The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

โน้ตสำหรับการแปลในภาษาไทย

โน้ตสำหรับการแปลในภาษาไทย   

1.(1)นี่เป็นสูตรที่ใช้ในเอกสารพระสังคายนาทุกฉบับ ตลอดจนในเอกสารสำคัญอื่น ๆ  ของสมเด็จพระสันตะปาปา
-แทนคำ :  ทาสของพระเป็นเจ้า เราใช้ “เทวทาส” เพื่อความกระทัดรัด

(2)ธรรมนูญด้านการแพร่ธรรม  เราใช้แปลคำ ‘Constitutio Dogmatica’ คือธรรมนูญเกี่ยวกับพระธรรม หรือ “คำสอน”  นั่นเอง.

(3)อคาธัตถ์  (อ่าน อะคาทัด) เป็นคำที่ใช้ในหนังสืออธิบายคำสอน เป็นคำผูกขึ้นมาจาก อคาธ + อัตถ์ =  อคาธัตถ์  หมายถึงข้อความลึกซึ้งที่คนเราหยั่งไม่ถึง.  เราพิจารณาดูศัพท์ที่ใช้กันในสมัยหลัง ๆ นี้ว่า :  รหัสธรรม, รหัสยธรรม  ซึ่งแม้จะมีความหมายว่า ลี้ลับ,  ลึกซึ้ง แต่ก็ยังใช้ว่า เป็นสิ่งที่ลี้ลับสำหรับบางคน แต่ไม่ลี้ลับสำหรับอีกบางคน เช่น รหัสของตู้นิรภัย,  คนที่รู้รหัสแล้วมันไม่ลึกลับอีกต่อไป  จึงไม่อาจนำมาแปลศัพท์ ลาติน – กรีก Mysterium’ ‘Musterion ได้. เพราะศัพท์นี้ใช้ความหมายว่าเป็นอัตถ์ลึกซึ้ง  ซึ่งทีแรกเราไม่รู้ว่ามีอยู่ แต่ต่อมา เมื่อพระเป็นเจ้าโปรดไขแสดงแล้ว  เราก็ทราบว่ามีอยู่  แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร.

(4)ศักดิ์สิทธิการ  หมายความว่า “ผู้ทำความศักดิ์สิทธิ์”  เรานำศัพท์ใหม่นี้มาใช้แทนคำ “ศีลศักดิ์สิทธิ์”  ซึ่งเป็นคำใช้กันมาแต่โบราณ  เราจำใจต้องเปลี่ยน  เพราะมิฉะนั้นจะไม่มีใครเข้าใจความหมายของเอกสารในที่นี้  ที่ว่า  “พระศาสนจักรเป็นประหนึ่งศีลศักดิ์สิทธิ์”  ศีลศักดิ์สิทธิ์ =  บัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์, แต่ศัพท์ลาติน  Sacramantum หมายความถึงเครื่องหมายชี้แสดง  ทั้งเป็นเครื่องมือผลิตพระหรรษทาน. เราเห็นคำว่า “ศักดิ์สิทธิ์” ที่คริสตังเราใช้มาแต่โบราณ หมายถึงความดีบริบูรณ์, ความครบครัน  จึงคิดว่าหากจะเปลี่ยนจากศีลศักดิ์สิทธิ์มาเป็นศักดิ์สิทธิการ คงจะยอมรับกันได้ง่ายขึ้น  ฉะนั้นในเอกสารฉบับนี้เราใช้คำศักดิ์สิทธิการ แทนคำศีลศักดิ์สิทธิ์ตลอดทั้งเล่ม.  แต่ขอพูดความจริงอย่างเปิดอก เราเองก็ไม่สู้ชอบคำ  “ศักดิ์สิทธิ์”  ในความหมายดังกล่าว  เพราะทั่ว ๆ ไป  ใคร ๆ ก็ใช้คำ “ศักดิ์สิทธิ์” ในความหมายว่า  “ขลัง”  หรือที่ทำให้เกิดอัศจรรย์มาก ๆ ตรงกับคำฝรั่งลาตินว่า  Miraculosum ที่สุด หากจะแยกแยะคำ “ศักดิ์สิทธิ์” นี้  ไปจนถึงธาตุของศัพท์ก็เห็นว่า  ประกอบขึ้นด้วยคำ  2 คำ คือ  - ศักดิ  ส.  แปลว่า  อำนาจ และคำว่า สิทธิ  ที่เรานำมาใช้ว่า  : มีอำนาจที่จะทำ จะใช้โดยไม่ผิดความยุติธรรม.  คำที่เหมาะกว่าและควรนำมาใช้แทนคำ  Sacramentum เราเห็นว่าควรเป็นคำ  “วิสุทธิการ”  เป็นอย่างยิ่ง.

(5)นักบุญปิตาจารย์ (ปิตุ – อาจารย์) คำนี้เราใช้เรียกนักบุญอาจารย์พระศาสนาในสมัยโบราณ ซึ่งภาษาลาตินเรียกว่า  Sancti Patres.  ส่วน  “พระบิดร” เราใช้เรียกองค์สมาชิกในสภาพระสังคายนา, ลาตินเรียกว่า  Patres  โดด ๆ
3.(6)ราชัย =  Regnum  เป็นธาตุเดียวกันในภาษาอินเดีย – ยุโรป ทั้งเป็นคำบันทึกอยู่ในพจนานุกรมของทางการด้วย เรายอมรับว่าธาตุของคำนี้ในภาษาสันสกฤตไม่น่าจะออกมาในรูปราชัยเพราะ  ส.  เป็น  ราช.ย,  มันก็เช่นเดียวกับ มาล.ย  ภาษาไทยเรามาเป็นมาลัย.  อนึ่งคำ “ราชัย”  นี้ คริสตังเราก็ใช้มาจนติดปากแล้ว  : ตรงกับภาษายุโรป, สั้นและกระทัดรัดดี ทำไมจะต้องมาเปลี่ยนเป็น  “อาณาจักร”  ซึ่งส่งกลิ่นเป็นภาษาทางโลกมากกว่าภาษาทางศาสนา.

(7)สวามี =  Dominus.  เรามาถึงคำที่ถกเถียงกัน และเป็นที่รังเกียจของหลาย ๆ ท่าน.  ขออนุญาตพูดถึงเรื่องนี้ให้กว้างขวางสักหน่อย. ครั้งแรกราว  60  กว่าปีมาแล้ว  ข้าพเจ้าได้พบคำนี้ในบทภาวนาก่อนรับศีลมหาสนิทว่า :  “ข้าแต่พระสวามีเจ้า ข้าพเจ้าไม่สมไม่ควรที่จะรับพระองค์เสด็จเข้ามาในดวงใจของข้าพเจ้า  แต่โปรดตรัสแต่พระวาจาเดียว และวิญญาโณจิตต์ของข้าพเจ้าก็จะสะอาดบริสุทธิ์ไป”  ข้าพเจ้าเคยรู้สึกสะดุดใจและเคยพูดกับ  ฯพณฯ อ่อน   ประคองจิตต์ ท่านและข้าพเจ้าต่างก็เห็นพ้องกัน นึกชมคนที่นำคำนี้มาใช้ (ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร.) ครั้งเปิดปทานุกรมก็พบว่า  : สวามิ, สวามี  ส.น.เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย, ผัว, เจ้าของหญิงใช้สวามินี. เมื่อเปิดดู  Pali  English Dictionary ของ  T.W.  Rhys  Davids  ซึ่งถือกันว่าเป็น Dictionary ที่ดีที่สุดของสมัยนี้ก็พบว่า :  Samin  (cp.  Sk. Savamin, Sva  = Sa 4 ) 1. Owner, Ruler, Lord,  Master  ธาตุ  สวาสา,  ตรงกับธาตุ  ลาติน Sui, Suus ซึ่งการแสดงการเป็นเจ้าของ. ภาษาไทยเราจึงมีคำ  สามิภักดิ์  = ความรักต่อเจ้านาย  สรรพสามิต แปลว่าอะไรหากไม่แปลว่า หลวงเป็นเจ้าของสรรพสิ่ง. ต่อภายหลังเมื่อมีเจ้านายต่างประเทศมาเยี่ยมประเทศไทย  นักหนังสือพิมพ์จึงแทนจะใช้คำ  สามี  ก็ใช้คำ สวามี  (แบบสันสกฤต)  เฉพาะอย่างยิ่งแทน Prince Cinsort. แม้  บ.ส.  จะใช้ในใจความนี้ด้วย  ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นแปลกอะไร เพราะคำพระสวามีนี้ เราใช้แทนพระเยซูเจ้าเป็นต้น แทนพระบิดาก็มีบ้าง.  พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระสามี (สวามี)  ทางวิญญาณของเราอยู่แล้ว. - -  โปรดอย่าแปลกใจที่คำในภาษาต่าง ๆ ค่อย ๆ เลือนไป  มีความหมายต่างออกไป  ชาวอินเดียเขาถือว่าสามีเป็นนายของภรรยา. ภาษายุโรป  กลุ่มภาษาโรมาน  ใช้ศัพท์แทน Dominus  ว่า ;  Seigneur, Signor Senor  ซึ่งมาจากภาษาลาติน  Senior  แปลว่า  “ผู้มีอายุสูงกว่า” (กระทั่งคำ Sir, Sire ก็มาจากคำลาตินนี้.)  คำอังกฤษใช้คำว่า  Lord  ท่านทราบไหมว่า คำนี้มาจากไหน. Skeat  ใน  Concise Etymological Dictionar  of  the English  Language

       เขียนว่า  : Lord,  a master (E.) ‘Lit Loaf – keeper’.  ขอยกตัวอย่างขำ ๆ เรื่องหนึ่ง. พระสันตะปาปา  ปีโอที่ 12 คราวเมื่อทรงตำแหน่งเป็น  พระเอกอัครสมณทูตที่กรุงเบอร์ลิน ขณะจะต้องจากหน้าที่  เพราะคุ้นเคยกับทูตฝรั่งเศสจึงได้ไปอำลา เมื่อได้สนทนาวิสาสะกันพอสมควรแล้ว  ท่านก็ลากลับ  ผ่านลูกชายของท่านทูตที่มีอายุ 4-5  ขวบ เด็กคนนั้นก็พูดกับท่านว่า  ‘Au revoir mon  Vieux’  ท่านทูตกับภรรยาหน้าซีดยืนตัวแข็ง  แต่ค่อยอุ่นใจขึ้น  เมื่อพระสมณทูตทำเฉย   เดินไปขึ้นรถ.     ท่านอยากทราบไหม เด็กลูกทูตนั้นพูดว่าอะไร ? พูดว่า “ลาก่อนอ้ายแก่” =  อ้ายเพื่อนยาก ซึ่งเป็นภาษาทหาร.  ท่านจึงเห็นแล้วในภาษาฝรั่งเศส จาก  ล.  Senior  มาเป็น  Seigneur,  Monsieur, Sire และวกกลับอีกที มาเป็น Vieux  ทำไมภาษาไทยของเรา จะมีภาษาทางศาสนา เหมือนภาษาอื่นเขาบ้างไม่ได้ ?

(8)สดุดีบูชา =  Eucharistia คำลาติน – กรีกคำนี้  ในหนังสือคำอธิบายคำสอนใช้ว่า  “สุหรรษทาน” ซึ่งมีความหมายว่าพระหรรษทานอันดี, อันประเสริฐ. แต่ศัพท์ลาติน – กรีกนั้น เขาใช้ความหมายถึง  การขอบคุณ ข้าพเจ้าจึงค้น  Dictionary  Pali – English  ของ A.P.Buddhatta  Mahathera ก็พบคำบาลีที่ถูกใจคือคำ  ถูติปูชา  แปลว่า  “การถวายคำชมเชย,  คำขอบคุณ” แต่คำนี้ไม่คุ้นหูคนไทย บ.ถูติ – ส.สตุติ ข้าพเจ้าจึงเปลี่ยนให้พอฟังได้ในภาษาไทย  = สดุดีบูชา.

สังเกต :  ขอให้คงรักษาลำดับสดุดีบูชาไว้เสมอ อย่าเปลี่ยนเป็นสดุดีบูชา ทั้งนี้เพราะว่าสดุดีบูชานี้อาจเป็นบูชาถึง  4 อย่าง  คือ บูชาสรรเสริญ,  บูชาวอนขอพระคุณ,  บูชาขอบพระคุณ และ  บูชาขอขมาโทษ

 

 4.(9)พระฐานานุกรม  = Hierarchia (= หัวหน้าศักดิ์สิทธิ์) คือลำดับหลั่นชั้น  ของผู้ปกครองพระศาสนจักร ซึ่งลำดับแต่เล็กไปหาใหญ่ มีดังนี้ 1. สังฆานุกร  (Diaconus)  2.  พระสงฆ์ (Presbyter)  3.  พระสังฆราช  (Episcopus)

(10)พิเศษพร  (อ่าน พิ - เส - สะ – พร) โปรดรักษาลำดับคำ (อย่าเป็นเป็นพรพิเศษ)  คือพระคุณพิเศษ  เรานำมาใช้แทนคำกรีก  : Charisma,  ศัพท์เฉพาะ.

6.(11)ประภาษก  = Propheta ข้าพเจ้าอยากให้ใช้ประภาษก  ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งภาษาลาติน ทั้งภาษากรีก ทั้งภาษาไทย  ละม้ายคล้ายกัน  ทั้งทางธาตุ ทั้งทางอุปสรรค.  ส่วนคำ  ประกาศก นั้น ขอสงวนไว้ใช้แทน  Missionary – ผู้ไปเผยแพร่พระศาสนจักรในต่างประเทศ. คำ ธรรมทูต  น่าจะเก็บไว้ใช้แทนพระสงฆ์ที่ไปเทศนาสั่งสอนในต่างถิ่น  ที่อยู่ในประเทศของตนเอง.  ดังนี้จึงเห็นว่า  ภาษาไทยของเรามีคำมากพอสมควร ไม่แพ้ภาษาอื่น.
(12)พระอัยกา (อ่าน  ไอ – ยะ – กา) =  Patriarcha  หัวหน้าของเผ่า  ทีแรกหมายถึงบรรพบุรุษของชนชาติอิสราเอล,  ทางพระศาสนจักรของเรายังหมายถึงพระสังฆราชผู้ใหญ่ เป็นหัวหน้าแคว้น จนกระทั่งเป็นประมุขของพระศานจักร  จารีตใดจารีตหนึ่ง เช่นเราพูดว่า  พระอัยกาแห่งคอนสตันติโนเปิ้ล
(13)นักบุญปิตาจารย์  ดูเลข (5)  ในข้อ 2

(14)เจ้าสาว  ข้าพเจ้าเห็นว่าง่ายดี ใช้แทนคำ Sponsa =  หญิงสาวที่หมั้นแล้ว.  ยังมีคำอื่นที่เหมาะกว่า เช่น “วนิดา,  พนิดา”  ซึ่งพจนานุกรมให้คำจำกัดความว่า  : นาง, หญิงที่รัก,  หญิงที่สู่ขอแล้ว. ยังมีอีกคำหนึ่งคือ “วธู,  พธู”  ม.ส.น. หญิงสาวเจ้าสาว,  เมีย, ซึ่งตางกับคำ Sponsa  เป็นอย่างยิ่ง.  เท่าที่กล่าวมา  จะเห็นว่า ภาษาไทยของเรา  มีคำใช้มากมายเพียงแต่เป็นหน้าที่ของเราที่จะเลือกเฟ้น และกำหนดเจาะจงกับภาษายุโรป เราก็จะได้คำที่เหมาะสม
7.(15)อคาธกาย = Corpus Mysticum  หมายความถึงร่างกายอันลึกล้ำ บางทีเรียกว่าร่างกายทิพย์
อคาธ ดูเลข  (3)

(16)สัตว์โลก =  Creatura  – สิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้น.  สิ่งสร้าง ก็เรียก.
(17)พิเศษพร  = Charisma คือพรหรือทานอันพิเศษ (ผิดปกติ)  เช่น  การทำให้คนไข้หายโรคในทันทีทันใด,  การปลุกผู้ตายให้คืนชีพ  (โปรดดูเลข (10) ด้วย)

8.(18)พระวจนาตถ์ (จาก วจน + อัตถ์) ใช้แทนคำลาติน  Verbum  หรือศัพท์รากกรีก  Logos.  ศัพท์วจนาตถ์  บางท่านเขียน วจนารถ แต่ศัพท์ นารถ หาไม่พบ  มีแต่ นารท ซึ่งอ่านนาระทะ หรือนารด.  หากจะเขียน  วจนาถ ข้าพเจ้าเห็นว่าพอทำได้  เพราะเท่ากับ  วจน + นาถ โดยตัดตัว  น.  ออกเสียตัวหนึ่ง ซึ่งไม่ผิดหลักของภาษาบาลี – สันสกฤต  และไทย  และถ้าเขียน วจนาถ  ก็ต้องแปลว่า : วาจาเป็นที่พึ่ง

(19)สหพันธ์ = Communio เราใช้กันในบทข้าพเจ้าเชื่อถึงสหพันธ์นักบุญ = Communio Sanctorum
9.(20)เมสไซอะห์  = Messias, ศัพท์มาจากภาษาฮีบรู, ลาติน  : Unctus,  กรีก  Christos  คือพระคริสตเจ้าของเรานั่นเอง

10.(21)พระสงฆ์ :  ไม่ใช่เราไม่รู้ว่าศัพท์สงฆ์มาจากธาตุ  ส ซึ่งแปลว่า คณะ, หมู่, ประชุม แต่เราคริสตังนำศัพท์นี้มาใช้นานกาเล  จนกลายเป็นภาษาของเราแล้ว  ทั้งนี้แทนศัพท์ลาติน  Sacerdos  ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ Sacrificator แปลว่า ผู้ทำสิ่งศักดิ์สิทธิ์, ผู้ทำบูชา  ตำแหน่งหน้าที่ของ Sacerdos หรือความเป็น Sacerdos ลาตินว่า Sacerdotium  เราใช้ว่า สังฆภาพ

11.(22)ศักดิ์สิทธิการแห่งพละกำลัง  = Confirmatio  ซึ่งเคยใช้กันว่า  ศีลกำลัง

(23)ศักดิ์สิทธิการ – อภัยบาป คือ  “ศีลแก้บาป” พูดตรง ๆ ข้าพเจ้าไม่ชอบคำพูดว่า  “อภัยบาป” เพราะดูเหมือนมันบ่งว่า : ไม่ได้ยกบาปออกไป  เพียงแต่โทษ หรืออภัยของเรานั้นยกให้  ความคิดเช่นนี้ผิดต่อความเชื่อของเราคริสตัง

(24)ศักดิ์สิทธิการ – เจิมคนไข้ =  Ultima  Unctio

(25)ศักดิ์สิทธิการ – อนุกรม  = Ordo

(26)ศักดิ์สิทธิการ – สมรส  = Matrimonium  คำ  “สมรส”  อีกคำข้าพเจ้าไม่ชอบ เพราะรู้สึกมันมีกลิ่นชอบกล สำหรับเรียกศักดิ์สิทธิการของเรา

12.(27)ทิศทางแห่งความเชื่อ =  Sensus  Fidei แม้คำนี้ไม่มีอยู่ในเลข 12 แต่เนื้อความเป็นเช่นนั้น และเราจะพบคำนี้ในเลขอื่น ๆ ข้าพเจ้าจึงให้คำนี้เสียเลย ที่จริงกว่าจะพบคำนี้ ข้าพเจ้าต้องคิดกลับไปกลับมาหลายตลบ

(28)อาจาริยานุภาพ  = Magisterium  หมายถึง อำนาจทางการสั่งสอนของพระศาสนจักร คำ “อาจาริยานุภาพ”  ผูกขึ้นด้วย  อาจารย์ + อานุภาพ,  อานุภาพเป็นคำบาลี ข้าพเจ้าก็อยากจะผูกพันกับคำอาจาริย บ. ให้เหมือน ๆ กัน แต่เพื่อให้คนไทยอ่านง่าย จึงเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อยเป็น อาจาริยานุภาพ

13.(29)ความเป็นประมุขเอก =  Primatus  หรือ  ถ้าชอบศัพท์ทางวิชาการ หรือ ทางเทคนิคจะใช้ ปฐมภาวะ  ก็ได้

(30)อาสนะของท่านเปโตร  = Cathedra Petri

14.(31)พระกิตติ  (บ. กิตติ ส. กีรติ)  เป็นคำที่ใช้ในหนังสืออธิบายคำสอน. ศัพท์  บ. กิตติ  เราเคยใช้ กิตติศัพท์ แปลว่า  คำเล่าลือต่อ ๆ กันมา. ศัพท์  กีรติ เราเคยใช้เรียกชื่อเรื่อง รามายณะ  เป็นภาษาไทยว่า  รามเกียรติ์ ถ้าจะแปลเป็นไทยก็ว่า  เกียรติประวัติของพระราม.  ขอยอมรับว่ามันไม่สู้จะตรงนักกับคำ Tradition  ซึ่งหมายถึงคำพูด  และขนบประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ฉะนั้น ถ้าท่านชอบคำของ  ท่านพุทธทัตตะ ชาวศรีลังกา  ผู้ที่ข้าพเจ้าได้ออกนามมาแล้ว …., Traditional Teaching ท่านแปลเป็นบาลีว่า : Vacanamagga (วาจนามัคค์)

(32)โครงสร้าง  ใช้แทนศัพท์ลาติน  Compago ซึ่งหมายความถึง  การนำเอาหลาย ๆ สิ่งมารวมประกอบกันเข้าให้เป็นหนึ่งหน่วย.

(33)คริสตชนสำรอง หรือ คริสตังสำรอง =  Catechumeni

15.(34)หมู่  = Communitas,  Community หมู่ เป็นคำไทยที่ชรามาก แต่ในภาคอีสานยังใช้กันอยู่ทั่วไป ข้าพเจ้าเห็นว่าคำ “หมู่” โดด ๆ เหมาะที่สุดจะใช้แทน  Communitas  โดยไม่จำเป็นต้องเสริมคำ “หมู่เหล่า,  หมู่คณะ” ให้รุ่มร่าม.

16.(35)มิสซัง  = Missio =  เขตหรือพนักงานแพร่ธรรม  เป็นคำที่ใช้กันมาแต่โบราณ.

18.(36)ศาสนบริการ  = Ministerium
ศาสนบริกร  = Minister

20.(37)สังฆานุกร เป็นคำที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่

อนุกร  = ผู้ทำทีหลัง, ผู้ช่วย  รวมความสังฆานุกร  คือ ผู้ช่วยพระสงฆ์ =  Diaconus

21.(38)Episcopatus =  ตำแหน่งพระสังฆราช,  เมื่อ Episcopus  เราใช้คำพระสังฆราช  ตำแหน่งของท่านเราจึงว่า สังฆราชภาพ

(38 ทวิ) ผู้มีศรัทธา =  ผู้มีความเชื่อ  หลาย ๆ ท่านคงรู้สึกฉงนว่า ทำไมข้าพเจ้าอ้างเช่นนี้  เป็นความจริงว่า ผู้มีศรัทธา  ภาษาไทย - Credens ภาษาลาติน. และคนไทยก็ใช้คำนี้ในใจความเดียวกัน เช่น เรื่องนี้ฉันไม่เห็นศรัทธา  = ฉันไม่เชื่อ. โปรดดู Dictionnaire Etymlogue  Latin Michel Breal  et  Angatole  Bailly  ตรงกับคำ  Credo.  เขาพยายามค้นหาธาตุของ Credo ที่สุดเขามาพบว่าเป็นคำ ๆ เดียวกันกับคำภาษาสันสกฤตว่า Craddhami (= ศรัทธามิ) เขาบอกว่าน่าแปลกใจเหลือเกิน  ที่คำสันสกฤต  2 คำ ผูกรวมกันแล้วมาตกอยู่ในภาษายุโรป คือคำ  Crad + DO =  ศรัท + ธามิ ซึ่งตามธาตุแปลว่า  ฉันวาง  (=  มอบ)  ดวงใจให้แก่ … ขอผ่านไปไม่แยกคำละคำ,  อักษรละอักษร  เพราะจะยืดยาวไป และ  อาจยุ่งยากสำหรับบางท่านได้  ถ้าท่านอยากทราบว่าทำไมตัว “ศ”  ของเราจึงกลายเป็น  ‘C’ ลาตินได้ ขอโปรดค้นดู  Dictionnary เล่มชั้นนำที่คำ  Satem และ  Kentum  ท่านก็อาจจะเข้าใจได้ง่าย.

(39)พระสมณะสูงสุด  คือพระสันตะปาปา ลาตินว่า Summus Pontifex หรือ Pontifex Maximus  ศัพท์ลาติน  Pontifex  = ผู้สร้างสะพาน, เข้าใจว่า  สมณะผู้ใหญ่ในโบราณกาล เคยมีอาชีพเป็นผู้สร้างสะพาน.
(40)กลุ่มชุมนุม  = Congregatio
หมู่ชมรม =  Communitas  ดู  (34)  ด้วย
คณะ  = Collegium  ดู  (80)  ด้วย

(41)ประสาท – ให้,  ยินดีให้, ข้าพเจ้านำคำ “ประสาท” มาใช้แทนคำ ‘Conferre’ ซึ่งคริสตังเราแต่โบราณมา ใช้คำว่า  “โปรด”  เช่น  “โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โปรดพระคุณ,”

(42)คณะ  Colleglum ดู (80) ด้วย

22.(43)ทำเนียบ (แผลงจากเทียบ) -  แบบแผนที่จัดขึ้นเป็นระเบียบ.  ตรงนี้เทียบเท่า ‘Corpus’ “โครงร่าง”
(44)ปฐมภาวะ  แปลคำ Primatus ดู (29) ด้วย

(45)เอกสิทธิ์  = Praerogativa
23.(46)อำนาจอาชญาสิทธิ์  = Juridictio
หมายเหตุ :  คำภาษากฎหมาย  ในหนังสือเล่มนี้มีมากข้าพเจ้าแปลอย่าง "ขอไปที" ควรที่ผู้รู้กฎหมายไทย  จะนำคำไทยมาเทียบและกำหนดเจาะจงลงไป  ให้ใช้คำนั้น ๆ ตรงกับคำนั้น ๆ
(47)สภาพระสังฆราช  : ในเอกสารลาตินฉบับนี้ ใช้คำว่า Coetus Episcopalis  แต่ชาวยุโรปทั่ว ๆ ไป  ใช้อีกศัพท์หนึ่งว่า  Conferentia Episcopalis
25.(48)วิวรณ์  (ปทานุกรมหน้า 684) : การเปิด การเผยแพร่,  การชี้, การแสดง, การไขความ. เป็นคำที่พระคริสตธรรมปรอเตสตันต์ นำมาใช้แต่โบราณแทนคำกรีก Apokalypsis  คำนี้ตรงกันทีเดียวกับศัพท์ลาติน Revelatio  Velare  จาก Velum  จึงแปลว่า เอาผ้ามาคลุม – ปิด.  อุปสรรค re – ตรงกับอุปสรรคบาลี – สันสกฤต :วิ,  นิส,  อา. ความหมายก็อย่างเดียวกัน  คือ บ่งความตรงข้าม ฉะนั้น Revelare จึงแปลว่า  เอาผ้าคลุมออก,  เปิด คำวิวรณ์ก็เช่นกัน  มาจากธาตุ ส. วฤ 1 – ปิด,  ปัดป้อง (สังเกต  วฤ 2 - คัดเลือก ซึ่งภาษาไทยใช้มาก  เช่น  วร  (สระขั้นคูณ), พระ, บวร  (=  ปวร). เมื่อวรณ – การปกปิดใส่อุปสรรค  เป็นวิวรณ์  จึงเป็นการเปิด, การไขแสดง. คำที่ตรงกันอย่างพอดิบพอดีอย่างนี้ช่างหาได้ยากจริง ๆ.
(49)พระคลังของฝาก  = Depositum.
(50)Corpus =  กาย,  ร่างกาย น่าจะใช้ องค์กร – ผู้กระทำเรือนร่าง.
26.(51)อัครสาวกมัย =  Apostolicus มีความเป็นของอัครสาวก, สืบมาจากอัครสาวก.
(52)ราชสังฆภาพ =  Regale  Sacerdotium
(53)ศักดิ์สิทธิการพละกำลัง =  ศีลกำลัง
27. (54)ประมุข หัวหน้า  : Antistes,  Antistites  : ตามธาตุศัพท์ =  ผู้ยืนอยู่ข้างหน้า, ผู้อยู่หัว,  หมายถึงหัวหน้านั่นเอง.
28.(55)สังฆานุกร =  Diaconus
(56)สมณภาพ =  Pontificatus  ตำแหน่งพระสังฆราช
(56 ทวิ) Hendiadys ในหนังสือเอกสารนี้ และโดยทั่วไปในหนังสือวรรณคดียุโรป  อย่างน้อยกลุ่มภาษาลาติน – กรีก  เขามีทำนองพูด (Figure) อย่างหนึ่งที่เรียกภาษากรีกว่า  ‘Hendia Dyoin’ แปลคำละคำก็ว่า “หนึ่งในสอง” คือเขาใช้คำนาม 2  คำผูกด้วยสันธาน และแทนที่จะใช้คำนามคำเดียวกันผูกคำขยาย,  เขาทำเช่นนี้เพื่อว่าเน้นความเช่นตรงนี้  เขาว่า  : ด้วยชีวิตและด้วยความจริง,  แทนที่จะเขียน “ด้วยชีวิตอันจริงจัง”  ในเอกสารนี้พบหลายแห่งและจะพบต่อไปอีก  จึงขอให้ผู้อ่านสังเกตไว้.
(57)สังฆานุภาพ =  Diaconatus  = ภาวะของการเป็นสังฆานุกร
30.(58)ฆราวาส  (บ. ฆร + อาวาส) ตามศัพท์แปลว่า : ที่อยู่, เรือน  แต่ตามความเข้าใจของคนไทย  หมายความว่า ถึง : ผู้ครองเรือน, หรือ ผู้มีเหย้าเรือน เป็นคำตรงกันข้ากับอาวาสิก – พระ,  เราใช้คำฆราวาสนี้ แทนศัพท์ลาติน Laicus, กรีก (Laikos) แปลว่า ของหรือสิ่งที่เกี่ยวกับพลเรือน ตรงข้ามกับศัพท์ Clericus = ของสงฆ์, ของพระ.
(59)นักบวช เราใช้คำนี้  หมายถึงผู้ใฝ่ใจถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า  = Religiosi, บางครั้งยังใช้คำ “นักบวช” ยังใช้หมายถึงผู้ได้รับศักดิ์สิทธิการ – อนุกรมขั้นต่ำ (อนุกรมน้อย) ด้วย =  Clerici
(60)ผู้ครองสมณเพส  หมายถึง ผู้เกี่ยวข้องกับการที่เป็นพระ (= พระสงฆ์). สมณเพส = Clerus (ผู้ครองสมณเพส =  Clericus)
(61)ศาสนบริกร  ใช้แทนศัพท์ Pastor,  Pastores, โดยมากข้าพเจ้าใช้ว่า ชุมพาบาล
33.(62)การแพร่ธรรม =  Apostolatus
34.(63)วิสาสะ  (บ. วิสสาส, ส. วิศวาส) – ความคุ้นเคย,  ความสนิทสนม,  ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะจะแปลลาติน  Conversatio.
35.(64)Sensus  Fidei ดูเลข  (27)
36.(65)อิสรเสรี  (=  อิสสร + เสรี) อิสสร. บ., ส. อิศวร =  ความเป็นเจ้าเป็นนาย ไทย : ความเป็นไทแก่ตัวเอง. ส่วนเสรี  บ.  (ส. ไสวริน  จาก สว + อีร์) ตามศัพท์แปลว่า ไปไหนได้ตามอำเภอใจ,  เอาแต่ใจ  ข้าพเจ้าเห็นว่าพอและเกินเลยสำหรับแปลคำลาติน Libertas
37.(66)เจ้าหน้าที่ศาสนบริการ =  Sacri Pastores
42. (67)Martyrium  ภาวะการเป็นมรษสักขี,  ท่านชอบมรณสักขี,  ภาวะไหม ?
สังเกต :  คำ  Martyr, ศัพท์ลาติน – กรีกแปลว่า  พยานจากธาตุ Smr. สมฤ, Lit  ตามอักษรแปลว่าผู้ระลึกถึง,  ผู้ทำให้ระลึกถึง,  ผู้ประกาศชี้แจง. – คำธาตุนี้ภาษาไทยของเราก็มี คือ  สมร (Smara)  ซึ่งแปลว่า  คนที่เราคิดถึง, เลยกลายเป็นสาวงาม,  สาวรัก, - ระวังอย่าไปปนคำ  สมร Sa – mara  กับคำสมรภูมิ  (Samara – Fhumi)  คำนี้มาจากธาตุ  Mr, มฤ,  แปลว่าตาย.  ฉะนั้น  สมรภูมิจึงแปลว่า  สถานที่ตายร่วมกัน. – แต่ไหนแต่ไรมาเราเคยใช้ทับศัพท์ มาร์ตีร์ อยู่เสมอ,  ต่อมาผู้ที่ไม่ชอบ ประดิษฐ์คำขึ้นใหม่ว่า  มรณสักขี  (มรณ – ความตาย  ตามธาตุ มฤ ที่กล่าวข้างบน กับคำ  สักขี – พยาน. ภาษา บ. (ส. สากษิณ)  ผู้ประดิษฐ์คงอยากจะให้เข้าใจว่า :  มรณสักขี  = เป็นพยานจนกระทั่งยอมตาย  แต่ตามรูปศัพท์ของภาษา ใคร ๆ ก็แปลว่าพยานของความตาย จึงมีผู้เปลี่ยนใหม่อีกว่า  มาระตี, อ่านง่ายเสียงคล้ายคำ มาร์ตีร์ แต่เขียนอย่างนี้ผู้รู้ก็ต้องแปลว่า “ผู้ตายแล้ว” - ระหว่างที่ยังไม่มีคำใหม่,  ข้าพเจ้าก็ขอเขียน มรณสักขีไปก่อน.
43.(68)Religiosi =  นักบวช  ดูเลข (59)
45.(69)อภิสิทธิ์อันดับหนึ่ง  หรือ  ปฐมภาวะ =  Primatus  ดูเลข (44)
(70)สมณะผู้ปกครองท้องถิ่น  = Ordinarius Loci
50.(71)มรณสักขี  = Martyr ดูเลข  (67)
53.(72)พระเทวบุตร  = ลูกของพระเป็นเจ้า
54.(73)การทรงรับเป็นมนุษย์ หรือ ทรงรับเอาเนื้อหนัง เป็นการแปลคำ Incarnatio ตรง ๆ
55.(74)พระกิตติ  = Traditio ดูเลข  (31)
(75)Revelatio  พระวิวรณ์ หรือ การไขแสดง  ดูเลข (48)
56.(76)Annuntiatio เทวทูตแจ้งสาสน์, การรับสาส์นจากเทวทูต.
(77)Incarnatio การมารับเอาเนื้อหนัง,  การมาเป็นมนุษย์
(78)Collegialitas  หมายความว่า การเป็นคณะของบรรดาพระสังฆราชทั้งหลาย –  เราใช้ศัพท์สั้น ๆ ว่า คณะ  ดูเลข  (42)  และ (80) ด้วย
(79)Revelatio  พระวิวรณ์ ดูเลข  (48)
(80)Collegium  ความเป็นคณะของบรรดาพระสังฆราชทั้งหลาย เราใช้คำแทนสั้น ๆ ว่า  คณะ
สังเกต ข้าพเจ้าเคยได้ยินแก่วัดกุฎีจีน   เรียกสามเณราลัยว่า “กุเหล่” ข้าพเจ้าคิดว่าคำ กุเหล่  หมายถึง “Collegium”  นี่เอง

แถลงการณ์
(81)Liceitas สามีจิภาวะ -  การมีสิทธิ์ทำได้  โดยไม่มีความผิด
(82)Validitas  อโมฆภาวะ  คือ ความเป็นไปโดยไม่เป็นโมฆะ

หมายเหตุ :  เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ  2 คำหลังนี้  เป็นคำกฎหมายอย่างเอกอุ  ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาจะบังคับใครให้ใช้ ควรเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ  (ที่จะตั้งขึ้น) อนึ่งหากมีคำใช้ในกฎหมายไทย ที่เหมาะสม ก็ควรใช้คำในกฎหมายไทยของเรา.

 

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries