The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

ข่าวดี    ยอห์น 2:13-25
การชำระพระวิหาร
(13)เทศกาลปัสกาของชาวยิวใกล้จะมาถึง พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม  (14)ในบริเวณพระวิหาร พระองค์ทรงพบพ่อค้าขายโค พ่อค้าขายแกะ พ่อค้าขายนกพิราบ และคนแลกเงินนั่งอยู่ที่โต๊ะ  (15)พระองค์ทรงใช้เชือกเป็นแส้ ทรงขับไล่ทุกคนรวมทั้งแกะและโคออกจากพระวิหาร ทรงปัดเงินกระจายเกลื่อนกลาด และทรงคว่ำโต๊ะของผู้แลกเงิน  (16)แล้วตรัสแก่คนขายนกพิราบว่า “จงนำของเหล่านี้ออกไป อย่าทำบ้านของพระบิดาของเราให้เป็นตลาด”  (17)บรรดาศิษย์จึงระลึกได้ถึงคำที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “ความรักที่ข้าพเจ้ามีต่อบ้านของพระองค์เป็นเสมือนไฟที่เผาผลาญข้าพเจ้า”  (18)ชาวยิวจึงเข้ามาทูลถามพระองค์ว่า “ท่านมีเครื่องหมายอะไรแสดงให้เรารู้ว่าท่านมีอำนาจทำดังนี้”  (19)พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “จงทำลายพระวิหารนี้ แล้วเราจะสร้างขึ้นใหม่ภายในสามวัน”  (20)ชาวยิวพูดว่า “วิหารหลังนี้ต้องใช้เวลาสร้างถึงสี่สิบหกปี แล้วท่านจะสร้างขึ้นใหม่ในสามวันหรือ”  (21)แต่พระองค์กำลังตรัสถึงพระวิหารซึ่งหมายถึงพระกายของพระองค์  (22)ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายแล้ว บรรดาศิษย์จึงระลึกได้ว่าพระองค์ตรัสไว้ดังนี้ เขาจึงเชื่อทั้งพระคัมภีร์และพระวาจาที่พระองค์ตรัสไว้
(23)ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มในเทศกาลปัสกา คนจำนวนมากเชื่อในพระนามของพระองค์เพราะได้เห็นเครื่องหมายอัศจรรย์ต่าง ๆ ที่ทรงกระทำ  (24)แต่พระเยซูเจ้าไม่วางพระทัยในคนเหล่านั้น ทรงรู้จักทุกคน  (25)พระองค์ไม่ทรงปรารถนาให้ผู้ใดเป็นพยานในเรื่องมนุษย์ เพราะทรงทราบดีว่ามีสิ่งใดอยู่ในใจมนุษย์


    เทศกาลปัสกาของชาวยิวตรงกับวันที่ 15 เดือนนิสาน ซึ่งตกประมาณกลางเดือนเมษายน  ตามกฎหมาย ชาวยิวที่อาศัยอยู่ภายในรัศมี 24 กิโลเมตรจากกรุงเยรูซาเล็มต้องไปร่วมฉลองปัสกาในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม
    แม้พระเยซูเจ้าจะไม่ถูกบังคับโดยกฎหมายเพราะอยู่ไกลนอกรัศมี แต่พระองค์ก็เสด็จไปร่วมฉลองปัสกาที่กรุงเยรูซาเล็มด้วย
    สิ่งที่ดูเหมือนเป็นปัญหาสำหรับเราคือ มัทธิว มาระโก และลูกา ล้วนบันทึกตรงกันว่าพระองค์เสด็จไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อร่วมฉลองปัสกาเพียงครั้งเดียว และเป็นครั้งสุดท้ายด้วยเพราะพระองค์ถูกตรึงตายบนไม้กางเขนก็ในโอกาสปัสกานี้เอง

ส่วนยอห์นเล่าว่าพระองค์เสด็จไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อร่วมงานปัสกาอย่างน้อย 3 ครั้ง (ยน 2:13; 6:4; 11:55) งานเทศกาลอยู่เพิง 1 ครั้ง (ยน 7:2,10) งานฉลองพระวิหาร 1 ครั้ง (ยน 10:22) และงานฉลองที่ไม่ระบุชื่ออีก 1 ครั้ง (ยน 5:1)
    ความแตกต่างนี้มิได้หมายความว่าพระวรสารทั้งสี่ขัดแย้งกัน ตรงกันข้าม กลับเป็นการเสริมซึ่งกันและกันเพื่อทำให้เห็นภาพของพระเยซูเจ้าสมบูรณ์มากขึ้นโดยผ่านทางมุมมองที่ต่างกันของผู้เขียนพระวรสารแต่ละคน กล่าวคือยอห์นเน้นภารกิจของพระองค์ในกรุงเยรูซาเล็ม ส่วนผู้เขียนพระวรสารอื่น ๆ เน้นภารกิจของพระองค์ในแคว้นกาลิลี
    เหตุผลหนึ่งที่แสดงว่าไม่มีความขัดแย้งกันคือ แม้แต่มัทธิวเองยังบันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าทรงเตือนชาวกรุงเยรูซาเล็มว่า “เยรูซาเล็มเอ๋ย เยรูซาเล็ม เจ้าฆ่าประกาศก เอาหินทุ่มผู้ที่พระเจ้าทรงส่งมาพบเจ้า กี่ครั้งกี่หนแล้วที่เราอยากรวบรวมบุตรของท่านเหมือนดังแม่ไก่รวบรวมลูกไว้ใต้ปีก แต่ท่านไม่ต้องการ” (มธ 23:37)
คำ “กี่ครั้งกี่หนแล้ว” แสดงถึงความคุ้นเคยและบ่งบอกว่าพระองค์เสด็จมากรุงเยรูซาเล็มหลายครั้งแล้ว
    ภาพที่ได้คือ พระเยซูเจ้าทรงกระทำภารกิจทั่วอิสราเอล ทั้งในแคว้นกาลิลีทางเหนือ และในแคว้นยูเดียทางใต้ !
    แต่ที่เป็นปัญหาจริง ๆ คือ ยอห์นเล่าเรื่อง “การชำระพระวิหาร” ตั้งแต่เริ่มต้นภารกิจ  ส่วนพระวรสารสหทรรศน์เล่าเรื่องเดียวกันนี้ในช่วงสุดท้ายของภารกิจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่นำไปสู่การตัดสินประหารชีวิตพระองค์ (มธ 21:12,13; มก 11:15–17; ลก 19:45,46)
    เกี่ยวกับประเด็นนี้ มีความคิดเห็นหลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ บางคนถือว่ายอห์นเป็นฝ่ายถูก  บางคนประนีประนอมว่าถูกทุกฝ่ายคือมีการชำระพระวิหาร 2 ครั้ง  บางคนคิดว่ายอห์นเสียชีวิตก่อนเย็บเล่มต้นฉบับ และเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ที่เรียงหน้าผิด  ฯลฯ
    แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าพระวรสารสหทรรศน์ระบุวันได้สมเหตุสมผลมากกว่า เพราะผู้เขียนพระวรสารทั้ง 3 ท่านสนใจข้อเท็จจริงมาก  ในขณะที่ยอห์นสนใจ “ความจริง” มากกว่า “ข้อเท็จจริง”
ประกาศกมาลาคีทำนายไว้ว่า “พระเจ้าผู้ซึ่งเจ้าแสวงหานั้นจะเสด็จมายังพระวิหาร....แต่ใครจะทนอยู่ได้ในวันที่ท่านมา....เพราะว่าท่านเป็นประดุจไฟถลุงแร่ และประดุจสบู่ของช่างซักฟอก...ท่านจะชำระบุตรหลานของเลวีให้บริสุทธิ์.....แล้วเครื่องบูชาของยูดาห์และเยรูซาเล็มจะเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าดังสมัยก่อน”  (มลค 3:1-4)
คำทำนายนี้ชัดเจนว่าหมายถึงการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้า เพื่อ “ชำระพระวิหารและการถวายบูชาให้บริสุทธิ์” จะได้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้า
เมื่อมีคำทำนายนี้อยู่ในหัวใจ สิ่งที่ยอห์นสนใจคือ “พระเยซูเจ้าทรงชำระพระวิหาร” ส่วนจะชำระเมื่อใดท่านไม่สนใจ
เพราะ “การชำระพระวิหาร” นำมาสู่ “ความจริง” ที่ว่า “พระเยซูเจ้าคือพระเมสสิยาห์ ผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้า”
และยอห์นต้องการประกาศ “ความจริง” นี้ให้ทุกคนทราบตั้งแต่เริ่มต้นพระวรสาร
นี่คือวิธีคิดของยอห์น !

“พระองค์ทรงใช้เชือกเป็นแส้ ทรงขับไล่ทุกคนรวมทั้งแกะและโคออกจากพระวิหาร ทรงปัดเงินกระจายเกลื่อนกลาด และทรงคว่ำโต๊ะของผู้แลกเงิน” (ข้อ 15)
ทำไม ? ทำไมพระเยซูเจ้าจึงเกรี้ยวกราดปานนี้ ?
    ปัสกาเป็นงานฉลองสำคัญที่สุดของชาวยิว  ชาวยิวที่มีภูมิลำเนาภายในรัศมี 24 กิโลเมตรจากกรุงเยรูซาเล็มต้องไปร่วมฉลองที่พระวิหาร  ส่วนชาวยิวที่กระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ตามประเทศต่าง ๆ แม้ไม่มีข้อบังคับ แต่ทุกคนล้วนพยายามมาร่วมพิธีที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตก็ยังดี  มีการประเมินว่า บางปีมีชาวยิวจากที่ต่าง ๆ มาชุมนุมกันที่พระวิหารมากถึง 2,250,000 คน
    ชาวยิวทุกคนที่มีอายุเกิน 19 ปีขึ้นไปต้องชำระภาษีพระวิหารปีละครึ่งเชเขล ซึ่งมีมูลค่าเทียบได้กับค่าแรงงานขั้นต่ำในปัจจุบันประมาณหนึ่งวันครึ่ง  ปกติชาวยิวยอมรับเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของโรม กรีก อียิปต์ ไทระ ไซดอน รวมทั้งของปาเลสไตน์เอง  แต่การชำระภาษีพระวิหารจำเป็นต้องใช้เงินเชเขลของพระวิหาร หรือเงินเชเขลของปาเลสไตน์เท่านั้น จะใช้เงินตราต่างชาติไม่ได้เด็ดขาด
    ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราจึงเกิดขึ้น ค่าธรรมเนียมในการแลกเงินตกประมาณร้อยละ 17 ของจำนวนเงินที่ต้องการแลก มากกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายไทยอนุญาตเสียอีก
    ค่าธรรมเนียมนี้เรียกว่า kollubos (คอลลูบอส) และคนรับแลกเปลี่ยนเงินตราเรียกว่า kollubistai (คอลลูบิสไตย) ซึ่งต่อมาพฤติกรรมการเก็บค่าธรรมเนียม (คอลลูบอส) แบบมหาโหดเช่นนี้ได้กลายเป็นตัวละครกรีกที่มีชื่อเสียงคือ Kollybos (คอลลีบอส) แปลเป็นภาษาลาตินว่า Collybus (คอลลีบุส) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ Shylock (ไชลอค) ในภาษาอังกฤษ
      ไชลอค จึงดูเหมือนจะถือกำเนิดมาจากชาวยิวที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรานี้เอง !
    นอกจากเรื่องแลกเปลี่ยนเงินตราแล้ว ยังมีเรื่องค้ากำไรเกินควรอีกด้วย !
ชาวยิวมีธรรมเนียมถวายสัตว์เป็นเครื่องเผาบูชาแด่พระเจ้า  การนำสัตว์เข้ามาในพระวิหารจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ว่าสัตว์ที่จะถวายแด่พระเจ้าต้องสมบูรณ์ไม่มีที่ติ  ทางวิหารจึงแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ ค่าตรวจสอบแต่ละครั้งตกประมาณร้อยละ 25 ของค่าแรงงานขั้นต่ำหนึ่งวัน  นอกจากแพงแล้วผู้ตรวจสอบของพระวิหารยังพยายามหาเหตุทำให้สัตว์ที่ผู้จาริกแสวงบุญนำมาเองไม่ผ่านการตรวจสอบอีกด้วย
ธุรกิจค้าโค แกะ นกพิราบ ฯลฯ ภายในพระวิหารจึงเกิดขึ้น  ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นสิ่งดีเพราะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดาผู้จาริกแสวงบุญ  แต่ข้อเท็จจริงคือ ราคานกพิราบในพระวิหารสูงกว่านอกพระวิหาร 18 - 19 เท่า
    สำหรับพระเยซูเจ้าแล้ว การไร้จรรยาบรรณในการตรวจสอบสัตว์ รวมถึงการตั้งราคาขายสัตว์แบบขูดรีดขูดเนื้อเช่นนี้ แปลเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก เป็นความอยุติธรรมในสังคม เป็นการค้ากำไรเกินควร และที่สำคัญ พวกเขาทำในนามของศาสนา
พระองค์ไม่อาจนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้นมัสการพระเจ้าถูกกดขี่เช่นนี้ได้
และนี่คือสาเหตุที่ทำให้พระองค์ต้องเกรี้ยวกราด !
    นอกจากทนเห็นผู้นมัสการพระเจ้าถูกกดขี่ไม่ได้แล้ว พระเยซูเจ้ายังมีเหตุผลลึก ๆ ในการชำระพระวิหารอีกด้วย
    1.    บ้านของพระเจ้าถูกทำให้เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์  ผู้คนขาดความเคารพยำเกรงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับนมัสการพระเจ้า จนพระองค์ต้องตรัสว่า “จงนำของเหล่านี้ออกไป อย่าทำบ้านของพระบิดาของเราให้เป็นตลาด” (ข้อ 16)
        การนมัสการพระเจ้าโดยขาดความเคารพยำเกรงเป็นเรื่องน่าวิตกอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เราสักแต่ว่าสวด ร้องเพลง หรือทำพิธีกรรมทุกอย่างตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยขาดสำนึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า  หรือซ้ำร้ายกว่านั้นอีก หากผู้นำสวด ผู้นำขับร้อง หรือแม้แต่พระสงฆ์เองขาดการเตรียมตัวนมัสการพระองค์อย่างพอเพียง !
    2.    พระองค์ต้องการชี้ให้เห็นว่า “การถวายบูชาด้วยสัตว์ไม่ช่วยให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้า”  จึง “ทรงขับไล่แกะและโคออกจากพระวิหาร” (ข้อ 15)
     อันที่จริงความคิดนี้มีมาตั้งแต่พระธรรมเก่าแล้ว ดังจะเห็นได้จากคำทำนายของประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “พระเจ้าตรัสว่า เครื่องบูชาอันมากมายของเจ้านั้นจะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา....เรามิได้ปีติยินดีในเลือดของวัวผู้ หรือลูกแกะ หรือแพะผู้.... อย่านำเครื่องถวายอนิจจังมาอีกเลย.....เราทนต่อความบาปชั่วและการประชุมตามพิธีไม่ได้อีก....จงเลิกกระทำชั่ว จงฝึกกระทำดี....” (อสย 1:11-17)
    หรือตามคำของประกาศกโฮเชยาที่ว่า “ส่วนเครื่องสัตวบูชาที่ถวายแก่เรานั้น เขาถวายเนื้อและรับประทานเนื้อนั้น แต่พระเจ้ามิได้พอพระทัยในตัวเขา” (ฮชย 8:13)
        ปัจจุบันเราไม่ได้ถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาแล้ว แต่เราพยายามสรรหาออร์แกนเสียงดี ๆ กระจกสีสวย ๆ หินอ่อนจากอิตาลี เครื่องเงินเงาวับ ไม้สักแกะสลัก ฯลฯ โดยหวังว่าพระเจ้าจะทรงพอพระทัยของถวายเหล่านี้
         จริงอยู่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นของประทานจากพระเจ้า และมีคุณค่ามากเพราะช่วยให้เรายกจิตใจขึ้นหาพระองค์  แต่เมื่อใดก็ตามที่สิ่งเหล่านี้เข้ามาแทนที่ “หัวใจที่รักและอุทิศตนแด่พระเจ้า”  เมื่อนั้นเรากำลังทำให้การนมัสการพระเจ้าที่แท้จริงห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ
และสักวันหนึ่งเราคงถูกพระองค์ลงแส้เหมือนในพระวรสารวันนี้เป็นแน่ !
    3.    พระองค์ต้องการทำลายอุปสรรคที่กีดกั้นผู้แสวงหาพระเจ้า
        พระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มแบ่งเป็นสัดส่วนสำหรับคนแต่ละกลุ่ม  ชั้นนอกสุดเป็นลานสำหรับคนต่างศาสนา ถัดเข้ามาเป็นลานสำหรับผู้หญิงและเด็ก ตามด้วยลานสำหรับผู้ชาย และสำหรับพระสงฆ์ตามลำดับ  การแลกเปลี่ยนเงินตราและค้าสัตว์ทำกันที่ลานชั้นนอก จึงเต็มไปด้วยเสียงคนต่อรองราคา เสียงสัตว์ร้อง เสียงเหรียญกระทบกัน และเสียงอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคต่อคนต่างชาติต่างศาสนาที่ปรารถนาจะแสวงหาและนมัสการพระเจ้าทั้งสิ้น
        พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์มิใช่หรือว่า บ้านของเราจะได้ชื่อว่าบ้านแห่งการอธิษฐานภาวนาสำหรับนานาชาติ แต่ท่านทั้งหลายกลับมาทำให้เป็นซ่องโจร” (มก 11:17)
        เท่ากับว่าพระองค์ต้องการตำหนิบรรดาผู้มีอำนาจของพระวิหาร ที่ได้ร่วมมือกับบรรดาพ่อค้าแม่ขายในการสร้างอุปสรรคสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าถึงพระเจ้า
        ในปัจจุบัน อุปสรรคทำนองนี้ใช่ว่าจะหมดสิ้นไปเสียทีเดียว  มีบ้างไหมที่เราทำหน้าตาบอกบุญไม่รับใส่คนแปลกหน้าแปลกถิ่น  มีบ้างไหมที่เราวางมาดกีดกันราวกับว่าม้านั่งตัวนี้ หนังสือเล่มนี้ หรือแม้แต่วัดนี้เป็นสมบัติส่วนตัวของฉันคนเดียว คนอื่นห้ามแตะห้ามยุ่ง  เราเคยช่วยคนรอบข้างเปิดหนังสือสวดหรือหนังสือเพลง รวมถึงเคยแนะนำหรือช่วยเหลือผู้อื่นให้มาวัด เช่นให้โดยสารรถมาด้วยบ้างไหม ?

“จงทำลายพระวิหารนี้ แล้วเราจะสร้างขึ้นใหม่ภายในสามวัน” (ข้อ 19)
    ดังได้กล่าวแล้วว่า “การชำระพระวิหาร” ของพระเยซูเจ้าเท่ากับเป็นการเปิดเผย “ความจริง” ว่า “พระองค์คือพระเมสสิยาห์”
“ความจริง” นี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยา 2 ด้านที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
ปฏิกิริยาแรกเป็นของพวกศิษย์ที่ระลึกได้ถึงคำที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “ความรักที่ข้าพเจ้ามีต่อบ้านของพระองค์เป็นเสมือนไฟที่เผาผลาญข้าพเจ้า” (ข้อ 17)
    ข้อความนี้มาจากเพลงสดุดีที่ 69 ข้อ 9 ที่ว่า “ความร้อนใจในเรื่องพระนิเวศของพระองค์ได้ท่วมท้นข้าพระองค์.....”
ผลที่ตามมาคือพวกศิษย์เชื่อและยอมรับอย่างสนิทใจว่า “พระเยซูเจ้าคือพระเมสสิยาห์และทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า”
    ปฏิกิริยาที่สองเป็นของชาวยิว พวกเขาไม่เชื่อว่าพระองค์จะมีสิทธิ์ชำระพระวิหาร และต้องการข้อพิสูจน์  พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “จงทำลายพระวิหารนี้ แล้วเราจะสร้างขึ้นใหม่ภายในสามวัน”
    พระองค์คงได้พูดถ้อยคำทำนองนี้จริง จึงมีคนกล่าวหาพระองค์ต่อหน้ามหาสมณะคายาฟาสว่า “คนคนนี้ได้พูดว่า ‘ฉันมีอำนาจจะทำลายพระวิหารของพระเจ้า และสร้างขึ้นใหม่ได้ภายในสามวัน’”  (มธ 26:61) 
    ทำไมพระองค์จึงตรัสเช่นนี้ ?
    แน่นอนว่าพระองค์ไม่ได้หมายถึง “พระกายและการกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายของพระองค์” ดังที่ปรากฏในข้อ 21 และ 22  เพราะทั้งสองข้อนี้ยอห์นเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง  อีกทั้งความคิดเช่นนี้ย่อมไปไกลเกินกว่าชาวยิวในขณะนั้นจะเข้าใจได้  
    และแน่นอนอีกเช่นกันว่า พระองค์ไม่ได้ต้องการทำลายพระวิหารของพระเจ้าที่กรุงเยรูซาเล็มจริง ๆ  แม้จะทรงทราบล่วงหน้าแล้วว่าสักวันหนึ่งพระวิหารนี้จะถูกทำลายจนไม่มีหินเหลือซ้อนกันแม้แต่ก้อนเดียวก็ตาม
    เพื่อจะเข้าใจความคิดของพระเยซูเจ้า ให้เรานึกถึงคำสนทนาระหว่างพระองค์กับหญิงชาวสะมาเรียที่ว่า “ถึงเวลาแล้วที่ท่านทั้งหลายจะนมัสการพระบิดาเจ้าไม่ใช่เฉพาะบนภูเขาเกรีซิม หรือที่กรุงเยรูซาเล็ม แต่ผู้นมัสการแท้จริงจะนมัสการพระบิดาเจ้าด้วยจิต และตามความจริง” (ยน 4:21)
และอีกตอนหนึ่งเป็นข้อกล่าวหาต่อพระองค์ที่บันทึกไว้โดยมาระโก “เราได้ยินเขาพูดว่า “ฉันจะทำลายวิหารที่สร้างด้วยมือมนุษย์นี้ และภายในสามวัน จะสร้างขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่ง ซึ่งไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์”“  (มก 14:58)
    เราอาจสรุปได้ว่าการมนัสการที่แท้จริงตามความคิดของพระเยซูเจ้าคือ “การนมัสการด้วยจิตและตามความจริงในวิหารที่ไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์”
    เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ตรัสว่า “จงทำลายพระวิหารนี้ แล้วเราจะสร้างขึ้นใหม่ภายในสามวัน”  พระองค์ต้องการสื่อให้ทุกคนทราบว่า ทรงปรารถนาให้ “พระวิหารที่สร้างด้วยมือมนุษย์ รวมถึงพิธีกรรม และการถวายสัตวบูชาทั้งมวลจบสิ้นไป” เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่อาจนำมนุษย์กลับไปหาพระเจ้าได้
    นี่คงเป็นเนื้อหาใจความที่พระองค์ได้ตรัสกับพวกยิวจริง
    ส่วนยอห์นมองไปไกลกว่านั้น ท่านเห็นว่านี่คือคำทำนายแห่งการ “กลับคืนพระชนมชีพ”
    หลังการกลับคืนพระชนมชีพ พระเยซูเจ้าทรงทำให้โลกทั้งใบกลายเป็นวิหารของพระเจ้าที่ทุกคนสามารถนมัสการพระเจ้าอาศัยพระจิตเจ้าและตามความจริง
    พระองค์คือ “วิหารใหม่” ที่สามารถนำมนุษย์กลับไปหาพระบิดาได้
    นับจากนี้ไป นานาชาติทั่วโลกจะรู้ว่าพระเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางเรา โดยผ่านทางวิหารใหม่ซึ่งไม่ได้สร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์ แต่ด้วยพระจิตเจ้า
    พระเจ้าไม่ถูกจำกัดวงอยู่ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็มหรือใน “วัด” อีกต่อไป

ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในวัด ที่บ้าน บนถนน ที่ทำงาน หรือระหว่างพักผ่อน เรามี “วิหารใหม่” อยู่ภายในตัวเราทุกคน
วิหารใหม่นี้คือ พระเยซูคริสตเจ้าผู้กลับคืนชีพ ผู้ประทับอยู่ทั่วสกลโลก และตลอดกาล…..
หรือมีใครในพวกเราทำให้วิหารนี้กลายเป็นซ่องโจรไปเสียแล้ว ?!

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries