระองค์จะได้รับความปลอดภัย
         พระองค์ทรงพิถีพิถันในรายละเอียดทุกขั้นตอน เราจึงเชื่อและวางใจพระองค์ได้เต็มเปี่ยม
         เหลือเพียงขั้นสุดท้ายคือ เราจะก้าวเดินตามพระองค์หรือไม่เท่านั้น ?!
    3.    พระองค์คือผู้ชนะ  พระองค์ตรัสว่า “เราจะกลับมา” (ยน 14:3) ซึ่งหมายถึงการเสด็จมาครั้งที่สองในฐานะผู้พิชิตและเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล เพื่อรับเราไปอยู่กับพระองค์
        น่าเสียดายที่แทบไม่มีผู้ใดสนใจเรื่องการเสด็จกลับมาของพระองค์  ซ้ำร้ายบางคนยังดำเนินชีวิตราวกับว่าพระองค์จะไม่มีวันเสด็จกลับมาอีกและตนเองจะอยู่ค้ำฟ้า
        เรารู้ดีว่าพระองค์ทรงจริงใจและทุกถ้อยคำของพระองค์เชื่อถือได้ เมื่อพระองค์ตรัสว่า “เราจะกลับมา” แปลว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาอย่างผู้ชนะจริง ๆ
        เราไม่อยากอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ชนะหรือ ?!        
    4.    พระองค์คือสวรรค์  เพราะทรงตรัสว่า “เพื่อว่าเราอยู่ที่ใด ท่านทั้งหลายจะอยู่ที่นั่นด้วย” (ยน 14:3)
         นี่คือคำจำกัดความของสวรรค์ที่ซื่อและง่ายที่สุดเท่าที่พระองค์ทรงสอนเรา
        สวรรค์คือ “การได้อยู่กับพระเยซูเจ้าตลอดไป”
        เมื่อเรารักใครแบบสุดหัวใจสักคน เราจะมีชีวิตจริง ๆ ก็ต่อเมื่อได้อยู่กับคนคนนั้นมิใช่หรือ  กับพระเยซูเจ้าก็เป็นเช่นเดียวกัน !
    จากเหตุผลที่พระองค์ทรงบอกเราทั้งสี่ประการ  จึงไม่มีเหตุอันใดที่จะปล่อยให้ชีวิตและจิตใจของเราหวั่นไหวเพราะไม่ยอมเชื่อพระองค์ !!!    

2. “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต”    
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “เราอยู่กับท่านอีกไม่นาน แล้วเราจะกลับไปหาพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา” (ยน 7:33) ซึ่งก็คือพระบิดา แต่จนแล้วจนรอดพวกศิษย์ก็ยังไม่เข้าใจ
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อตรัสถึง “กางเขน” ซึ่งเป็นหนทางที่พระองค์ทรงเลือกเพื่อใช้กลับไปหาพระบิดา พวกเขายิ่งไม่เข้าใจหนักเข้าไปอีก 
    ในบรรดาศิษย์ทั้งหมด มีโทมัสเพียงคนเดียวที่ยอมรับตรงไปตรงมาว่าตนไม่เข้าใจและสงสัย จึงทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พวกเราไม่ทราบว่าพระองค์จะเสด็จไปที่ใด แล้วจะรู้จักหนทางได้อย่างไร” (ยน 14:5)
ความสงสัยของโทมัสมิใช่เรื่องเลวร้ายหรือน่าละอายแต่อย่างใด แต่กลับนำไปสู่คำตอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่พระเยซูเจ้าเคยตรัสไว้ นั่นคือ “เราเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต” (ยน 14:6)
    นอกจากยิ่งใหญ่สำหรับพระองค์เองแล้ว คำตอบนี้ยังยิ่งใหญ่มากสำหรับเรา และยิ่งใหญ่มากกว่าอีกสำหรับชาวยิว เพราะทรงรวมความคิดอันเป็นพื้นฐานของศาสนายิวให้สำเร็จเป็นจริงในพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
    1.    “หนทาง” ของพระเจ้าคือสิ่งที่ชาวยิวทุกคนต้องเดินตาม
         พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า “จงจำใส่ใจ และปฏิบัติตามที่พระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงบัญชาแก่ท่าน อย่าหันไปทางขวาหรือทางซ้ายเลย แต่จงเดินตามทางซึ่งพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านทรงบัญชาท่านไว้ทุกประการ” (ฉธบ 5:32-33)
          ผู้นิพนธ์เพลงสดุดีวอนขอพระเจ้าว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ โปรดทรงสอนข้าพเจ้าให้รู้จักทางของพระองค์” (สดด 27:11)
        ชาวยิวปรารถนาจะรู้จักและเดินตามหนทางของพระเจ้า บัดนี้พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นหนทาง” !!
        เพื่อจะเข้าใจคุณค่าของคำว่า “เราเป็นหนทาง”  ขอให้นึกภาพว่าเรามาจากต่างจังหวัดและกำลังหลงทางอยู่ในกรุงเทพฯ  หลังจากสอบถามตำรวจจราจรนายหนึ่งก็ได้รับคำตอบว่า “ตรงไปแล้วเลี้ยวขวาตรงสัญญาณไฟแดงที่สอง ผ่านสวนอัมพร ข้ามลานกว้างที่มีรูปคนขี่ม้า ผ่านหน้าวัดแล้วเลี้ยวซ้าย คุณจะพบถนนที่ต้องการตรงสี่แยกที่สาม”  เราคงงงแน่
          โชคดีที่พระเยซูเจ้ามิได้เป็นเพียงคนบอกทางแบบตำรวจจราจร แต่ทรงเป็น “หนทาง” ด้วยพระองค์เอง  นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงจูงมือเรา ทรงนำทางเรา ประทานพละกำลังแก่เรา และทรงแนะนำทุกสิ่งแก่เราทุกวัน จนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมาย
        นี่คือความรักอันยิ่งใหญ่สูงสุดของพระองค์ !
     2.    “ความจริง” เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวยิวเพียรพยายามแสวงหาและวอนขอจากพระเจ้า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอพระองค์ทรงสอนข้าพเจ้าให้รู้วิถีทางของพระองค์ ข้าพเจ้าจะได้ดำเนินชีวิตในความสัตย์จริงของพระองค์” (สดด 86:11) และ “ข้าพเจ้าเลือกหนทางแห่งความจริง” (สดด 119:30)
        ใช่ ชาวยิวแสวงหาความจริงโดยเฉพาะความจริงทางด้านศีลธรรม จึงมีรับบีจำนวนมากออกมาสอนเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
        แต่การสอนความจริงทางด้านศีลธรรมนั้นแตกต่างจากการสอนวิชาอื่น ๆ เช่น พลศึกษา เรขาคณิต หรือภาษาอังกฤษ ซึ่งอุปนิสัยและความประพฤติของครูผู้สอนไม่มีผลต่อเนื้อหาที่สอนมากนัก
        ตรงกันข้าม เราไม่อาจเอาคนที่ผิดลูกผิดเมียผู้อื่นมาสอนเรื่องความบริสุทธิ์  เอาคนโลภมากมาสอนเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  หรือเอาคนที่ครอบงำกดขี่ผู้อื่นมาสอนเรื่องความสุภาพถ่อมตน  เพราะความจริงด้านศีลธรรมจะสอนด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องสอนด้วยแบบอย่างที่ดีด้วยจึงจะบังเกิดผล
        รับบีอาจพูดได้ว่า “เราได้สอนความจริงแก่ท่าน” แต่มีเพียงพระเยซูเจ้าเท่านั้นที่พูดได้ว่า “เราเป็นความจริง”
        พระองค์ไม่เพียงสอนความจริงด้านศีลธรรมแก่เรา  แต่หลักศีลธรรมได้บรรลุความครบครันขั้นสูงสุดในพระองค์
        เราจึงมั่นใจได้ว่าเมื่อเดินตามพระองค์แล้ว เราจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูงสุดอย่างแน่นอน !
3.    “ชีวิต” คือสิ่งสูงสุดที่ชาวยิวแสวงหา พวกเขาอธิษฐานว่า “พระองค์จะทรงสอนข้าพเจ้าให้รู้จักหนทางแห่งชีวิต” (สดด 16:11) และเชื่อว่า “ผู้ที่รับฟังคำสั่งสอนก็อยู่ในหนทางสู่ชีวิต” (สภษ 10:17)
    เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราเป็นชีวิต” จึงหมายความว่าชาวยิวและเราทุกคนจะมีชีวิตอย่างแท้จริงและมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเจริญชีวิตร่วมกับพระองค์เท่านั้น
         การเจริญชีวิตร่วมกับพระองค์ย่อมหมายรวมถึง การคิดเหมือนพระองค์ ปรารถนาเหมือนพระองค์ และดำเนินชีวิตเหมือนพระองค์
    ชีวิตเหมือนพระเยซูเจ้าคือชีวิตที่มีคุณค่าและเป็นสุขอย่างแท้จริง !

3. “ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดา”
อาจกล่าวได้ว่าคำพูดนี้ทำให้คนสมัยก่อนงุนงงมากที่สุด เพราะชาวกรีกถือว่าพระเจ้า “มองไม่เห็น”  ส่วนชาวยิวเองก็เชื่อว่า “ไม่มีมนุษย์ผู้ใดสามารถมองเห็นพระเจ้าได้” แม้แต่โมเสสซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า พระองค์ยังตรัสว่า “ท่านจะได้เห็นด้านหลังของเรา แต่ท่านจะไม่เห็นหน้าของเรา” (อพย 33:23)
    มนุษย์สมัยก่อนจึงถูกบีบบังคับให้อยู่กับพระเจ้าที่อยู่เหนือธรรมชาติ เหนือมนุษย์ และอยู่ไกลสุดเอื้อมจากมนุษย์ จนไม่มีใครเคยคิดว่าจะได้เห็นพระเจ้า  ด้วยความปรารถนาอย่างยิ่ง ฟิลิปจึงทูลว่า “พระเจ้าข้า โปรดทำให้พวกเราได้เห็นพระบิดาเถิด เท่านี้ก็พอแล้ว” (ยน 14:8)
    พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดา” (ยน 14:9) ซึ่งหมายความว่าเห็นพระองค์ก็เห็นว่าพระเจ้าทรงเป็นเช่นใด เพราะพระองค์คือ “พระเจ้าผู้ทรงเจริญชีวิตท่ามกลางมนุษย์”
นับจากนี้ไป พระเจ้ามิได้อยู่ห่างไกลจากเราอีกต่อไป แต่ทรงประทับอยู่ท่ามกลางเราและทรงเจริญชีวิตดุจเดียวกับเรา
    1.    พระองค์ทรงอาศัยในบ้านธรรมดาๆ และในครอบครัวธรรมดาๆ ที่นาซาเร็ธ ไม่ใช่ในพระราชวังที่ใหญ่โตหรูหรา  ในพระเยซูเจ้า พระเจ้าทรงทำให้การเกิดของมนุษย์ วัยเด็กของมนุษย์ บ้านของมนุษย์ และครอบครัวของมนุษย์ศักดิ์สิทธิ์ไป
    2.    พระองค์ทรงทำงานเหมือนเรา ทรงเป็นช่างไม้ที่กรากกรำงานหนัก ต้องพบกับลูกค้านิสัยต่างๆ  บางคนช่างบ่น บางคนเบี้ยวหนี้
        ในอดีต พระธรรมเก่าสอนว่า “งานคือผลของบาปกำเนิด” (ปฐก 3:19)  แต่พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่า “งานคือพระสิริรุ่งโรจน์” เพราะพระหัตถ์ของพระเจ้าได้ทรงสัมผัสงานหนักเช่นเดียวกัน
    3.    พระองค์ทรงถูกทดลอง และต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อชัยชนะเฉกเช่นเดียวกับเรา  พระเจ้าจึงเข้าใจปัญหาและสามารถช่วยเราได้ทุกคน
    4.    พระองค์ทรงรักมนุษย์ กระทั่งยอมเจ็บปวดรวดร้าวดวงพระทัย ส่วนร่างกายก็ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ซึ่งเป็นเรื่องเหลือเชื่อมากสำหรับผู้คนสมัยก่อนที่พระเจ้าไม่ทรงลงโทษมนุษย์ผู้ทรยศ แต่กลับยอมสิ้นพระชนม์เพื่อช่วยเรามนุษย์ให้กลับมาคืนดีกับพระองค์
    นี่คือพระเจ้าที่เราเห็นในองค์พระเยซูเจ้า !!
    และเพื่อมิให้ชาวยิวไขว้เขวจากความเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียว (Monotheism) พระองค์จึงตรัสว่า “วาจาที่เราบอกกับท่านทั้งหลายนี้เรามิได้พูดตามใจของเรา แต่พระบิดาผู้สถิตในเราทรงกระทำกิจการของพระองค์” (ยน 14:10)
    ความหมายคือ พระองค์ไม่ใช่พระเจ้าองค์ที่สองเพราะทุกสิ่งที่ทรงคิด ทรงพูด หรือทรงกระทำล้วนเป็นกิจการของพระบิดาเจ้า  พระองค์จึงเรียกร้องว่า “ท่านทั้งหลายจงเชื่อเราเถิดว่า เราดำรงอยู่ในพระบิดา และพระบิดาก็ทรงดำรงอยู่ในเรา หรืออย่างน้อยท่านทั้งหลายจงเชื่อเพราะกิจการเหล่านี้เถิด” (ยน 14:11)
    “กิจการเหล่านี้” ที่พระองค์ตรัสถึงคือ
    1.    คำพูด  เมื่อได้ฟังพระวาจาของพระองค์ เราสามารถตระหนักได้ทันทีว่านี่คือคำสอนของพระเจ้าเอง เพราะเนื้อหานั้นประเสริฐที่สุด ลึกซึ้งที่สุด เป็นจริงที่สุด และนำความสุขใจที่สุดมาสู่เรา  ลำพังมนุษย์ย่อมไม่มีทางสอนเช่นนี้ได้  
    2.    การกระทำ  ดังที่ทรงตรัสกับศิษย์ของยอห์นว่า “จงไปบอกยอห์นถึงสิ่งที่ท่านได้ยินและได้เห็น คนตาบอดกลับแลเห็น คนง่อยเดินได้ คนโรคเรื้อนหายจากโรค คนหูหนวกได้ยิน คนตายกลับคืนชีพ คนยากจนได้รับการประกาศข่าวดี” (มธ 11:4-5)  และผู้ที่สามารถเปลี่ยนคนที่บกพร่องให้เป็นคนดีได้เช่นนี้ก็มีแต่ “พระเจ้า” เท่านั้น !
    ทั้งคำพูดและการกระทำของพระองค์จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า “ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระบิดา”

4. “ผู้ที่เชื่อในเรา จะทำกิจการที่ใหญ่กว่านั้นอีก”    
นี่คือคำมั่นสัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะพระองค์ทรงสัญญาว่าจะให้เราทำงานที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์เสียอีก
จริงอยู่พระศาสนจักรเริ่มแรกได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บมากมาย (คร 12:9, 28, 30; ยก 5:14) แต่นี่คือสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำตลอดชีวิต  อย่างนี้จะเรียกว่าบรรดาอัครสาวกได้ทำกิจการที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ได้อย่างไร ?
แต่เมื่อกาลเวลายิ่งผ่านพ้นไปมากเท่าใด ข้อเท็จจริงยิ่งพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงรักษาคำมั่นสัญญาทุกประการ
1.    เรารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้มากขึ้น  อาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ  ทุกวันนี้เราสามารถทำศัลยกรรม บำบัดรักษา และผลิตยารักษาโรคได้มากมายชนิดที่ผู้คนในสมัยพระเยซูเจ้าได้แต่อ้าปากค้างร้องว่า “อัศจรรย์ !”
         เบื้องหลังความก้าวหน้าเหล่านี้คือความเสียสละ ความทุ่มเทชีวิตจิตใจ และการยอมเอาชีวิตเข้าเสี่ยงเพื่อค้นคว้าวิจัยของผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก
         ไม่ว่าพวกเขาจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เป็นพระเยซูเจ้าเองที่ตรัสกับพวกเขาผ่านทางพระจิตของพระองค์ว่า “พวกท่านต้องช่วยกันรักษาคนเหล่านี้ มันเป็นทั้งเกียรติยศและความรับผิดชอบของท่านที่จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือพวกเขา”
         พระองค์คือผู้อยู่เบื้องหลังความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้ จนว่าทุกวันนี้ เราสามารถทำสิ่งที่ผู้คนในสมัยของพระองค์ได้แต่ฝันถึงเท่านั้น
2.    ทุกวันนี้คริสตศาสนาแผ่ขยายไปทั่วโลก  ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ พระเยซูเจ้าไม่เคยเสด็จไปประกาศข่าวดีนอกแผ่นดินปาเลสไตน์เลย  เพราะข้อจำกัดของร่างกายทำให้พระองค์ต้องจำกัดวงอยู่เฉพาะภายในปาเลสไตน์  แต่เมื่อพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์และกลับเป็นขึ้นมา พระองค์ทรงเป็นอิสระจากข้อจำกัดของร่างกาย และพระจิตของพระองค์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วทุกแห่งหน
    ทั้งนี้ โดยผ่านทางผู้ที่เชื่อในพระองค์ !

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries