The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา

คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา


11. เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆที่มีความเป็นอยู่เป็นผลงานของพระตรีเอกภาพอาศัยพระวาจา เราก็เข้าใจถ้อยคำของผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรูที่ว่า “ในอดีต พระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราโดยทางประกาศกหลายวาระและหลายวิธี ครั้นสมัยนี้เป็นวาระสุดท้าย พระองค์ตรัสกับเราโดยทางพระบุตร พระเจ้าทรงสถาปนาพระบุตรให้เป็นทายาทครอบครองทุกสิ่ง พระองค์ทรงสร้างจักรวาลเดชะพระบุตรนี้” (ฮบ 1:1-2) ช่างงดงามยิ่งเมื่อเห็นว่าพันธสัญญาเดิมทั้งหมดเป็นประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าทรงใช้สื่อสารกับเราด้วยพระวาจา “พระองค์ทรงทำพันธสัญญากับอับราฮัม (เทียบ ปฐก 25:18) และกับชนชาติอิสราเอลโดยทางโมเสส (เทียบ อพย 24:8) พระองค์ทรงแสดงพระองค์ด้วยพระวาจาและด้วยกิจการให้ประชากรที่ทรงได้มานั้นรู้ว่า ทรงเป็นพระเจ้าแท้และทรงชีวิตเพียงพระองค์เดียว เพื่อให้ประชากรอิสราเอลมีประสบการณ์รู้ว่าวิธีการที่พระองค์ทรงใช้ปฏิบัติกับมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร และเมื่อพระองค์ตรัสกับพวกเขาด้วยวาจาของบรรดาประกาศก พวกเขาก็ค่อยๆเข้าใจชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงวิธีการของพระเจ้า และบอกให้นานาชาติทราบถึงวิธีการของพระองค์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย (เทียบ สดด 22:27-28; 96:1-3; อสย 2:1-4; ยรม 3:17)”
การถ่อมพระองค์ลงของพระเจ้านี้สำเร็จไปอย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อน เมื่อพระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ พระวาจา(หรือพระวจนาตถ์)นิรันดรที่สำแดงองค์ในการเนรมิตสร้างและทรงสื่อสารกับมนุษย์ในประวัติศาสตร์ความรอดพ้นนี้ ได้มาเป็นมนุษย์ในองค์พระคริสตเจ้า “เกิดจากหญิงผู้หนึ่ง” (กท 4:4) ที่นี่พระวาจาไม่ได้แสดงองค์เป็นคำพูด ความคิดหรือกฎเกณฑ์ใดๆ. ที่นี่เราอยู่ต่อหน้าพระบุคคลของพระเยซูเจ้า เรื่องราวพิเศษหนึ่งเดียวของพระองค์คือพระวาจาสุดท้ายที่พระเจ้าตรัสกับมนุษยชาติ เราจึงเข้าใจได้ว่า “การที่ใครคนหนึ่งเข้ามาเป็นคริสตชนนั้น ไม่ใช่เพราะความต้องการทางจริยธรรม หรือเพราะความคิดที่สูงส่ง แต่เพราะเขาได้สัมผัสกับเหตุการณ์หนึ่ง กับบุคคลหนึ่งที่ทำให้เขามีจุดหมายใหม่ของชีวิตและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจในเวลาเดียวกัน” การรื้อฟื้นการพบปะและความตระหนักนี้ก่อให้เกิดความพิศวงในใจของผู้มีความเชื่อถึงการริเริ่มจากพระเจ้า ที่มนุษย์ไม่อาจใช้เหตุผลหรือการคิดค้นของตนคาดคิดได้เลยว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะนี่เป็นความใหม่ที่ไม่เคยได้ยิน และเหตุผลของมนุษย์ไม่อาจเข้าใจได้ “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา” (ยน 1:14ก) ถ้อยคำเหล่านี้ไม่เป็นเพียงภาพพจน์ที่ไพเราะ แต่สะท้อนประสบการณ์ที่เกิดขึ้น นักบุญยอห์นซึ่งเป็นพยานโดยตรงบอกเราว่า “เราได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ เป็นพระสิริรุ่งโรจน์ที่ทรงรับจากพระบิดาในฐานะพระบุตรเพียงพระองค์เดียว เปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง” (ยน 1:14ข) ความเชื่อของอัครสาวกเป็นพยานยืนยันว่าพระวาจานิรันดรได้มาเป็นเหมือนกับเราคนหนึ่ง พระวาจาของพระเจ้าแสดงออกด้วยวาจาของมนุษย์อย่างแท้จริง

12. ธรรมประเพณีของบรรดาปิตาจารย์และในสมัยกลางที่ไตร่ตรองถึง “คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา” นี้ ได้ใช้สำนวนน่าฟังว่า “พระวจนาตถ์ทรงย่อองค์ลง” “บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรใช้พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมฉบับภาษากรีก ได้พบถ้อยคำของประกาศกอิสยาห์ที่นักบุญเปาโลอ้างถึงด้วย เพื่อแสดงว่าพระเจ้าทรงประกาศหนทางใหม่ล่วงหน้าไว้แล้วในพันธสัญญาเดิม ที่ตรงนั้นเราอ่านว่า ‘องค์พระผู้เป็นเจ้าจอมจักรวาลจะทรงทำให้พระวาจาสัมฤทธิ์ผลโดยรวดเร็ว’ (เทียบ รม 9:28; อสย 10:23 ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า “(พระองค์ทรง)ทำให้พระวาจา [=แผนการ] สั้นและสำเร็จ”) องค์พระบุตรคือพระวจนาตถ์ พระวจนาตถ์นิรันดรนี้ทรงย่อองค์ลง - เล็กลงจนประทับอยู่ได้ในรางหญ้า พระองค์ทรงกลับเป็นทารก เพื่อเราจะเข้าใจพระวาจา(หรือพระวจนาตถ์)นี้ได้” บัดนี้เราไม่เพียงแต่ได้ยินพระวาจาได้ พระวาจาไม่เพียงแต่มีเสียงเท่านั้น บัดนี้พระวาจายังมีพระพักตร์ที่เราแลเห็นได้ด้วย คือพระเยซูชาวนาซาเร็ธ
เมื่ออ่านเรื่องราวในพระวรสาร เราเห็นได้ว่าพระธรรมชาติมนุษย์ของพระเยซูเจ้าแสดงตนอย่างพิเศษสุดเช่นเดียวกับพระวาจาของพระเจ้าด้วย ในพระธรรมชาติมนุษย์ที่สมบูรณ์ พระองค์ทรงปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาตลอดเวลา พระเยซูเจ้าทรงฟังพระสุรเสียงของพระบิดาและทรงเชื่อฟังเสียงนั้นอย่างเต็มที่ พระองค์ทรงรู้จักพระบิดาและปฏิบัติตามพระวาจาของพระบิดา (เทียบ ยน 8:55) ทรงเล่าเรื่องพระบิดาให้เราฟัง (ยน 12:50) “พระวาจาที่พระองค์ทรงมอบให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้ามอบให้เขาแล้ว” (ยน 17:8) ดังนั้นพระเยซูเจ้าจึงแสดงว่าพระองค์คือพระวจนาตถ์ของพระเจ้า พระองค์ทรงมอบองค์แก่เรา แต่ยังทรงเป็นอาดัมคนใหม่ด้วย เป็นมนุษย์แท้ที่ทุกขณะปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่ทำตามพระทัยของ พระองค์เอง “ทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์” (ลก 2:52) พระองค์ทรงฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด และทรงแบ่งปันทุกสิ่งที่ทรงปฏิบัติให้แก่เราด้วย (เทียบ ลก 5:1)
ในที่สุด พระภารกิจของพระเยซูเจ้าสำเร็จลงในธรรมล้ำลึกปัสกา ที่ตรงนี้เรากำลังอยู่ต่อหน้า “พระวาจาเรื่องไม้กางเขน” (เทียบ 1 คร 1:18) พระวาจาเงียบไป กลายเป็น “ความเงียบแห่งความตาย” เพราะพระองค์ได้ “ตรัส” จนหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลือที่จะต้องสื่อให้เรารับรู้อีก บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรได้พิเคราะห์พระธรรมล้ำลึกประการนี้ จึงให้พระมารดาของพระเจ้าตรัสว่า “พระวาจา (หรือ ‘พระวจนาตถ์’) ของพระบิดาที่ทำให้สิ่งสร้างพูดได้นั้น ไม่มีคำพูด พระเนตรของพระองค์ดับลงไร้ชีวิต ทั้งๆที่เมื่อพระองค์ตรัสและส่งสัญญาณ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็เคลื่อนไหว” ที่นี่ความรัก “ยิ่งใหญ่” นั้นที่สละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย (เทียบ ยน 15:13) ได้แบ่งปันตนเองกับพวกเราจริงๆ
ในธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่นี้ พระเยซูเจ้าทรงสำแดงพระองค์เป็น พระวาจาแห่งพันธสัญญาใหม่นิรันดร อิสรภาพของพระเจ้าและของมนุษย์ได้พบกันอย่างสมบูรณ์ในพระกายของพระองค์ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขน เป็นพันธสัญญาที่ดำรงอยู่ตลอดไปไม่มีวันจะยกเลิก เมื่อพระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย ได้ตรัสถึง “พันธสัญญาใหม่อันยืนยง” ในพระโลหิตที่ทรงหลั่ง (เทียบ มธ 26:28; มก 14:24; ลก 22:20) แสดงว่าพระองค์คือลูกแกะบูชายัญแท้จริงที่บันดาลการไถ่กู้ให้รอดพ้นจากการเป็นทาสสำเร็จสมบูรณ์ไป
ในธรรมล้ำลึกรุ่งโรจน์เรื่องการกลับคืนพระชนมชีพ ความเงียบนี้ของพระวาจาแสดงออกในความหมายสมบูรณ์อย่างแท้จริง พระคริสตเจ้า พระวจนาตถ์ของพระเจ้า พระวจนาตถ์ที่ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ ถูกตรึงบนไม้กางเขนและกลับคืนพระชนมชีพ ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของทุกสิ่ง ทรงเป็นผู้พิชิต ทรงเป็นผู้ปกครองทุกสิ่ง (Pantocrator) และทรงนำทุกสิ่งให้มารวมกันอยู่ใต้ปกครองของพระองค์ (เทียบ อฟ 1:10) พระคริสตเจ้าจึงทรงเป็น “แสงสว่างส่องโลก” (ยน 8:12) เป็นแสงสว่างที่ “ส่องในความมืด” (ยน 1:5) ที่ความมืดไม่อาจกลืนได้ (เทียบ ยน 1:5) เราจึงเข้าใจความหมายของเพลงสดุดีบทที่ 119 ได้อย่างดีที่ว่า “พระวาจาของพระองค์เป็นโคมส่องทางของข้าพเจ้า เป็นแสงสว่างส่องทางเดินให้ข้าพเจ้า” (ข้อ 105) พระวจนาตถ์ที่กลับคืนพระชนมชีพคือแสงสว่างจ้าที่ส่องทางเดินของเราตลอดเวลา ตั้งแต่แรกเริ่มมาแล้วบรรดาคริสตชนต่างรู้ตระหนักว่า พระวาจา (หรือ “พระวจนาตถ์”) ของพระเจ้าทรงอยู่เป็นพระบุคคลในองค์พระคริสตเจ้า พระวาจาของพระเจ้าคือแสงสว่างแท้ที่มนุษย์ต้องการ ในการกลับคืนพระชนมชีพนี้เองที่พระบุตรของพระเจ้าทรงปรากฏเป็นแสงสว่างของโลก บัดนี้ โดยมีชีวิตกับพระองค์และในพระองค์ เราจึงมีชีวิตในแสงสว่างได้

13. ถ้าจะว่าไปแล้ว เมื่อพูดถึงแก่นแท้ของ “คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา” ก็เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเน้นถึงเอกภาพของแผนการของพระเจ้าในองค์พระวจนาตถ์ที่รับธรรมชาติมนุษย์ พันธสัญญาใหม่จึงบอกเราว่า ธรรมล้ำลึกปัสกาสัมพันธ์กับพระคัมภีร์ในฐานะที่ทำให้พระคัมภีร์บรรลุถึงความบริบูรณ์ที่สุด. ในจดหมายถึงชาวโครินธ์ฉบับที่หนึ่ง นักบุญเปาโลกล่าวว่าพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา “ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์” (15:3) และทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม “ตามความในพระคัมภีร์” (15:4) ดังนั้นท่านอัครสาวกจึงเปรียบเทียบเหตุการณ์การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า กับเรื่องราวที่พระเจ้าทรงทำพันธสัญญาเดิมกับประชากรของพระองค์ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังทรงเปิดเผยให้เรารู้อีกว่าเรื่องนี้ทำให้ประวัติศาสตร์มีเหตุผลและความหมายแท้จริงของตน “ถ้อยคำของพระคัมภีร์”สำเร็จบริบูรณ์ในธรรมล้ำลึกปัสกา นั่นคือ การสิ้นพระชนม์นี้เกิดขึ้น ตามความในพระคัมภีร์ เป็นเหตุการณ์ที่มี พระวจนาตถ์อยู่ด้วย นั่นคือมีเหตุผลของตน การสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าเป็นพยานยืนยันว่าพระวาจา (หรือพระวจนาตถ์) ของพระเจ้าได้รับ“ธรรมชาติมนุษย์” กลายเป็น“ประวัติศาสตร์”ของมนุษย์โดยแท้จริง การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้ายังเกิดขึ้น “ในวันที่สามตามความในพระคัมภีร์” ด้วย เพราะชาวยิวเชื่อว่าร่างกายย่อมเริ่มเสื่อมสลายในวันที่สาม พระวาจาในพระคัมภีร์จึงสำเร็จไปในองค์พระเยซูเจ้าซึ่งทรงกลับคืนพระชนมชีพก่อนที่พระกายจะเริ่มเสื่อมสลาย นักบุญเปาโลซึ่งถ่ายทอดคำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวก (เทียบ 1 คร 15:3) จึงกล่าวยืนยันอย่างเปิดเผยว่าชัยชนะของพระคริสตเจ้าเหนือความตายเกิดขึ้นจากพระอานุภาพพระวาจาของพระเจ้า พระอานุภาพของพระเจ้านี้นำความหวังและความยินดีมาให้ นี่คือสาระของการเปิดเผยธรรมล้ำลึกปัสกาซึ่งนำความรอดพ้นมาให้มนุษยชาติ ในวันปัสกาพระเจ้าผู้ทรงลบล้างอำนาจของความชั่วและความตาย ทรงเปิดเผยพระองค์และพระอานุภาพแห่งความรักของพระตรีเอกภาพให้แก่เรา
เมื่อระลึกถึงข้อคำสอนสำคัญของความเชื่อที่เรามี เราจะเห็นเอกภาพที่ลึกซึ้งระหว่างการเนรมิตสร้างกับการไถ่กู้ซึ่งเป็นเสมือนการเนรมิตสร้างขึ้นใหม่ และเป็นประวัติศาสตร์ความรอดพ้นซึ่งพระคริสตเจ้าทรงนำมาให้ได้ด้วย เราอาจใช้ตัวอย่างที่กาลิเลโอกาลิเลอีเคยใช้ เขาเปรียบสารพัดสิ่งสร้างว่าเป็นเสมือน “หนังสือ” เล่มหนึ่งซึ่งผู้แต่งแสดงตนให้ปรากฏในสิ่งสร้างทั้งปวง - หรืออาจเปรียบได้กับบทเพลง “ซิมโฟนี” บทหนึ่ง ซึ่งใน “ซิมโฟนี” บทนี้บางทีเราจะพบ “การบรรเลงเดี่ยว” (หรือ “โซโล”) ของเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งหรือเสียงของนักร้องคนหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญที่รวบรวมความหมายของผลงานชิ้นนี้ไว้ทั้งหมด ผู้บรรเลง “โซโล” ผู้นี้ก็คือพระเยซูเจ้า... พระองค์คือบุตรแห่งมนุษย์ซึ่งรวมสวรรค์และแผ่นดิน สิ่งสร้างและพระผู้สร้าง ร่างกายและจิตไว้ด้วยกันในพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและประวัติศาสตร์ เพราะในพระองค์พระผู้สร้างและสิ่งสร้างรวมกันอยู่อย่างมีระเบียบไม่สับสน”

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries