The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

ข่าวดี    มัทธิว 9:36 – 10:8
(36)เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชน ก็ทรงสงสาร เพราะเขาเหล่านั้นเหน็ดเหนื่อยและท้อแท้ประดุจฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง  (37) แล้วพระองค์ตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด”
(1)พระเยซูเจ้าทรงเรียกศิษย์สิบสองคนเข้ามาพบ ประทานอำนาจให้เขาขับไล่ปีศาจ ให้รักษาโรคและความเจ็บไข้ทุกชนิด  (2)อัครสาวกสิบสองคนมีนามดังนี้ คนแรกคือซีโมน ผู้มีสมญาว่าเปโตร กับอันดรูว์น้องชายของเขา ยากอบบุตรของเศเบดีกับยอห์นน้องชาย  (3)ฟิลิปและบาร์โธโลมิว  โธมัสและมัทธิวคนเก็บภาษี ยากอบบุตรอัลเฟอัส และธัดเดอัส  (4)ซีโมนจากกลุ่มชาตินิยม และยูดาสอิสคาริโอท ต่อมายูดาสผู้นี้ทรยศพระองค์  (5)พระเยซูเจ้าทรงส่งอัครสาวกสิบสองคนนี้ออกไป ทรงสั่งเขาว่า “อย่าเดินตามทางของคนต่างชาติ อย่าเข้าไปในเมืองของชาวสะมาเรีย (6) แต่จงไปหาแกะพลัดฝูงของวงศ์วานอิสราเอลก่อน (7) จงไปประกาศว่าอาณาจักรสวรรค์ใกล้เข้ามาแล้ว (8) จงรักษาคนเจ็บไข้ จงปลุกคนตายให้กลับคืนชีพ จงรักษาคนโรคเรื้อนให้สะอาด จงขับไล่ปีศาจให้ออกไป ท่านได้รับมาโดยไม่เสียค่าตอบแทนก็จงให้เขาโดยไม่รับค่าตอบแทนด้วย


1. พระเยซูเจ้าทรงสงสารประชาชน
    คำ “สงสาร” ตรงกับคำกริยากรีก “สพรากค์นีซอมาย” (splagchnizomai) อันมีรากศัพท์เดียวกันกับคำนาม “สพรากค์นา” (splagchna) ซึ่งหมายถึง “ตับไตไส้พุง”
    “สพรากค์นีซอมาย” จึงหมายถึงความรู้สึกเมตตาสงสารที่ถูกขับเคลื่อนออกมาจากส่วนลึกที่สุด นั่นคือตับไตไส้พุงซึ่งอยู่ลึกกว่าหัวใจของเรามนุษย์เสียอีก
    นอกจากในนิทานเปรียบเทียบเพียงบางเรื่องแล้ว พระคัมภีร์ไม่เคยใช้คำ “สพรากค์นีซอมาย” กับบุคคลอื่นนอกจากกับพระเยซูเจ้าเท่านั้น
     สาเหตุที่ทำให้พระองค์ทรงสงสารประชาชนจากก้นบึ้งแห่งอวัยวะภายในหรือก้นบึ้งแห่งหัวใจ ได้แก่
    1.     ความเจ็บป่วย
        - “เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือ ทรงเห็นประชาชนมากมายก็ทรงสงสาร และทรงรักษาผู้เจ็บป่วยให้หายจากโรค” (มธ 14:14)
        - “พระเยซูเจ้าทรงสงสาร  ทรงสัมผัสนัยน์ตาของเขา ทันใดนั้น เขากลับมองเห็น และติดตามพระองค์ไป” (มธ 20:34)
    2.     ความเศร้าโศกเสียใจ
        - “เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นนาง (หญิงม่ายที่เมืองนาอิน) ก็ทรงสงสารและตรัสกับนางว่า ‘อย่าร้องไห้ไปเลย’  แล้วพระองค์เสด็จเข้าไปใกล้ ทรงแตะแคร่หามศพ คนหามก็หยุด พระองค์จึงตรัสว่า ‘หนุ่มเอ๋ย เราบอกเจ้าว่า จงลุกขึ้นเถิด’” (ลก 7:13-14)
    3.     ความหิว
        - พระเยซูเจ้าทรงเรียกบรรดาศิษย์เข้ามา ตรัสว่า “เราสงสารประชาชน เพราะเขาอยู่กับเรามาสามวันแล้ว และเวลานี้ไม่มีอะไรกิน เราไม่อยากให้เขากลับบ้านโดยไม่ได้กินอะไร เขาจะหมดแรงขณะเดินทาง” (มธ 15:32)
    4.     ความโดดเดี่ยว
        - คนโรคเรื้อนซึ่งถูกตัดขาดจากสังคมและต้องอยู่ตามลำพังอย่างโดดเดี่ยวเข้ามาเฝ้าพระองค์  พระองค์ทรงสงสาร ตื้นตันพระทัย จึงทรงยื่นพระหัตถ์สัมผัสเขา ตรัสว่า “เราพอใจ จงหายเถิด” (มก 1:41)
    5.     ความท้อแท้
        นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระเยซูเจ้าทรงสงสารประชาชนจากก้นบึ้งแห่งหัวใจในวันนี้ “เพราะเขาเหล่านั้นเหน็ดเหนื่อยและท้อแท้ประดุจฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง” (มธ 9:36)
     “เขาเหล่านั้น” คือประชาชนผู้ต้องการพระเจ้าและกำลังแสวงหาพระองค์อย่างสุดหัวใจ  แต่บรรดาคัมภีราจารย์ ชาวฟารีสี ตลอดจนพวกสะดูสี ซึ่งล้วนเป็นเสาหลักของศาสนายิวในสมัยนั้น กลับไม่มีคำแนะนำหรือกำลังใจเพื่อให้เขาเหล่านั้นมีพลังต่อสู้กับปัญหาในชีวิตเลย
        ตรงกันข้าม พวกเขากลับทำให้ประชาชนหลงทางและสับสนด้วยการออกกฎระเบียบหยุมหยิมมากมาย ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังทำให้ประชาชนท้อแท้และสิ้นหวังอีกด้วย
    จากตัวอย่างที่กล่าวมา เราสามารถสรุปแบบฟันธงได้ว่า “ไม่ว่าเราจะมีทุกข์อะไร ทุกข์ของเราคือทุกข์ของพระเยซูเจ้า” !!!

2. ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย
    นี่คือมุมมองอันเปี่ยมด้วยความรักยิ่งของพระเยซูเจ้าที่ทรงมีต่อประชาชนคนบาปเช่นเรา  พระองค์ทรงมองคนบาปเป็น “ข้าว” ที่จะต้องเก็บเกี่ยวและรักษาไว้ในยุ้งฉางให้ปลอดภัย อีกทั้งทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนก็เพื่อความรอดปลอดภัยของคนบาปเหล่านี้นี่เอง !
    แต่พวกฟารีสีซึ่งถือตนว่าเป็นคนดีกลับมองต่างมุม  พวกเขามองคนบาปเป็นเสมือน “ฟางข้าว” ที่จะต้องถูกเผาและทำลายให้สิ้นซากไปจากโลกนี้
    ในเมื่อมี “ข้าว” จำนวนมากให้เก็บก็จำต้องมี “คนเก็บเกี่ยว” จำนวนมาก  ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงตรัสว่า “ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมีน้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” (มธ 9:37) ซึ่งบ่งบอกพระประสงค์ได้ชัดเจนว่า “ทรงต้องการเราทุกคน” เพื่อเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์
    ขณะที่ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ไม่เคยเสด็จออกนอกปาเลสไตน์เลย ข่าวดีของพระองค์จึงถูกจำกัดวงอยู่กับชาวยิวจำนวนไม่มากนัก ในขณะที่คนทั้งโลกต่างเฝ้าคอยข่าวดีนี้ด้วยจิตใจจดจ่อเช่นกัน
แล้วใครล่ะจะเป็นคนนำข่าวดีไปประกาศแก่พวกเขาหากไม่ใช่ “เรา” ?!
    ลำพังการบริจาคเงินหรือสวดภาวนาเพื่องานแพร่ธรรมคงไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไป เพราะคำภาวนาที่ปราศจากกิจการเป็นคำภาวนาที่ตายแล้ว
    ดังนั้น ถ้าจะต้อง “เก็บเกี่ยว” ข้าวในนาซึ่งมีอยู่ทั่วโลก เราทุกคนนั่นแหละต้องเป็น “คนเก็บเกี่ยว”
     เว้นแต่เราจะมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจเท่านั้น !

3. อัครสาวกสิบสองคน
    มีข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับอัครสาวกทั้งสิบสองคนที่พระเยซูเจ้าทรงเลือกสรร ดังนี้
    1.    ทุกคนล้วนเป็นสามัญชน  พวกเขาไม่ได้ร่ำรวย ไม่มีการศึกษา ไม่มีฐานะในสังคม ส่วนใหญ่เป็นเพียงชาวประมงพื้นบ้านธรรมดา ๆ
         เท่ากับว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้สนพระทัยพื้นฐานในอดีตของพวกเขา แต่ทรงมองการณ์ไกลว่าพวกเขาจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้างภายใต้การนำทางและพระพรของพระองค์
        เราจึงไม่ต้องวิตกกังวลว่าตนด้อยความรู้ ด้อยความสามารถ เกรงว่าจะช่วยงานพระองค์ไม่ได้ เพราะพระองค์สามารถใช้ทุกสิ่งที่เรามอบถวายแด่พระองค์ เพื่อความยิ่งใหญ่ของพระอาณาจักรของพระเจ้าได้
    2.    แต่ละคนมีพื้นฐานแตกต่างกัน  ยกตัวอย่างเช่นกรณีของมัทธิวและซีโมน
        มัทธิวมีอาชีพเก็บภาษีให้กษัตริย์เฮโรด อันตีพาส ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยโรมและถือว่าเป็นคนของโรม มัทธิวจึงถูกชาวยิวตราหน้าว่าเป็นคนทรยศขายชาติ  ส่วนซีโมนได้รับสมญาว่า “ผู้รักชาติ” (ลก 6:16) และเป็นสมาชิกของกลุ่ม “ชาตินิยม” สุดโต่ง
        โยเซฟุสบันทึกไว้ว่าพวก “ชาตินิยม” ถือเป็นหนึ่งในสี่กลุ่มใหญ่ ๆ ของชาวยิว อีกสามกลุ่มคือ พวกฟารีสี (Pharisees) สะดูสี (Sudducees) และเอสซีน (Essenes)
        กลุ่มชาตินิยมนับถือพระเจ้าเป็นกษัตริย์เหนือหัวเพียงพระองค์เดียว พวกเขาไม่ยอมให้มนุษย์หน้าไหนทั้งสิ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครองพวกเขา  ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมุ่งมั่นจะปลดแอกปาเลสไตน์จากการเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิโรมัน โดยพร้อมจะพลีชีพหรือทำทุกสิ่งแม้แต่สังหารคนที่ตนรักเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
        แน่นอนว่าถ้าซีโมนพบมัทธิวก่อนเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า เขาคงเอามีดปักอกหรือเสียบพุงมัทธิวเรียบร้อยไปแล้ว
        และนี่คือความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ศัตรูคู่อาฆาตสามารถรักกันได้ เมื่อต่างฝ่ายต่างรักพระเยซูเจ้า !!
        เพราะฉะนั้น หากพระสงฆ์ นักบวช หรือสัตบุรุษไม่สามารถรักกันได้  ต่างฝ่ายต่างต้องหันมาถามตัวเองแล้วว่าเรา “รักพระเยซูเจ้าจริง”...
หรือเพียงใช้พระองค์เป็นเครื่องมือหรือข้ออ้างของเราเองเท่านั้น ?

4. สุดยอดผู้บัญชาการ
ก่อนส่งบรรดาอัครสาวกออกไปประกาศข่าวดี พระเยซูเจ้าตรัส “สั่ง” พวกเขาว่า “อย่าเดินตามทางของคนต่างชาติ อย่าเข้าไปในเมืองของชาวสะมาเรีย แต่จงไปหาแกะพลัดฝูงของวงศ์วานอิสราเอลก่อน” (มธ 10:5-6)
คำว่า “สั่ง” ตรงกับ “พารอังเยลโล” (paraggello) ซึ่งชาวกรีกใช้ใน 4 โอกาสด้วยกันคือ
1.    “ทหารสั่งการ”  พระเยซูเจ้าจึงเป็นเสมือนแม่ทัพที่กำลังสรุปภารกิจก่อนส่งบรรดาขุนพลออกไปปฏิบัติภารกิจ
2.    “เรียกเพื่อนมาช่วย”  พระองค์เป็นเสมือนผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ และกำลังเรียกเพื่อนคืออัครสาวกและเราทุกคนมาช่วยกันทำให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริง
3.    “สั่งสอนศิษย์”  พระองค์เป็นครูที่กำลังอบรมบ่มเพาะศิษย์ให้พร้อมออกไปเผชิญหน้ากับโลก
4.    “คำสั่งของจักรพรรดิ”  พระองค์เปรียบเสมือนกษัตริย์ที่กำลังส่งทูตออกไปประกาศข่าวดีและคำสั่งสอนของพระองค์แก่ชาวโลก
การใช้คำ “พารอังเยลโล” จึงบ่งบอกว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็น “ผู้บัญชาการ” ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เพราะพระองค์ทรงเป็นทั้งกษัตริย์ แม่ทัพ ครู และเพื่อนของผู้ใต้บังคับบัญชา
เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อได้อ่านเนื้อหาของคำสั่งที่ทรงห้ามอัครสาวกไปหาคนต่างชาติแล้ว เราต้องยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นนักวางแผนชั้นยอดจริง ๆ
บางคนอาจแย้งว่าคำสั่งนี้แสดงถึงความคับแคบทางจิตใจของพระองค์  แต่เราต้องไม่ลืมว่านี่เป็นคำสั่งเฉพาะกิจที่เหมาะสมกับสถานการณ์หนึ่ง ๆ เท่านั้น  ส่วนคำสั่งถาวรคือ “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา” (มธ 28:19)
สถานการณ์ที่ทำให้พระองค์ทรง “สั่ง” เช่นนี้ คือ
1.    พระองค์ทรงยอมรับว่าชาวยิวมี “สถานภาพพิเศษ” ในแผนการแห่งความรอด  พวกเขารอคอยพระเมสสิยาห์มาเป็นเวลานานแล้ว จึงควรได้รับโอกาสก่อนชนชาติอื่น
2.    บรรดาอัครสาวกยังขาดความพร้อม พวกเขาไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของคนต่างชาติ ไม่รู้เทคนิคการสื่อสารกับคนต่างชาติ  หากส่งพวกเขาไปหาคนต่างชาติในขณะนี้ โอกาสสำเร็จย่อมริบหรี่เต็มที  ต้องรอจนมีคนที่พร้อมดังเช่นนักบุญเปาโลนั่นแหละ ข่าวดีจึงจะเผยแพร่ไปสู่คนต่างชาติอย่างได้ผล
         เราจึงควรเลียนแบบอย่างความรอบคอบของพระเยซูเจ้า ด้วยการตระหนักถึงข้อจำกัดของเราเอง และพยายามมองให้ออกว่าเรา “เหมาะ” หรือ “ไม่เหมาะ” ที่จะทำสิ่งใด
3.    เหตุผลหลักของพระองค์คือเรื่องอัตรากำลัง  เมื่อมีกำลังคนน้อย พระองค์จำเป็นต้องลดขอบเขตของภารกิจลงมาให้จำกัดวงอยู่ภายในแคว้นกาลิลีก่อน แล้วค่อยขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จนครอบคลุมชนทุกชาติ ทุกภาษาในที่สุด
ในเมื่อพระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้บัญชาการผู้ปราดเปรื่อง ทรงอำนาจ และเป็นมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้  เราไม่คิดจะมอบชีวิตของเราไว้ภายใต้การบัญชาการของพระองค์ดอกหรือ ?!

5. ทั้งพูดทั้งทำ
    เมื่อจำกัดเป้าหมายของภารกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว พระเยซูเจ้าทรงกำหนดเนื้อหาของภารกิจรวม 2 ด้านด้วยกัน กล่าวคือ
1.    “จงไปประกาศว่าอาณาจักรสวรรค์ใกล้เข้ามาแล้ว” (มธ 10:7)
         จากบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย เราทราบว่า อาณาจักรสวรรค์คือสังคมบนโลกนี้ที่พระประสงค์ของพระเจ้าได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์เหมือนในสวรรค์ และผู้เดียวในโลกนี้ที่สามารถปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าได้อย่างสมบูรณ์ก็คือพระเยซูเจ้า
         เพราะฉะนั้น พระเยซูเจ้านั่นเองทรงเป็นอาณาจักรสวรรค์ และมนุษย์สามารถพบอาณาจักรสวรรค์ในโลกนี้ได้ก็โดยการคิดเหมือนพระองค์ ปรารถนาเหมือนพระองค์ และดำเนินชีวิตเหมือนพระองค์
         ดังนั้น ข่าวดีที่เราทุกคนต้องพูดและต้องประกาศก็คือ “อาณาจักรสวรรค์มาถึงโลกนี้แล้ว อย่ามัวรีรอจนถึงโลกหน้าอีกเลย”
2.    “จงรักษาคนเจ็บไข้ จงปลุกคนตายให้กลับคืนชีพ จงรักษาคนโรคเรื้อนให้สะอาด จงขับไล่ปีศาจให้ออกไป” (มธ 10:8)
        ภารกิจด้านนี้บ่งบอกว่า เราจะมัวพูดหรือประกาศข่าวดีเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องลงมือกระทำด้วย  และสิ่งที่ทรงมอบหมายให้กระทำนั้น เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ
         2.1     จงรักษาคนเจ็บไข้  ซึ่งคำกรีก “อาสเธแนโอ” (astheneo) หมายถึง “อ่อนแอ ไม่มีเรี่ยวแรง” แต่ถูกนำมาใช้เพื่อหมายถึงคนเจ็บไข้ในที่สุด
                    ภารกิจจึงไม่จำกัดเพียงรักษาคนเจ็บป่วยเท่านั้น แต่รวมไปถึงการช่วยเหลือผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอให้เข้มแข็ง มีกำลังใจ และสามารถสานต่อความตั้งใจของตนให้เป็นความจริงได้  อีกทั้งช่วยค้ำจุนและปกป้องผู้ที่หมดหนทางต่อสู้กับชีวิตแล้วอีกด้วย
        2.2     จงปลุกคนตายให้กลับคืนชีพ  บาปทำให้เราตายทั้งเป็น เพราะมันทำให้สายตาของเรามืดมัวลงจนมองไม่เห็นความดี หูอื้อจนไม่ได้ยินเสียงของพระเจ้า ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ท้อแท้ สิ้นหวัง และตกอยู่ในอุ้งมือของบาปที่เรากระทำ
                  ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของเราคือการนำพระเยซูเจ้าไปสู่ผู้ที่ตายในบาป เพราะพระองค์สามารถปลดปล่อยเขาจากอุ้งมือของบาป และทำให้เขากลับมีชีวิตใหม่ที่สดใสอีกครั้งหนึ่ง
         2.3     จงรักษาคนโรคเรื้อนให้สะอาด  คนโรคเรื้อนถือว่าสร้างมลพิษและต้องถูกขับไล่ออกจากสังคม (ลนต 13:46)
                   บาปทำให้ชีวิตของเราเปรอะเปื้อน  ยิ่งไปกว่านั้น คำพูด การกระทำ และทุกสิ่งที่ออกมาจากคนบาปล้วนก่อให้เกิดมลพิษอันอาจแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้
                   มีพระเยซูเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่สามารถชำระล้างมลพิษในตัวคนบาปอย่างเราได้  และในเวลาเดียวกันพระองค์ยังทรงเป็นเสมือนยาปฏิชีวนะหรือวัคซีนป้องกันมลพิษของบาปมิให้แพร่ระบาดมาสู่เราอีกด้วย
         2.4     จงขับไล่ปีศาจให้ออกไป  ผู้ถูกปีศาจสิงคือคนที่ตกอยู่ในอุ้งมือของอำนาจชั่วร้ายซึ่งทำให้เขาเป็นทาสของความเคยชินในบาป จนไม่สามารถเป็นนายเหนือตัวเองอีกต่อไป
                    พระเยซูเจ้าไม่เพียงสามารถยกบาปเท่านั้น แต่ยังสามารถปลดปล่อยเราจากการครอบงำของอำนาจชั่วร้าย และทำให้เราเป็นอิสระจากความเคยชินในบาปอีกด้วย
     ทั้งหมดนี้คือภารกิจสองด้านที่ต้องทั้ง “พูด” และ “ทำ” ควบคู่กันไป !!

6. ท่านได้รับมาโดยไม่เสียค่าตอบแทน ก็จงให้เขาโดยไม่รับค่าตอบแทนด้วย
คำสั่งประการนี้มิใช่เรื่องใหม่สำหรับชาวยิว พวกเขามีกฎอยู่แล้วว่า เพราะโมเสสได้รับธรรมบัญญัติจากพระเจ้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รับบีทุกคนจึงต้องสอนธรรมบัญญัติโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น
มีเพียงกรณีเดียวที่รับบีจะคิดค่าตอบแทนได้นั่นคือเมื่อสอนเด็ก เพราะการสอนเด็กถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่  หากพ่อแม่ไม่ทำหน้าที่นี้ก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ทำหน้าที่แทน
ในหนังสือ Mishnah มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า “ผู้ที่คิดค่าตอบแทนจากการทำหน้าที่ผู้พิพากษา ให้ถือว่าคำตัดสินของเขาเป็นโมฆะ  และผู้ที่คิดค่าตอบแทนจากการเป็นพยาน ให้ถือว่าคำยืนยันของเขาเป็นโมฆะ”
รับบีฮิลเลลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชาวยิวทั่วไปกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดหาผลประโยชน์จากธรรมบัญญัติ ก็ปล่อยเวลาให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์”
ดังนั้น พระเยซูเจ้าจึงมิได้เรียกร้องสิ่งใดใหม่ เพียงแต่ทรงย้ำเตือนสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่แล้ว !
ในเมื่อเราได้รับความรักและข่าวดีจากพระองค์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เราน่าจะภูมิใจและถือเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่ได้แบ่งปันความรักและข่าวดีนี้แก่ผู้อื่น “โดยไม่หวังค่าตอบแทน” !!!

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries